Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 21698 จำนวนผู้เข้าชม |
การนวดกดจุดฝังเข็มบนใบหู
เป็นเสมือนจุดสะท้อนการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย มีสรรพคุณในการผ่อนคลาย ลดความเครียด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น
การเตรียมตัวก่อนนวดใบหูนั้น
1. ควรล้างมือให้สะอาด
2. ตัดเล็บให้สั้นไม่คม เพื่อป้องกันเล็บข่วนใบหูเป็นแผล
3. ก่อนโดยนวดนั้น ควรประกบมือทั้ง2ข้าง และถูให้ฝ่ามือรู้สึกร้อน เพื่อให้เวลานวดรู้สึกผ่อนคลายและให้ประสิทธิภาพ ในการนวดดีขึ้น
โดยจะนวดแบ่งตามแอ่งของบริเวณใบหู 3 ตำแหน่งหลัก ได้แก่
ตำแหน่งที่ 1 : มังกรเวียนสมุทร 蛟龙捣海 (นวดแอ่งหูล่าง)
ใช้นิ้วชี้ทั้งสองข้างกดไปยังแอ่งหู เมื่อหายใจเข้าให้คลึงหมุนตามเข็มนาฬิกา เมื่อหายใจออกให้คลึงหมุนทวนเข็มนาฬิกา ทำอย่างละ 8 ครั้ง
ตำแหน่งที่ 2 : พายเรือเลียบสระสรวง 天池荡舟 (แอ่งหูบน)
ใช้นิ้วชี้นวดจากแอ่งหูบนด้านในลากออกมาถึงปลายของแอ่งหูบน เมื่อหายใจเข้าลายจากด้านในออกมาด้านนอก เมื่อหายใจออกลากจากด้านนอกเข้าด้านใน ทำอย่างละ 8 ครั้ง
ตำแหน่งที่ 3 : กางเขนผงกศีรษะ 喜鹊点头 (นวดบริเวณหู)
3.1 หากมีความเครียด กังวล ขี้หงุดหงิด สามารถใช้ 3 จุดนี้ได้
- จุด Shenmen 神门 อยู่บริเวณในแอ่งสามเหลี่ยมของใบหู ใช้นิ้วชี้นวดกดจุดเสินเหมิน 8 ครั้ง
- จุด Pizhixia 皮质下 อยู่บริเวณในเว้าสันหู
- จุด Zhen 枕 อยู่บริเวณติ่งสันหู ช่วยในเรื่องการนอนหลับ สามารถนวดทั้ง2 จุดพร้อมกันได้ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งบีบคลึงบริเวณสันหู
- หากทานอาหารไม่ได้ ไม่อยากอาหารหรือท้องอืดบ่อยใช้ จุด Wei 胃 อยู่บริเวณแอ่งหู (ขอบสุดของขั้วขอบหู) ใช้นิ้วชี้กดคลึง ทั้งสองข้าง ครั้งละ1นาที วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวันและเย็น ควรทำต่อเนื่องเป็นประจำ
แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาจีนโดยทีมแพทย์จีนแผนกฝังเข็ม คลินิกแพทย์แผนจีนหัวเฉียว
1. แพทย์จีน ปณิตา กาสมสัน
2. แพทย์จีน ปิยะมาศ เมืองไชย
3. แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์
4. แพทย์จีน กนิษฐา ใจเย็น
5. แพทย์จีน พิมพิชญ์ มุจลินทโมลี
12 พ.ย. 2567
20 ม.ค. 2568
26 ก.ย. 2567
15 พ.ย. 2567