นวดกดจุดด้วยตัวเอง จุดบำรุงสุขภาพ

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  38995 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นวดกดจุดด้วยตัวเอง จุดบำรุงสุขภาพ

จุดที่ 1  จุดไป่หุ้ย




ชื่อจุด : จุดไป่หุ้ย 百会穴
สรรพคุณ : บำรุงพลังหยางทั้งร่างกาย ลดปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร อาการท้องบีบเกร็ง มดลูกหย่อน
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคทางจิต

ตำแหน่ง : รอยบุ๋มบริเวณยอดศีรษะ
วิธีการกด : ใช้นิ้วชี้ กลาง นางข้างที่ถนัด กดคลึงนวดวนเป็นก้นหอย 2-3 นาที
ข้อห้ามข้อควรระวัง : ไม่แนะนำให้กดแรงๆ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีหรือผู้ที่กระโหลกศีรษะปิดไม่สนิท

 


จุดที่ 2 จุดอิ้นถัง

 


ชื่อจุด : อิ้นถัง 印堂穴
สรรพคุณ : ลดปวดศีรษะ เวียนศีรษะ น้ำมูกไหล ไซนัสอักเสบ นอนไม่หลับ ลมชักในทารก เป็นลมแดด
ตำแหน่ง : กึ่งกลางระหว่างหัวคิ้วทั้งสองข้าง 
วิธีการกด : ใช้อุ้งมือทาบไปบนจุดอิ้นถังแล้วกดคลึงเบาๆจนรู้สึกตื้อๆ

 

 

จุดที่ 3 จุดจิงหมิง




ชื่อจุด : จุดจิงหมิง 睛明穴

สรรพคุณ : บำรุงสายตา ลดอาการปวดตา ตาพร่ามัว
ตำแหน่ง : อยู่ที่รอยบุ๋มเหนือมุมหัวตา
วิธีการกด : ใช้นิ้วหัวแม่มือคลึงเบาๆที่จุดจิงหมิงจนรู้สึกหน่วงที่ดวงตาทั้งสองข้าง
ข้อห้ามข้อควรระวัง : ควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ดวงตา และ ไม่ควรกดแรงเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะตาช้ำหรือเลือดออกใต้ผิวได้

 

จุดที่ 4 จุดถันจง




จุดชื่อ : จุดถันจง 膻中穴
สรรพคุณ : ปรับสมดุลชี่ตอนบน แก้อาการแน่นหน้าอก
ตำแหน่ง : อยู่ที่หน้าอกกึ่งกลางหัวนมทั้งสองข้าง
วิธีการกด : ใช้นิ้วหัวแม่มือกดที่จุดถันจง หมุนวนเป็นก้นหอย 20 ครั้ง
ข้อห้ามข้อควรระวัง:  -

 

จุดที่ 5 จุดเจียนจิ่ง




ชื่อจุด : จุดเจียนจิ่ง 肩井穴
สรรพคุณ : ลดอาการปวดเกร็งท้ายทอย ปวดไหล่หลัง ปวดไล่ ปวดบ่า แขนอัมพาต เต้านมอักเสบ น้ำนมไม่ไหล
ตำแหน่ง : กึ่งกลางบ่า ระหว่างกระดูกต้นคอถึงหัวไหล่
วิธีการกด : ใช้มือบีบนวดที่จุดเจียนจิ่งเบาๆ 20 ครั้ง หรือจนกว่าจะรู้สึกอุ่นที่บ่า
ข้อห้ามข้อควรระวัง : ห้ามใช้จุดนี้ในหญิงตั้งครรภ์


 

จุดที่ 6 จุดจงหว่าน





ชื่อจุด : จุดจงหว่าน 中脘穴
สรรพคุณ : ปรับสมดุลชี่ส่วนกลางร่างกาย รักษาท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน สะอึก มีเสมหะมาก เบื่ออาหาร เรอบ่อย
ตำแหน่ง : กึ่งกลางระหว่างสะดือกับลิ้นปี่
วิธีการกด : ใช้นิ้วมือกดที่จุดจงหว่าน หมุนวนช้า ๆ 2-3 นาที
ข้อห้ามข้อควรระวัง :  -

 

จุดที่ 7  จุดเทียนซู




ชื่อจุด : จุดเทียนซู 天枢穴
สรรพคุณ : กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องผูกท้องเสีย
ตำแหน่ง : ระดับเดียวกับสะดืออยู่ห่างจากสะดือในแนวราบประมาณ 3 นิ้วมือ
วิธีการกด : ใช้นิ้วมือทั้งสาม(นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วก้อย)กดคลึงที่จุดเทียนซู 2-3 นาที
ข้อห้ามข้อควรระวัง :    -

 

จุดที่ 8  จุดกวนหยวน



ชื่อจุด :
จุดกวนหยวน 关元穴
สรรพคุณ : บำรุงหยางชี่ เป็นแหล่งสะสมพลังลมปราณชี่ เสริมภูมิต้านทาน
ตำแหน่ง : จุดกึ่งกลางท้องน้อยใต้สะดือลงมา 1 ฝ่ามือ
วิธีการกด : วางมือทั้งสองทาบลงบนจุดกวนหยวน หมุนวนตามเข็มนาฬิกา 20 รอบ
ข้อห้ามข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

 

จุดที่  9 จุดชี่ไห่




ชื่อจุด : จุดชี่ไห่ 气海
สรรพคุณ : ปรับสมดุลชี่ส่วนล่าง การกดนวดสองจุดนี้ทำให้เพิ่มพลังลมชี่ เพิ่มพลังหยาง ปรับประจำเดือน อีกทั้งยังสามารถรักษาอาการกลั้นปัสสาวะในเพศชายไม่อยู่ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว น้ำกามเคลื่อน ฝันเปียก ไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อยง่าย เมื่อกดนวดสองจุดนี้แล้วยังสามารถรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว จุดนี้ยังเป็นจุดที่ช่วยเจริญอาหารอีกด้วยด้วย
ตำแหน่ง : ใต้สะดือลงมาสองนิ้วมือ
วิธีการกด : วางฝ่ามือทั้งสองข้างซ้อนทับกัน แล้วนวดตามเข็มนาฬิการอบๆ สะดือ 20 ครั้ง สลับนวดตามแนวทวนเข็มนาฬิกา
ข้อห้ามข้อควรระวัง :  - 

 

จุดที่ 10 จุดโฮว่ซี 



ชื่อจุด : จุดโฮว่ซี 后溪
สรรพคุณ : แก้ปวดคอ ปวดหลัง
ตำแหน่ง : กำมือเป็นรูปกำปั้นบริเวณส่วนปลายเส้นแนวนอนหลังข้อต่อ
วิธีการกด : ถ้าคุณนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ คุณสามารถกดโฮว่ซีที่บริเวณมือทั้งสองข้าง โดยคลึงเบาเบาไปกับขอบโต๊ะ ก็จะเป็นการกระตุ้นจุดนี้ คุณจะรู้สึกปวดเล็กน้อย ทำทุกวัน 3 นาที 
ข้อห้ามข้อควรระวัง : -

 

จุดที่ 11 จุดเสวียไห่



ชื่อจุด : จุดเสวียไห่ 血海穴
สรรพคุณ : ช่วยให้เลือดไหลเวียน
ตำแหน่ง : อยู่ขอบบนด้านในของกระดูกสะบ้าเฉียงขึ้นไป 2 ข้อนิ้วมือ
วิธีการกด : ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวด 3-5 นาที
ข้อห้ามข้อควรระวัง : -

 

จุดที่ 12 จุดตู๋ปี๋



ชื่อจุด :
จุดตู๋ปี๋ 犊鼻穴
สรรพคุณ : ลดอาการปวดเข่า รู้สึกหัวเข่าเย็น
ตำแหน่ง : เมื่องอเข่า จุดนี้อยู่ขอบล่างของกระดูกลูกสะบ้า ทางด้านนอกของเอ็นลูกสะบ้า
วิธีการกด : ใช้ฝ่ามือตบที่หัวเข่าจนรู้สึกอุ่นที่ผิวร่วมกับผิวมีสีแดงระเรื่อ
ข้อห้ามข้อควรระวัง : -

 

จุดที่ 13 จุดจู๋ซานหลี่



ชื่อจุด :
จุดจู๋ซานหลี่ 足三里穴
สรรพคุณ : เพิ่มภูมิต้านทาน ปรับระบบการย่อย
ตำแหน่ง : ใต้กระดูกสะบ้าลงมา 1 ฝ่ามือ และห่างจากขอบกระดูก tibia มา 1 นิ้ว
วิธีการกด : ใช้นิ้วมือกดคลึงที่จุดจู๋ซานหลี่จนรู้สึกปวดตึงลงหน้าแข้ง ทำซ้ำ 20 ครั้ง
ข้อห้ามข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

 

จุดที่ 14 จุดซานอินเจียว



ชื่อจุด :  จุดซานอินเจียว 三阴交穴
สรรพคุณ : ปรับประจำเดือน ขับน้ำคาวปลา รักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพในเพศชาย
ตำแหน่ง : เหนือยอดตาตุ่มด้านใน 1 ฝ่ามือ ชิดขอบด้านหลังของกระดูก tibia
วิธีการกด : ใช้นิ้วโป้งกดคลึงและดันเข้ามาด้านกระดูกหน้าแข้งจนรู้สึกตึงหน่วง
ข้อห้ามข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

 

จุดที่ 15 จุดอินหลิงฉวน 



ชื่อจุด :  จุดอินหลิงเฉวียน 阴陵泉
สรรพคุณ : ขับร้อน ขจัดความชื้น บำรุงม้าม ปรับสมดุลลมชี่  บำรุงไต  ปรับประจำเดือน เพิ่มการไหวเวียนในเส้นลมชี่ เส้นลมชี่ม้าม  เริ่มจากนิ้วหัวแม่ท้า มาลงลึกที่จุดนี้  จึงทำให้สามารถบำรุงม้าม
ตำแหน่ง : ใต้ข้อเข่า  ไปตามแนวขาท่อนล่างด้านใน ขึ้นไปด้านบน เมื่อเบนออกจะพบแอ่งเว้าลงไป  จุดนี้คือจุด Yin Ling Quan 
วิธีการกด : ทุกๆวัน ใช้นิ้วมือคลึงนวดบริเวณนี้  ไม่กำหนดเวลาตายตัว มีเวลาว่างก็ทำ แต่ในหนึ่งวันต้องนวดให้ได้อย่างน้อย 3 - 5 นาที  ถ้าสภาพร่างกายมีความชื้น เมื่อกดจุดนี้จะเจ็บมาก แต่ก็ต้องกดนวดต่อไป  เมื่อเวลาผ่านไปจะสังเกตได้ถึงอาการปวดลดน้อยลง  แสดงให้เห็นว่าอาการม้ามชื้นได้ลดลงแล้ว
ข้อห้ามข้อควรระวัง : -

 

จุดที่ 16  จุดไท่ชง

 

ชื่อจุด : จุดไท่ชง 太冲穴
สรรพคุณ : คลายเครียด บรรเทาความกลัดกลุ้ม
ตำแหน่ง : อยู่หลังเท้าตรงรอยบุ๋มด้านในสุดระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้
วิธีการกด : ใช้นิ้วมือกดลงที่จุดไท่ชงให้ลึกจนรู้สึกปวดหน่วง ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ข้อห้ามข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

  

จุดที่ 17  จุดไท่ซี่



ชื่อจุด :
จุดไท่ซี่  太溪
สรรพคุณ :
บำรุงไต
ตำแหน่ง :
จุดนี้จะอยู่ระหว่างตาตุ่มด้านในและเอ็นร้อยหวายของเท้าทั้ง 2 ข้าง
วิธีการกด :
ใช้ปลายนิ้วโป้ง กดที่จุดค้างไว้ 30-60 วินาที 5-10 ครั้ง
ข้อห้ามข้อควรระวัง :
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้