นวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนเพิ่มภูมิต้านทานป้องกัน COVID-19

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  40342 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนเพิ่มภูมิต้านทานป้องกัน COVID-19

นับตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หน่วยงานของแพทย์พยาบาลต้องทำงานอย่างหนัก เสี่ยงชีวิต  บุคลากรทางการแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการต่อป้องกันและรักษาโรคระบาดซึ่งมีความยากในการควบคุมดูแล และเนื่องด้วยข้อจำกัดของวิชาชีพแพทย์แผนจีน ทำให้บทบาทของแพทย์จีนในประเทศไทยไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งเป็นการรักษาทางหลักได้

เมื่อได้รับรายงานปัญหาของสถานการณ์โรคระบาดในประเทศไทย ทีมแพทย์แผนจีนแผนกทุยหนาได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยได้ติดต่อขอความร่วมมือด้านข้อมูลและแนวทางกับหน่วยงานต่างๆด้านทุยหนาของสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น China Association of Chinese Medicine (Tuina Association) , China Medical Association of Minorities (Tuina Association) , World Federation of Chinese Medicine Societies , Jilin Association of Chinese Medicine (Tuina Association) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดอายุรกรรม ผู้เชี่ยวชาญทุยหนาในพื้นที่แพร่ระบาดและเจ้าหน้าที่การแพทย์แนวหน้า ซึ่งเป็นหน่วยงานในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้จัดทำคู่มือ “การนวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนสำหรับเพิ่มภูมิต้านทานป้องกัน COVID-19” ซึ่งการรวบรวมข้อมูลของการจัดทำนั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากนักวิชาการตงเสี่ยวหลินและอาจารย์หลี่เหอฟู่


หลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ “การนวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนสำหรับเพิ่มภูมิต้านทานป้องกัน COVID-19” ในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้สนใจเข้ามาขอรายละเอียดเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการดำเนินงานจัดทำข้อมูลแบบวิดีโอและมีการรายงานไปยังหน่วยงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการเผยแพร่ให้กับผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นทางคลินิกและระยะฟื้นตัวทางคลินิก ได้สามารถนวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนสำหรับเพิ่มภูมิต้านทานป้องกัน COVID-19 ได้ด้วยตนเอง

ทีมแพทย์จีนแผนกกระดูกและทุยหนา คลินิกการประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของวิดีโอชุดนี้ จึงได้ดำเนินการแปลจากภาคภาษาจีน และจัดทำเป็นข้อมูลภาคประชาน  "คู่มือการนวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนสำหรับเพิ่มภูมิต้านทานป้องกัน COVID-19” ฉบับแปลไทย สำหรับการหย่างเซิงสุขภาพ เพื่อให้คนไทยได้นวดทุยหนากดจุดแบบแพทย์แผนจีนสำหรับเพิ่มภูมิต้านทานป้องกัน COVID-19 ได้ด้วยตนเอง

โดยเหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการ (เป็นการป้องกัน สร้างภูมิคุ้มกัน) , ผู้ป่วยระยะแรก ตลอดจนผู้ป่วยระยะฟื้นฟู มีการแบ่งอาการต่างๆ ตามหลักการวินิจฉัยโรคแบบแพทย์แผนจีนเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้นำไปปฏิบัติเพิ่มภูมิต้านทานให้กับตนเองในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19


วิธีการนวดทุยหนาสำหรับผู้ที่ไม่แสดงอาการแต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

ระยะไม่แสดงอาการแต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
อาการแสดงทางคลินิก : ไม่มีแสดงอาการของ COVID-19 แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
เช่น อ้วน โรคเบาหวาน หรือผู้ป่วยเรื้อรัง

วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมให้ระบบอวัยวะในร่างกายแข็งแรง บำรุงม้ามสงบจิตใจ

ท่านวดทุยหนาพื้นฐาน
1. ลูบท้อง (ม๋อฝู่ ; 摩腹)

 

วิธีทำ :
ใช้ฝ่ามือลูบท้องโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยลำดับแรกปล่อยมือตามธรรมชาติ วางมือลงใต้ลิ้นปี่ จากนั้นลูบตามเข็มนาฬิการอบสะดือ ขณะลูบผิวหนังที่ลูบต้องไม่ขยับ โดยใช้แรงการนวดค่อนข้างเบาและออกแรงสม่ำเสมอ ลูบจนรู้สึกกล้ามเนื้อคลายตัว ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
สรรพคุณ : ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด

2. ท่าคลึงท้อง (โหรวฝู่ ; 揉腹)

 

วิธีทำ : ใช้มือคลึงท้องโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา ลำดับแรกทำมือโดยให้งุ้มฝ่ามือโค้งขึ้นเล็กน้อย จากนั้นวางมือลงบนกลางสะดือ นวดคลึง เริ่มจากนิ้วหัวแม่มือ หมุนตามเข็มนาฬิกา ทิ้งน้ำหนักไปตามนิ้วมือ จนถึงบริเวณสันมือ ขณะคลึงให้รู้สึกผิวหนังขยับ ถ้าหากรู้สึกท้องเกร็งมากเกินไป สามารถนวดคลึงในท่านอนหงาย งอเข่าขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวมากขึ้น นวดคลึงจนรู้สึกกล้ามเนื้อคลายตัว ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
สรรพคุณ : ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด

3. ท่ากดสั่น (เตี่ยนเจิ้น ; 点振)



วิธีทำ : ใช้นิ้วกลางกดสั่นบนจุดชี่ไห่ (气海CV6) และ จุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4) กดสั่นจนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนประมาณ 1 นาที  ให้ความอบอุ่น บำรุง
สรรพคุณ : ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

จุดชี่ไห่ (气海 CV6)
ความหมาย :
ชี่ (气) แปลว่า พลังลมปราณ (หยวนชี่)
ไห่ (海) แปลว่า ทะเล    
จุดชี่ไห่อยู่ใต้สะดือและเป็นทะเลของพลังลมปราณหยวน (หยวนชี่) จุดชี่ไห่อยู่ใต้สะดือและเป็นทะเลของหยวนชี่
ตำแหน่ง : อยู่กึ่งกลางท้องใต้สะดือ 1.5 ชุ่น
ใช้รักษา
1. โรคทางเดินหายใจ : ไอ หอบหืด หายใจสั้น
2. โรคทางเดือนอาหาร : อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด สะอึก ท้องผูก ท้องเสียและอาเจียน ลำไส้อักเสบ
3. โรคระบบสืบพันธุ์ ฝันเปียก กามตายด้าน อาการหลั่งเร็ว เป็นหมัน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ปวดประจำเดือน มดลูกหย่อน รกค้าง ตกขาว
4. โรคทางจิต
5. โรคอื่นๆ : ไส้เลื่อน ปวดเอว ปวดรอบสะดือ มือเท้าเย็น หายใจตื้น

จุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4)
ความหมาย :
กวาน (关) แปลว่า ด่าน ปิด
เหยฺวียน  (元)  แปลว่า หยวนชี่ จุดกวานเหยฺวียนอยู่ใต้สะดือและเป็นแหล่งสะสมพลังลมปราณ (หยวนชี่)
ตำแหน่ง : อยู่กึ่งกลางท้องน้อยใต้สะดือ 3 ชุ่น
ใช้รักษา
1. โรคทางเดินหายใจ : ไอ ไอเป็นเลือด หอบหืด ไม่มีแรงพูด วัณโรคปอด
2. โรคทางเดินอาหาร : อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ อุจจาระเป็นเลือด ดีซ่าน กระหายน้ำ
3. โรคทางเดินปัสสาวะ : ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นหยด ปัสสาวะเป็นเลือด กลั้นปัสสาวะไม่ได้
4. โรคระบบสืบพันธุ์ : ฝันเปียก กามตายด้าน อาการหลั่งเร็ว หนองใน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ตกขาวมีเลือดปน มดลูกหย่อน คันปากช่องคลอด รกค้าง
5. โรคทางจิต : เป็นลม นอนไม่หลับ ฝันเยอะ ความจำไม่ดี
6. โรคอื่นๆ : ฝีคัณฑสูตร อ่อนล้าที่เอวและขา ใจสั่น หายใจสั้น อ่อนเปลี้ย ผอม อ่อนแรง

 

4. ท่าตบ (ไพฝ่า ; 拍法)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือตบที่จุดฝังเข็มได้แก่ จุดไป่หุ้ย (百会GV20) จุดถันจง (膻中 CV17) จุดต้าเปา (大包SP21) จุดจงฝู่ (中府 LU1) และ จุดยฺหวินเหมิน (云门 LU2) จุดละ 5-10 ครั้ง 
สรรพคุณ : ช่วยกระตุ้นพลังหยาง คลายกล้ามเนื้อ ขจัดเสียชี่  (邪气)

จุดไป่หุ้ย (百会  GV20)
ความหมาย :
ไป่ (百) แปลว่า หลักร้อย
หุ้ย (会) แปลว่า บรรจบ จุดไป่หุ้ยเป็นจุดรวมบรรจบกันของเส้นลมปราณหยางของเท้า 3 เส้น เส้นลมปราณเท้าเจวี๋ยนอินตับและเส้นลมปราณตู
ตำแหน่ง : อยู่เหนือชายผมด้านหน้าขึ้นไป 5 ชุ่น กึ่งกลางระหว่างเส้นต่อยอดใบหูสองข้าง เป็นจุดที่อยู่สูงสุด

ใช้รักษา
1. โรคทางศีรษะ : ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เสียงอื้อในหู สายตามัว คัดแน่นจมูก
2. โรคทางเดินอาหาร : เบื่ออาหาร ปากไม่รู้รส ทวารหนักปลิ้น การบีบเกร็งจากท้องเสีย ลำไส้อักเสบ กระเพราะอาหารหย่อน
3. โรคระบบปัสสาวะ : ไตหย่อน กลั้นปัสสาวะไม่ได้
4. โรคอวัยวะสืบพันธุ์ : กามตายด้าน มดลูกหย่อน
5. โรคทางจิต : ใจสั่น ความจำเสื่อม เป็นลม หมดสติ พูดไม่ได้ ขากรรไกรค้าง อัมพาตครึ่งซีก ลมบ้าหมู โรคฮิสทีเรีย ชักกระตุก
6. โรคอื่นๆ : ความดันโลหิตสูง โรคจิต อาละวาด ปวดศีรษะ วิงเวียน อัมพาต พูดไม่ได้ มดลูกหย่อน นอนไม่หลับ มีสรรพคุณเด่นในเรื่องดึงหยางชี่ให้ขึ้นมาหากชี่ตก ป้องกันอวัยวะภายในหย่อน

จุดถันจง (膻中 CV17)



ความหมาย
:
ถัน (膻) แปลว่า เปิดออก
จง (中) แปลว่า ตรงกลาง สมัยโบราณเรียกตรงกลางหน้าอกที่เปิดออกว่าถันจง
ตำแหน่ง : อยู่ที่หน้าอกกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง ระดับเดียวกับกระดูกซี่โครงที่ 4
ใช้รักษา : ไอ หอบ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก น้ำนมน้อย

 
จุดต้าเปา (大包  SP21)



ความหมาย :
ต้า (大) แปลว่า ใหญ่
เปา (包) แปลว่า บรรจุ  จุดนี้อยู่ตรงกับเส้นลมปราณย่อยแขนงใหญ่ของม้าม แยกออกและกระจายไปเชื่อมอวัยวะภายในอื่นๆ
ตำแหน่ง : อยู่ในแนว Midaxillary line ระหว่างกระดูกซี่โครงที่ 6 ใต้รักแร้ 6 ชุ่น
ใช้รักษา : ไอ หอบ ปวดเสียดชายโครง ปวดเมื่อยไปทั้งตัว แขนขาไม่มีแรง


จุดจงฝู่ (中府 LU1)



ความหมาย : จง (中) แปลว่า ตรงกลาง ; ฝู่ (府) แปลว่า สถานที่ จง หมายถึง จงเจียว เส้นลมปราณปอดเริ่มต้นจากจงเจียว เส้นลมปราณจากม้ามและกระเพราะอาหารบรรจบกับเส้นลมปราณปอดที่จุดจงฝู่
ตำแหน่ง : อยู่ในช่องซี่โครงที่ 1 ห่างจากแนวกึ่งกลางหน้าอก 6ชุ่นหรืออยู่ด้านนอกหัวนม 2 ชุ่น
ใช้รักษา : ไอ หอบ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ปวดหลังและไหล่

จุดยฺหวินเหมิน (云门 LU2)
ความหมาย : ยฺหวิน (云) แปลว่า เมฆ ; เหมิน (门) แปลว่า ประตู  ยฺหวิน หมายถึง ชี่ของปอด จุดนี้จึงเป็นประตูสำหรับชี่ของปอด
ตำแหน่ง : อยู่บนหน้าอกส่วนบนเหนือต่อ Coracoid process ของ กระดูก Scapula ในรอยบุ๋มของ Infraclavicular fossa ห่างจากแนวกึ่งกลางหน้าอก 6 ชุ่น
ใช้รักษา : ไอ หอบ ปวดหน้าอก ปวดไหล่

 
5. ท่ากดคลึง  (อั้นโหรว ; 按揉)



วิธีทำ : ใช้นิ้วหัวแม่มือกดคลึงบริเวณจุดฝังเข็มทั้งสองข้างได้แก่ จุดจู๋ซานหลี่ (足三里ST36) จุดเฟิงหลง (丰隆ST40) และ จุดเซฺวี่ยไห่ (血海SP10)  กดคลึงจนรู้สึกหน่วง จุดละ 1 นาที
สรรพคุณ : บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

จุดจู๋ซานหลี่ (足三里ST36)



ความหมาย : จู๋ (足) แปลว่า ขา ; ซาน (三) แปลว่า สาม ; หลี่ (里) แปลว่า หน่วยที่ใช้เรียกระยะทางสมัยโบราณ จุดนี้อยู่ใต้เข่า 3 ชุ่น
ตำแหน่ง : ใต้กึ่งกลางเข่าชิดขอบนอกของกระดูก Patella ลงมา 3 ชุ่น (หรือใต้รอยบุ๋มนอกของเข่าเมื่องอเข่า 90 องศา) ในแนวห่างจากขอบกระดูก Tibia 1 นิ้วมือ (นิ้วกลาง)
ใช้รักษา
1. โรคตามเส้นลมปราณ : ปวดบวมที่เข่าและเท้า โรคอ่อนแรง อัมพาตครึ่งท่อน
2. โรคของศีรษะ : สายตามัว จมูกแห้ง คัดแน่นจมูก หูหนวก เสียงอื้อในหู อัมพาตใบหน้า เจ็บคอ
3. โรคทางเดินหายใจ : หวัด ไอ หอบหืด เสมหะมาก วัณโรคปอด เลือดคั่งในอก
4. โรคทางเดินอาหาร : เจ็บลิ้นปี่ ท้องอืดแน่น อาเจียน สะอึก ท้องร้องโครกคราก ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้อักเสบ  ปวดกระเพาะ อาหารไม่ย่อย ไส้ติ่งอักเสบ
5. โรคระบบหัวใจ : ใจสั่น รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจตื้น ปวดหัวใจเฉียบพลัน
6. โรคทางเดินปัสสาวะ : กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะลำบาก
7. โรคระบบสืบพันธุ์ : เวียนศีรษะหลังคลอด ปวดท้องหลังคลอด ตกขาว แพ้ท้อง ครรภ์เป็นพิษ เต้านมอักเสบ
8. โรคทางจิต : Manic-depressive syndrome, Wild laugh   โรคฮิสทีเรีย
9. โรคผิวหนัง : ฝีคัณฑสูตร โรคลมพิษ
10. โรคอื่นๆ : อ่อนแรง ภาวะชี่ไม่เพียงพอ ซูบผอม มีไข้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีไข้แต่ไม่มีเหงื่อ ไข้สูง ชักกระตุก ไส้เลื่อน ปวดตึงแน่นชายโครง ความดันโลหิตสูง

สรรพคุณพิเศษ : สามารถรักษาโรคของกระเพาะอาหาร โรคทางสติสัมปชัญญะ ลดความดันโลหิตได้ดี เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวได้ เป็นจุดที่นิยมใช้ในการบำรุงสุขภาพที่ดีมากจุดหนึ่ง (มีโรคก็ใช้รักษาโรค ไม่มีโรคก็ใช้บำรุงสุขภาพได้)

จุดเฟิงหลง (丰隆 ST40)
ความหมาย : เฟิง (丰) แปลว่า อุดมสมบูรณ์
หลง (隆) แปลว่า ยิ่งใหญ่ จุดนี้เป็นจุดที่มีลมปราณมาก
ตำแหน่ง : อยู่ที่หน้าแข้งเหนือตาตุ่มนอกขึ้นมา 8 ชุ่น ห่างขอบกระดูก Tibia ทางด้านนอก 2 ชุ่น
ใช้รักษา : ปวดศีรษะ วิงเวียน ไอมีเสมหะ อาเจียน ท้องผูก บวมน้ำ โรคจิตอาละวาด ลมชัก เมื่อยขาไม่มีแรง
สรรพคุณพิเศษ : เป็นจุดใช้ขับเสมหะได้ดีมาก (เสมหะที่ไม่มีรูปร่าง จะทำให้เกิดอาการวิงเวียน อาเจียนและเป็นลม)

จุดเซฺวี่ยไห่ (血海SP10)



ความหมาย :
เซฺวี่ย (血) แปลว่า เลือด
ไห่  (海)  แปลว่า ทะเล  จุดนี้รักษาความผิดปกติของเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับไปอยู่ในทะเลแห่งเลือด
ตำแหน่ง : อยู่เหนือขอบบนด้านในของ Patella 2 ชุ่น ตรงกลางกล้ามเนื้อ Vastus medialis
ใช้รักษา : ประจำเดือนไม่ปกติ ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนไม่มา ลมพิษ คันที่ผิวหนังเรื้อรัง ไฟลามทุ่ง

2. วิธีการนวดทุยหนาสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงสังเกตอาการ
ระยะสังเกตอาการ
ท่านวดทุยหนาพื้นฐาน
1. ท่าลูบท้อง (ม๋อฝู่ ; 摩腹)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือขวาลูบท้องโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยลำดับแรกปล่อยมือตามธรรมชาติ วางมือลงใต้ลิ้นปี่ จากนั้นลูบตามเข็มนาฬิการอบสะดือ ขณะลูบผิวหนังที่ลูบห้ามขยับ โดยใช้แรงการนวดค่อนข้างเบาและออกแรงสม่ำเสมอ ลูบจนรู้สึกกล้ามเนื้อคลายตัว ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
สรรพคุณ : กระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด

2. ท่าคลึงท้อง (โหรวฝู่ ; 揉腹)



วิธีทำ : ใช้มือขวาคลึงท้องโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา ลำดับแรกทำมือโดยให้งุ้มฝ่ามือโค้งขึ้นเล็กน้อย จากนั้นวางมือลงบนกลางสะดือ นวดคลึง เริ่มจากนิ้วหัวแม่มือ หมุนตามเข็มนาฬิกา ทิ้งน้ำหนักไปตามนิ้วมือ จนถึงบริเวณสันมือ ขณะคลึงให้รู้สึกผิวหนังขยับ ถ้าหากรู้สึกท้องเกร็งมากเกินไป สามารถนวดคลึงในท่านอนหงาย งอเข่าขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวมากขึ้น นวดคลึงจนรู้สึกกล้ามเนื้อคลายตัว ใช้เวลาประมาณ 5 นาที

สรรพคุณ
: กระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด

3. ท่ากดท้อง (อั้นฝู่ ; 按腹)



วิธีทำ
: ใช้ฝ่ามือกดจุดชี่ไห่ (气海 CV6) ตามลมหายใจอย่างนุ่มนวล  ประมาณ 5-10 ครั้ง
สรรพคุณ : ช่วยในการปรับสมดุลการหายใจ
 
จุดชี่ไห่ (气海CV6)
ความหมาย :
ชี่ (气) แปลว่าพลังลมปราณ (หยวนชี่)
ไห่ (海) แปลว่า ทะเล จุดชี่ไห่อยู่ใต้สะดือและเป็นทะเลของหยวนชี่
ตำแหน่ง : อยู่กึ่งกลางท้องใต้สะดือ 1.5 ชุ่น
ใช้รักษา
1.  โรคทางเดินหายใจ : ไอ หอบหืด หายใจสั้น
2. โรคทางเดินอาหาร : อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด สะอึก ท้องผูก ท้องเสียและอาเจียน ลำไส้อักเสบ
3. โรคระบบสืบพันธุ์ : ฝันเปียก กามตายด้าน อาการหลั่งเร็ว เป็นหมัน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ปวดประจำเดือน มดลูกหย่อน รกค้าง ตกขาว
4. โรคทางจิต 
5. โรคอื่นๆ : ไส้เลื่อน ปวดเอว ปวดรอบสะดือ มือเท้าเย็น หายใจตื้น

การปรับเพิ่มลดจุดตามอาการ
อ่อนเพลีย
1. ท่าฝ่ามือสั่น (จ่างเจิ้น ; 掌振)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือด้านขวาสั่นจุดชี่ไห่ (气海CV6) สั่นจนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนประมาณ 1 นาที
สรรพคุณ : ให้ความอบอุ่น บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน
 

จุดชี่ไห่ (气海CV6)
ความหมาย :
ชี่ (气) แปลว่าลมปราณหยวน
ไห่ (海) แปลว่า ทะเล
จุดชี่ไห่อยู่ใต้สะดือและเป็นทะเลของพลังลมปราณหยวน(หยวนชี่)
ตำแหน่ง : อยู่กึ่งกลางท้องใต้สะดือ 1.5 ชุ่น

ใช้รักษา
1. โรคทางเดินหายใจ : ไอ หอบหืด หายใจสั้น
2. โรคทางเดือนอาหาร : อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด สะอึก ท้องผูก ท้องเสียอาเจียน ลำไส้อักเสบ
3. โรคระบบสืบพันธุ์ : ฝันเปียก กามตายด้าน อาการหลั่งเร็ว เป็นหมัน ประจำเดือนไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ปวดประจำเดือน มดลูกหย่อน รกค้าง ตกขาว
4. โรคทางจิต 
5. โรคอื่นๆ : ไส้เลื่อน ปวดเอว ปวดรอบสะดือ มือเท้าเย็น หายใจตื้น

2. อาหารไม่ย่อย
·  ท่ากดคลึง  (อั้นโหรว ; 按揉)



วิธีทำ : ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางกดคลึงจุดจงหว่าน (中脘 CV12) จนรู้สึกหน่วงประมาณ 1 นาที
สรรพคุณ : บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

จุดจงหว่าน (中脘 CV12)
ความหมาย :
จง ( 中) แปลว่า กลาง
หว่าน (脘) แปลว่า กระเพาะอาหาร
จุดนี้อยู่กลางกระเพาะอาหาร เป็นจุด Front-Mu ของกระเพาะอาหาร จุด Influential ของอวัยวะภายในเชื่อมจุดบนเส้นลมปราณ Hand Taiyang , Hand Shaoyang และ Foot Yangming
ตำแหน่ง : แนวกึ่งกลางลำตัว อยู่เหนือจากสะดือ 4 ชุ่น
ใช้รักษา :                                              
1. โรคระบบหายใจ : หอบหืด เสมหะมาก อาเจียนเป็นเลือด
2. โรคระบบย่อยอาหาร : ปวดกระเพาะอาหาร ท้องอืด อาเจียน สะอึก คลื่นไส้ กรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ อาหารไม่ย่อย ขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด ปวดท้อง เสียงลมในท้อง เบื่ออาหาร ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ท้องผูกบวมน้ำ ตาเหลืองและตัวเหลือง
3. โรคระบบหัวใจ : ใจสั่น เจ็บหน้าอก
4. โรคระบบสืบพันธุ์ : เลือดออกจากมดลูก โรคอาเจียนร้ายแรง
5. โรคทางจิต : นอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า หวาดระแวง ชัก เลือดออกในสมอง หมดสติ ชักในทารกเฉียบพลันและเรื้อรัง หมดสติหลังคลอดจากการเสียเลือดมาก
6. โรคอื่นๆ : ผื่นลมพิษ หมดสติจากลมฤดูร้อน มีไข้ ปัสสาวะสีคล้ำกลิ่นเหม็นในจมูก
 
3. มีไข้
·  ท่าคลึง  (โหรวฝ่า ; 揉法)



วิธีทำ :
ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางคลึงจุดต้าจุย  (大椎 GV14) จนรู้สึกหน่วง 1 นาที
สรรพคุณ : บำรุง กระตุ้นพลังลมปราณหยาง เพิ่มการไหลเวียนชี่และเลือด

จุดต้าจุย (大椎 GV14)
ความหมาย :
ต้า (大) แปลว่า ใหญ่
จุย (椎) แปลว่า กระดูกสันหลัง : จุดต้าจุย อยู่ใต้ Spinous process ของกระดูกสันหลังส่วนคอที่เจ็ด ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังคอที่ใหญ่ที่สุด
ตำแหน่ง : ใต้ Spinous process ของกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 7 ตรงกับกึ่งกลางระหว่าง Acromion ทั้งสองข้าง
ใช้รักษา : ใช้ได้ดีในการขจัดความร้อนรักษามาลาเลีย บำรุงชี่ ปอดพร่อง เช่น ไอ หายใจหอบ เหงื่อออกกลางคืน เป็นจุดบำรุง ขับลม ลมชัก ลมพิษ กลุ่มอาการภายนอก เปี่ยวเจิ้ง ปวดท้ายทอย เพราะเส้นลมปราณแถวคอไหลเวียนไม่คล่อง ทำให้ปวดและช่วยบำรุงสุขภาพ

·  ท่าบีบ (หนาฝ่า ; 拿法)



วิธีทำ : ใช้นิ้วมือและฝ่ามือบีบจุดเจียนจิ่ง (肩井 GB21) ทั้งสองข้าง ข้างละ 5-10 ครั้ง
สรรพคุณ : คลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและชี่

จุดเจียนจิ่ง (肩井 GB21)
ความหมาย : เจียน (肩) แปลว่า ไหล่ ; จิ่ง (井) แปลว่า บ่อน้ำ
จุดเจียนจิ่งอยู่ตรงรอยบุ๋มเหนือไหล่
ตำแหน่ง : อยู่บนบ่ากึ่งกลางระหว่างจุดต้าจุย (大椎GV14) กับ Acromion
ใช้รักษา : ปวดเกร็งท้ายทอย ปวดไหล่และหลัง แขนเป็นอัมพาต เต้านมอักเสบ น้ำนมไม่ไหล วัณโรคต่อมน้ำเหลือง คลอดยาก

·  ท่าจิก  (เชียฝ่า ; 掐法)



วิธีทำ : ใช้เล็บของนิ้วหัวแม่มือจิกลงบนจุดสือเซฺวียน (十宣 EX-UE11 ) และจุดเส้าซาง (少商 LU11)  จุดละประมาณ 3-5 ครั้ง
สรรพคุณ : กระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด 

จุดสือเซฺวียน (十宣 EX-UE11)
ตำแหน่ง : อยู่ตรงปลายนิ้วมือทั้งสิบ ห่างปลายเล็บประมาณ 0.1 ชุ่น
ใช้รักษา : โรคหลอดเลือดสมอง หมดสติ ลมชัก ไข้สูง ต่อมทอนซิลอักเสบ ลมชักในเด็กทารก ชาปลายนิ้วมือ

จุดเส้าซาง (少商 LU11)



ความหมาย :
เส้า (少) แปลว่า น้อย
ซาง (商) แปลว่า เสียงดนตรีที่สัมพันธ์กับธาตุโลหะ ซึ่งปอดเป็นธาตุโลหะจึงสัมพันธ์กับเสียงซาง จุดเส้าซางเป็นจุดสุดท้ายบนเส้นลมปราณจึงมีลมปราณน้อย
ตําแหน่ง : อยู่มุมล่างด้าน Radial ของเล็บนิ้วหัวแม่มือ ห่างจากมุมเล็บ 0.1 ชุ่น ตรงจุดตัดกันของ เส้นที่ลากผ่านขอบข้างเล็บและฐานเล็บ
ใช้รักษา : คออับเสบ ไอ เลือดกําเดาไหล หมดสติ โรคจิต อาละวาด มีไข้

ระยะเริ่มต้นทางคลินิก
3. วิธีการนวดทุยหนาสำหรับผู้ป่วยระยะแรก
1. ท่าลูบท้อง (ม๋อฝู่ ; 摩腹)



วิธีทำ :
ใช้ฝ่ามือขวาลูบท้องโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยลำดับแรกปล่อยมือตามธรรมชาติ วางมือลงใต้ลิ้นปี่ จากนั้นลูบตามเข็มนาฬิการอบสะดือ ขณะลูบผิวหนังที่ลูบห้ามขยับ โดยใช้แรงการนวดค่อนข้างเบาและออกแรงสม่ำเสมอ ลูบจนรู้สึกกล้ามเนื้อคลายตัว ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
สรรพคุณ :
กระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด

2. ท่าคลึงท้อง (โหรวฝู่ ; 揉腹)



วิธีทำ : ใช้มือขวาคลึงท้องโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา ลำดับแรกทำมือโดยให้งุ้มฝ่ามือโค้งขึ้นเล็กน้อย จากนั้นวางมือลงบนกลางสะดือ นวดคลึง เริ่มจากนิ้วหัวแม่มือ หมุนตามเข็มนาฬิกา ทิ้งน้ำหนักไปตามนิ้วมือ จนถึงบริเวณสันมือ ขณะคลึงให้รู้สึกผิวหนังขยับ ถ้าหากรู้สึกท้องเกร็งมากเกินไป สามารถนวดคลึงในท่านอนหงาย งอเข่าขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวมากขึ้น นวดคลึงจนรู้สึกกล้ามเนื้อคลายตัว ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
สรรพคุณ : กระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด

3. ท่าเคลื่อนท้อง (อวิ้นฝู่ ; 运腹)



วิธีทำ : ประสานมือสองข้างวางบนจุดไต้ม่าย (带脉 GB26)ด้านซ้าย จากนั้นเคลื่อนมือจากซ้ายไปขวา ประมาณ 3-5 ครั้ง
สรรพคุณ : กระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด

จุดไต้ม่าย (带脉 GB26)
ความหมาย :
ไต้ (带) แปลว่า เข็มขัด
ม่าย (脉) แปลว่า เส้นลมปราณ จุดนี้เป็นจุดรวมเส้นลมปราณถุงนํ้าดีที่มาบรรจบกับเส้นลมปราณไต้ม่าย
ตําแหน่ง : อยู่ด้านข่างลําตัว ระดับเดียวกับสะดือ
ใช้รักษา : ปวดท้อง ประจําเดือนมาไม่ปกติ ตกขาว ไส้เลื่อน ปวดหลัง เจ็บชายโครง

4. ท่าบีบคลึง (หนาโหรว ; 拿揉)



วิธีทำ : ใช้มือบีบคลึงต้นคอบ่า ทั้งสองข้าง ข้างละ 5-10 ครั้ง
สรรพคุณ : คลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและชี่

5. ท่าถูอก (ชาซง ; 擦胸)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือถูอกด้านหน้าซ้ายขวาสลับไปมา จนเริ่มรู้สึกอุ่นๆ ประมาณ 5-10 ครั้ง
สรรพคุณ : สลายเสมหะ กระตุ้นระบบทางเดินหายใจ

6. ท่าคลึงด้วยนิ้ว (จื่อโหรว ; 指揉)



วิธีทำ : ใช้นิ้วชี้คลึงจุดยฺหวินเหมิน (云门 LU1) และใช้นิ้วกลางคลึงจุดจงฝู่ (中府 LU2) จนรู้สึกหน่วงประมาน 1 นาที
สรรพคุณ : บำรุงเส้นลมปราณปอด กระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
 
จุดจงฝู่ (中府 LU1)
ความหมาย :
จง (中) แปลว่า ตรงกลาง
ฝู่ (府) แปลว่า สถานที่
จง หมายถึง จงเจียว เส้นลมปราณปอดเริ่มต้นจากจงเจียว ลมปราณจากม้ามและกระเพราะอาหารเข้าสู่เส้นลมปราณปอดที่จุดจงฝู่
ตำแหน่ง : อยู่ในช่องซี่โครงที่ 1 ห่างจากแนวกึ่งกลางหน้าอก 6 ชุ่น  หรืออยู่ด้านนอกหัวนม 2 ชุ่น
ใช้รักษา : ไอ หอบ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ปวดหลังและไหล่

จุดยฺหวินเหมิน (云门 LU2)
ความหมาย :
ยฺหวิน (云) แปลว่า เมฆ
เหมิน (门) แปลว่า ประตู
ยฺหวิน หมายถึง ชี่ของปอด จุดนี้จึงเป็นประตูสำหรับชี่ของปอด
ตำแหน่ง : อยู่บนหน้าอกส่วนบนเหนือต่อ Coracoid process ของ กระดูก Scapula ในรอยบุ๋มของ Infraclavicular fossa ห่างจากแนวกึ่งกลางหน้าอก 6 ชุ่น
ใช้รักษา : ไอ หอบ ปวดหน้าอก ปวดไหล่

7. ท่าบีบยกขึ้น (ถีหนา ; 提拿)



วิธีทำ : ใช้มือบีบยกขึ้นกล้ามเนื้อทรวงอกมัดใหญ่ (Pectoralis major) ทั้งสองข้าง ข้างละ 3-5 ครั้ง
สรรพคุณ : คลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

 8. ท่าตบ (ไพฝ่า ; 拍法)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือตบลงบนต้นแขนด้านนอก ข้อพับแขนและแขนท่อนปลายด้านนอกทั้งสองข้าง จุดละ 5-10 ครั้ง
สรรพคุณ : กระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด

 
การวินิจฉัยกลุ่มอาการและการปรับเพิ่มลดหัตถการ
กลุ่มอาการความเย็นชื้นอุดกั้นปอด
1. ท่าจับบีบ (จวาหนา ; 抓拿)



วิธีทำ :
ใช้นิ้วมือและฝ่ามือจับบีบจุดต้าจุย (大椎GV14) และ จุดเจียนจิ่ง (肩井GB21) หรือใช้อุปกรณ์อื่นๆ ช่วย เช่น กวาซา (刮痧) จุดละ 5-10 ครั้ง
สรรพคุณ :
คลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและชี่

จุดต้าจุย (大椎GV14)
ความหมาย : ต้า (大) แปลว่า ใหญ่ ; จุย  (椎) แปลว่า กระดูกสันหลัง  จุดต้าจุยอยู่ใต้ Spinous process ของกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 7 ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังคอที่ใหญ่ที่สุด
ตำแหน่ง : ใต้ Spinous process ของกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 7 ตรงกับกึ่งกลางระหว่าง Acromion ทั้งสองข้าง
ใช้รักษา : ใช้ได้ดีในการขจัดความร้อนรักษามาลาเลีย บำรุงชี่ ปอดพร่อง เช่น ไอ หายใจหอบ เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นจุดบำรุง ขับลม ลมชัก ลมพิษ กลุ่มอาการภายนอก เปี่ยวเจิ้ง ปวดท้ายทอย เพราะเส้นลมปราณแถวคอไหลเวียนไม่คล่อง ทำให้ปวดและช่วยบำรุงสุขภาพ


 
จุดเจียนจิ่ง (肩井GB21)
ความหมาย :
เจียน (肩) แปลว่า ไหล่
จิ่ง (井) แปลว่า บ่อน้ำ  จุดเจียนจิ่งอยู่ตรงรอยบุ๋มเหนือไหล่
ตำแหน่ง : อยู่บนบ่ากึ่งกลางระหว่างจุดต้าจุย (大椎GV14) กับ Acromion
ใช้รักษา : ปวดเกร็งท้ายทอย ปวดไหล่และหลัง แขนเป็นอัมพาต เต้านมอักเสบ น้ำนมไม่ไหล วัณโรคต่อมน้ำเหลือง คลอดยาก

ท่าจิก  (เชียฝ่า ; 掐法)



วิธีทำ : ใช้เล็บของนิ้วหัวแม่มือจิกลงบนจุดสือเซฺวียน (十宣 EX-UE11) และ จุดเส้าซาง (少商 LU11) ใช้นิ้วมือ ฝ่ามือจิกจุดไต้ม่าย (带脉 GB26) จุดละประมาณ 3-5 ครั้ง
สรรพคุณ : กระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด 

จุดสือเซฺวียน (十宣 EX-UE11)
ตำแหน่ง : อยู่ตรงปลายนิ้วมือทั้งสิบ ห่างปลายเล็บประมาณ 0.1 ชุ่น
ใช้รักษา : โรคหลอดเลือดสมอง หมดสติ ลมชัก ไข้สูง ต่อมทอนซิลอักเสบ ลมชักในเด็กทารก ชาปลายนิ้วมือ

จุดเส้าซาง (少商 LU11)



ความหมาย:
เส้า (少) แปลว่า น้อย
ซาง (商) แปลว่า เสียงดนตรีที่สัมพันธ์กับธาตุโลหะ ซึ่งปอดเป็นธาตุโลหะจึงสัมพันธ์กับเสียงซาง จุดเส้าซางเป็นจุดสุดท้ายบนเส้นลมปราณจึงมีลมปราณน้อย
ตําแหน่ง : อยู่มุมล่างด้าน Radial ของเล็บนิ้วหัวแม่มือ ห่างจากมุมเล็บ 0.1 ชุ่น ตรงจุดดัดกันของ เส้นที่ลากผ่านขอบข้างเล็บและฐานเล็บ
ใช้รักษา : คออับเสบ ไอ เลือดกําเดาไหล หมดสติ โรคจิต อาละวาด มีไข้

จุดไต้ม่าย (带脉 GB26)



ความหมาย :
ไต้ (带) แปลว่า เข็มขัด
ม่าย (脉) แปลว่า เส้นลมปราณ
จุดนี้เป็นจุดรวมเส้นลมปราณถุงนํ้าดีที่มาบรรจบกับเส้นลมปราณไต้ม่าย
ตําแหน่ง : อยู่ด้านข่างลําตัว ต่ำกว่าจุดจังเหมิน (章门) ลงมา 1.8 ชุ่น อยู่ระดับเดียวกับสะดือ
ใช้รักษา : ปวดท้อง ประจําเดือนมาไม่ปกติ ตกขาว ไส้เลื่อน ปวดหลัง เจ็บชายโครง

3. ท่าหยิกสันหลัง (เนียฝ่า ; 捏脊)


                            * เส้นลมปราณตู        * เส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ


วิธีทำ : ใช้นิ้วมือหยิกกล้ามเนื้อสันหลังหรือใช้กวาซา (刮痧) โดยเน้นเส้นลมปราณตู (督脉The governor vessel) และ เส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ (膀胱经The bladder meridian of foot-TaiYang) ทั้งสองข้าง จนรู้สึกกล้ามเนื้อตึง
สรรพคุณ : กระตุ้นลมปราณหยาง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

* เส้นลมปราณตู (督脉The governor vessel)
ตำแหน่ง :  เริ่มต้นจากกึ่งกลางภายในท้องน้อยลงไปผ่านฝีเย็บมาที่ผิวหนังเป็นจุดแรกของเส้นลมปราณนี้คือ จุดฉางเฉียง (长强 ) อ้อมไปด้านหลังขึ้นไปตามแนวกลางหลัง ผ่านหลังคอถึง จุดเฟิงฝู่ (风府) เข้าไปในสมองแล้วกลับออกมาขึ้นข้างบนตามแนวกลาง ผ่านส่วนบนของศีรษะอ้อมไปผ่านหน้าผาก จมูก ริมฝีปากบน สุดที่สายรั้งระหว่างริมฝีปากบนกับเหงือก จุดอิ๋นเจียว (龈交)

ใช้รักษา : ใช้รักษาโรคของสมองและจิตใจ ภาวะไข้ โรคส่วนเอว สะโพก ศีรษะคอและความผิดปกติต่างๆ ตามทางเดินของเส้นลมปราณ

* เส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ
(膀胱经 The bladder meridian of Foot-TaiYang)

ตำแหน่ง : โดยเส้นแรกอยู่ด้านข้างกระดูกสันหลังขนานลงมาห่างกระดูกสันหลัง 1.5 ชุ่น พอถึงเอวก็จะมุดเข้าไปในเอว สัมพันธ์กับไต ไปกระเพาะปัสสาวะ แล้วออกมาที่ตำแหน่งเดิมที่จุดเซิ่นซู (肾俞) ลงมาชิดรูกระเบนเหน็บ 2 ข้างที่แก้มก้น ไปด้านหลังขาถึงกึ่งกลางขาพับที่จุดเหว่ยจง (委中)

เส้นที่สองจาก จุดเทียนจู้ (天柱) ห่างแนวกลางกระดูกสันหลัง 3 ชุ่น ขนานลงมากับเส้นแรก ถึงกระเบนเหน็บจะเฉียงมาด้านข้าง พบปะเส้นลมปราณเท้าเส้าหยางถุงน้ำดีที่จุดหวนเที่ยว (环跳) แล้วต่อมาด้านหลังของขาอยู่นอกต่อเส้นแรก มาหยุดที่ข้อพับหลังเข่าที่จุดเหว่ยหยาง (委阳) แล้วไปเชื่อมกับเส้นแรกที่จุดเหว่ยจง (委中) รวมเป็นเส้นเดียวกันแล้วต่อลงมากลางน่อง เฉออกด้านข้างนอกเล็กน้อย ผ่านด้านข้างตาตุ่มด้านนอก ถึงหลังตาตุ่มนอก แล้วไปตามขอบนอกของฝ่าเท้า (ตรงที่สีผิวตัดกัน) มาหยุดที่ปลายนิ้วเท้าที่ห้า จุดสุดท้ายที่โคนนิ้วก้อยด้านนอก จุดจื้ออิน (至阴)

ข้อบ่งใช้ : ใช้รักษาโรคของ ศีรษะ ต้นคอ ตา เอว ขา และจุดซู (背俞穴) ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะ (脏腑) นั้นๆ ได้

4. ท่าตบ (ไพฝ่า ; 拍法)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือตบที่จุดฝังเข็มได้แก่ จุดไป่หุ้ย (百会GV20) จุดถันจง (膻中 CV17) จุดต้าเปา (大包SP21) และจุดเอวียนเย่  (渊液GB22) จุดละประมาณ 5-10 ครั้ง
สรรพคุณ : กระตุ้นพลังลมปราณหยาง คลายกล้ามเนื้อ ขจัดเสียชี่ (邪气)

จุดถันจง (膻中  CV17)
ความหมาย : ถัน (膻) แปลว่า เปิดออก
จง (中) แปลว่า ตรงกลาง สมัยโบราณเรียก ตรงกลางหน้าอกที่เปิดออกว่าถันจง
ตำแหน่ง : อยู่ที่หน้าอกกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง ตรงกับช่องระหว่างกระดูกซี่โครงที่ 4

ใช้รักษา : ไอ หอบ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก น้ำนมน้อย

จุดต้าเปา (大包  SP21)



ความหมาย :
ต้า (大) แปลว่า ใหญ่
เปา (包) แปลว่า บรรจุ
จุดนี้อยู่ตรงกับเส้นลมปราณย่อยแขนงใหญ่ของม้าม แยกออกและกระจายไปเชื่อมอวัยวะภายในอื่นๆ
ตำแหน่ง : อยู่ในแนว Midaxillary line ระหว่างกระดูกซี่โครงที่ 6 ใต้รักแร้6 ชุ่น
ใช้รักษา : ไอ หอบ ปวดเสียดชายโครง ปวดเมื่อยไปทั้งตัว แขนขาไม่มีแรง

จุดเอวียนเย่ (渊液GB22)



ความหมาย :
เอวียน (渊) แปลว่า บ่อน้ำลึก
เย่ (液) แปลว่า รักแร้
รักแร้ที่อยู่ลึกคล้ายบ่อน้ำ
ตําแหน่ง : อยู่ต่ำกว่ากึ่งกลางรักแร้ลงมา 3 ชุ่น จะอยู่ตรงช่องซี่โครงที่ 4 เมื่อกางแขน
ใช้รักษา : แน่นหน้าอก เจ็บชายโครง ปวดหรือชาแขน

กลุ่มอาการความร้อนชื้นสุมปอด
1. ท่ากดคลึง (อั้นโหรว ; 按揉)



วิธีทำ : ใช้นิ้วหัวแม่มือกดคลึงจุดชฺวีฉือ (曲池LI11) และใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางกดคลึงจุดต้าจุย (大椎 GV14) จนรู้สึกหน่วง จุดละประมาน 1 นาที
สรรพคุณ : บำรุง กระตุ้นพลังลมปราณหยาง เพิ่มการไหลเวียนชี่และเลือด

จุดชฺวีฉือ (曲池LI11)
ความหมาย :
ชฺวี (曲) แปลว่า โค้งงอ
ฉือ (池) แปลว่า บึง
เมื่องอข้อศอก จุดชฺวีฉืออยู่ตรงรอยบุ๋มของศอก
ตําแหน่ง : อยู่ด้าน Radial ของข้อศอก งอข้อศอกเป็นมุม 90 องศา จุดนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างจุดฉื่อเจ๋อ กับ Lateral epicondyle ของกระดูก Humerus
ใช้รักษา
1. โรคตามเส้นลมปราณ : ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดบั้นเอว แขนอักเสบและบวมข้อศอก ปวดและจํากัดการเคลื่อนไหวข้อศอกและแขนเกร็งหรืออ่อนแรง แขนลีบและอ่นแรง อัมพาตครึ่งซีก
2. โรคของศีรษะ : ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เสียงอื้อในหู หู หนวก ปวดบริเวณด้านหน้าของหู ตาแดง ตาพร่ามัว ปวดฟัน คอบวม เจ็บคอ
3. โรคทางเดินหายใจ : ไอ หอบหืด แน่นหน้าอก กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
4. โรคทางเดินอาหาร : ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก อาเจียน ลําไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ
5. โรคทางจิต : Mania deprssion, Insanity, Timidness
6. โรคอื่น ๆ : โรคคอพอก โรคผื่นเป็นน้ำเหลือง โรคลมพิษ โรคหิดเหา โรคไฟลามทุ่ง โรคฝีคันฑสูตร ผิวแห้ง โรคความดันโลหิตสูง ไข้หวัด มีไข้จากความเย็น มาลาเรีย เบาหวาน บวม เต้านมอักเสบ คออักเสบ ปวดฟัน ตาแดง วัณโรคต่อมน้ำเหลือง ลมพิษ ปวดบวมมือแขน แขนไม่มีแรง ความดันโลหิตสูง ปวดข้อศอกด้านนอก ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน โรคจิต อาละวาด

จุดต้าจุย (大椎 GV14)



ความหมาย :
ต้า (大) แปลว่า ใหญ่
จุย (椎) แปลว่า กระดูกสันหลัง
จุดต้าจุยอยู่ใต้ Spinous process ของกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 7 ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังคอที่ใหญ่ที่สุด
ตำแหน่ง : ใต้ Spinous process ของกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 7 ตรงกับกึ่งกลางระหว่าง Acromion ทั้งสองข้าง
ใช้รักษา : ใช้ได้ดีในการขจัดความร้อนรักษามาลาเรีย บำรุงชี่ ปอดพร่อง เช่น ไอ หายใจหอบ เหงื่อออกกลางคืน เป็นจุดบำรุง ขับลม ลมชัก ลมพิษ กลุ่มอาการภายนอก เปี่ยวเจิ้ง ปวดท้ายทอย เพราะเส้นลมปราณแถวคอไหลเวียนไม่คล่อง ทำให้ปวดและช่วยบำรุงสุขภาพ

2. ท่าตบตี (ไพจี ; 拍击)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือเน้นตบตีจุดต้าเปา (大包 SP21) ทั้งสองข้าง ข้างละ 5-10 ครั้ง
สรรพคุณ : กระตุ้นลมปราณหยาง คลายกล้ามเนื้อ ขจัดเสียชี่ (邪气)

จุดต้าเปา (大包  SP21)
ความหมาย :
ต้า (大) แปลว่า ใหญ่
เปา (包) แปลว่า บรรจุ
จุดนี้อยู่ตรงกับเส้นลมปราณย่อยแขนงใหญ่ของม้าม แยกออกและกระจายไปเชื่อมอวัยวะภายในอื่นๆ
ตำแหน่ง : อยู่ในแนว Midaxillary line ระหว่างกระดูกซี่โครงที่ 6 ใต้รักแร้6 ชุ่น
ใช้รักษา : ไอ หอบ ปวดเสียดชายโครง ปวดเมื่อยไปทั้งตัว แขนขาไม่มีแรง
สรรพคุณ : ให้ความอบอุ่น บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

 3. ท่าฝ่ามือสั่น (จ่างเจิ้น ; 掌振)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือสั่นจุดเสินเชฺวี่ย (神阙CV8) สั่นจนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนประมาณ 1 นาที

จุดเสินเชฺวี่ย (神阙CV8)
ความหมาย :
เสิน (神) แปลว่า จิตใจ
เชฺวี่ย (阙) แปลว่า ประตูวัง
จุดเสินเชฺวี่ยอยู่ตรงกลางสะดือ สะดือเป็นทางผ่านของลมปราณและเลือดไปสู่ทารกในครรภ์ เปรียบเป็นประตูของวังแห่งจิตใจ
ตําแหน่ง : ตรงกลางสะดือ
ใช้รักษา : ปวดท้อง ท้องเดิน ดากออก บวมนํ้า ลมปราณสูญสิ้น ลําไส้หย่อน บวมนํ้า

4. ท่าลูบ (ม๋อฝ่า ; 摩法)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือลูบจุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4) ขณะลูบผิวหนังที่ลูบห้ามขยับ โดยใช้แรงการนวดค่อนข้างเบาและออกแรงสม่ำเสมอ ลูบจนรู้สึกอุ่นที่จุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4) ประมาณ 3 นาที
สรรพคุณ : ให้ความอบอุ่น บำรุง กระตุ้นพลังลมปราณหยวน (หยวนชี่)

จุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4)
ความหมาย :
กวาน (关)  แปลว่า ด่าน ปิด
เหยฺวียน  (元)  แปลว่า หยวนชี่
จุดกวานเหยฺวียนอยู่ใต้สะดือและเป็นแหล่งสะสมพลังลมปราณหยวน(หยวนชี่)
ตำแหน่ง : อยู่ที่กึ่งกลางท้องน้อยใต้สะดือ 3 ชุ่น
ใช้รักษา
1. โรคทางเดินหายใจ : ไอ ไอเป็นเลือด หอบหืด ไม่มีแรงพูด วัณโรคปอด
2. โรคทางเดินอาหาร : อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ อุจจาระเป็นเลือด ดีซ่าน กระหายน้ำ
3. โรคทางเดินปัสสาวะ : ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นหยด ปัสสาวะเป็นเลือด กลั้นปัสสาวะไม่ได้
4. โรคระบบสืบพันธุ์ : ฝันเปียก กามตายด้าน โรคหลั่งเร็ว หนองใน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ตกขาวมีเลือดปน มดลูกหย่อน คันปากช่องคลอด รกค้าง
5. โรคทางจิต : เป็นลม นอนไม่หลับ ฝันเยอะ ความจำไม่ดี
6. โรคอื่นๆ : ฝีคัณฑสูตร อ่อนล้าที่เอวและขา ใจสั่น หายใจสั้น อ่อนเปลี้ย ผอม อ่อนแรง

5. ท่าถู (ชาฝ่า ; 擦法)



วิธีทำ : ใช้หลังมือทั้งสองข้างถูจุดปาเหลียว (八髎) ได้แก่ จุดซ่างเหลียว (上髎BL31 ) จุดชื่อเหลียว (次髎BL32) จุดจงเหลียว (中髎BL33) และจุดเซี่ยเหลียว (下髎BL34 ) จนรู้สึกอุ่น ประมาณ  5-10 ครั้ง
สรรพคุณ : ให้ความอบอุ่น บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

จุดซ่างเหลียว (上髎 BL31 )
ความหมาย : ซ่าง (上) แปลว่า บน ; เหลียว (髎) แปลว่า รู
จุดตรงรูบนของกระดูกกระเบนเหน็บ
ตําแหน่ง : บนกระเบนเหน็บ ตรงรูหลังกระเบนเหน็บที่ 1 (First posterior sacral foramen) ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างแนวกึ่งกลางตัว และ Posterior superior iliac spine
ใช้รักษา
1. โรคของระบบปัสสาวะและสืบพันธุ์ : ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะขุ่น ประจําเดือนมาไม่ปกติ มดลูกหย่อน ตกขาวที่มีสีขาวและแดง คันบริเวณอวัยวะเพศ ปวดประจําเดือน มีบุตรยาก ไร้สมรรถภาพทางเพศ
2. โรคอื่นๆ : หลังแข็ง ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดขา อ่อนแรง

 
จุดชื่อเหลียว (次髎 BL32)
ความหมาย :
ชื่อ (次) แปลว่า ที่สอง
เหลียว (髎) แปลว่ารู
จุดตรงรูที่สองของกระดูกกระเบนเหน็บ
ตําแหน่ง : บนกระเบนเหน็บ ตรงรูหลังกระเบนเหน็บที่ 2 (Second posterior sacral foramen) อยู่ล่างและในต่อจาก Posterior superior iliac
ใช้รักษา : ปัสสาวะขัด ปวดเอว ปวดขา ปวดระดู ระดูผิดปกติ ตกขาว ฝันเปียก ไส้เลื่อน

จุดจงเหลียว (中髎BL33)
ความหมาย :
จง (中) แปลว่า ตรงกลาง
เหลียว (髎) แปลว่า รู
จุดตรงรูกลางของกระดูก กระเบนเหน็บ
ตําแหน่ง : บนกระเบนเหน็บ ตรงรูหลังกระเบนเหน็บที่ 3 (Third posterior sacral foramen) อยู่ล่างและในต่อจากจุดชื่อเหลียว (BL32)
ใช้รักษา
1. โรคระบบสืบพันธุ์และปัสสาวะ : ระดูมาไม่ปกติ ตกขาวมีสีขาวและขุ่น
2. โรคระบบย่อยอาหาร : ท้องผูก ปวดท้อง ปวดในลําไส้ ถ่ายเหลว
3. โรคอื่นๆ เช่น ปวดหลังส่วนล่าง

จุดเซี่ยเหลียว (下髎 BL34 )
ความหมาย : เซี่ย (下) แปลว่า ล่าง ; เหลียว (髎) แปลว่า รู
จุดตรงรูล่างของกระดูกกระเบนเหน็บ
ตําแหน่ง : บนกระเบนเหน็บ ตรงรูหลังกระเบนเหน็บที่ 4 (Fourth posterior sacral foramen) อยู่ล่างและในต่อจากจุดจงเหลียว (BL33)
ใช้รักษา
1. โรคระบบสืบพันธุ์และปัสสาวะ : ไม่ปัสสาวะ ตกขาว ปวดประจําเดือน
2. โรคระบบทางเดินอาหาร : มีเสียงลมในลําไส้ ท้องเสีย ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด
3. โรคอื่นๆ : ปวดหลัง หลังแข็ง หันตัวลําบาก

ระยะฟื้นตัวทางคลินิก
วิธีการนวดทุยหนาสำหรับผู้ป่วยระยะฟื้นตัวทางคลินิก
1. ท่าลูบท้อง (ม๋อฝู่ ; 摩腹)



วิธีทำ
: ใช้ฝ่ามือลูบท้องโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยลำดับแรกปล่อยมือตามธรรมชาติ วางมือลงใต้ลิ้นปี่ จากนั้นลูบตามเข็มนาฬิการอบสะดือ ขณะลูบผิวหนังที่ลูบห้ามขยับ โดยใช้แรงการนวดค่อนข้างเบาและออกแรงสม่ำเสมอ ลูบจนรู้สึกกล้ามเนื้อคลายตัว ประมาณ 5 นาที
สรรพคุณ : กระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของชี่และเลือด

2. ท่ากดท้อง (อั้นฝู่ ; 按腹)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือกดจุดจงจี๋ (中极 CV3) ตามลมหายใจอย่างนุ่มนวล ประมาณ 5-10 ครั้ง 
สรรพคุณ : ช่วยในการปรับสมดุลการหายใจ

จุดจงจี๋ (中极 CV3)
ความหมาย :
จง (中) แปลว่า ตรงกลาง
จี๋ (极) แปลว่า พอดี  จุดจงจี๋อยู่ตรงศูนย์กลางของร่างกาย
ตำแหน่ง : อยู่ที่กึ่งกลางท้องน้อยใต้สะดือ 4 ชุ่น
ใช้รักษา : ปัสสาวะขัด ปัสสาวะรดที่นอน มดลูกหย่อน ฝันเปียก หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ระดูผิดปกติ เลือดออกทางช่องคลอด หญิงเป็นหมัน ตกขาว

3. ท่าสั่นท้อง (เจิ้นฝู่ ; 振腹)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือสั่นจุดเสินเชฺวี่ย (神阙CV8) และ จุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4) สั่นจนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนประมาณ 1 นาที
สรรพคุณ : ให้ความอบอุ่น บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

จุดเสินเชฺวี่ย (神阙CV8)
ความหมาย : เสิน (神) แปลว่า จิตใจ
เชฺวี่ย (阙) แปลว่า ประตูวัง
จุดเสินเชฺวี่ยอยู่ตรงกลางสะดือ สะดือเป็นทางผ่านของลมปราณและเลือดไปสู่ทารกในครรภ์ เปรียบเป็นประตูของวังแห่งจิตใจ
ตําแหน่ง : ตรงกลางสะดือ
ใช้รักษา : ปวดท้อง ท้องเดิน ดากออก บวมนํ้า ลมปราณสูญสิ้น ลําไส้หย่อน บวมนํ้า

จุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4)
ความหมาย : กวาน (关)  แปลว่า ด่าน ปิด
เหยฺวียน  (元)  แปลว่า หยวนชี่
จุดกวานเหยฺวียนอยู่ใต้สะดือและเป็นแหล่งสะสมพลังลมปราณหยวน(หยวนชี่)
ตำแหน่ง : อยู่ที่กึ่งกลางท้องน้อยใต้สะดือ 3 ชุ่น
ใช้รักษา
1. โรคทางเดินหายใจ : ไอ ไอเป็นเลือด หอบหืด ไม่มีแรงพูด วัณโรคปอด
2. โรคทางเดินอาหาร : อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ อุจจาระเป็นเลือด ดีซ่าน กระหายน้ำ
3. โรคทางเดินปัสสาวะ : ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นหยด ปัสสาวะเป็นเลือด กลั้นปัสสาวะไม่ได้
4. โรคระบบสืบพันธุ์ : ฝันเปียก กามตายด้าน อาการหลั่งเร็ว หนองใน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ตกขาวมีเลือดปน มดลูกหย่อน คันปากช่องคลอด รกค้าง
5. โรคทางจิต : เป็นลม นอนไม่หลับ หลับฝันมาก ความจำไม่ดี
6. โรคอื่นๆ : ฝีคัณฑสูตร อ่อนล้าที่เอวและขา ใจสั่น หายใจสั้น อ่อนเปลี้ย ผอม อ่อนแรง

4. ท่ากดคลึง (อั้นโหรว ; 按揉)



วิธีทำ : ใช้นิ้วหัวแม่มือกดคลึงบริเวณจุดฝังเข็มทั้งสองข้างได้แก่ จุดจู๋ซานหลี่ (足三里ST36) จุดเฟิงหลง (丰隆ST40) และ จุดซานอินเจียว (三阴交 SP6) จนรู้สึกหน่วง จุดละประมาณ 1 นาที
สรรพคุณ : บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน
 
จุดจู๋ซานหลี่ (足三里ST36)
ความหมาย :
จู๋ (足) แปลว่า ขา
ซาน (三) แปลว่า สาม
หลี่ (里) แปลว่า หน่วยที่ใช้เรียกระยะทางสมัยโบราณ จุดนี้อยู่ใต้เข่า 3 ชุ่น
ตำแหน่ง : ใต้กึ่งกลางเข่าชิดขอบนอกของกระดูก Patella ลงมา 3 ชุ่น (หรือใต้รอยบุ๋มนอกของเข่าเมื่องอเข่า 90 องศา) ในแนวห่างจากขอบกระดูก Tibia 1 นิ้วมือ (นิ้วกลาง)
ใช้รักษา
1. โรคตามเส้นลมปราณ : ปวดบวมที่เข่าและเท้า โรคอ่อนแรง อัมพาตครึ่งท่อน
2. โรคของศีรษะ : สายตามัว จมูกแห้ง คัดแน่นจมูก หูหนวก เสียงอื้อในหู อัมพาตใบหน้า เจ็บคอ
3. โรคทางเดินหายใจ : หวัด ไอ หอบหืด เสมหะมาก วัณโรคปอด เลือดคั่งในอก
4. โรคทางเดินอาหาร : เจ็บลิ้นปี่ ท้องอืดแน่น อาเจียน สะอึก ท้องร้องโครกคราก ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้อักเสบ ปวดกระเพาะ อาหารไม่ย่อย ไส้ติ่งอักเสบ
5. โรคระบบหัวใจ : ใจสั่น รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจตื้น ปวดหัวใจเฉียบพลัน
6. โรคทางเดินปัสสาวะ : กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะลำบาก
7. โรคระบบสืบพันธุ์ : เวียนศีรษะหลังคลอด ปวดท้องหลังคลอด ตกขาว แพ้ท้อง ครรภ์เป็นพิษ เต้านมอักเสบ
8. โรคทางจิต : Manic-depressive syndrome, Wild laugh, โรคฮิสทีเรีย
9. โรคผิวหนัง : ฝีคัณฑสูตร โรคลมพิษ
10. โรคอื่นๆ : อ่อนแรง ภาวะชี่ไม่เพียงพอ ซูบผอม มีไข้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีไข้แต่ไม่มีเหงื่อ ไข้สูง ชักกระตุก ไส้เลื่อน ปวดตึงแน่นชายโครง ความดันโลหิตสูง
สรรพคุณพิเศษ : รักษาโรคของกระเพาะอาหาร โรคทางสติสัมปชัญญะ ลดความดันโลหิตได้ดี เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวได้ เป็นจุดที่นิยมใช้ในการบำรุงสุขภาพที่ดีมากจุดหนึ่ง (มีโรคก็ใช้รักษาโรค ไม่มีโรคก็ใช้บำรุงสุขภาพได้)

จุดเฟิงหลง (丰隆ST40)



ความหมาย :
เฟิง (丰) แปลว่า อุดมสมบูรณ์
หลง (隆) แปลว่า ยิ่งใหญ่
จุดนี้เป็นจุดที่มีลมปราณมาก
ตำแหน่ง : อยู่ที่หน้าแข้งเหนือตาตุ่มนอกขึ้นมา 8 ชุ่น ห่างขอบกระดูก Tibia ทางด้านนอก 2 ชุ่น
ใช้รักษา : ปวดศีรษะ วิงเวียน ไอมีเสมหะ อาเจียน ท้องผูก บวมน้ำ โรคจิตอาละวาด ลมชัก เมื่อยขาไม่มีแรง
สรรพคุณพิเศษ : เป็นจุดใช้ขับเสมหะได้ดีมาก (เสมหะที่ไม่มีรูปร่าง จะทำให้เกิดอาการวิงเวียน อาเจียนและเป็นลม)
 
จุดซานอินเจียว  (三阴交 SP6)


ความหมาย :
ซาน (三) แปลว่า สาม
อิน (阴) แปลว่า เส้นลมปราณ
อินเจียว (交) แปลว่า ตัดกัน จุดที่เส้นลมปราณอิน 3 เส้นมาตัดกัน
ตำแหน่ง : เหนือยอดตาตุ่มด้านใน 3 ชุ่นชิดขอบด้านหลังกระดูก Tibia
ใช้รักษา
1. โรคตามเส้นลมปราณ : ปวดต้นขาด้านใน โรคโปลิโอ อัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากร่างกายอ่อนแรง
2. โรคของศีรษะ : คออักเสบลิ้นแข็ง เลือดกำเดาไหล
3. โรคทางเดินหายใจ : ไอ
4. โรคทางเดินอาหาร เจ็บลิ้นปี่ อาเจียน สะอึก อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดท้อง แน่นและเจ็บในหน้าอกและท้อง ลำไส้อักเสบ ดีซ่าน บวม รู้สึกตัวหนักหนักๆ
5. โรคทางเดินปัสสาวะ : กลั้นปัสสาวะไม่ได้ โรคหนองใน
6. โรคระบบสืบพันธุ์ : กามตายด้าน อาการหลั่งเร็ว ปวดองคชาติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ตกขาวมีเลือดปน มดลูกหย่อน รกค้าง น้ำคาวปลาตกค้างหรือมีมากเกิน เป็นหมัน เวียนศรีษะเนื่องจากขาดเลือด ก้อนในท้อง
7. โรคทางจิต : Manic-depressive syndrome โรคลมชัก นอนไม่หลับ สมองเสื่อม
8. โรคอื่นๆ : ฝีหัวช้าง โรคลมพิษ ผื่นคันเป็นหนอง มีบุตรยาก คลอดยาก ฝันเปียก ปัสสาวะรดที่นอน ขาชา (ขาด Vitamin B1)
สรรพคุณเด่น
1. โรคของระบบการย่อย
2. โรคของระบบสืบพันธุ์ในสตรี : ประจำเดือนมาไม่ปกติ ตกขาว มีบุตรยาก คลอดยาก
3. โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย
4. โรคของทางเดินปัสสาวะ : ปัสสาวะรดที่นอน ปัสสาวะไม่รู้ตัว ปัสสาวะขัด ปัสสาวะมากเกินไป ปัสสาวะไม่ออก ขาบวม บวมน้ำ

การปรับเพิ่มลดหัตถการตามกลุ่มอาการ
กลุ่มอาการชี่ปอดและม้ามพร่อง

1. ท่ากดคลึง (อั้นโหรว ; 按揉)



วิธีทำ : ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางกดคลึงจุดช่างหว่าน (上脘CV13) จุดจงหว่าน (中脘 CV12) และใช้นิ้วหัวแม่มือกดคลึงจุดจู๋ซานหลี่ (足三里ST36) จนรู้สึกหน่วง จุดละประมาณ 1 นาที
สรรพคุณ : บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

จุดช่างหว่าน (上脘CV13)
ความหมาย :
ซ่าง (上) แปลว่า ข้างบน
หว่าน (脘) แปลว่า กระเพาะอาหาร
จุดซ่างหว่านอยู่ตรงกับส่วนล่างของกระเพาะอาหาร
ตำแหน่ง : อยู่ที่กึ่งกลางท้องเหนือสะดือ 5 ชุ่น
ใช้รักษา : ปวดกระเพาะอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด โรคจิต ลมชัก

จุดจงหว่าน (中脘 CV12)
ความหมาย :
จง ( 中) แปลว่า กลาง
หว่าน (脘) แปลว่า กระเพาะอาหาร
จุดนี้อยู่กลางกระเพาะอาหาร เป็นจุด Front-Mu ของกระเพาะอาหาร จุด Influential ของอวัยวะภายในเชื่อมจุดบนเส้นลมปราณ Hand Taiyang, Hand Shaoyang และ Foot Yangming
ตำแหน่ง : แนวกึ่งกลางลำตัว อยู่เหนือจากสะดือ 4 ชุ่น
ใช้รักษา                                                
1. โรคระบบหายใจ : หอบหืด เสมหะมาก อาเจียนเป็นเลือด
2. โรคระบบย่อยอาหาร : ปวดกระเพาะอาหาร ท้องอืด อาเจียน สะอึก คลื่นไส้ กรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ อาหารไม่ย่อย ขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด ปวดท้อง เสียงลมในท้อง เบื่ออาหาร ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ท้องผูกบวมน้ำ ตาเหลืองและตัวเหลือง
3. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด : ใจสั่น เจ็บหน้าอก
4. โรคระบบสืบพันธุ์ : เลือดออกจากมดลูก โรคอาเจียนร้ายแรง
5. โรคจิตใจ : นอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า หวาดระแวง ชัก เลือดออกในสมอง หมดสติ ชักในทารกเฉียบพลันและเรื้อรัง หมดสติหลังคลอดจากการเสียเลือดมาก
6. โรคอื่นๆ : ผื่นลมพิษ หมดสติจากลมฤดูร้อน มีไข้ ปัสสาวะสีคล้ำกลิ่นเหม็นในจมูก

จุดจู๋ซานหลี่ (足三里ST36)



ความหมาย :
จู๋ (足) แปลว่า ขา
ซาน (三) แปลว่า สาม
หลี่ (里) แปลว่าหน่วยที่ใช้เรียกระยะทางสมัยโบราณ จุดนี้อยู่ใต้เข่า 3 ชุ่น
ตำแหน่ง : ใต้กึ่งกลางเข่าชิดขอบนอกของกระดูก Patella ลงมา 3 ชุ่น (หรือใต้รอยบุ๋มนอกของเข่าเมื่องอเข่า 90 องศา) ในแนวห่างจากขอบกระดูก Tibia 1 นิ้วมือ (นิ้วกลาง)
ใช้รักษา
1. โรคตามเส้นลมปราณ : ปวดบวมที่เข่าและเท้า โรคอ่อนแรง อัมพาตครึ่งท่อน
2. โรคของศีรษะ : สายตามัว จมูกแห้ง คัดแน่นจมูก หูหนวก เสียงอื้อในหู อัมพาตใบหน้า เจ็บคอ
3. โรคทางเดินหายใจ : หวัด ไอ หอบหืด เสมหะมาก วัณโรคปอด เลือดคั่งในอก
4. โรคทางเดินอาหาร : เจ็บลิ้นปี่ ท้องอืดแน่น อาเจียน สะอึก ท้องร้องโครกคราก ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้อักเสบ ปวดกระเพาะ อาหารไม่ย่อย ไส้ติ่งอักเสบ
5. โรคระบบหัวใจ : ใจสั่น รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจตื้น ปวดหัวใจเฉียบพลัน
6. โรคทางเดินปัสสาวะ : กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะลำบาก
7. โรคระบบสืบพันธุ์ : เวียนศีรษะหลังคลอด ปวดท้องหลังคลอด ตกขาว แพ้ท้อง ครรภ์เป็นพิษ เต้านมอักเสบ
8. โรคทางจิต : Manic-depressive syndrome, Wild laugh, โรคฮิสทีเรีย
9. โรคผิวหนัง : ฝีคัณฑสูตร โรคลมพิษ
10. โรคอื่น ๆ : อ่อนแรง ภาวะชี่ไม่เพียงพอ ซูบผอม มีไข้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีไข้แต่ไม่มีเหงื่อ ไข้สูง  ชักกระตุก ไส้เลื่อน ปวดตึงแน่นชายโครง ความดันโลหิตสูง

สรรพคุณพิเศษ : รักษาโรคของกระเพาะอาหาร โรคทางสติสัมปชัญญะ ลดความดันโลหิตได้ดี เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวได้ เป็นจุดที่นิยมใช้ในการบำรุงสุขภาพที่ดีมากจุดหนึ่ง (มีโรคก็ใช้รักษาโรค ไม่มีโรคก็ใช้บำรุงสุขภาพได้)

2. ท่านิ้วสั่น (จื่อเจิ้น ; 指振)



วิธีทำ : ใช้นิ้วกลางกดสั่นบนจุดเทียนชู  (天枢ST25) กดสั่นจนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนประมาณ 1 นาที
สรรพคุณ :  บำรุง กระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย

จุดเทียนชู (天枢ST25)
ความหมาย :
เทียน (天) แปลว่าสวรรค์
ซู (枢) แปลว่า แกน
สะดือเป็นจุดแบ่งแยกสวรรค์และโลก จุดเทียนซูอยู่ตรงสะดือถือเป็น แกนระหว่างสวรรค์และโลก
ตำแหน่ง : ระดับเดียวกับสะดือ ห่างจากสะดือในแนวราบ 2 ชุ่น
ใช้รักษา : ท้องอืดแน่น ลำไส้มีเสียงดัง ปวดรอบสะดือ ท้องผูก ท้องเสีย ประจำเดือนผิดปกติ คลำพบก้อนในท้อง เนื่องจากเป็นจุดมู่ของลำไส้ใหญ่ รักษาได้ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้ อาการของเซี่ยเจียว (下焦) ขับถ่ายสืบพันธุ์ก็ใช้ได้ ถือเป็นแกนในการปรับระหว่าง จงเจียว (中焦)  กับเซี่ยเจียว (下焦)

3. ท่าสั่นท้อง (เจิ้นฝู่ ; 振腹)



วิธีทำ : ใช้ฝ่ามือสั่นจุดเสินเชฺวี่ย (神阙CV8)  และ จุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4) สั่นจนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนประมาณ 1 นาที
สรรพคุณ : ให้ความอบอุ่น บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน

จุดเสินเชฺวี่ย (神阙CV8)
ความหมาย :
เสิน (神) แปลว่า จิตใจ
เชฺวี่ย (阙) แปลว่า ประตูวัง
จุดเสินเชฺวี่ยอยู่ตรงกลางสะดือ สะดือเป็นทางผ่านของลมปราณและเลือดไปสู่ทารกในครรภ์ เปรียบเป็นประตูของวังแห่งจิตใจ
ตําแหน่ง : ตรงกลางสะดือ
ใช้รักษา : ปวดท้อง ท้องเดิน ดากออก บวมนํ้า ลมปราณสูญสิ้น ลําไส้หย่อน บวมนํ้า

จุดกวานเหยฺวียน (关元 CV4)
ความหมาย :
กวาน (关)  แปลว่า ด่าน ปิด
เหยฺวียน  (元)  แปลว่า หยวนชี่
จุดกวานเหยฺวียนอยู่ใต้สะดือและเป็นแหล่งสะสมลมปราณหยวน
ตำแหน่ง : อยู่ที่กึ่งกลางท้องน้อยใต้สะดือ 3 ชุ่น
ใช้รักษา
1. โรคทางเดินหายใจ : ไอ ไอเป็นเลือด หอบหืด ไม่มีแรงพูด วัณโรคปอด
2. โรคทางเดินอาหาร : อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ อุจจาระเป็นเลือด ดีซ่าน กระหายน้ำ
3. โรคทางเดินปัสสาวะ : ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นหยด ปัสสาวะเป็นเลือด กลั้นปัสสาวะไม่ได้
4. โรคระบบสืบพันธุ์ : ฝันเปียก กามตายด้าน อาการหลั่งเร็ว หนองใน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ตกขาวมีเลือดปน มดลูกหย่อน คันปากช่องคลอด รกค้าง
5. โรคทางจิต : เป็นลม นอนไม่หลับ หลับฝันมาก ความจำไม่ดี
6. โรคอื่นๆ : ฝีคัณฑสูตร อ่อนล้าที่เอวและขา ใจสั่น หายใจสั้น อ่อนเปลี้ย ผอม อ่อนแรง

กลุ่มอาการชี่และอินพร่อง
ท่ากดคลึง (อั้นโหรว ; 按揉)



วิธีทำ : ใช้นิ้วหัวแม่มือกดคลึงจุดเน่ยกวาน (内关PC6) จุดจู๋ซานหลี่ (足三里ST36)  และ จุดซานอินเจียว (三阴交 SP6) จนรู้สึกหน่วงทั้งสองข้าง จุดละประมาณ 1 นาที
สรรพคุณ : บำรุง ช่วยให้เลือดและชี่หมุนเวียน  

จุดเน่ยกวาน (内关PC6)
ความหมาย :
เน่ย (内)  แปลว่า ด้านใน
กวาน (关)  แปลว่า ด่าน ปิด
จุดเน่ยกวานเป็นจุดหรือด่านสำคัญทางด้านในแขน
ตำแหน่ง : อยู่เหนือรอยพับข้อมือ 2 ชุ่น บนแนวเส้นต่อระหว่างจุดชฺวีเจ๋อ (PC3) กับจุดต้าหลิง (PC3)
ใช้รักษา
1. โรคตามเส้นลมปราณ : ปวดเกร็งแขน ข้อศอกและข้อมือ อัมพาตครึ่งซีก
2. โรคของศีรษะ : ไมเกรน เวียนศีรษะ
3. โรคทางเดินหายใจ : ไอ หอบหืด แน่นหน้าอก หายใจตื้น
4. โรคทางเดินอาหาร : ท้องอืด อาเจียน สะอึก ปวดท้อง ท้องเสีย โรคกระเพาะอาหารและท้องอืด
5. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด : ใจสั่น เจ็บหัวใจ เจ็บหน้าอกและชายโครง
6. โรคระบบสืบพันธุ์ : ประจำเดือนมาไม่ปกติ แพ้ท้อง อาเจียน เวียนศีรษะหลังคลอด ฝันเปียก
7. โรคทางจิต : นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคลมชัก
8. โรคอื่น ๆ : เป็นลมแดด มาลาเรีย โรคไร้เหงื่อ
สรรพคุณเด่น : ขยายทรวงอก ช่วยปรับการเดินชี่ ปรับการเต้นของหัวใจให้ปกติ
 
จุดจู๋ซานหลี่ (足三里ST36)



ความหมาย :
จู๋ (足) แปลว่า ขา
ซาน (三) แปลว่า สาม
หลี่ (里) แปลว่า หน่วยที่ใช้เรียกระยะทางสมัยโบราณ จุดนี้อยู่ใต้เข่า 3 ชุ่น
ตำแหน่ง : ใต้กึ่งกลางเข่าชิดขอบนอกของกระดูก Patella ลงมา 3 ชุ่น (หรือใต้รอยบุ๋มนอกของเข่าเมื่องอเข่า 90 องศา) ในแนวห่างจากขอบกระดูก Tibia 1 นิ้วมือ (นิ้วกลาง)
ใช้รักษา
1. โรคตามเส้นลมปราณ : ปวดบวมที่เข่าและเท้า โรคอ่อนแรง อัมพาตครึ่งท่อน
2. โรคของศีรษะ : สายตามัว จมูกแห้ง คัดแน่นจมูก หูหนวก เสียงอื้อในหู อัมพาตใบหน้า เจ็บคอ
3. โรคทางเดินหายใจ : หวัด ไอ หอบหืด เสมหะมาก วัณโรคปอด เลือดคั่งในอก
4. โรคทางเดินอาหาร : เจ็บลิ้นปี่ ท้องอืดแน่น อาเจียน สะอึก ท้องร้องโครกคราก ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้อักเสบ ปวดกระเพาะ อาหารไม่ย่อย ไส้ติ่งอักเสบ
5. โรคระบบหัวใจ : ใจสั่น รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจตื้น ปวดหัวใจเฉียบพลัน
6. โรคทางเดินปัสสาวะ : กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะลำบาก
7. โรคระบบสืบพันธุ์ : เวียนศีรษะหลังคลอด ปวดท้องหลังคลอด ตกขาว แพ้ท้อง ครรภ์เป็นพิษ เต้านมอักเสบ
8. โรคทางจิต : Manic-depressive syndrome, Wild laugh, โรคฮิสทีเรีย
9. โรคผิวหนัง : ฝีคัณฑสูตร โรคลมพิษ
10. โรคอื่น ๆ : อ่อนแรง ภาวะชี่ไม่เพียงพอ ซูบผอม มีไข้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีไข้แต่ไม่มีเหงื่อ ไข้สูง ชักกระตุก ไส้เลื่อน ปวดตึงแน่นชายโครง ความดันโลหิตสูง
สรรพคุณพิเศษ : รักษาโรคของกระเพาะอาหาร โรคทางสติสัมปชัญญะ ลดความดันโลหิตได้ดี เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวได้ เป็นจุดที่นิยมใช้ในการบำรุงสุขภาพที่ดีมากจุดหนึ่ง (มีโรคก็ใช้รักษาโรค ไม่มีโรคก็ใช้บำรุงสุขภาพได้)

จุดซานอินเจียว  (三阴交 SP6)



ความหมาย :
ซาน (三) แปลว่า สาม
อิน (阴) แปลว่า เส้นลมปราณ
อินเจียว (交) แปลว่าตัดกัน เป็นจุดที่เส้นลมปราณอิน 3 เส้นมาตัดกัน
ตำแหน่ง : เหนือยอดตาตุ่มด้านใน 3 ชุ่นชิดขอบด้านหลังกระดูก Tibia
ใช้รักษา
1. โรคตามเส้นลมปราณ : ปวดต้นขาด้านใน โรคโปลิโอ อัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากร่างกายอ่อนแรง
2. โรคของศีรษะ : คออักเสบ ลิ้นแข็ง เลือดกำเดาไหล
3. โรคทางเดินหายใจ : ไอ
4. โรคทางเดินอาหาร : เจ็บลิ้นปี่ อาเจียน สะอึก อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดท้อง แน่นเจ็บหน้าอก ลำไส้อักเสบ ดีซ่าน รู้สึกตัวหนักๆ
5. โรคทางเดินปัสสาวะ : กลั้นปัสสาวะไม่ได้ โรคหนองใน
6. โรคระบบสืบพันธุ์ : กามตายด้าน อาการหลั่งเร็ว ปวดองคชาติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาด ตกขาวมีเลือดปน มดลูกหย่อน รกค้าง น้ำคาวปลาตกค้างหรือมีมากเกิน เป็นหมัน เวียนศรีษะเนื่องจากขาดเลือด มีก้อนในท้อง
7. โรคทางจิต : Manic-depressive syndrome โรคลมชัก นอนไม่หลับ สมองเสื่อม
8. โรคอื่นๆ : ฝีหัวช้าง โรคลมพิษ ผื่นคันเป็นหนอง มีบุตรยาก คลอดยาก ฝันเปียก ปัสสาวะรดที่นอน ขาชา (ขาด Vitamin B1)
สรรพคุณเด่น รักษาโรคระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ในสตรี ประจำเดือนผิดปกติ ตกขาว มีบุตรยาก คลอดยาก โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย โรคทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะรดที่นอน กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะมากเกินไป ปัสสาวะไม่ออก ขาบวม บวมน้ำ

ข้อควรระวัง
1. การทำหัตถการบริเวณท้อง ควรเป็นช่วงที่ท้องว่างหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง
2. ระหว่างทำหัตถการควรปรับเปลี่ยนเป็นการหายใจด้วยท้อง ผ่อนคลายตลอดกระบวนการ พยายามหายใจให้สม่ำเสมอ 
3. ควรทำหัตถการด้วยตนเองเป็นหลัก
4. ควรตัดเล็บให้เรียบร้อยเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากเล็บและการติดเชื้อซ้ำซ้อน
5. หากรู้สึกไม่สบายควรหยุดทำหัตถการทันที
6. สามามารถทำได้วันละ 1-2 ครั้ง ตามระยะที่ตนเป็นหรือตามกำลังความสามารถ

 

 

 

 

 

 




คณะผู้แปล ผู้เรียบเรียง จากต้นฉบับภาษาจีน
แผนกทุยหนา 
1. แพทย์จีนธีรา อารีย์
2. แพทย์จีนกัญธิมา วุฒิ
3. แพทย์จีนกรกฎ คุณโฑ
4. แพทย์จีนธนภรณ์ ธนศรีวนิชชัย

ภาพประกอบโดย :  แพทย์จีนธนภรณ์ ธนศรีวนิชชัย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้