Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 12890 จำนวนผู้เข้าชม |
针灸治疗常见情志疾病
ฝังเข็มรักษาโรคทางอารมณ์ที่พบได้บ่อย
主讲教授 : 蔡定均
โดย ศาสตราจารย์แพทย์จีน Cai Ding Jun
ผู้แปล แพทย์จีน กนิษฐา ใจเย็น
เรียบเรียงโดย แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์
ความผิดปกติของจิตใจซึ่งพบได้บ่อย ซึมเศร้าเป็นเวลานานอารมณ์ห่อเหี่ยว ร่างกายไม่สบาย มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เป็นต้น สาเหตุมักเกิดมาจากได้รบการกระทบจิตใจอย่างรุนแรงหรือเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายและจิตใจเสียความสมดุล
การวินิจฉัยโรคในแบบศาสตร์การแพทย์แผนจีน
1.อารมณ์ห่อเหี่ยว
รู้สึกเบื่อ มีความกดดัน หรือรู้สึกน้อยใจ โทษตัวเอง ไม่มีใครช่วยได้ ไร้ความหวัง มักเสียใจอยากร้องไห้ การดำเนินชีวิตประจำวันเชื่องช้า อาจถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย
2. สมาธิลดลง
รู้สึกไม่อยากทำอะไร เหนื่อยง่าย วอกแวก การตอบสนองช้า ความจำลดลง
3. อื่นๆ
มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ (AUTONOMIC NERVOUS SYSTEM) ผิดปกติ ท้องเสีย ท้องผูก ความต้องการทางเพศลดลง ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น
ในทางการแพทย์แผนจีนมีแนวความคิดเกี่ยวกับอาการเหล่านี้ จัดอยู่ใน “อาการซึมเศร้า”
脏躁 จ้างเจ้า 百合病 ไป่เหอปิง 癫症 วิตกจริต นอนไม่หลับ 梅核气 อาการมีลูกบ๊วยติดคอ ใจสั่น ตกใจ หลงลืม เหนื่อยล้า เสมหะ เลือดคั่ง เป็นต้น
สาเหตุและกลไกของการเกิดโรค
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้มีความซับซ้อน กลไกของการเกิดโรคเปลี่ยนแปลงง่าย แต่ในภาพรวมภาวะซึมเศร้าเกิดจากอารมณ์ทั้ง 7 ชี่จีติดขัดอวัยวะเลือดลมอินหยางเสียสมดุล เสินของสมองขาดการหล่อเลี้ยง ซึมเศร้าเป็นโรคของอวัยวะตัน มีต้นสาเหตุจากการครุ่นคิดเกินไป มีอาการชี่ของอวัยวะตันพร่องร่วมด้วย ดังนั้นจึงเกิดอาการติดขัดทั้ง 6 คือ ชี่ เลือดความชื้น ความร้อน อาหาร เสมหะ ทั้งหมดนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะซึมเศร้าด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ หัวใจ ตับ ม้าม ปอด ไต ถูกกระทบไปด้วย
หลักการรักษา
ปรับลมปราณตับ ปลุกสมองเปิดทวาร
จุดประกอบ
นอนไม่หลับเพิ่มเสินเหมิน(ShenMen) ซื่อเสินชง (SiShen-Cong) อารมณ์แปรปรวนมักหัวเราะ เสียใจ โกรธเพิ่มต้าหลิง (DaLing)รู้สึกคออุดตันเพิ่มเจ้าไห่ (ZhaoHai)ชี่ย้อนขึ้นกระทบหัวใจ ท้องเสียเพิ่มกงซุน (GongSun) นอกจากนี้แพทย์จีนจะใช้วิธีกระตุ้นเข็ม การปักเข็มด้วยเทคนิคพิเศษ ตามจุดการรักษาต่างๆ เช่น จุดเจี๋ยจี่ (JiaJi) , ไป่หุ้ย (BaiHui) , เฟิงฝู่ (FengFu) , เน่ยกวน (Nei Guan) , ไท่ชง (Tai Chong) , สุ่ยโกว (ShuiGou) , ซานอินเจียว (SanYinJiao) , ไท่ซี (TaiXi) , หยางหลิงเฉวียน (YangLingQuan) , เสินเหมิน (ShenMen) , ซื่อเสินชง (SiShenCong) , ต้าหลิง (DaLing) , เจ้าไห่ (ZhaoHai)
ความหมายของตำรับการเลือกใช้จุดฝังเข็ม
ตำรับที่ 1 เจี๋ยจี่ (JiaJi) ปรับการเคลื่อนไหวชี่ของอวัยวะและอินหยาง
ไป่หุ้ย (BaiHui) , เฟิงฟู่ (FengFu) อยู่บนเส้นลมปราณตู เชื่อมต่อสมอง เปิดทวาร ระงับวิงเวียน
ตำรับที่ 2 ปลุกเสินเปิดทวาร บำรุงตับไต ทำให้ชี่ของถุงน้ำดีเดินคล่อง
การพยากรณ์โรค
โรคทางอารมณ์ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าค่อนข้างใช้ระยะเวลาการรักษา มักหายช้า กำเริบง่าย รักษาด้วยวิธีเดียวไม่ค่อยเห็นผล ในการรักษานอกจากการใช้การฝังเข็มร่วมกับยาจีน รวมถึงการรักษาทางจิตใจ การปรับสภาวะสุขภาพส่วนตัว โภชนาการ ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ได้ผลการรักษาค่อนข้างดี การรักษาดัวยการฝังเข็มสามารถใช้ 2 ตำรับสลับกันไป อาการหนักใช้ 2 ตำรับพร้อมกัน ฝังเข็มวันละ 1 ครั้ง 10 ครั้งเท่ากับ 1 คอร์สการรักษา ปกติรักษา 2-3 คอร์ส ก็จะเห็นผลชัดเจน หากมีอาการหนักต้องการเวลารักษาที่ยาวนานขึ้น แต่โดยภาพรวมแล้ว การรักษาด้วยการฝังเข็มรักษาโรคทางด้านอารมณ์ ผลการรักษาเป็นไปในทิศทางดีขึ้น และสามารถรักษาร่วมกับแผนปัจจุบันได้
- อ่านข้อมูลเพิ่มเติมอย่างละเอียด กรุณากดคลิกที่ภาพอัลบั้มด้านล่างนี้ -
21 ต.ค. 2567
11 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
15 พ.ย. 2567