Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 8499 จำนวนผู้เข้าชม |
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลายๆท่าน ซึ่งเกิดมาจากพฤติกรรมชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องทำทั้งงานประจำ งานบ้าน รวมถึงเลี้ยงลูกด้วยตนเอง หลายๆคนมีอาการกล้ามเนื้อหลังส่วนเอวอักเสบเฉียบพลัน (Acute lumber sprain) และกลุ่มอาการขัดคล่อง
กลุ่มอาการขัดคล่อง คืออะไร ?
ในทางแพทย์จีนเรียกว่า Bi syndrome หรือ ปี้เจิ้ง เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการกั้นขวางการไหลเวียนของชี่และเลือดในระบบเส้นลมปราณ มีสาเหตุจากปัจจัยการก่อโรค ได้แก่ เลือดไหลเวียนติดขัด กระทบความเย็นและความชื้น โดยมีลักษณะเด่นของอาการ คือ เจ็บ ปวด ชา หนักแขนขาและข้อ และการเคลื่อนไหวถูกจำกัด
กลุ่มอาการขัดคล่อง พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้แรงกล้ามเนื้อในร่างกายเฉพาะส่วนซ้ำๆติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ในบางรายจะมีอาการปวดเรื้อรัง จะมีอาการปวดมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ในบางรายที่รุนแรงจะมีอาการเจ็บและปวดมาก เป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ร่วมกับมีอาการบวมข้อหรือข้อผิดรูปและเคลื่อนไหวได้จำกัด
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ในคุณแม่บางรายที่มีอาการกล้ามเนื้อหลังส่วนเอวอักเสบเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง กล้ามเนื้อออกแรงมากเกินไป หรือเกิดอุบัติเหตุหกล้มกระแทก อาการแสดงออกคืออาการปวดหลังส่วนเอวเฉียบพลัน จำกัดการเคลื่อนไหวของเอว นำไปสู่ความผิดปกติของเส้นเอ็นบริเวณหลังส่วนเอว มีการคั่งของชี่และเลือด ในเส้นลมปราณบริเวณนั้นๆ
การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการโรค
1. ปัจจัยก่อโรคเข้ากระทำในกรณีที่ภูมิต้านทานอ่อนพร่อง
กลุ่มอาการขัดคล่อง มีสาเหตุจากการปิดกั้นชี่และเลือด โดย
- ลม ความเย็นและความชื้นก่อโรครุกรานระบบเส้นลมปราณ
- สภาพร่างกายอ่อนแอร่วมกับมีชี่หยาง
-รูผิวหนังแปรปรวนและความอ่อนแอของหยางปกป้องร่างกาย
2. สภาวะร่างกาย ร่างกายของแต่ละคนมีธรรมชาติที่แตกต่างกันของสภาวะร้อนและเย็น ในรายที่มีชี่หยางสมบูรณ์และมีสภาวะร้อนสะสม เมื่อมีการรุกรานของลม ความเย็น และความชื้นก่อโรค มักมีแนวโน้มจะเกิดกลุ่มอาการขัดคล่องร้อน นอกจากนี้ อาการขัดคล่องที่เกิดจากลม ความเย็น หรือความชื้นสะสมอยู่เป็นเวลานาน ย่อมมีโอกาสแปรสภาพเป็นความร้อน เกิดเป็นกลุ่มอาการขัดคล่องร้อนได้
การวินิจฉัยแยกกลุ่มโรค
1. อาการปวดแบบเคลื่อนย้ายไปตามข้อต่างๆ โดยเฉพาะข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า และข้อเท้า ร่วมกับการเคลื่อนไหวของข้อถูกจำกัด มีไข้ และหนาวสั่น
วิเคราะห์อาการ : ปวดในข้อ เป็นอาการเด่นของโรคในกลุ่มอาการขัดคล่อง ซึ่งเกิดจากลม ความเย็นและความชื้นขวางกั้นการไหลเวียนของชี่และเลือดในระบบเส้นลมปราณ มีคำกล่าวในการแพทย์จีนว่า "ปวดเพราะไม่คล่อง คล่องย่อมไม่ปวด" อาการปวดที่เคลื่อนที่ไปตามข้อต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
2. อาการเจ็บปวดรุนแรงเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงในข้อ ปวดลดลงเมื่อมีความอุ่น และรุนแรงขึ้นเมื่อมีความเย็น ตำแหน่งที่ปวดไม่มีลักษณะแดงร้อน และไม่เคลื่อนย้ายที่ปวดไปยังข้ออื่น
3. อาการชา รู้สึกหนักๆที่แขน-ขา ปวดและเจ็บที่ข้อเฉพาะตำแหน่ง ไม่เคลื่อนย้ายไปข้ออื่น อาการรุนแรงขึ้นเวลาที่อากาศชื้นๆ วันครึ้มฝนหรือฝนตก
4. อาการปวดข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ข้อที่ปวดมีลักษณะบวม แดง ร้อนและเจ็บปวดมาก รวมทั้งการเคลื่อนไหวข้อถูกจำกัด อาจมีอาการไข้ กระหายน้ำ
ในคุณแม่ที่มีอาการปวดหลังส่วนเอวเฉียบพลัน เมื่อมีการเคลื่อนไหวจะปวด มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเอว คือเอวไม่สามารถเหยียดตรงได้ นอนหงายหรือพลิกตัวไปมาลำบาก รวมทั้งการยืนจะไม่สะดวก มักมีการแกร่งของกล้ามเนื้อบริเวณขา มีอาการชาผิวหนัง เจ็บตามกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นปวดเจ็บและแข็งตึง เวลายกของ งอ หรือเหยียด เจ็บ ปวด หรือ เจ็บแปล๊บๆ
หลักการรักษา
1. การฝังเข็ม โดยฝังตามระบบเส้นลมปราณในจุดหลัก เช่น
- ปวดข้อไหล่
- ปวดสะบัก
- ปวดข้อศอก
- ปวดข้อมือ
- นิ้วมือแข็งตึง
- ชาและปวดนิ้วมือ
- ปวดสันหลังเอว
- ปวดข้อสะโพก
- ปวดบริเวณต้นขา
- ปวดข้อเข่า
- ชาและปวดขา
- ชาและปวดนิ้วเท้า
- ปวดหลัง
- ปวดทั่วตัว
โดยในจุดหลักที่เกิดอาการปวดตามรายการดังกล่าว แพทย์จีนจะฝังเข็มแบบระบายแล้วหมุนกระตุ้นเข็ม พร้อมกับให้ผู้ป่วยขยับเอวเคลื่อนไหว ในบางรายอาจจะฝังเข็มแบบใช้เข็มปักปล่อยเลือด จุดบริเวณเอว อาจประเมินการรักษาร่วมกับการรมยา หรือครอบแก้วร่วมด้วย ในการฝังเข็ม แพทย์จีนที่ทำการรักษษจะใช้เทคนิค วิธีการฝังเข็ม-รมยา ประยุกต์ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ตามสาเหตุ ตามตำแหน่งโรคและพยาธิสภาพ
2. การฝังเข็มหู
โดยใช้เทคนิคกระตุ้นเข็ม หรือใช้เม็ดหวังปู่หลิวสิงในการฝังเข็มหูก็ได้
3. การรักษาด้วยเข็มผิวหนัง ร่วมกับการครอบแก้ว
แพทย์จีนใช้เข็มผิวหนังเคาะบริเวณผิวหนังจนเลือดซึม บริเวณสองข้างกระดูกสันหลัง หรือ บริเวณข้อที่มีปัญหา แล้วตามด้วยการครอบแก้วตรงบริเวณที่เคาะเข็มผิวหนัง
วิธีนี้เหมาะกับการรักษาผิวหนังและกล้ามเนื้อขัดคล่องที่มีอาการชา กระดูกขัดคล่องที่มีอาการตึงแข็ง และเคลื่อนไหวได้จำกัด หรือข้อผิดรูป
อ่านข้อมูลประกอบการรักษาเพิ่มเติม
การรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อด้วยวิธีทุยหนา (Tuina)
ฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร ?
ฝังเข็มเจ็บไหม ? อันตรายหรือไม่ ?
โรคที่รักษาด้วยการฝังเข็มได้ผลค่อนข้างดี
การฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า Electro-Acupuncture
การรักษาด้วยการครอบแก้ว (Cupping Therapy)
รายชื่อแพทย์จีนแผนกทุยหนา
รายชื่อแพทย์จีนแผนกฝังเข็ม
สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
Hotline : 095-884-3518
LINE@ : @huachiewtcm
คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน
เปิดให้บริการการรักษาแก่ประชาชน 3 สาขาทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค
1. กรุงเทพฯ 02-223-1111 ต่อ 102
2. โคราช 044-258-555 , 085-325-1555
3. ศรีราชา 038-199-000 , 098-163-9898
ดูแผนที่การเดินทางของทุกสาขา
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : หนังสือการฝังเข็มรมยา เล่ม 2
Acupuncture & Moxibusion Volume 2
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ISBN 978-616-11-0277 -7
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567