แพ้ท้อง Morning Sickness

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  8531 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 แพ้ท้อง Morning Sickness

การแพ้ท้อง เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วย การคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร หรืออาจอาเจียนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร ซึ่งมักเกิดในช่วง 2-3 เดือน เป็นอาการที่พบได้บ่อยของการตั้งครรภ์ระยะแรก อาจทำให้หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักลด (emaciation) หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
การแพ้ท้องส่วนใหญ่เกิดจากความอ่อนแอ (original weakness) ของกระเพาะ โดยที่ ชี่และชี่ของทารกมีการรุกราน (invasion)กระเพาะ ทำให้ชี่ของกระเพาะไม่สามารถดันลงล่าง (descend) แต่กลับย้อนขึ้นบน (perversively ascend)

1.ความอ่อนแอของม้ามและกระเพาะ (Weakness of the Spleen and Stomach)
เริ่มจากชี่ของกระเพราะพร่อง เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ประจำเดือนถูกยับยั้ง ทำให้แหล่งเลือด (the sea of blood) ไม่มีการขับ (discharge) ออกจากร่างกาย ชี่ในเส้นลมปราณ Thoroughfare Vesselเกิดการคั่งและดันกลับมากระทบที่กระเพาะอาหาร  ชี่ของกระเพาะไม่สามารถดันลงได้   เมื่ิอชี่ของกระเพาะไม่สามารถดันลงได้ร่วมกับการดันขึ้นของThoroughfare Vessel จึงทำให้เกิดอาการไม่สบายดังกล่าว

2.ความไม่ประสานการทำงานระหว่างตับและกระเพาะอาหาร
(Disharmony between the Liver and Stomach)
หลังจาการตั้งครรภ์ พลังอินและเลือดจะรวบรวมกันเพื่อให้การเลี้ยงดูทารก เลือดของตับจะน้อยลงทำให้หยางของตับเด่นและข่มกระเพาะ ชี่ของกระเพาะจึงไม่สามารถดันลงและย้อนกลับขึ้นบน ทำให้เกิดอาการโรคนี้ขึ้น

การวิเคราะห์แยกกลุ่มอาการโรค

1.ความอ่อนแอของม้ามและกระเพาะ    

อาการหลัก : ในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ออกเป็นของเหลว
ใส หรือเป็นอาหารที่ยังไม่ทันย่อยทันทีที่รับประทานเข้าไป มีอาการจุกแน่นท้อง ท้องขยาย อ่อนเพลีย นอนไม่ได้

ลิ้น       ซีด ฝ้าขาว

ชีพจร   ลื่น (Hua  mai滑脉)

2.ความไม่ประสานการทำงานระหว่างตับและกระเพาะอาหาร
อาการหลัก : ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มีอาการอาเจียนรสขมหรือเปรี้ยว แน่นท้อง ปวดไปตามชายโครง เรอ ถอนหายใจ จิตใจซึมเศร้า วิงเวียน ตึงลูกตา (distention of eyes)

ลิ้น       มี ฝ้าเหลือง

ชีพจร   จม ลื่น (Chen Hua mai 沉滑脉)

หลักการรักษา
1. ใช้วิธีการการฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ
ฝังเข็มรักษาบนเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร (Stomach Meridian) เส้นลมปราณ Conception Vessel และเส้นลมปราณ Pericardium Meridian) เป็นจุดหลักใช้วิธี Even technique เพื่อบำรุงม้าม (tonify the spleen) สงบกระเพาะ (pacify the stomach)  สงบตับ (smooth the liver) กระจายการคั่ง (disperse the stagnation) เพื่อนำชี่ที่ย้อนกลับลงสู่เบื้องล่าง เป็นการหยุดยั้งการอาเจียน ช่วยสงบกระเพาะ  การรักษาในจุดฝังเข็มนี้ เพื่อนำชี่ที่ย้อนขึ้นบนให้กลับลงล่างและควบคุมชี่ของ Triple  Energizer  และจุดนี้ยังเป็น converging point ของอวัยวะฝู่ (Fu – organs) จุดนี้ยังเป็นจุดมู่ด้านหน้า(the Front (Mu) Point) ของกระเพาะอาหาร ซึ่งอวัยวะฝู่ทั้งหมดรับชี่และ converging point ของเส้นลมปราณของ Conception Vesse  ลำไส้เล็ก  Triple Energizerและ กระเพาะอาหาร
บำรุงระบบ (systemic tonic )ของร่างกายที่สำคัญและยังเป็นจุดฝังเข็มที่ทรงอำนาจสูงสุด (sovereign point) ในการรักษากรณีที่ชี่และเลือดมีการพร่อง



นอกจากนี้ การฝังเข็มในจุดหลักและจุดเสริม จะช่วยเสริมม้าม สงบกระเพาะ บำรุงชี่และเลือดและลดทิศทางชี่ที่ผิดปกติ เพื่อหยุดการคลื่นไส้อาเจียน ลดอาการอึดอัดแน่นหน้าอก (stuffiness of chest) สงบกระเพาะ ลดทิศทางชี่ที่ผิดปกติ เพื่อหยุดการคลื่นไส้อาเจียน  
จุดบำรุงม้าม ประสานการทำงานกระเพาะอาหารเมื่อมีความอ่อนแอของม้ามและกระเพาะอาหาร บำรุงเส้นลมปราณที่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นทะเลแห่งเลือด“the  sea of blood”  และทะเลแห่งเส้นลมปราณทั้งสิบสอง“the sea of Twelve Meridians”  ซึ่งมีจุดกำเนิดที่มดลูก

สตรีตั้งครรภ์บางท่าน เกิดอาการแพ้ท้องรุนแรง อันเกิดจากความไม่ประสานระหว่างตับและกระเพาะอาหาร การฝังเข็มสามารถควบคุมชี่ และกระตุ้นระบบเลือดและบำรุงชี่ที่ไปยัง Triple – Energizer เพื่อลดอาการแน่นท้อง เรอ การถอนหายใจ( sighing) และจิตใจหดหู่ (mental depression) ลดการคั่งของชี่ ประสานการทำงานของกระเพาะอาหาร ลดการกระจายของชี่ที่ผิดปกติ

หมายเหตุ

(1.) ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ทารกในครรภ์ยังไม่ค่อยมั่นคง ในการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มนั้นแพทย์จีนจะเลือกใช้จุดน้อย การกระตุ้นเข็มควรทำด้วยความนุ่มนวลเพื่อไม่ให้รบกวนชี่ของทารก In early pregnancy, the fetus is not yet stabilized, so less points are prescribed. The needling should be gentle so as not to disturb the fetal Qi.

(2.) ผู้ป่วยควรนอนพักผ่อนในที่เงียบสงบ งดการกินอาหารเย็น ดิบๆ หรืออาหารที่มัน  กินอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ จะมีผลดีต่อชี่ของกระเพาะอาหาร



2. การฝังเข็มหู
แพทย์จีนจะเลือกฝังเข็มจุด  : stomach, spleen, liver, shenmen

3. การใช้ยาจีนที่เหมาะสมกับพยาธิสภาพของผู้ป่วย และการปรับโภชนาการ เพื่อเพิ่มพลังงาน และการพักผ่อน ปรับอารมณ์ให้อยู่ในภาวะสงบ การออกกำลังกายเบาๆเพื่อเคลื่อนไหวร่างกาย เลือดลม ให้ชี่และเลือดลมไหลเวียนดี




แนวทางการรักษาและบำบัดอาการ
- แผนกฝังเข็ม
- แผนกอายุรกรรมนรีเวช-กุมารเวช


ข้อมูลประกอบบทความ  : การฝังเข็มรมยา เล่ม 2
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

สอบถามข้อมูลหรือปรึกษาปัญหาสุขภาพ
แอดไลน์เพื่อพูดคุยหรือสอบถามแนวทางการรักษาเบื้องต้น
LINE@ ได้ที่ : @huachiewtcm (พิมพ์ @ ด้วยนะคะ)
ตอบคำถาม 24 ชั่วโมง

ดูข้อมูลการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน ☯ ☯ คลิก
http://www.huachiewtcm.com

HOTLINE : 095-884-3518

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้