Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 240893 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะการเกิดประจำเดือนของสตรี มีความซับซ้อนยิ่งกว่าระบบแกแล็กซี่ในจักรวาล ระบบทางนรีเวช เป็นกลไกในร่างกายที่นอกเหนือจากความสมบูรณ์ของอวัยวะภายใน ประสานกับระบบเลือดลม พลังงานในร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก สภาวะทางจิตใจล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาของการมีรอบเดือนในแต่ละเดือน รวมทั้งอาจมีปริมาณเลือดและหรือสีของเลือดประจำเดือนในระหว่างที่มีรอบเดือนร่วมด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็นรอบเดือนมาเร็วกว่าปกติ มาช้ากว่าปกติ และมาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกแตกต่างกันไป
ก่อนอื่นจะต้องหมั่นสำรวจเกี่ยวกับระบบประจำเดือนของเราเองเป็นประจำ
ว่าเราเคยประสบภาวะแบบนี้หรือไม่ ?
1. ประจำเดือนผิดปกติ
Menstrual irregularities
月經不調 (月经不调)
Yuè jīng bù tiáo
เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับรอบของการมีประจำเดือน ปริมาณของประจำเดือนที่มา ตลอดจนสีและลักษณะของประจำเดือน ภาวะประจำเดือนผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ มาช้ากว่าปกติ คลาดเคลื่อน มามาก มาน้อย
2. ประจำเดือนสองเดือนมาครั้ง
Bimonthly menstruation
並月 (并月) Bìng yuè
แต่บางคนก็รู้สึกว่าร่างกายก็ปกติดี ไม่มีอาการไม่สบายใดๆ
3. ประจำเดือนสามเดือนมาครั้ง
Trimonthly menstruation
居經 (居经) Jū jīng;
季經 (季经) Jì jīng
ไม่มีอาการไม่สบายใดๆ
4. ประจำเดือนมาปีละครั้ง
Annual menstruation
避年 (避年) Bì nián
เป็นภาวะที่ประจำเดือนมาเพียงปีละ 1 ครั้ง แต่ไม่มีอาการไม่สบายใดๆ
5. ภาวะประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ
Advanced menstruation
月經先期 (月经先期) Yuè jīng xiān qí;
經行先期 (经行先期) Jīng xíng xiān qí;
經早 (经早) Jīng zǎo
เป็นภาวะที่ประจำเดือนมาเร็วกว่ากำหนดเป็นเวลา 7 วันขึ้นไป ติดต่อกัน 2 รอบ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะชี่พร่อง ระบบชงเริ่นไม่แข็งแรง หรือร่างกายมีภาวะร้อนกระทบระบบชงเริ่น ทำให้มดลูกเก็บกักเลือดไว้ไม่ได้ตามปกติ
6. ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ
Delayed menstruation
月經後期 (月经后期) Yuè jīng hòu qí;
經行後期 (经行后期) Jīng xíng hòu qí;
經遲 (经迟) Jīng chí
เป็นภาวะประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด 7 วันขึ้นไป ติดต่อกัน 2 รอบ สาเหตุเกิดจากภาวะไตพร่อง เลือดพร่อง ระบบชงเริ่นอ่อนแอ หรือเกิดจากเลือดมีภาวะเย็น ชี่ติดค้าง เสลดและความชื้นอุดกั้นเส้นชงและเริ่น
7. ประจำเดือนคลาดเคลื่อน
Menstruation at irregular intervals
月經先後無定期 (月经先后无定期)
Yuè jīng xiān hòu wú ding;
期經亂 (期经乱) Qī jīng luàn
เป็นภาวะที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ได้แก่ มาก่อนกำหนดหรือมาหลังกำหนดเป็นเวลา 7 วันขึ้นไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายมีภาวะชี่ของตับติดขัด ไตพร่อง การทำงานของชงและเริ่นเสียสมดุล เลือดในมดลูกไหลซึมออก
8. ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ
Scant menstruation
月經過少 (月经过少) Yuè jīng guò shǎo;
月經澁少 (月经澁少) Yuè jīng sè shǎo
เป็นภาวะที่ปริมาณเลือดประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ กระทั่งมาเป็นหยดแล้วก็หายไป หรือวันที่มีประจำเดือนไม่ถึง 2 วัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายขาดสารจิงและเลือด มดลูกขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง หรือเส้นลมปราณติดขัดทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
9. ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
Profuse menstruation
月經過多 (月经过多) Yuè jīng guò duō;
經水過多 (经水过多) Jīng shuǐ guò duō;
月水過多 (月水过多) Yuè shuǐ guò duō
เป็นภาวะที่ปริมาณเลือดประจำเดือนมามากกว่าปกติ ในขณะที่ระยะรอบและจำนวนวันที่มาปกติ สาเหตุส่วนใหญ่จากร่างกายมีภาวะชี่พร่องระบบชงเริ่นไม่เข้มแข็ง หรือมีความร้อนเข้าสู่ระบบชงเริ่นกระตุ้นให้เลือดออก
10. เลือดออกทางช่องคลอดมาก Flooding
崩 (崩) Bēng
มีเลือดออกทางช่องคลอดในเวลาที่ไม่ใช่เป็นประจำเดือน ซึ่งอาจออกในปริมาณมาก หากมีอาการรุนแรงและมีเลือดปริมาณมากเรียกว่า “การตกเลือด” สาเหตุของโรคส่วนใหญ่เกิดจากภาวะร้อนในเลือด ภาวะร้อนชื้น ชี่พร่อง เลือดคั่ง หรืออุบัติเหตุ
11. เลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย
Spotting
漏下 (漏下) Lòu xià
มีเลือดออกกะปริดกะปรอยไม่หยุด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายมีภาวะชี่พร่อง เลือดคั่ง ระบบชงและเริ่นสูญเสียความสามารถในการควบคุมเลือด
12. เลือดออกทางช่องคลอดมากสลับกะปริดกะปรอย
Flooding and spotting
崩漏 (崩漏) Bēng lòu
มีเลือดออกจากช่องคลอดในเวลาที่ไม่ใช่เป็นประจำเดือน ซึ่งอาจออกในปริมาณมากหรือกะปริดกะปรอย หากออกรุนแรงและมีปริมาณมากเรียกว่า "ตกเลือด" หากออกมานิดๆ แต่ไม่หยุดเรียกว่าประจำเดือนกะปริดกะปรอย การเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากเลือดมีภาวะร้อน พิษร้อนชื้น ชี่พร่อง เลือดคั่งหรือการบาดเจ็บ
13. ประจำเดือนมานานกว่าปกติ
Prolonged menstruation
經期延長 (经期延长) Jīng qí yán cháng
มีประจำเดือนติดต่อกันมากกว่า 7วันขึ้นไป จนกระทั่งมากะปริดกะปรอยเป็นเวลาเกือบครึ่งเดือนจึงค่อยหมดไป ในขณะที่ระยะรอบของประจำเดือนค่อนข้างปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายมีภาวะอินพร่องทำให้ภายในร่างกายเกิดความร้อน ชี่พร่องทำให้ไม่สามารถควบคุมเลือด หรือมีก้อนเลือดอุดกั้นเส้นชงและเริ่น เลือดเดินออกนอกระบบ
14. เลือดออกกลางรอบประจำเดือน
Intermenstrual bleeding
經間期出血 (经间期出血)
Jīng jiān qí chū xiě
ภาวะที่มีเลือดออกจากช่องคลอดในปริมาณเล็กน้อยในช่วงตรงกลางของการมีประจำเดือนแต่ละรอบ ซึ่งเป็นระยะไข่ตก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายมีภาวะเลือดพร่องและความร้อนเข้าสู่ระบบเลือด หรือมีภาวะชี่ของตับติดค้างแล้วทำให้เกิดความร้อนขึ้น ความร้อนชื้นติดค้าง มดลูกแปรปรวน
15. ประจำเดือนไม่มา
Amenorrhea
閉經 (闭经) Bì jīng,
經閉 (经闭) Jīng bì
พบในสองกรณี กรณีแรกพบในสตรีที่มีอายุครบ 18 ปีแล้ว แต่ประจำเดือนยังไม่มา และกรณีที่สอง เป็นสตรีที่เคยมีประจำเดือนมาตามปกติ แต่ประจำเดือนขาดเป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป โดยไม่มีการตั้งครรภ์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากตับและไตอ่อนแอ ชี่และเลือดพร่อง อินพร่องทำให้ขาดเลือด มดลูกไม่มีเลือดไปเลี้ยง หรือเกิดจากเชื้อวัณโรคแทรกเข้ามดลูก ภาวะชี่ติดขัดเลือดคั่ง เสลดและความชื้นอุดกั้นเส้นชงและเริ่น
16. ปวดประจำเดือน
Dysmenorrhea
痛經 (痛经) Tòng jīng;
月經痛 (月经痛) Yuè jīng tòng;
經行腹痛 (经行腹痛) Jīng xíng fù tong
เป็นอาการปวดท้องน้อยซึ่งอาจร้าวไปที่เอว ในบางรายอาจปวดรุนแรงจนหมดสติ ในระยะที่มีประจำเดือน หรือก่อน หรือระหว่างมีประจำเดือน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผลกระทบทางอารมณ์ ถูกพิษภัยจากภายนอก การไหลเวียนในเส้นลมปราณชงและเริ่นติดขัด หรือเกิดจากร่างกายขาดจิงและเลือด มดลูกขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง
17. คัดเต้านมขณะมีประจำเดือน
Distending pain in the breasts
during menstruation
經行乳房脹痛 (经行乳房胀痛)
Jīng xíng rǔ fáng zhàng tong
ในระยะที่มีประจำเดือน หรือก่อนและหลังการมีประจำเดือนจะมีอาการตึงเจ็บที่เต้านม หรือมีอาการคันหรือเคืองที่หัวนม กระทั่งมีอาการเจ็บจนแตะไม่ได้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายมีภาวะชี่ของตับติดขัด เสลดและความชื้นอุดตัน
18. อารมณ์แปรปรวนขณะมีประจำเดือน
Moodiness during menstruation
經行情志異常 (经行情志异常)
Jīng hang qíng zhì yìcháng
ในขณะที่มีประจำเดือน หรือก่อนและหลังการมีประจำเดือน จะมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย โศกเศร้าอยากร้องไห้ หรือเกิดอาการเครียดนอนไม่หลับตลอดทั้งคืน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากชี่ของตับติดขัด หรือความร้อนจากเสลดที่คั่งทำให้จิตใจไม่สงบ
สาเหตุและกลไกการเกิดโรคตามหลักทฤษฎีการแพทย์แผนจีน
Qi-blood patterns / syndromes
1. ภาวะ / กลุ่มอาการชี่คั่ง
Qi depression pattern / syndrome
氣鬱證 (气郁证) Qì yù zhèng
มีอาการตึงแน่นในอก ปวดใต้ลิ้นปี่ หงุดหงิด เบื่ออาหาร ในสตรีจะมีภาวะประจำเดือนไม่ปกติ มีความหมายเช่นเดียวกับ ภาวะ / กลุ่มอาการชี่ติดขัด
2. ภาวะ / กลุ่มอาการเลือดคั่งจากพิษเย็น
Pattern / syndrome of congealing cold with blood stasis
寒凝血瘀證 (寒凝血瘀证)Hán níng xiě yū zhèng
เป็นภาวะที่เกิดจากพิษเย็นอุดกั้นการไหลเวียนของชี่และเลือด ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อถูกเย็น และบรรเทาเมื่อได้รับความอบอุ่น แขนขาเย็นและเขียวคล้ำ ในสตรีจะมีภาวะประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ ปวดประจำเดือนรุนแรง ประจำเดือนมีสีคล้ำและเป็นก้อนเป็นลิ่ม ลิ้นมีสีม่วงคล้ำและมีฝ้าสีขาว ชีพจรจมและเต้นแบบติดขัด
3. ภาวะ / กลุ่มอาการเย็นในเลือด
Blood cold pattern / syndrome
血寒證 (血寒证) Xuè hán zhèng
เป็นภาวะที่พิษเย็นเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดอาการเจ็บปวดแบบที่รุนแรงขึ้นเมื่อถูกความเย็น และบรรเทาลงเมื่อได้รับความอบอุ่น มือเท้าเย็น ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาช้า ประจำเดือนมีสีม่วงคล้ำ ริมฝีปากสีเขียวอมม่วง
4. ภาวะ / กลุ่มอาการเลือดพร่อง
Blood deficiency pattern / syndrome
血虛證 (血虚证) Xuè xū zhèng
เป็นภาวะขาดเลือดทำให้หลอดเลือดไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยง มีอาการเวียนศีรษะ ตาลาย ใจสั่น ฝันมาก มือเท้าชา ในสตรีมีประจำเดือนมาน้อย สีจาง หรือประจำเดือนไม่มา ใบหน้า หนังตา ริมฝีปาก เล็บและลิ้นมีสีขาวซีด ชีพจรเล็ก
5. ภาวะ / กลุ่มอาการเลือดพร่องร่วมกับเลือดคั่ง
Pattern / syndrome of blood deficiency complicated by stasis
血虛挾瘀證 (血虚挟瘀证) Xuè xū xié yū zhèng
มีอาการหน้าซีดขาวหรือเหลือง เวียนศีรษะ ตาลาย ใจสั่น ฝันมากจนส่งผลกระทบต่อการนอน เจ็บแปลบที่เฉพาะที่และตำแหน่งเจ็บอยู่คงที่ ในสตรีมีภาวะประจำเดือนมาน้อย สีม่วงคล้ำหรือมีก้อนมีลิ่มปน ปวดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มา ลิ้นมีสีม่วงหรือมีจุดจ้ำ ชีพจรเล็กและเต้นติดขัด
6. ภาวะ / กลุ่มอาการเลือดพร่องร่วมกับถูกเย็น
Pattern / syndrome of blood deficiency and congealing cold
血虛寒凝證 (血虚寒凝证) Xuè xū hán níng zhèng
เกิดจากเลือดพร่องและพิษเย็นจับแข็ง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่คล่อง มีอาการหน้าสีเหลืองซีด เวียนศีรษะตาลาย ริมฝีปากม่วงคล้ำ มือเท้าไม่อุ่น บริเวณเฉพาะที่มีอาการเจ็บแบบเย็นและชาไม่รู้สึก ในสตรีมีภาวะประจำเดือนมาช้ากว่าปกติและมีปริมาณน้อย มีสีเข้มหรือมีก้อนมีลิ่มปน ปวดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ฝ้ามีสีขาว ชีพจรจมและเล็ก
7. ภาวะ / กลุ่มอาการม้ามไม่สามารถคุมเลือด
Pattern / syndrome of spleen failing to control the blood
脾不統血證 (脾不统血证) Pí bù tǒng xuè zhèng
เกิดจากชี่ม้ามอ่อนแอไม่สามารถควบคุมเลือดให้ไหลเวียนอยู่แต่ในหลอดเลือด มีเลือดออกเรื้อรังตามบริเวณต่างๆ เช่น จ้ำเลือดตามผิวหนัง ถ่ายอุจจาระปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกทางช่องคลอดแบบกะปริดกะปรอย ประจำเดือนมามากหรือมาก่อนกำหนด ตกเลือด
8. Liver qi depression pattern / syndrome
肝氣鬱結證 (肝气郁结证) Gān qì yù jié zhèng;
肝鬱證 (肝郁证) Gān yù zhèng
มีอาการแสดงออกคือซึมเศร้า ถอนหายใจบ่อยๆ ตึงแน่นที่ใต้ชายโครง หรือท้องส่วนล่าง หรือมีอาการปวดท้องที่ย้ายไปมา ชีพจรตึง ในสตรีจะมีอาการเจ็บที่เต้านมและมีภาวะประจำเดือนผิดปกติ เป็นกลุ่มอาการเดียวกับชี่ของตับติดขัด
9. ภาวะ / กลุ่มอาการชี่ไตไม่เก็บกัก Kidney qi insecurity pattern / syndrome
腎氣不固證 (肾气不固证)Shèn qì bù gù zhèng
เกิดจากชี่ไตพร่องทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาสารจำเป็นต่างๆ ในร่างกาย
ได้ตามปกติ มีอาการปวดเมื่อยเอวและเข่า ควบคุมปัสสาวะไม่ได้ ประจำเดือน
กะปริดกะปรอย ตกขาวปริมาณมาก แท้งบุตร เป็นต้น
10. ภาวะ / กลุ่มอาการมดลูกร้อน
Pattern / syndrome of heat entering blood chamber
熱入血室證 (热入血室证) Rè rù xuè shì zhèng
เกิดจากพิษร้อนแทรกเข้าสู่มดลูก ทำให้ปวดท้องน้อย ประจำเดือนผิดปกติ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ละเมอ
11. ภาวะ / กลุ่มอาการชงเริ่นไม่เก็บรักษาเลือด
Pattern / syndrome of insecurity of thoroughfare and conception vessels
衝任不固證 (冲任不固证) Hán níng bāo gōng zhèng
อาการแสดงคือมีประจำเดือนกะปริดกะปรอย ตกเลือด หรือมีภาวะแท้งคุกคาม
12. ภาวะ / กลุ่มอาการชงเริ่นเสียสมดุล
Pattern / syndrome of disharmony of thoroughfare and conception vessels
衝任失調證 (冲任失调证)
Chōng rèn shī tiáo zhèng
มีประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดตึงที่บริเวณท้องน้อย
13. ภาวะ / กลุ่มอาการมดลูกเย็น
Pattern / syndrome of cold congealing in the uterus
寒凝胞宮證 (寒凝胞宫证) Chōng rèn bù gù zhèng
อาการได้แก่ รู้สึกเย็นและเจ็บที่ท้องน้อย ปวดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ และประจำเดือนมีสีเข้ม ลิ้นมีฝ้าสีขาว ชีพจรจมตึงแน่น
14. ภาวะ / กลุ่มอาการเลือดคั่งในมดลูก
Pattern / syndrome of (blood) stasis obstructing the uterus
瘀阻胞宮證 (瘀阻胞宫证) Yū zǔ bāo gōng zhèng
มีอาการคือเจ็บแปลบที่ท้องน้อย ตำแหน่งที่เจ็บอยู่คงที่และไม่ชอบให้บีบกด หรือพบก้อนในท้อง ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ ปริมาณเลือดประจำเดือนน้อย มีสีดำคล้ำและมีลิ่มเลือดปน หรือประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมากะปริดกะปรอย เมื่อตรวจลิ้นพบมีสีม่วงคล้ำหรือมีจุดสีม่วงบนตัวลิ้น ชีพจรตึงและเต้นแบบติดขัด
15. ภาวะ / กลุ่มอาการมดลูกเย็นจากพร่อง
Uterine deficiency cold pattern / syndrome
胞宮虛寒證 (胞宫虚寒证) Bāo gōng xū hán zhèng
เป็นภาวะที่เกิดจากหยางของไตพร่อง ไม่สามารถให้ความอบอุ่นแก่มดลูก มีอาการกลัวหนาวและแขนขาเย็น เจ็บปวดและรู้สึกเย็นที่เอวและขา ปวดตื้อๆ ที่ท้องน้อยซึ่งจะบรรเทาหากให้ความอบอุ่นหรือบีบนวด ประจำเดือนมีสีจางใสหรือมีตกขาวใส มีบุตรยากหรือแท้งบุตร ร่วมกับอาการทั่วไปของภาวะนี้ได้แก่ หน้าซีด ลิ้นซีดมีฝ้าสีขาว ชีพจรจมและเต้นอ่อน
16. ภาวะ / กลุ่มอาการร้อนคั่งในมดลูก
Pattern / syndrome of accumulated heat in the uterus
胞宮積熱證 (胞宫积热证) Bāo gōng jī rè zhèng
มีอาการเจ็บร้อนที่ท้องน้อย ประจำเดือนมาเร็วกว่ากำหนด มีสีแดงสดปริมาณมาก หรือตกขาวเป็นสีเหลืองขุ่นและมีกลิ่นเหม็น ลิ้นมีสีแดง ฝ้าสีเหลือง ชีพจรเร็ว
17. ภาวะ / กลุ่มอาการหยางพร่องที่ชี่และเลือดติดขัดจากความเย็น
Pattern / syndrome of yang deficiency with congealing cold
陽虛寒凝證 (阳虚寒凝证) Yáng xū hán níng zhèng
อาการได้แก่ กลัวหนาว แขนขาเย็น เจ็บที่ทรวงอก ชายโครง ใต้ลิ้นปี่ เอวเข่า ซึ่งอาการเจ็บจะบรรเทาเมื่อได้รับความอบอุ่น ในสตรีจะเกิดภาวะประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด ปวดประจำเดือน เลือดประจำเดือนมีสีคล้ำและมีก้อนเลือดปน ลิ้นอวบซีด ฝ้าลิ้นมีสีขาวชุ่มชื้น ชีพจรจมและเต้นช้า
การรักษา
1. การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ
เส้นลมปราณเญิ่นและม้ามเป็นเส้นหลัก การฝังเข็มจะใช้กรณีรอบเดือนมาเร็วกว่าปกติ สำหรับการฝังเข็มและรมโกฐ (รมยาความร้อน )จะใช้ในกรณีรอบเดือนมาช้า หรือมาไม่สม่ำเสมอ
เสริมม้ามให้เพิ่มการทำหน้าที่ควบคุมเลือด
2. การฝังเข็มหู
จุดฝังเข็ม รังไข่ มดลูก ตับ ม้าม ไต
3. การรับประทานยาสมุนไพรจีน , การรักษาด้วยตำรับยาจีน
แพทย์จีนผู้ทำการรักษาจะวิเคราะห์สภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อระบุกลุ่มภาวะ / อาการของโรคตามสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยก่อนจัดตำรับยาจีนที่เหมาะสม จุดนี้ถือว่าสำคัญมากในขั้นตอนกระบวนการรักษา จากนั้นจะเลือกวิธีบำบัดรักษาที่เหมาะสม และเมื่อติดตามอาการดูแล้วเห็นว่าดีขึ้น หรือ ไม่ดีขึ้น แพทย์จีนที่ทำการรักษาจะปรับเปลี่ยนยาตำรับใหม่ให้ตามความเหมาะสมกับอาการในช่วงเวลานั้นๆด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานยาสมุนไพรจีนในเชิงบำรุงรักษากลุ่มอาการด้านสตรีที่มีความซับซ้อนเฉพาะบุคคล จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และก่อนทานยาจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยสภาวะร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งในการทานยาทุกชนิด ทุกประเภท ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่ได้มาตรฐานและตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานยาจีนนั้น การตรวจวินิจฉัยร่างกาย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อที่แพทย์จีนจะวิเคราะห์หาสาเหตุ และประเมินผู้ป่วยในการจัดตำรับยาที่ตรงกับพยาธิสภาพของผู้ป่วย เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการรักษา
ยาจีนเป็นวิธีบำบัดโรควิธีหลักสำคัญของการแพทย์แผนจีน การที่จะใช้ยาจีนบำบัดรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น แพทย์จีนจะต้องรู้ลักษณะโครงสร้างของโรคอย่างถ่องแท้ จึงจะจัดตำรับยาจีนที่เหมาะสมกับอาการของโรคและภาวะร่างกายของผู้ป่วยเป็นคนๆไป แม้ว่าคนป่วยจะมีอาการเหมือนกัน แต่ยาจีนจะแสดงผลต่างกันไปในแต่ละคน
หลักสำคัญในการเลือกตำรับยาจีนให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน คือ การวินิจฉัย วิเคราะห์ว่าอาการป่วยนั้นเกิดจากสาเหตุพยาธิสภาพภายนอกของโรคที่แสดงปฏิกิริยารุนแรง หรือ เกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งพร่อง ถดถอย
สมุนไพรจีนแต่ละชนิดที่ผสมอยู่ในยาจีนนั้นมีบทบาทแตกต่างกันออกไป ในยา 1 ตำรับจะประกอบด้วย
- สมุนไพรที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลัก
- สมุนไพรที่เป็นตัวประกอบ
- สมุนไพรที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของระบบในร่างกาย
- สมุนไพรที่เป็นตัวยาเสริม ทำหน้าที่ปรับสมดุล
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. ให้ความใส่ใจต่อความสะอาดระหว่างมีรอบเดือน ไม่ควรรับประทานของเย็น รวมทั้งอาหารรสจัด รสเผ็ด
2. การฝังเข็มควรทำ 3- 5 วันก่อนมีรอบเดือนในแต่ละครั้ง รักษาติดต่อกัน 3 - 5 ครั้ง ช่วงระยะการรักษาต่อไป (Secondary course) จะเริ่มในรอบเดือนถัดไป
ข้อมูลประกอบบทความ
1. การฝังเข็มรักษาโรคตามกลุ่มอาการ โดย ศาสตราจารย์แพทย์จีน เหยียนลี่
2. การฝังเข็มรมยา เล่ม 2
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ISBN 978-616-11-0277-7
3. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย / บัญชีรหัสกลุ่มโรค อาการ และหัตถการด้านการแพทย์แผนจีน ฉบับ 2016 สถาบันการแพทย์ไทย-จีน กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567