Last updated: 20 ก.พ. 2568 | 44 จำนวนผู้เข้าชม |
Success case การฝังเข็มรักษาโรคภูมิแพ้จมูก
แพทย์จีนรติกร อุดมไพบูลย์วงศ์
1. เกริ่นนำ
ในทางแพทย์แผนจีนโรคภูมิแพ้จมูก เรียกว่า ปี๋ฉิว (鼻鼽) มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม คันจมูก เคืองตา หายใจไม่สะดวกเป็นต้น เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ ที่เข้าสู่ร่างกายทางจมูก เช่น ละอองเกสร ฝุ่น หรือขนสัตว์ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก โรคภูมิแพ้จมูกเป็นโรคที่พบบ่อยทางคลินิก สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัยและทุกฤดูกาล
2. อาการของโรค (อาการแสดง/ข้อบ่งชี้) (辩证要点)
อาการของโรคภูมิแพ้จมูก ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกใส จามบ่อย คันจมูก คันตา คันคอ น้ำตาไหล แสบตา มีเสมหะไหลลงคอหายใจไม่สะดวก นอนกรน หรือหลับไม่สนิท เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้[1]
2.1 ประวัติที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ได้แก่
- มีอาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหลออกมาทางจมูก หรือไหลลงคอ คัดจมูก คันเพดานปากหรือคอ นานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป
- อาจมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ (เช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้, โรคแพ้อากาศ, โรคหืด, โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้) ในสมัยเด็ก หรือในปัจจุบัน
- อาจมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ดังกล่าว
2.2 การตรวจพิเศษ เพิ่มเติม ได้แก่
- การทดสอบภูมิแพ้ ด้วยวิธีสะกิด และวิธีฉีดเข้าในผิวหนัง
- การตรวจหาปริมาณ IgE ในเลือด
- การตรวจหาปริมาณ IgE ที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิดที่เยื่อบุจมูก
- การใช้กล้องส่องตรวจในโพรงจมูก
- การส่งเอ็กซเรย์ไซนัสแบบธรรมดา และเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ไซนัส
3. สาเหตุของโรค (病因病机)
ในการแพททย์แผนจีน สาเหตุของโรคภูมิแพ้จมูก เกิดจากอวัยวะภายในอ่อนแอ ชี่ไม่เพียงพอ ได้แก่ ชี่ปอดพร่อง ชี่ม้ามอ่อนแอ หยางไตไม่พอ ทำให้ง่ายต่อการถูกกระตุ้นด้วยปัยจัยก่อโรคภายนอก เช่น ลม ความเย็น มากระทบ ทำให้มีอาการภูมิแพ้จมูกเกิดขึ้น
4. การวินิจฉัย (诊断)
โรคภูมิแพ้จมูก(鼻鼽,Allergic Rhinitis)
5. การวินิจฉัยทางแพทย์แผนจีนและแนวทางการรักษา(辨证论治)
5.1 กลุ่มอาการชี่ปอดเย็นพร่อง (肺气虚寒)
มีอาการกำเริบเมื่อโดนลมเย็น เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก เสียงขึ้นจมูก เหงื่อออกง่าย ไอ
ลิ้นซีดฝ้าขาวบาง ชีพจรอ่อน(舌质淡,苔薄白,脉虚弱)
แนวทางการรักษา :อุ่นปอดกระจายความเย็น(温肺散寒)
5.2 กลุ่มอาการชี่ม้ามพร่อง(脾气虚弱)
มีอาการเรื้อรังเป็นมานาน คัดแน่นจมูกมาก อ่อนเพลียไม่มีแรง เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว
ลิ้นซีดอ้วนมีรอยหยัก ฝ้าขาวบาง ชีพจรอ่อน (舌淡胖,边有齿痕,苔薄白,脉弱无力)
แนวทางการรักษา :บำรุงชี่เสริมม้าม(益气健脾)
5.3 กลุ่มอาการหยางไตพร่อง(肾阳亏虚)
มีอาการเรื้อรัง สภาพร่างกายอ่อนแอ มักกำเริบหนักช่วงเช้าและช่วงกลางคืน ขี้หนาว มือเท้าเย็น ปัสสาวะเยอะ ลิ้นซีดฝ้าขาว ชีพจรจมเล็กไม่มีแรง(舌质淡,苔白,脉沉细无力)
แนวทางการรักษา :อุ่นไตบำรุงหยาง(温补肾阳)
5.4 กลุ่มอาการอินปอดและไตพร่อง(肺肾阴虚)
เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงตั้งแต่เกิด หรือ ทำงานหนักมากเกินไป มีอาการไอ ระคายคอ ฝันเยอะ
นอนน้อย ปากแห้ง อารมณ์แปรปรวณ ลิ้นแดงฝ้าขาว ชีพจรเล็กเร็ว(舌红,苔白,脉细数)
แนวทางการรักษา :บำรุงอินชุ่มปอด,บำรุงไตรับชี่(滋阴润肺,补肾纳气)
6. ตัวอย่างกรณีศึกษา
ข้อมูลผู้ป่วย HN: 414XXX เพศชาย อายุ 37 ปี
เข้ารับการรักษาครั้งแรกวันที่ 26 ตุลาคม 2567
อาการสำคัญ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกใส จามเรื้อรัง 20 ปี
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน มีอาการคัดจมูก น้ำมูกใส จาม ทุกเช้า มักกำเริบเมื่อเจอฝุ่น เกสรกดอกไม้ รวมถึงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาการกำเริบหนักขึ้น บางครั้งมีอาการเคืองตา ใต้ตาคล้ำ เสียงอู้อี้ อ่อนเพลีย ท้องอืด นอนหลับไม่สนิท การรับประทานอาหารปกติ การขับถ่ายปกติ
การตรวจลิ้นและชีพจร ลิ้นซีดฝ้าขาวบาง ชีพจรอ่อน(舌质淡,苔薄白,脉虚弱)
การวินิจฉัย
ชื่อโรคทางแพทย์แผนจีน ปี๋ฉิว(鼻鼽(U78.824)) / จัดเป็นกลุ่มอาการชี่ม้ามและปอดพร่อง (脾肺气虚 (U79.548))
ชื่อโรคทางแผนปัจจุบัน ภูมิแพ้จมูก(过敏性鼻炎 (J30.4))
การรักษา การฝังเข็ม ฝังเข็มสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ประเมินผลการรักษา
เข้ารับการรักษาครั้งที่ 3 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567
อาการคัดจมูกดีขึ้น หายใจโล่งขึ้น ยังคงมีน้ำมูกใสและจามทุกเช้า ไม่มีอาการเคืองตา อ่อนเพลียดีขึ้น นอนหลับสนิทมากขึ้น
เข้ารับการรักษาครั้งที่ 7 วันที่ 8 ธันวาคม 2567
อาการคัดจมูกดีขึ้น น้ำมูกใสลดลงชัดเจน ยังมีการจามในวันที่ฝุ่น PM2.5 เยอะ บริเวณใต้ตาคล้ำและเสียงอู้อี้ดีขึ้น ไม่มีอาการอ่อนเพลีย นอนหลับปกติ
เข้ารับการรักษาครั้งที่ 11 วันที่ 12 มกราคม 2568
มีอาการคัดจมูกดีขึ้นชัดเจน ไม่มีน้ำมูก บางวันยังคงมีอาการจามในช่วงเช้า ไม่มีอาการเคืองตา ใต้ตาคล้ำและเสียงอู้อี้ นอนหลับปกติ การรับประทานอาหารปกติ การขับถ่ายปกติ
สรุปผลการรักษา
การฝังเข็มเป็นแนวทางการรักษาทางการแพทย์แผนจีนที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้จมูก โดยมีเป้าหมายในการปรับสมดุลชี่ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก เป้าหมายการรักษา เพื่อลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม และคันจมูก อาการลดลงได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ขึ้นอยู่กับความถี่ในการรักษาและการตอบสนองของแต่ละบุคคล รวมถึงลดการพึ่งพายาแก้แพ้ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการรบกวนในชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับที่ดีขึ้น ไม่มีอาการคัดจมูกตอนกลางคืน เป็นต้น แม้ว่าการฝังเข็มสามารถบรรเทาโรคภูมิแพ้จมูกได้ แต่หากมีปัจจัยกระตุ้นอาการยังสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ แต่ระดับความรุนแรงน้อยลง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
การป้องกันโรค/อาการ (预防调护)
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ ใช้เครื่องฟอกอากาศ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
- ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อลดสารก่อภูมิแพ้ในโพรงจมูก
- ออกกำลังกาย เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
7. เอกสารอ้างอิง(参考文献)
1. ปารยะ อาศนะเสน, แนวทางการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในปัจจุบัน (ตอนที่ 2), คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ค้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1262.
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีนอาวุโส รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์ (หมอจีน เวิน เจิน ฮุ่ย)
温珍慧 中医师
TCM. Dr. Ratikon Udompriboonwong (Wen Zhen Hui)
แผนกฝังเข็ม 针灸科 (Acupuncture Department)
20 ก.พ. 2568
22 ม.ค. 2568
22 ม.ค. 2568