Last updated: 24 ม.ค. 2568 | 17 จำนวนผู้เข้าชม |
ทุยหนาเด็ก ช่วยหยุดอาการสำรอกนม
อาการสำรอกนมหรืออาเจียนนมออกมาเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดและเด็กทารก โดยส่วนใหญ่จะมีอาการหลายครั้งต่อวัน ซึ่งเกิดจากระบบการย่อยอาหารของเด็กที่ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็นลิ้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารปิดไม่สนิทดี เมื่อเด็กทานนมเกินกว่าที่กระเพาะอาหารจะรับได้ก็จะไหลย้อนออกจากหลอดอาหารและคายออกจากปากทำให้เกิดอาการอาเจียนหรือสำรอกนมออกมาได้ เมื่อทารกโตขึ้นอวัยวะจะพัฒนาอย่างสมบูรณ์อาการเหล่านี้จะดีขึ้นและหายไป
หากหลังสำรอกนมแล้ว เด็กยังดูดนมใหม่ได้ ดูอารมณ์ดี การเจริญเติบโตปกติก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง หลังให้นมคุณแม่ไม่ควรวางทารกทันที ควรจับเด็กนั่งตรง ๆ ก่อนสัก 20-30 นาที ก่อนให้เด็กนอน หรือใช้มือลูบหลังเด็กทารกเพื่อให้เรอออกมาก่อนที่จะวาง แต่อาการสำรอกนมที่ผิดปกติต้องระวัง คือ เมื่อนมที่แหวะออกมามีสิ่งเจือปนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เลือด สารน้ำสีเหลืองของน้ำดี หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ พร้อมกับอาการร้องไห้ ไอ อาเจียนพุ่ง น้ำหนักลดลงอย่างเฉียบพลัน ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจอย่างละเอียด
การนวดทุยหนาเด็กสามารถช่วยทารกปรับให้ม้ามและกระเพาะอาหารทำงานอย่างสมดุล ส่งเสริมการย่อยอาหาร และหลีกเลี่ยงการอุดกั้นของกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาและรักษาอาการทารกอาเจียน เพื่อให้ทารกรู้สึกสบายมากขึ้นหลังจากดื่มนม
เทคนิคลดอาการแหวะนม
กำหนดปริมาณและเวลาการให้นม อย่าให้นมมากเกินไปในคราวเดียว โดยทั่วไปให้ป้อนห่างกันประมาณ 2-3ชั่วโมง/ครั้ง ให้ในปริมาณที่น้อยแต่มากในจำนวนครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าทารกที่ให้นมแต่ละครั้งสามารถย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันหลังให้นมแม่ควรอุ้มลูกน้อยยืนตัวตรงอีกสักพัก อย่ารีบวางลูกน้อยไว้บนเตียงห้ามเขย่าเขย่าทารกหลังในนม ก็จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อนและลดโอกาสอาเจียนนมได้
หลีกเลี่ยงให้ทารกดื่มนมที่เย็น ถึงแม้ว่าทารกสามารถดื่มนมที่เย็นได้ แต่ในทางการแพทย์แผนจีนม้ามและกระเพาะอาหารไม่ชอบความเย็น จะทำให้ระบบการย้อนอาหารและอาหารเสียสมดุล อาจทำให้เกิดอาการสำรอกนมหรืออาเจียนได้ สามารถนำนมแช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียนได้ เพื่อไม่ให้สารอาหารและสารภูมิต้านทานในนมแม่ถูกทำลายได้
การนวดทุยหนากดจุด
ในร่างกายมนุษย์มีเส้นลมปราณจำนวนมากและจุดฝังเข็มที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งจุดฝังเข็มที่เชื่อมกับลำไส้และกระเพาะอาหารของทารก สามารถกดจุดนวดเพื่อส่งเสริมการบีบตัวของลำไส้และกระเพาะอาหารของทารกได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดหน้าท้องสามารถส่งเสริมการหลั่ง gastrin ผ่านระบบประสาทเพิ่มการ peristalsis ของระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งกระตุ้นการย่อยอาหารและการดูดซึม
1. ท่าลูบท้อง (นวดท้องหลังจากกินนมสองครั้งเสร็จ)
ตำแหน่ง : สะดือเด็กเป็นศูนย์กลาง
วิธีการนวด : ใช้ 4 นิ้ว (ชี้ กลาง นาง ก้อย) ชิดเข้าด้วยกันและนวดหน้าท้องของเด็กเบา ๆ ตามเข็มนาฬิกา แรงปานกลางความกว้างไม่ควรใหญ่เกินไป นวดครั้งละ 5-10 นาที 4-6 ชั่วโมง/ครั้ง จำนวนครั้งของการนวดสามารถลดลงได้จนกว่าเด็กจะหาย
ท่าลูบท้อง
2. นวดคลึงจุดป่านเหมิน
ตำแหน่ง : เนินฝ่ามือฝั่งนิ้วโป้ง
วิธีการนวด : ใช้มือโป้งนวดคลึงประมาณ 50-100 ครั้ง
สรรพคุณ : บำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร กระตุ้นการย่อยอาหาร ทำให้ลูกน้อยค่อยๆ หยุดอาเจียน
นวดคลึงจุดป่านเหมิน
3. การบำรุงเส้นลมปราณกระเพาะอาหารในเด็ก
ตำแหน่ง : อยู่ตรงกระดูกฝ่ามือนิ้วโป้งด้านนอก
วิธีการนวด : ใช้นิ้วโป้งถูจากโคนนิ้วไปทางปลายนิ้วมือลูกประมาณ 100-500 ครั้ง
สรรพคุณ : ช่วยระบายความร้อนชื้นของม้ามและกระเพาะอาหาร บรรเทาการอาเจียนของทารก ลดอาการท้องอืด
เส้นลมปราณกระเพาะอาหารในเด็ก
อ้างอิง : 崔庆科,“Part 4宝宝日常不适,食疗按摩精心护理,”小儿推拿饮食调养孩子健康少生病(中国医药科技出版社,2019),107-109P
-------------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน กัญธิมา วุฒิ (กาน ตี๋ หม่า)
甘迪玛 中医师
TCM. Dr. Kanthima Wutthi (Gan Di Ma)
คลินิกกระดูกและทุยหนา
คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์จีนหัวเฉียว
24 ม.ค. 2568
24 ม.ค. 2568