ก้าวข้ามปัญหาเมื่อไอจามแล้วมีปัสสาวะเล็ด ด้วยการฝังเข็ม

Last updated: 22 ม.ค. 2568  |  11 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ก้าวข้ามปัญหาเมื่อไอจามแล้วมีปัสสาวะเล็ด ด้วยการฝังเข็ม

ก้าวข้ามปัญหาเมื่อไอจามแล้วมีปัสสาวะเล็ด ด้วยการฝังเข็ม

“กลัวที่จะหัวเราะ ไอ ออกกำลังกาย...ชีวิตเปลี่ยนไปเพราะปัสสาวะเล็ด? ภาวะที่คุณไม่ควรปล่อยผ่าน”

ภาวะไอจามแล้วมีปัสสาวะเล็ด (Stress Urinary Incontinence) เกิดจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อหูรูดที่ช่วยปิดท่อปัสสาวะอ่อนแรงลง เมื่อเราทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เช่น ไอ จาม หรือหัวเราะ ความดันในช่องท้องจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาโดยไม่ตั้งใจ แม้ว่าเราจะไม่ได้อยากปัสสาวะก็ตาม ปัญหานี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การตั้งครรภ์ การผ่าตัด หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน หูรูดท่อปัสสาวะ เกิดการหย่อนยานหรือฝ่อลง  

ภาวะปัสสาวะเล็ดเวลาไอหรือจาม อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากปล่อยไว้ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก หลายคนคิดว่าภาวะปัสสาวะเล็ดเป็นเรื่องปกติที่เกิดตามอายุ หรือรู้สึกอายที่จะไปพบแพทย์ ทำให้ปัญหาเรื้อรังและรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ปัสสาวะที่รั่วซึมยังอาจทำให้เกิดผื่นคัน หรือติดเชื้อที่บริเวณผิวหนังรอบๆได้อีกด้วย หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือกระทบต่อไตได้   

ในมุมมองศาสตร์การแพทย์แผนจีน ภาวะไอจามแล้วมีปัสสาวะเล็ด จัดอยู่ในโรค “ผางกวางเข่อ (膀胱咳)” แม้ว่าโรคนี้จะเป็นที่บริเวณกระเพาะปัสสาวะ แต่ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับม้ามและไต เมื่อชี่ของไตและม้ามพร่อง ทำให้การเปิดปิดของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถกักเก็บน้ำปัสสาวะได้ ส่งผลให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 

“การฝังเข็ม” จะช่วยบำรุงไตและม้าม ปรับสมดุลการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะภายในต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาท และช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้กลับมาแข็งแรง ส่งผลให้ อาการปัสสาวะเล็ดลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นตามไปด้วย[1]

---------------------------------------------

บทความโดย
แพทย์จีน ณภัทร คงศิริธุวงศ์ (หมอจีนสวี่ กุ้ย หัว) 
许桂华  中医师
TCM. Dr. Napat Kongsirituwong (Xu Gui Hua) 
แผนกฝังเข็ม สาขาโคราช

[1] SU Tongsheng, LIU Baoyan, LIU Zhishun, CHEN Yuelai, ZHANG Wei. Electroacupuncture versus Pelvic Floor Muscle Training for Treatment of Female Stress Urinary Incontinence:A Multipul-Centered, Randomized Controlled Trial. Journal of Traditional Chinese Medicine, 2021,62(05):414-418.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้