5 ข้อสัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อม

Last updated: 22 ม.ค. 2568  |  48 จำนวนผู้เข้าชม  | 

5 ข้อสัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อม

สัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อม 5 ข้อ

โรคข้อเข่าเสื่อม หรือ osteoarthritis of knee  ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันคือความเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อ  (articular  cartilage)  ในข้อ  โดยพบการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ  อย่างต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไป มีกระดูกงอก เอ็นข้อหลวม กล้ามเนื้อรอบเข่าอ่อนแรง อาจมีเยื่อบุผิวอักเสบร่วมด้วย  

ในทางการแพทย์แผนจีนจัดอยู่ในกลุ่มอาการ ปี้เจิ้ง (痹证)เกิดจากการเสื่อมสภาพตามวัย หรือ มีการบาดเจ็บเรื้อรัง ส่งผลให้สารจิงของไตที่มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูก และ เลือดของตับที่มีส่วนช่วยในการหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อเส้นเอ็นลดลง ทำให้มีอาการปวดเข่าเรื้อรัง ลุกนั่งไม่สะดวก ยืนเดินลำบาก ขึ้นลงบันไดลำบาก จัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

5 ข้อสัญญาณเตือน ว่าคุณอาจจะมีความเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อม

1.อาการปวด  มีลักษณะปวดตื้อ ๆ ทั่ว ๆ ไป  บริเวณข้อ  ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน  อาการ ปวดมักเป็นเรื้อรังและมากขึ้นเมื่อใช้งาน  ขึ้นลงบันได หรือลงน้ำหนักบนข้อนั้น ๆ อาการจะทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน  หากการดำเนินโรครุนแรงขึ้นอาจทำให้ปวดตลอดเวลา  แม้กลางคืนหรือขณะพัก บางรายมีอาการตึงบริเวณ  พับเข่า น่อง

2. ข้อฝืด (stiffness) พบได้บ่อย มักเป็นตอนเช้า  แต่มักไม่เกิน  30  นาที  อาการฝืดอาจเกิดขึ้นชั่วคราว  ในช่วงแรกของการเคลื่อนไหวหลังจากพักเป็น เวลานาน  เรียกว่า   ปรากฏการณ์ข้อหนืด   (gelling  phenomnon)

3.ข้อบวมและผิดรูป  (swelling and defor-  mity) อาจพบขาโก่ง (bow legs) หรือเข่าฉิ่ง (knock-  knee)  ข้อที่บวมเป็นการบวมจากกระดูกงอกโปน บริเวณข้อ

4. สูญเสียการเคลื่อนไหวและการทำงาน ผู้ป่วยมีอาการเดินไม่สะดวก

5.  มีเสียงดังกรอบแกรบ  (crepitus) ในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว

อาการที่ควรพบแพทย์

หากผู้ป่วยมีอาการข้างต้นเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือน พักการใช้งาน หรือทานยาแก้ปวดต่อเนื่องอาการปวดไม่ทุเลา ควรเข้ามาปรึกษาพบแพทย์แผนจีนที่เชียวชาญด้านกระดูกและข้อ เพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม


------------------------

บทความโดย

แพทย์จีน กรกฎ คุณโฑ (โจว เฉิง)
周承 中医师
TCM. Dr. Koraghod Khuntho (Zhou Cheng)
แผนกกระดูกและทุยหนา 骨伤推拿科 (Orthopedic and Tuina TCM Department)


อ้างอิง

แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม.(2548).กรุงเทพ: สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้