ปิงหลาง 槟榔 :ข้อมูลสมุนไพร

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  8465 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปิงหลาง 槟榔 :ข้อมูลสมุนไพร

ปิงหลาง (槟榔) คือเมล็ดสุกแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Areca catechu L. วงศ์ Arecaceae (Palmae)

ชื่ออื่น ๆ 

หมากสง (ไทย) ปิงหลาง (จีนกลาง) ปิงน้อ (จีนแต้จิ๋ว) Areca Seed, Arecae Semen

ลักษณะภายนอก
ทรงกลมแบน ผิวสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน หรือสีน้ำตาลอมแดงอ่อน มีรอยลายตาข่ายบุ๋มลงไปเล็กน้อย มีรอยของขั้วเมล็ดชัดเจน เนื้อแข็ง ทุบแตกยาก หน้าตัดพบเปลือกเมล็ดสีน้ำตาลและเอนโดสเปิร์มสีขาวเป็นลายหินอ่อน มีกลิ่นอ่อน ๆ รสฝาด ขมเล็กน้อย

 



แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลกว่างตง หยุนหนาน กว่างซี และฝูเจี้ยน

 

การเตรียมอิ่นเพี่ยน 

1.ปิงหลาง : กำจัดสิ่งแปลกปลอม แช่น้ำจนกระทั่งน้ำซึมเข้าสู่เนื้อตัวยา หั่นเป็นแว่นบาง ๆ ตากให้แห้งในที่ร่ม

 

2. เฉ่าปิงหลาง : คั่วปิงหลางด้วยไฟระดับอ่อนจนเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ร่อนแยกเศษเล็ก ๆ ออก

 


3. เจียวปิงหลาง :
คั่วปิงหลางด้วยไฟระดับกลางจนเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกรียม ร่อนแยกเศษเล็ก ๆ ออก

 

 

 

ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีนมี

รสขม เผ็ด อุ่น เข้าสู่เส้นลมปราณกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
1. ปิงหลาง :
ฆ่าพยาธิ แก้ท้องอืด ดึงชี่ลงสู่ส่วนล่าง ขับปัสสาวะ และรักษามาลาเรีย

2. เฉ่าปิงหลาง :
การคั่วทำให้ยาออกฤทธิ์สุขุมขึ้น ป้องกันภูมิต้านทานของร่างกาย (เจิ้งชี่) ถูกทำลาย ลดผลข้างเคียง (คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง)

3. เจียวปิงหลาง :
มีฤทธิ์เหมือนเฉ่าปิงหลาง แต่มีฤทธิ์ช่วยย่อยดีกว่า


ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 
มีรสฝาด สมานแผล แก้ปวดเมื่อย แก้บิดมูกเลือด รักษาแผลในปากในคอ เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืดในสัตว์  

ขนาดและวิธีใช้ 
ต้มรับประทาน 3-10 กรัม กรณีขับพยาธิตัวตืดและพยาธิใบไม้
ต้มรับประทาน 30-60 กรัม

 

* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการชี่พร่องและจมลงส่วนล่าง



เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี

 




เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้