Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 2031 จำนวนผู้เข้าชม |
“การเผาจี้อสมุนไพรจีน” เป็นเทคนิคการเตรียมยาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของศาสตร์การแพทย์แผนจีน การเผาจื้อนอกจากจะขึ้นกับการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังต้องคำนึงว่าจะทำอย่างไรให้คุณสมบัติของยาเปลี่ยนไปตามต้องการ เพื่อให้สอดคล้องกับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยของแพทย์ รวมทั้งทำให้รูปแบบของยาเหมาะสมต่อการรักษาคุณภาพของยา การเก็บรักษา และสะดวกใช้
1. วัตถุประสงค์ของการเผาจื้อ
2. วิธีการเผาจื้อ
1) การเผาจื้อแบบเหลยกง 17 วิธี (雷公炮炙十七法) มีดังนี้
การเผาจื้อแบบเหลยกง 17 วิธีดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น นับเป็นแบบแผนเพื่อให้เห็นภาพรวมของพัฒนาการของการเผ้าจื้อในยุคปัจจุบัน
2) การเผาจื้อตามเภสัชตำรับของสาธารณรัฐประชาชนจีน (Pharmacopoeia of the People’s Republic of China) ได้กำหนดมาตรฐานการเผาจื้อ โดยกำหนดคำนิยามของวิธีการเตรียมต่าง ๆ ที่เป็นมาตรฐานระดับชาติ ดังนี้
การแพทย์แผนจีนได้กำหนดกระบวนการแปรรูปโดยวิธีเฉพาะของสมุนไพร ดังนี้
การผัด (炒制法 เฉ่าจื้อฝ่า) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การผัดธรรมดา และการผัดโดยใช้รำข้าวสาลี
(ก) การผัดธรรมดา (清炒ชิงเฉ่า) หมายถึงการนำเย่าไฉที่สะอาดใส่ในภาชนะที่เหมาะสม ผัดโดยใช้ระดับไฟอ่อน ๆ จนกระทั่งได้ตัวยาที่มีลักษณะตรงตามข้อกำหนด นำออกจากเตา แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น หากต้องการผัดจนกระทั่งไหม้เกรียมให้ผัดโดยใช้ระดับไฟแรง ผัดจนกระทั่งผิวนอกเป็นสีน้ำตาลและรอยแตกเป็นสีเข้ม นำออกจากเตา แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
(ข) การผัดโดยใช้รำข้าวสาลี (麸炒ฝูเฉ่า) หมายถึงการนำรำข้าวสาลีใส่ลงในภาชนะที่เหมาะสม แล้วให้ความร้อนจนกระทั่งมีควันออกมา เติมเย่าไฉที่สะอาดลงไป คนอย่างรวดเร็วจนกระทั่งผิวของตัวยาเป็นสีเหลืองเข้ม นำออกจากเตา แล้วร่อนเอารำข้าวสาลีออก โดยทั่วไปใช้รำข้าวสาลี 10 กิโลกรัม ต่อสมุนไพร 100 กิโลกรัม
การคั่ว (烫制法 ทั่งจื้อฝ่า) หมายถึงการนำทรายที่สะอาดหรือเปลือกหอยที่บดเป็นผงใส่ในภาชนะที่เหมาะสม แล้วให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง เติมเย่าไฉที่สะอาดลงไป คนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งตัวยากรอบ นำออกจากเตา ร่อนเอาทรายออก ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
การสะตุ (煅制法 ต้วนจื้อฝ่า) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การสะตุแบบเปิด และการสะตุแล้วจุ่มในของเหลวที่กำหนด
(ก) การสะตุแบบเปิด (明煅 หมิงต้วน) หมายถึงการนำเย่าไฉที่สะอาดมาทุบให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปวางบนเปลวไฟที่ไม่มีควัน หรือใส่ในภาชนะที่เหมาะสม สะตุจนกระทั่งตัวยากรอบ เปราะ หรือร้อนแดง จากนั้นนำออกจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบดเป็นผงละเอียด สำหรับตัวยาประเภทเกลืออนินทรีย์ที่มีน้ำผลึก ไม่จำเป็นต้องสะตุจนร้อนแดง แค่ทำให้น้ำผลึกระเหยออกอย่างสมบูรณ์ก็พอ
(ข) การสะตุแล้วจุ่มในของเหลวที่กำหนด (煅淬 ต้วนเชฺว่ย) หมายถึงการนำเย่าไฉที่สะอาดมาสะตุจนกระทั่งตัวยาร้อนแดง แล้วนำไปจุ่มลงในของเหลวที่กำหนดเพื่อลดอุณหภูมิจนกระทั่งตัวยากรอบ เปราะ นำตัวยาไปทำให้แห้ง บดเป็นผงละเอียด
การเผาให้เป็นถ่าน (制炭法 จื้อทั่นฝ่า) หมายถึงการเผาสมุนไพร แต่ต้องระวังไม่ให้เป็นขี้เถ้า หากเป็นการเผาโดยวิธีผัด ให้ใส่เย่าไฉที่สะอาดลงในภาชนะที่ร้อน แล้วผัดโดยใช้ระดับไฟแรง จนกระทั่งผิวนอกของตัวยามีสีเข้ม และเนื้อในเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม พรมน้ำเล็กน้อย เอาออกจากเตา แล้วนำไปตากแห้ง หากเป็นการเผาโดยวิธีสะตุ ให้ใส่เย่าไฉที่สะอาดลงในภาชนะสำหรับสะตุที่มีฝาปิดมิดชิด อบตัวยาให้ทั่ว ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาตัวยาออกมาใช้
การนึ่ง (蒸制法เจิงจื้อฝ่า) หมายถึงการนำเย่าไฉที่สะอาดมาคลุกเคล้ากับ ฝู่เลี่ยวชนิดของเหลวให้เข้ากัน นำไปใส่ในภาชนะนึ่งที่มีฝาปิดมิดชิด นึ่งจนกระทั่งฝู่เลี่ยวแทรกซึมเข้าในเนื้อตัวยา แล้วนำไปตากแห้ง
การต้ม (煮制法จู่จื้อฝ่า) หมายถึงการนำเย่าไฉที่สะอาดมาต้มกับน้ำหรือฝู่เลี่ยว ชนิดของเหลว จนกระทั่งน้ำหรือฝู่เลี่ยวแทรกซึมเข้าเนื้อในตัวยา แล้วนำไปตากแห้ง
การตุ๋น (煨制法เว่ยจื้อฝ่า) หมายถึงการนำวัตถุดิบสมุนไพรที่สะอาดมาตุ๋นกับฝู่เลี่ยว ชนิดของเหลวในภาชนะตุ๋นที่มีฝาปิดมิดชิด ตุ๋นจนกระทั่งฝู่เลี่ยวซึมเข้าไปในตัวยาอย่างทั่วถึง นำออกมาทำให้แห้ง
การลวกด้วยน้ำเดือด (燀法 ตันฝ่า) หมายถึงการใส่เย่าไฉที่สะอาดลงในน้ำเดือด คนสักครู่แล้วนำสมุนไพรขึ้นจากน้ำ เช่น สมุนไพรบางชนิดที่เปลือกเมล็ดชั้นนอกมีลักษณะย่นและแห้ง จะต้องใส่น้ำเดือดคนจนกระทั่งเปลือกเมล็ดพองตัวและมีผิวเรียบจนสามารถแยกออกมาได้ จากนั้นนำไปแช่ในน้ำเย็นเพื่อลอกเอาเปลือกเมล็ดชั้นนอกออก แล้วนำไปตากแดด
การแปรรูปโดยใช้เหล้า (酒炙法จิ่วจื้อฝ่า) หมายถึงกระบวนการแปรรูปโดยใช้เหล้าเป็นฝู่เลี่ยว ปกติจะใช้เหล้าเหลือง วิธีการแปรรูป เช่น การผัด การตุ๋น การนึ่ง เป็นต้น
การแปรรูปโดยใช้น้ำส้ม (醋炙法ชู่จื้อฝ่า) หมายถึงกระบวนการแปรรูปโดยใช้น้ำส้มเป็นฝู่เลี่ยว ปกติน้ำส้มที่ใช้มักทำมาจากการหมักกลั่นข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวเกาเหลียง หรือหัวเหล้า วิธีการแปรรูป เช่น การผัด การต้ม การนึ่ง เป็นต้น
การแปรรูปโดยใช้น้ำเกลือ (盐炙法เอี๋ยนจื้อฝ่า) หมายถึงกระบวนการแปรรูปโดยใช้น้ำเกลือเป็นฝู่เลี่ยว วิธีการแปรรูป เช่น การผัด การนึ่ง เป็นต้น
การผัดด้วยน้ำขิง (姜炙法เจียงจื้อฝ่า) หมายถึงการผัดเย่าไฉที่สะอาดโดยใช้น้ำขิงเป็นฝู่เลี่ยว เตรียมโดยเติมน้ำขิงลงบนเย่าไฉที่สะอาด คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปผัดในภาชนะที่เหมาะสมด้วยไฟอ่อน ๆ จนกระทั่งน้ำขิงซึมเข้าในตัวยา นำออกมาตากแห้ง ปกติใช้ขิงสด 10 กิโลกรัม หรือ ขิงแห้ง 3 กิโลกรัม ต่อสมุนไพร 100 กิโลกรัม
การผัดด้วยน้ำผึ้ง (蜜炙法มี่จื้อฝ่า) หมายถึงการผัดเย่าไฉที่สะอาดโดยใช้น้ำผึ้งเป็นฝู่เลี่ยว เตรียมโดยนำน้ำผึ้งบริสุทธิ์มาเจือจางด้วยน้ำต้มในปริมาณที่เหมาะสม ใส่เย่าไฉที่สะอาด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้สักครู่เพื่อให้น้ำผึ้งซึมเข้าไปในตัวยา จากนั้นนำไปผัดในภาชนะที่เหมาะสมโดยใช้ไฟอ่อน ๆ ผัดจนกระทั่งมีสีเหลืองเข้มและไม่เหนียวติดมือ นำออกจากเตา แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ปกติใช้น้ำผึ้งบริสุทธิ์ 25 กิโลกรัม ต่อสมุนไพร 100 กิโลกรัม
การเตรียมผงสีขาวเหมือนน้ำค้างแข็ง (制霜法จื้อซวงฝ่า) หมายถึงการขจัดน้ำมันออกจากสมุนไพรโดยการบดเย่าไฉที่สะอาดจนมีลักษณะเหมือนแป้งเปียก แล้วให้ความร้อนโดยใช้ไฟอ่อน ๆ จากนั้นบีบน้ำมันในสมุนไพรออกส่วนหนึ่ง จนกระทั่งได้ตัวยาที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวละเอียด
การบดร่วมกับการใช้น้ำโดยวิธีหมุนว่อน (水飞法สุ่ยเฟยฝ่า) หมายถึงการบดสมุนไพรให้เป็นผงละเอียดพอควร แล้วเติมน้ำลงไปบดหมุนวนพร้อมกันไปเรื่อย ๆ ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน สารที่ไม่ต้องการหรือสิ่งแปลกปลอมจะลอยขึ้นมาอยู่บนผิวน้ำ ค่อย ๆ ช้อนออกแล้วเทน้ำทิ้ง จากนั้นเติมน้ำลงไปบดกวนใหม่ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนเหลือแต่ตัวยาที่สะอาดนอนก้น จึงนำมาตากแห้งพร้อมใช้
19 ก.พ. 2567
28 ธ.ค. 2565
24 มี.ค. 2566