เปียเจี่ย 鳖甲 - ข้อมูลสมุนไพรจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  5614 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เปียเจี่ย 鳖甲  -  ข้อมูลสมุนไพรจีน

เปียเจี่ย (鳖甲) คือ กระดองหลังแห้งของเต่าที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx sinensis Wiegmann วงศ์ Trionychidae

ชื่ออื่น ๆ  
เปียเจี่ย (จีนกลาง)  ปิกะ (จีนแต้จิ๋ว) Turtle Carapace, Chinese Softshell Turtle, Trionycis Carapax

ลักษณะภายนอก
กระดองรูปรีหรือรูปไข่ หลังนูน ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอมดำหรือสีเขียวเข้ม เป็นมันเงา มีรอยย่นเป็นร่างแห และจุดสีเหลืองอมเทาหรือสีขาวอมเทา ตรงกลางมีสันตามแนวยาว แนวขวางมีแถบเว้า 8 แถบ สมมาตรกัน เมื่อผิวนอกหลุดออกจะเห็นรอยจักฟันเลื่อย ผิวด้านในสีค่อนข้างขาว ตรงกลางมีกระดูกสันหลังนูนขึ้นมา กระดูกส่วนคอโค้งเข้าด้านใน มีซี่โครง 8 ซี่ ยื่นออกนอกขอบกระดองเนื้อแข็ง กลิ่นเหม็นเล็กน้อย รสจืด

แหล่งผลิตที่สำคัญ

มณฑลหูเป่ย อันฮุย เจียงซู และเหอหนาน

การเตรียมอิ่นเพี่ยน

1. เปียเจี่ย : นึ่ง 45 นาที แล้วจุ่มในน้ำเดือด ใช้แปรงแข็งขัดทันที เพื่อกำจัดหนังและกล้ามเนื้อ ล้างน้ำให้สะอาด ทำให้แห้งแล้วทุบให้แตกเป็นชิ้น


2. ชู่เปียเจี่ย : คั่วเปียเจี่ยกับทรายจนผิวเป็นสีเหลือง นำไปจุ่มในน้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักข้าวเจ้า (ใช้น้ำส้มสายชู 20 กิโลกรัม ต่อเปียเจี่ย 100 กิโลกรัม) แล้วทำให้แห้ง

ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสเค็ม เย็นเล็กน้อย เข้าสู่เส้นลมปราณตับและไต

1. เปียเจี่ย : บำรุงอิน สงบหยาง ลดไข้บรรเทาอาการร้อนผ่าวในกระดูก สลายก้อน ลดการอุดกั้น

2. ชู่เปียเจี่ย : นำพาตัวยาเข้าสู่เส้นลมปราณตับ เสริมฤทธิ์สลายก้อน ลดการอุดกั้น

ขนาดและวิธีใช้  
ต้มรับประทาน 9-24 กรัม ทำให้แตกเป็นชิ้น ๆ ก่อนนำไปใช้ และควรต้มก่อนตัวยาอื่น


* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
-


เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้