Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 6034 จำนวนผู้เข้าชม |
ไป่ปู้ (百部) คือ รากแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stemona sessilifolia (Miq.) Miq. หรือ S. japonica (Bl.) Miq. หรือ S. tuberosa Lour. วงศ์ Stemonaceae
ชื่ออื่น ๆ
ไป่ปู้ (จีนกลาง) แป๊ะโป๋ว (จีนแต้จิ๋ว) Sessile Stemona Root, Japanese Stemona Root, Tuber Stemona Root, Stemonae Radix
ลักษณะภายนอก
จื๋อลี่ไป่ปู้ (S. sessilifolia) : รูปกระสวย ส่วนบนจะค่อนข้างเรียวยาว ผิวสีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อน มีร่องลึกตามแนวยาว เปราะ แตกหักได้ง่าย หน้าตัดเรียบ สีน้ำตาลอมเหลืองอ่อนหรือสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นอ่อน ๆ รสหวาน และขม
ม่านเซิงไป่ปู้ (S. japonica) : ปลายทั้งสองด้านเรียวเล็ก ผิวมีร่องตามยาวและรอยย่นตามแนวขวาง
ตุ้ยเยี่ยไป่ปู้ (S. tuberosa) : รูปกระสวยยาวหรือแท่งยาว ผิวสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาลอมเทา มีรอยย่นตามแนวยาวหรือร่องตื้นตามแนวยาว เนื้อแน่น หน้าตัดสีขาวอมเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม ไส้กลางใหญ่และสีค่อนข้างขาว
แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลหูหนาน หูเป่ย กว่างตง และฝูเจี้ยน
การเตรียมอิ่นเพี่ยน
1. ไป่ปู้ : กำจัดสิ่งแปลกปลอม ล้างน้ำให้สะอาด ทิ้งไว้จนน้ำซึมเข้าสู่เนื้อตัวยา หั่นเป็นแผ่นหนา ทำให้แห้ง
2. มี่ไป่ปู้ : หมักไป่ปู้กับน้ำผึ้งบริสุทธิ์ที่เจือจางด้วยน้ำต้มในปริมาณที่เหมาะสม (ใช้น้ำผึ้งบริสุทธิ์ 25 กิโลกรัม ต่อไป่ปู้ 100 กิโลกรัม) ทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้น้ำผึ้งซึมเข้าสู่เนื้อตัวยา ผัดด้วยไฟระดับอ่อนจนไม่เหนียวติดมือ
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสหวาน ขม อุ่นเล็กน้อย เข้าสู่เส้นลมปราณปอด
1. ไป่ปู้ : ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด นำชี่ลงล่างเพื่อบรรเทาอาการไอ ฆ่าพยาธิและเห็บ เหา หมัด
2. มี่ไป่ปู้ : การผัดกับน้ำผึ้งช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และเสริมฤทธิ์ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด บรรเทาอาการไอ
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
หนอนตายหยาก (S. tuberosa) : มีรสเมาเบื่อ ฆ่าพยาธิ แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย ฆ่าหิดเหา
ขนาดและวิธีใช้
ต้มรับประทาน 3-9 กรัม หรือใช้ภายนอกในปริมาณที่เหมาะสม โดยต้มกับน้ำหรือดองเหล้า
* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะกระเพาะอาหารและม้ามร้อน
เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี
23 เม.ย 2567
24 มี.ค. 2566
19 ก.พ. 2567