Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 15050 จำนวนผู้เข้าชม |
ไป๋จู๋ (白术) คือ ลำต้นใต้ดินแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Atractylodes macrocephala Koidz วงศ์ Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น ๆ
ไป๋จู๋ (จีนกลาง) แป๊ะตุ๊ก (จีนแต้จิ๋ว) Largehead Atractylodes Rhizome, Atractylodis Macrocephalae Rhizoma
ลักษณะภายนอก
รูปทรงอวบอ้วนไม่แน่นอน ผิวสีเหลืองอมเทา หรือน้ำตาลอมเทา มีปุ่มนูนสลับกับรอยย่นและร่องตามแนวยาว และรอยของรากฝอย ส่วนยอดมีรอยของลำต้นและหน่อ เนื้อแข็ง หักยาก หน้าตัดไม่เรียบ สีขาวอมเหลืองถึงน้ำตาลอ่อน มีช่องบรรจุน้ำมันเป็นจุดสีเหลืองอมน้ำตาล มีกลิ่นหอม รสหวานและเผ็ดเล็กน้อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกเหนียวเล็กน้อย
แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลเจ้อเจียง อันฮุย หูหนาน หูเป่ย
การเตรียมอิ่นเพี่ยน
1. ไป๋จู๋ : กำจัดสิ่งแปลกปลอม ล้างน้ำให้สะอาด ทิ้งไว้จนน้ำซึมเข้าสู่เนื้อตัวยา หั่นเป็นแผ่นหนา ทำให้แห้ง
2. ถูเฉ่าไป๋จู๋ : คั่วเจ้าซินถู่ (ดินในเตาอั้งโล่) ด้วยไฟระดับกลางจนล่อนดี (ใช้เจ้าซินถู่ 25 กิโลกรัม ต่อไป๋จู๋ 100 กิโลกรัม) ใส่ไป๋จู๋ลงไปคั่ว แล้วร่อนเจ้าซินถู่ออก
3. ฝูเฉ่าไป๋จู๋ : คั่วรำข้าวสาลีที่ผัดกับน้ำผึ้งด้วยไฟระดับกลางจนมีควันออกมา ใส่ไป๋จู๋ลงไปคั่วต่อเนื่อง (ใช้รำข้าวสาลี 10 กิโลกรัม ต่อไป๋จู๋ 100 กิโลกรัม) คั่วจนตัวยาเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลอมเหลืองและมีกลิ่นหอมไหม้ ร่อนแยกรำข้าวสาลีออก
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสขมและหวาน อุ่น เข้าสู่เส้นลมปราณม้ามและกระเพาะอาหาร
24 มี.ค. 2566
19 ก.พ. 2567
23 เม.ย 2567