ภาวะโรคหลอดเลือดสมองที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  5914 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะโรคหลอดเลือดสมองที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม

กลุ่มโรคและภาวะอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (สมองขาดเลือด) รวมไปถึงโรคที่ตามมาหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งสามารถรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มร่วมกับหัตถการเสริมการรักษาอื่นๆร่วมด้วย เช่น การรมยา เข็มอุ่น กระตุ้นไฟฟ้า ครอบแก้ว ฯลฯ รวมไปถึงการรักษาเสริมในภาคยาจีนทั้งในระยะเฉียบพลัน รวมไปถึงการใช้ยาจีนรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (ก้านสมองตาย) ในระยะฟื้นตัว

หลักการรักษาโดยวิธีแพทย์จีน เน้นที่การขับเสียชี่ และเสริมด้วยการประคองเจิ้งชี่ เพื่อฟื้นสติและเปิดช่องทวาร ขับเสมหะทะลวงอวัยวะกลวงทั้ง 6 สงบลมตับ และขจัดเสมหะทะลวงเส้นลมปราณ ในส่วนของการรักษาแบบฟื้นฟู การรักษาจะเน้นไปที่การรักษาอาการแสดงออกและรักษาสาเหตุของโรคไปพร้อมกัน และเสริมด้วยการประคองเจิ้งชี่และขับเสียชี่ เมื่ออาการแสดงออกหายแล้ว ให้เน้นการประคองเจิ้งชี่และรักษาสาเหตุของโรค

การรักษาผู้ป่วยในระยะฟื้นตัวและระยะอาการแสดงออกหายแล้ว แพทย์จีนจะเน้นการบำรุงชี่และเพิ่มการไหลเวียนเลือด เสริมอิน (Yin) และทะลวงเส้นลมปราณ (Qi) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาหลัก

Stroke and sequelae of stroke 
โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากลมภายใน

Apoplectic wind stroke 類中風 (类中风)

อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
เป็นอาการที่นำมาก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ แขนขาชาและอ่อนแรง


โรคทีตามมาจากโรคหลอดเลือดสมอง
Sequelae of wind stroke 中風後遺症 (中风后遗症)
เป็นโรคที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อัมพาตครึ่งซีก ปากเบี้ยว เสียความสามารถในการสื่อความหมาย เป็นต้น


CollateralStroke 中絡 (中络) โรคหลอดเลือดสมองในระดับเส้นลมปราณแขนง (เส้นลั่ว) เป็นโรคหลอดเลือดสมองระดับเบาที่สุด มีอาการของเส้นลมปราณแขนง (เส้นลั่ว) ได้แก่ ชาตามผิวหนัง ปากเบี้ยว ลิ้นเฉ อาการชาจะหนักไปทางมือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง


MeridianStroke 中經 (中经)
โรคหลอดเลือดสมองในระดับเส้นลมปราณหลัก (เส้นจิง) เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการหนักขึ้น มีอาการของเส้นลมปราณหลัก (เส้นจิง) ได้แก่ อัมพาตครึ่งซีก ปากเบี้ยว ลิ้นเฉ ชาครึ่งซีก พูดตะกุกตะกัก เป็นต้น แต่ยังไม่มีภาวะหมดสติ


BowelStroke 中腑 (中腑)
โรคหลอดเลือดสมองในระดับอวัยวะกลวง เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการเบากว่าโรคหลอดสมองที่ อวัยวะตัน มีอาการที่สำคัญได้แก่ อัมพาตครึ่งซีก ปากเบี้ยว ลิ้นเฉ ชาครึ่งซีก พูดตะกุกตะกัก และหมดสติ ในบางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะอุจจาระไม่ออก แต่สภาวะการทำงานของสมองผิดปกติยังไม่หนักมาก


VisceralStroke 中臟 (中脏)
โรคหลอดเลือดสมองในระดับอวัยวะตัน เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการหนักที่สุด เกิดจากพิษภัยรุกเข้าสู่อวัยวะกลวงภายใน ทำให้เกิดอาการหมดสติฉับพลัน พูดไม่ได้ ริมฝีปากเคลื่อนไหวไม่ได้ ที่มุมปากมีน้ำลายซึม เป็นต้น


Hemiplegia 半身不隨 (半身不随) 偏枯 (偏枯)
อัมพาตครึ่งซีก อัมพาตที่เป็นในข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย

สอบถามแนวทางการรักษาเพิ่มเติมได้ที่
LINE Official : @huachiewTCM

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้