เหลียนเฉียว 连翘 - ข้อมูลสมุนไพรจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  11964 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เหลียนเฉียว 连翘 - ข้อมูลสมุนไพรจีน

เหลียนเฉียว (连翘) คือ ผลแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Forsythia suspensa (Thunb.) Vahl วงศ์ Oleaceae.

ชื่ออื่น ๆ  
เหลียนเฉียว (จีนกลาง) เหลี่ยงเคี้ยว (จีนแต้จิ๋ว) Weeping Forsythia Capsule, Forsythiae Fructus

ลักษณะภายนอก
รูปทรงไข่ยาวหรือรูปไข่ ค่อนข้างแบน ผิวมีรอยย่นไม่แน่นอนตามแนวยาว มีจุดนูนเล็กจำนวนมาก มีร่องตามแนวยาวในแต่ละด้านทั้งสองด้าน ส่วนยอดแหลม ที่ฐานมีก้านผลขนาดเล็กหรือรอยของก้านผล

ชิงเฉียว : เป็นผลชนิดแห้งแล้วไม่แตก ผิวสีน้ำตาลอมเขียว มีจุดสีขาวอมเทาขนาดเล็ก เนื้อแข็ง มีเมล็ดจำนวนมาก สีเขียวอมเหลือง ผอมบาง มีปีกด้านหนึ่ง

เหล่าเฉียว : เป็นผลชนิดแห้งแล้วแตกที่ส่วนปลายหรือแตกเป็นสองส่วน ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอมแดง ผิวด้านในส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ผิวเรียบ มีผนังกั้นตามแนวยาว เนื้อเปราะบาง เมล็ดสีน้ำตาลมักร่วงหล่น กลิ่นหอมอ่อน ๆ รสขม

แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลซานซี ส่านซี และเหอหนาน


การเตรียมอิ่นเพี่ยน
1. ชิงเฉียว : เก็บในฤดูใบไม้ร่วง ขณะที่ใกล้สุกและยังเขียวอยู่ กำจัดสิ่งแปลกปลอม นึ่งจนน้ำซึมเข้าสู่เนื้อตัวยา ตากแดดให้แห้ง

2. เหล่าเฉียว : เก็บในช่วงผลสุกเต็มที่ ทำให้แห้ง กำจัดสิ่งแปลกปลอม

ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสขม เย็นเล็กน้อย เข้าสู่เส้นลมปราณปอด หัวใจ และลำไส้เล็ก ขจัดความร้อนและสารพิษ ลดบวม ลดการอุดกั้น และกระจายลมร้อน

ขนาดและวิธีใช้  ต้มรับประทาน 6-15 กรัม

* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
- 

 



เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้