Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 10810 จำนวนผู้เข้าชม |
การนอนหลับ
ในทฤษฎีการแพทย์แผนจีน "หยางทำให้ตื่น อินทำให้หลับ" การนอนไม่หลับ เป็นผลจากการที่หยาง (YANG)ไ ม่สามารถรวมตัวกับอิน (YIN) ในขณะที่อาการอ่อนเพลียอยากนอนเป็นผลจาก หยางไม่สามารถแยกตัวจากอิน
อิน-หยาง แปรเปลี่ยนไปโดยแบ่งไปได้เรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด ตัวอย่างเช่น กลางวันกับกลางคืน กลางวันเป็นหยาง กลางคืนเป็นอิน ในคัมภีร์ซู่เวิ่น จินกุ้ยเจินเอี๋ยนลุ่น《素问。金贵真言论》ได้อธิบายว่า “ในอินมีหยาง ในหยางมีอิน” ดังนี้
“ ช่วงเช้าตรู่รุ่งสาง จนถึง เที่ยงวัน เป็นหยางในหยาง
ช่วงเที่ยง จนถึง เย็น เป็นอินในหยาง
ช่วงเที่ยงคืน จนถึง ไก่เริ่มขัน เป็นอินในอิน
ช่วงไก่เริ่มขัน จนถึง เช้าตรู่รุ่งสาง เป็นหยางในอิน”
ทำนองเดียวกัน ร่างกายคนก็แบ่งเป็น อิน-หยางได้ อวัยวะตันเป็นอิน อวัยวะกลวงเป็นหยาง หัวใจและปอดอยู่ส่วนบนของร่างกาย จัดเป็นหยาง หัวใจเป็นธาตุไฟจึงจัดเป็นหยางในหยาง ปอดเป็นธาตุทองจึงจัดเป็นอินในหยาง ตับและไตอยู่ส่วนล่างของร่างกายจัดเป็นอิน ตับมีลักษณะแกร่งจัดเป็นหยางในอิน ไตเป็นธาตุน้ำจึงจัดเป็นอินในอิน ม้ามอยู่ตรงกลางของร่างกายถึงเขตอินพอดีจัดเป็นอิน
การแปรเปลี่ยนของอิน-หยางแบ่งได้ไม่สิ้นสุด จึงเป็นคำอธิบายของคำว่า “อะไรอยู่ภายใต้ฟ้าดินนั้นเป็นแบบนี้” ดังมีกล่าวในคัมภีร์ซู่เวิ่น อินหยางหลีเหอลุ่น《素问。阴阳离合论》ว่า “อิน-หยางนั้นจากสิบขยายได้เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น ขยายไปเรื่อย ๆ จนนับไม่ถ้วน ความจริงมาจากหนึ่ง”
อิน-หยาง เพิ่ม-ลด แปรสภาพ
ร่างกายคนในเวลากลางวันจะถูกกระตุ้นให้พร้อมทำงานจัดเป็นภาวะหยาง แต่กลางคืนร่างกายจะถูกควบคุมให้พักผ่อนอยู่ในภาวะอิน พอใกล้รุ่งภาวะหยางจะค่อย ๆเพิ่มขึ้นและร่างกายก็จะเริ่มถูกกระตุ้นให้พร้อมทำงาน หยางเพิ่มอินลด (阴消阳长 อินเซียวหยางฉาง)
ในทางตรงข้ามเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน หยางจะลดอินจะเพิ่ม (阳消阴长หยางเซียวอินฉาง) เป็นเช่นนี้ร่างกายจึงจะสมดุล ซึ่งแสดงว่าอินและหยางคอยควบคุมแปรเปลี่ยนไปมาเรื่อย ๆ ถ้าผิดปกติไปจะเกิดภาวะอินหรือหยางแกร่ง หรือ อินหรือหยางพร่อง และถ้าแกร่งหรือพร่องถึงระดับสูงสุด อิน-หยางอาจจะแปรสภาพได้ เช่น ฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูร้อน อากาศจะอุ่นไปจนถึงร้อนสุด แล้วก็เริ่มแปรสภาพเป็นฤดูใบไม้ร่วง อากาศจะเย็นและฤดูหนาวอากาศจะเย็นสุด แล้วกลับมาเป็นอากาศอุ่นร้อนในฤดูใบไม้ผลิอีก ต้องมีคำว่าระดับสูงสุดจึงมีการแปรสภาพ
ดังในคัมภีร์ซู่เวิ่น อินหยางอิ้งเซี่ยงต้าลุ่น《素问。阴阳应象大论》กล่าวว่า “หนาวสุดเกิดร้อน ร้อนสุดเกิดหนาว” “อินสุดเกิดหยาง หยางสุดเกิดอิน” การแปรสภาพของอิน-หยางในทางคลินิก เช่น การกระตุ้นเป็นหยาง ถ้ากระตุ้นถึงขีดสูงสุดแล้วจะกลายเป็นถูกกดหรือถูกกดยับยั้งเป็นอินจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า ตรงกันข้ามถ้าถูกกดถึงขีดสูงสุดก็กระตุ้นให้อาละวาดได้ (โรค mania) คนไข้ที่ติดเชื้อโรคหัดเป็นพิษไข้สูงมากถึงขีดสูงสุด ไข้ลดตัวเย็น หน้าซีด ขาชาเย็น เหงื่อออกมาก ก็คือสภาพหยางแปรเปลี่ยนเป็นอิน
การนอนกับภาวะสมดุลของร่างกายและภาวะที่เกิดขึ้น
นอนไม่หลับ
(1) นอนหลับยาก ร่วมกับอาการหงุดหงิดรำคาญ ร้อนที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เหงื่อออกตอนนอน ฝันมาก ปวดเอวเข่าอ่อน พบในภาวะที่หัวใจและไตไม่ประสานกัน
(2) ตื่นง่าย ร่วมกับใจสั่น หลงลืม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย สีหน้าซีด ชีพจรอ่อนแรง พบในภาวะหัวใจและม้ามพร่อง หรือเลือดพร่อง
(3) นอนไม่หลับ และอืดแน่นอึดอัดใต้ลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว ลิ้นมีฝ้าหนาเหมือนเต้าหู้ พบในภาวะอาหารตกค้างในกระเพาะอาหาร
(4) นอนไม่หลับ และเหนื่อยหอบ ใจสั่น บวม พบในภาวะหยางของหัวใจและไตพร่อง
(5) นอนหลับๆ ตื่นๆ เวียนศีระษะ ตกใจง่าย คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม พบในภาวะชี่ถุงน้ำดีติดขัด มีเสมหะรบกวนเสินของหัวใจ
ง่วงนอนผิดปกติ
(1) ง่วงนอน รู้สึกหนักเปลือกตาไม่อยากลืม แน่นอึดอัดทรวงอก เมื่อยหนักตามตัว เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ลิ้นมีฝ้าเหนียว ชีพจรอ่อน พบในภาวะเสมหะความชื้นสะสมกระทบหยางของม้าม
(2) ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร หายใจสั้น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซูบผอม ชีพจรอ่อนแรง พบในภาวะชี่ม้ามพร่อง
(3) ง่วงนอน อ่อนเพลียและมีไข้ เพ้อหรือซึม กำเริบมากเวลากลางคืน ลิ้นแดงจัด ชีพจรเร็ว พบในภาวะไฟรุกรานเยื่อหุ้มหัวใจ อ่อนเพลียมาก อยากนอน ไม่ทนหนาว มือเท้าเย็น พบในภาวะหยางของหัวใจและไตพร่องอุจจาระ
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567