Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 14098 จำนวนผู้เข้าชม |
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ : Rheumatoid Arthritis : RA
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ คือ โรคแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune disease) มีการอักเสบในหลายระบบ ซึ่งจะมีอาการบริเวณรอบข้อเป็นหลัก อาการอักเสบเรื้อรังบริเวณรอบๆข้อต่อหลายตำแหน่งแบบสมมาตรเป็นจุดเด่นของโรค อาการแสดงทางคลินิก คือ อาการเจ็บปวดและกดเจ็บบริเวณข้อต่อ มีมากกว่า 95% ของผู้ป่วยจะมีอาการข้อฝืดแข็งในช่วงเช้า ข้อบวม ในระยะท้ายจะพบว่าข้อต่อผิดรูป การดำเนินของโรคอาจแยกเป็นมีการอักเสบของเยื่อบุข้อ (Synovitis) และภาวะข้อถูกทำลาย (joint destruction)
การอักเสบของเยื่อบุข้อสามารถกลับมาเป็นปกติได้ แต่ภาวะข้อถูกทำลายยากที่จะรักษาให้คืนกลับมาได้ ในระยะกลางของการเกิดโรคอาจพบโลหิตจาง การทดสอบทางห้องปฏิบัติการพบว่า Rheumatoid factor ให้ผลเป็น positive ประมาณ 60-70% ของผู้ป่วยค่า ESR (อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง) สูงขึ้น ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้สังเกตอาการเยื่อบุข้ออักเสบแสดงถึงภาวะกำเริบและความรุนแรง ส่วนค่า C-Reactive Protein มีค่าสูงเช่นกัน การตรวจX-rayในระยะท้ายการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพของช่องว่างข้อต่อจะแคบลงและขุ่นมัว บริเวณรอบๆข้อพบกระดูกพรุนสำหรับผู้ที่มีกระดูกอ่อนบริเวณข้อถูกทำลายอาจพบว่าผิวข้อต่อระหว่างกระดูก 2 ชิ้น จะเชื่อมติดกัน
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
ในตำรา<ซู่เวิ่น•หนี้เถียวลุ่น>>กล่าวว่า
“ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำ สร้างกระดูก เมื่อไตไม่สร้างทำให้ไขกระดูกก็ไม่สามารถเติมเต็มกระดูกได้ ดังนั้น จึงเกิดความเย็นเข้าสะสมที่กระดูก”
เกิดโรคกู่ปี้ (骨痹 - ปวดกระดูกเคลื่อนไหวติดขัด)
และใน<<ชี่เซวี่ยลุ่น>>ยังกล่าวว่า
“เมื่อความเย็นสะสม อิ๋งเว่ย(อิ๋งชี่เว่ยชี่)ไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นหดตัว ซี่โครงข้อศอกไม่สามารถยืดออกได้ภายในเกิดเป็นกู่ปี้ (กระดูกติดขัดเคลื่อนไหวไม่คล่อง) ภายนอกจะชาไร้ความรู้สึก”
ความเย็นชื้น ความอ่อนล้า หรือลมพิษร้อนเข้าจู่โจม ทำให้เส้นลมปราณ(ชี่) ถูกปิดกั้นเดินไม่สะดวกและเกิดโรคขึ้นมา นานวันเข้าตับไตเสื่อมลง เอ็นและกระดูกขาดการหล่อเลี้ยงดังนั้นข้ออักเสบรูมาตอยด์จึงถูกจัดอยู่ในขอบเขตของกู่ปี้ (骨痹) หรือเรียกว่า หวางปี้ (尪痹)
การวิเคราะห์แยกแยะและรักษาตามกลุ่มอาการ
หลักการรักษาแบบแพทย์แผนจีน
อุ่นเส้นลมปราณ กระจายความเย็น กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทะลวงเส้นลมปราณ ร่วมกับเข็มอุ่นโดยใช้โกฐจุฬาลัมพา หรืออุ่นเข็มกับรมยาแต่ละจุดเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพิ่มความสามารถของเลือดทั้งระบบร่างกาย จุดเสริมช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระจายลมทะลวงเส้นลมปราณระงับปวด
การพยากรณ์โรค
ร่างกายที่ต่างกันของแต่ละคนส่งผลกระทบต่อการพยากรณ์ของโรคที่แตกต่างกันไป ผู้ป่วย10%อาการจะหายดีได้ในการรักษาระยะแรกและไม่หลงเหลืออาการตกค้าง ผู้ป่วย15% ใน1-2 ปี จะพบการทำลายอย่างชัดเจนของข้อและกระดูกในระยะเวลาสั้น การเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อจะไม่สามารถกลับไปดีดังเดิมได้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาการกำเริบและดีขึ้นสลับกันไป
1.กลุ่มอาการแห้ง (干燥综合征 Sjogren syndrome)
หลักการวินิจฉัยโรค : พบมากในผู้หญิง ปากแห้ง ตาแห้ง ผิวแห้ง ร่วมกับปวดข้อโลหิตจางระดับเบา 63% ของผู้ป่วยมีฟันผุ โดยมีเศษฟันเล็กๆหลุดออกมา
หลักการรักษา : เปิดทวารเพิ่มสารน้ำหล่อเลี้ยง
2.ถุงหุ้มข้อต่ออักเสบ (滑囊炎Bursitis)
หลักการวินิจฉัยโรค : การเกิดโรคเป็นแบบเรื้อรัง (Chronic onset) หรือกึ่งเฉียบพลัน (Subacute-onset)จะพบกระดูกนูนขึ้นมาหรือบริเวณรอบๆข้อต่อค่อยๆเกิดก้อนเป็นถุงน้ำ ร่วมกับมีอาการเจ็บปวด เมื่อแตะสัมผัสบริเวณนั้นอาจมีความรู้สึกว่ามีการกระเพื่อมเคลื่อนไหว
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567