Last updated: 29 พ.ย. 2567 | 166 จำนวนผู้เข้าชม |
“เครียดลงกระเพาะ”พบได้บ่อยในวัยทำงาน เนื่องจากความเครียดกดดันและเร่งรีบจากภาระงาน ส่วนคนที่คิดมาก ชอบวางแผนก็อาจจะมีอาการเครียดลงกระเพาะได้เช่นกัน
มุมมองแพทย์แผนจีน “เครียดลงกระเพาะ” มีบันทึกมายาวนานกว่าสองพันกว่าปีในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า “การที่ไม้(ตับ)อัดอั้น ทำให้ผู้คนปวดกระเพาะอาหาร” (木郁之发,民病胃脘当心而痛。)
“ความเครียด” ทำให้ชี่ตับอัดอั้น ไหลเวียนไม่สะดวก ย้อนกลับมาข่มกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารทำงานแย่ลง มีอาการท้องอึด ปวดแน่นกระเพาะ เรอ สะอึก อาเจียน ปวดเสียดชายโครง เป็นต้น
Source: https://alllinkmedical.sg/tcm-5-elements-theory/
วิธีกดจุดเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น
1. จุดไท่ชง(太冲)
ตำแหน่ง : อยู่หลังเท้า ของร่องกระดูกเท้าที่1และ2
สรรพคุณ : ปรับการไหลเวียนชี่ตับ ช่วยผ่อนคลาย เพิ่มการไหลเวียนเลือด ทะลวงเส้นลมปราณ ลดหยางของตับ
วิธีกดจุด : ใช้นิ้วโป้งกดนวดเบาๆ3-5 นาที/ครั้ง นวด 2 เวลา เช้า-เย็น
2. จุดจู๋ซานหลี่(足三里)
ตำแหน่ง : อยู่ใต้เข่า ด้านนอกของกระดูกหน้าแข้ง
สรรพคุณ : ปรับสมดุลกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยย่อย บรรเทาอาการท้องอืด ลดบวมน้ำ ปรับสมดุลชี่และเลือด เป็นจุดที่ใช้บำรุงร่างกาย
วิธีกดจุด : ออกแรงกดจุดประมาณ 10 วินาที หลังจากนั้นนวดคลึงประมาณ 10 วินาที ทำซ้ำจนครบ 3 นาที นวดกดจุดทีละข้าง
3. จุดจางเหมิน(章门)
ตำแหน่ง : อยู่บริเวณชายโครง ด้านล่างของปลายซี่โครงที่ 11
สรรพคุณ : ปรับการไหลเวียนชี่ตับ ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะอาหาร เพิ่มการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่ง
วิธีกดจุด : ใช้นิ้วโป้งกดนวดเบาๆ รู้สึกตึงหน่วงเล็กน้อย นวดครั้งละ3-5 นาที นวด 2 เวลา เช้า-เย็น
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีนอาวุโส ปิยะมาศ เมืองใชย (หมอจีน ปี้ หย่า หม่า)
毕雅玛 中医师
TCM. Dr. Piyamas muangchai (Bi Ya Ma)
แผนกฝังเข็ม 针灸科 (Acupuncture Department)
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567