โรคข้อกระดูกเสื่อม (Osteoarthritis)

Last updated: 12 ต.ค. 2567  |  341 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคข้อกระดูกเสื่อม (Osteoarthritis)

โรคข้อกระดูกเสื่อม(Osteoarthritis) หรือข้อกระดูกอ่อนเสื่อมปัญหาหลักที่พบมากสุดในผู้สูงอายุ โดยประเทศไทยพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ป่วยด้วยโรคข้อเสื่อมร้อยละ 55-70 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประชากรทั่วโลก เกิดจากกระดูกอ่อนที่อยู่บริเวณส่วนปลายของกระดูก เนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูก เกิดการผุกร่อน หรือแตกร้าวออกมา ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแบบฝืดๆ บริเวณกระดูกต้นคอ ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง โดยกระดูกอ่อนจากอวัยวะเหล่านี้มักจะเกิดการเสื่อมได้บ่อย เพราะเป็นจุดที่ต้องรับน้ำหนักตัว แต่ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า ก็สามารถเกิดโรคได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

ข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือ เกิดการสึกกร่อนบางลงของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งมักจะเกิดกับข้อที่ต้องรองรับน้ำหนักค่อนข้างมาก เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ฯลฯ โดยกระดูกอ่อนผิวข้อนี้จะถูกทำลายลงอย่างช้า ๆ จนมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างของข้อเข่า เกิดน้ำสะสมในข้อเข่าเพิ่มมากจากการอักเสบขึ้นจนทำให้ข้อบวม พบกระดูกงอกผิดปกติที่ขอบหรือที่มุมข้อ พบกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อเข่าหย่อนยาน ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของข้อได้ลดลงและทำให้เกิดอาการปวด โดยปกติแล้วที่บริเวณปลายของกระดูกที่เป็นส่วนประกอบของข้อจะมีกระดูกอ่อน (cartitage) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำหรือกันชน ช่วยลดการเสียดสีของกระดูกในขณะเคลื่อนไหวของข้อ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมจะพบว่ากระดูกอ่อนนี้มีปริมาณน้ำลดลง เสื่อมและผุกร่อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดและบวมของข้อ
การผุกร่อนของกระดูกอ่อนเป็นไปตามลำดับ ดังนี้

1. โครงสร้างของกระดูกอ่อนเปลี่ยนแปลงไปเมื่ออายุมากขึ้น กระดูกอ่อนจะเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่นเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้หน้าที่ในการลดการเสียดทานของข้อลดลง ทำให้ข้อเกิดการผุกร่อนและทำลายได้มากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว การเสื่อมของกระดูกอ่อนขึ้นอยู่หลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การใช้งาน อุบัติเหตุ ความอ้วน เป็นต้น

2. ผลของการเกิดกระดูกอ่อนเสื่อมทำให้เยื่อหุ้มรอบๆ ข้อเกิดการอักเสบ ผลของการอักเสบทำให้มีการสร้างสารคัดหลั่งจากเม็ดเลือดขาวที่กระตุ้นการอักเสบและการผุกร่อนของกระดูกอ่อนมากขึ้น


3. เมื่อมีการผุกร่อนของกระดูกอ่อนมากขึ้น ทำให้บริเวณปลายของกระดูกที่เป็นส่วนประกอบของข้อเกิดการขัดสีและรับน้ำหนักมากขึ้นในขณะเคลื่อนไหวข้อ ทำให้ลักษณะโครงสร้างของกระดูกเปลี่ยนไป ปลายกระดูกจะหนาขึ้น บานออก และมีการสร้างปุ่มกระดูกที่ขอบๆ เรียกว่า osteophytes หรือ spurs หรือกระดูกงอก

4. ถ้ายิ่งเป็นมากขึ้น การอักเสบในข้อจะมากขึ้น ภายในข้อมีการสะสมน้ำมากขึ้นและดันเข้าไปในกระดูก ทำให้เกิดซีสต์ (cyst) หรือถุงน้ำในกระดูก กระดูกอ่อนหรือกระดูกเองที่เสื่อมอาจหลุดออกมาอยู่ในข้อ เรียก loose body ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้นหรือขัดขวางการทำงานของข้อได้

นอกจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนแล้ว น้ำหล่อเลี้ยง (synovial fluid) อาจมีผลต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรคด้วย น้ำหล่อเลี้ยงข้อ ทำหน้าที่เหมือนน้ำหล่อลื่นของข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ราบเรียบ ส่วนประกอบสำคัญของน้ำหล่อเลี้ยงข้อคือ สารไฮยาลูโรแนน (hyaluronan) พบว่าในข้อกระดูกอ่อนเสื่อม น้ำหล่อลื่นมีปริมาณ hyaluronan มากขึ้นแต่เจือจาง คุณสมบัติของ hyaluronan ที่เปลี่ยนไปนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นข้อในขณะเคลื่อนไหวข้อลดลง

อาการของโรคข้อเสื่อม
มักเกิดขึ้นหลังการใช้ข้อหรือเกิดขึ้นหลังจากที่ข้ออยู่นิ่งๆ เป็นระยะเวลานาน การเคลื่อนไหวข้อจะลำบากมากขึ้นเนื่องจากฝืดหรือเจ็บ เมื่อเป็นมากขึ้นข้อที่ไม่ได้เคลื่อนไหวนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อมีความอ่อนแรงและไม่สามารถที่จะช่วยรับน้ำหนักได้ดีในขณะเคลื่อนไหวข้อ ซึ่งนำไปสู่อาการปวดข้อมากขึ้น สามารถแบ่งได้ 3 ระยะคือ

ระยะที่หนึ่ง รู้สึกปวดบวม บริเวณข้อกระดูกเมื่อมีการใช้งาน
ระยะที่สอง รู้สึกปวดบริเวณข้อกระดูก เมื่อหยุดการใช้งานหรือรู้สึกฝืดและปวดบริเวณข้อกระดูกในตอนเช้า แต่อาการปวดจะเบาลงเมื่อมีการขยับข้อกระดูกนั้นๆ
ระยะที่สาม รู้สึกปวดอย่างต่อเนื่องทั้งมีการใช้งานและหยุดพัก บริเวณข้อกระดูกปวด ผิดรูปอย่างเห็นได้ชัด

ข้อเสื่อมบริเวณข้อสะโพก
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณขาหนีบ หรือต้นขาด้านใน หรือบริเวณด้านนอกของสะโพก ในขณะยืนหรือเดิน ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดร้าวลงมาถึงบริเวณเข่า อาการปวดจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเดินกะเผลกได้

ข้อเสื่อมบริเวณเข่า
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณเข่าหรือลูกสะบ้าขณะยืน เดิน หรือขึ้น-ลงบันได ผู้ป่วยอาจได้ยินหรือคลำได้เสียงในขณะเดินหรือเคลื่อนไหวเข่า ถ้าอาการเจ็บปวดทำให้การเคลื่อนไหวน้อยลง กล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ข้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ quadricep ที่อยู่ที่ต้นขาอาจลีบลงได้

ข้อเสื่อมบริเวณนิ้วมือ
การเสื่อมของกระดูกอ่อนที่นิ้วมือทำให้เกิดอาการเจ็บ บวมของนิ้วมือ osteophyte หรือ spur ที่บริเวณนิ้วมือ ถ้าเกิดที่ข้อปลายนิ้วมือทำให้ข้อที่บริเวณนี้ปูดเป็นตุ่มขึ้นมา เรียกว่า Heberden’s nodes ถ้าเกิดขึ้นที่บริเวณข้อกลางนิ้ว เรียกว่า Bouchard’s nodes ซึ่ง Heberden’s nodes พบบ่อยในผู้หญิงและอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปี ในบางครั้ง Heberden’s nodes หรือ Bouchard’s nodes อาจบวมแดงเกิดการอักเสบได้ โดยทั่วไปแล้วถึงแม้ว่า Heberden’s nodes และ Bouchard’s nodes จะทำให้นิ้วมือดูไม่สวย การทำงานของข้อนิ้วมือโดยทั่วไปมักยังคงเป็นปกติอยู่

ข้อเสื่อมบริเวณนิ้วเท้า
พบบ่อยที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ทำให้มีอาการปวดและเจ็บ อาการจะแย่ลงได้ถ้าใส่รองเท้าคับหรือส้นสูง

ข้อกระดูกเสื่อมบริเวณกระดูกสันหลัง
ข้อกระดูกเสื่อมบริเวณกระดูกสันหลังทำให้เกิดอาการฝืดแข็งและเจ็บปวดข้อบริเวณคอ ซึ่งอาจร้าวมายังบริเวณไหล่หรือแขนได้ ถ้าเป็นที่บริเวณหลังจะทำให้มีอาการฝืดแข็งหรือปวดบริเวณหลัง ซึ่งอาจร้าวลงมาสู่สะโพกและขาได้ ถ้าเป็นมากๆ osteophytes หรือเนื้อกระดูกอ่อนอาจกดทับเส้นประสาททำให้มีอาการชาหรืออ่อนแรงของนิ้วมือ แขน หรือขาได้

สาเหตุการเกิดโรคข้อเสื่อม

- พันธุกรรม
เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมของโปรตีนคอลลาเจน (collagen) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน ครอบครัวมีประวัติการเกิดโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อมตั้งแต่อายุน้อยๆ แต่สามารถที่จะเกิดโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อมเมื่ออายุมากได้เช่นกัน ผู้ป่วยเหล่านี้โดยเฉพาะผู้หญิงมักจะพบมี Heberden’s nodes และ Bouchard’s nodes ที่นิ้วมือ ผู้ป่วยบางรายที่มีความผิดปกติซึ่งเกิดจากพันธุกรรมที่ทำให้ข้อมีรูปร่างผิดปกติ เช่น ข้อสะโพก หรือข้อเข่าโก่งผิดปกติ หรือข้อเคลื่อนไหวมากผิดปกติ มีโอกาสที่จะเกิดข้อกระดูกอ่อนเสื่อมมากกว่าคนปกติ

- คนอ้วน
การศึกษาพบว่าความอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อมของข้อเข่า ความอ้วนยังเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อมแย่ลงด้วย ดังนั้น การป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มและลดน้ำหนักจะช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อมและทำให้โรคดีขึ้น

- การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
การศึกษาพบว่าคนที่มีกล้ามเนื้อ quadricep ที่ต้นขาอ่อนแรงมีโอกาสเกิดโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อมที่ข้อเข่ามากกว่าคนปกติ นอกจากนี้กล้ามเนื้อ quadricep ที่อ่อนแรงยังทำให้ข้อเข่าที่เป็นโรคกระดูกอ่อนเสื่อมอยู่แล้วเสื่อมได้เร็วมากขึ้นด้วย

- อุบัติเหตุหรือการใช้งานที่มากเกินไป
อุบัติเหตุที่ข้อเพิ่มโอกาสของการเกิดโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อม ตัวอย่างเช่นการใช้งานที่บริเวณข้อมาก มักพบในคนที่ต้องงอเข่าบ่อยๆ หรือนั่งยองบ่อยๆ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อมของข้อเข่ามากกว่าคนปกติ ดังนั้นการลดการเกิดอุบัติเหตุหรือการงอเข่าบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อมของข้อเข่า

การวิเคราะห์แยกโรค 

1. การตรวจเลือด
- อาจพบค่า High Sensitive C-Reactive Protein และค่า Erythrocyte Sedimentation Rate สูงเล็กน้อยในผู้ป่วยที่มีเยื่อบุข้ออักเสบ
- ผลตรวจ Rheumatoid factor (RF) เป็น Negative
2. การตรวจน้ำไขข้อ
- การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด เป็น Positive
- ค่าเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำ
3. การตรวจภาพทางรังสี
- การถ่ายเอกซเรย์ CT และ MRI พบโครงสร้างข้อกระดูกมีการเสื่อมสภาพลง หรืออาจพบการงอกของกระดูกและถุงน้ำบริเวณของกระดูก

การวิเคราะห์แยกโรค

โรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อม (Osteoarthritis)โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
มักเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 40 ปีมักเริ่มเป็นระหว่างอายุ 25-50 ปี
เกิดใน 2/3 ของคนอายุมากกว่า 65 ปี และ 10% ของผู้ป่วยเหล่านี้มีอาการมากได้เกิดขึ้นประมาณ 1% ของประชากรในประเทศ สหรัฐอเมริกา
มักเกิดขึ้นช้าๆ ภายในระยะเวลาหลายๆ ปีอาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน ตัวโรคดำเนินเร็วได้ในระยะเวลาสัปดาห์หรือเดือน
มักเกิดไม่กี่ข้อ มักเป็นที่ข้อรับน้ำหนักหรือข้อที่ทำงานมาก อาจเป็น 2 ข้างได้มักเป็นที่ข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ (ที่ไม่ใช่ข้อปลายนิ้วมือ) หรือนิ้วเท้า และต้องเป็นทั้ง 2 ข้าง
อาการปวด บวมแดง ร้อนไม่มาก อาการฝืดข้อตอนเช้าเป็นได้ แต่มักจะน้อยกว่า 20 นาทีอาการปวด บวม แดง ร้อนของข้อเป็นได้มาก อาการฝืดข้อในตอนเช้ามักนานกว่า 20 นาที อาจนานเป็นหลายๆ ชั่วโมง
เป็นบริเวณข้อรับน้ำหนักหรือข้อที่ใช้งานมาก เช่น
ข้อเข่า สะโพก สันหลัง นิ้วมือ พบน้อยมากที่จะเป็นที่ข้อมือ ข้อเท้า หรือข้อศอก
เป็นที่ข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นทั้ง 2 ข้าง และเป็นที่ข้อมือ ข้อเท้า และข้อศอกได้
ไม่มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลดสามารถทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลียและน้ำหนักลดได้


ผู้สูงอายุในมุมมองทางการแพทย์แผนจีน ในคัมภีร์หวงตี้เน่ย์จิง ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายของแต่ละช่วงวัย ด้วยฐานเลข 7 ในผู้หญิงและฐานเลข 8 ในผู้ชาย กล่าวคือร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 7 ปีในผู้หญิงและทุกๆ 8 ปีในผู้ชาย ดังนี้


ช่วงที่ 1-3 (ผู้หญิง 7-21 ปี, ผู้ชาย 8-24 ปี) เป็นช่วงของการเจริญเติบโตของร่างกาย ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน ผู้ชายเริ่มมีอสุจิ
ช่วงที่ 3-5 (ผู้หญิง 21-35 ปี, ผู้ชาย 24-40 ปี) เป็นช่วงที่ร่างกายสมบูรณ์เต็มที่
ช่วงที่ 5-7 (ผู้หญิง 35-49 ปี, ผู้ชาย40-64ปี) เป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย 

ผู้หญิงเมื่อถึงวัยอายุ 35 ปี พลังหยางหมิง (阳明) เริ่มถดถอย ใบหน้าเริ่มคล้ำและผมเริ่มร่วง ; อายุ 42 ปี พลังลมปราณหยาง 3 เส้น (三阳经) เริ่มถดถอย ใบหน้าหมองคล้ำและผมเริ่มขาว ; อายุ 49 ปี เญิ่นม่าย (任脉) พร่อง ไท่ชง (太冲) ถดถอย รอบเดือนเริ่มหมด รูปร่างเปลี่ยนและไม่มีบุตร

ผู้ชายเมื่อถึงวัยอายุ 40 ปี ชี่ของไตเริ่มถดถอย ผมร่วงและเหงือกร่น ; อายุ 48 ปี หยางชี่ที่ขึ้นข้างบนเริ่มถดถอยลง ใบหน้าหมองคล้ำและผมเคราหงอก ; อายุ 56 ปี ชี่ของตับเริ่มถดถอย เอ็นขยับเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว หมดวัยเจริญพันธุ์ การทำงานของไตเริ่มถดถอยและรูปร่างเปลี่ยน ; อายุ 64 ปี ฟันและผมร่วง เชื้ออสุจิจะมีปริมาณลดลง เมื่อพลังของไตลดลง จะส่งผลให้ความสามารถในการเจริญพันธุ์หมดไปด้วย

จะเห็นได้ว่า ไตกับการเสื่อมวัยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งมองได้ว่าไตมีสำคัญต่อร่างกาย เป็นรากฐานของชีวิตแต่กำเนิดและมีความเกี่ยวข้องกับร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบสมอง กระดูก ไขกระดูก ผม หู การขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์  เมื่อไตทำงานถดถอยลง จะส่งผลกระทบต่อการเก็บกักสารจำเป็น “สารจิง”  เมื่อ “สารจิง” ลดลง ร่างกายเสื่อมถอยลง ทำให้เกิดการชราภาพเร็วขึ้น

กลไกของการเกิดโรคข้อกระดูกเสื่อมตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคข้อกระดูกเสื่อมจัดอยู่ในกลุ่ม “กู่ปี้”(骨痹)“กู่เหว่ย”(骨痿)ของแพทย์แผนจีน  โดยเป็นหลักการคิดเกี่ยวข้องกับอายุ  การเพิ่มลดของเลือดชี่  ความแข็งแรงของกระดูกและเส้นเอ็น  เมื่อพ้นวัยกลางคน  ปัจจัยภายในจะเกิด ตับไตพร่อง  การฟื้นฟูกระดูกถดถอย  เส้นเอ็นเสื่อมสภาพ  ปัจจัยภายนอกลมเย็นชื้นจะเข้ากระทบที่ช่องว่างของกระดูกและข้อต่อเส้นเอ็น หรือ  การบาดเจ็บจากการทำงานหนัก  เลือดลมติดขัด  เส้นเอ็นหดเกร็ง  กล้ามเนื้อตึงจนเกิดเป็นอาการปวดเจ็บ  มักจะพบอาการซ้ำเมื่อร่างกายอ่อนเพลีย  การดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้าๆ

การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการและวิธีการรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

โรคข้อกระดูกเสื่อมในกลุ่ม“กู่ปี้”(骨痹)สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มอาการ

1. กลุ่มอาการลมเย็นชื้นกระทำ 
อาการ : ปวดตามข้อต่อแขนขา หรือมีอาการบวม ปวดคงที่ ปวดเหมือนมีดตัด งอไม่สะดวก กลางวันเบาและกลางคืนหนัก กลัวอากาศเย็น แขนขาบวม ลิ้นสีแดงอ่อน ฝ้าบาง ชีพจรตึงแน่น
หลักการรักษา : กระจายความหนาวเย็นและลดความชื้นเพื่อขจัดลม

2. กลุ่มอาการร้อนชื้นอุดกั้น
อาการ : ข้อต่อบวมแดง แสบร้อน หรือมีของเหลวสะสม หรือมีอาการบวมน้ำ ข้อต่องอไม่สะดวก ร่างกายไม่ร้อน เหงื่อออก ปากเหนียว เบื่ออาหาร ปัสสาวะเหลืองแดง ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรลื่นเร็ว
หลักการรักษา : ระบายความร้อน กำจัดลมและความชื้น

3. กลุ่มอาการตับและไตพร่อง
อาการ : ปวดบริเวณหลัง เอว ข้อสะโพกและเข่า ข้อต่อเคลื่อนไหวติดขัด ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ปลายลิ้นแดง ฝ้าขาวแห้ง ชีพจรลึกเล็กหรือลึกเร็ว
หลักการรักษา : บำรุงตับและไต กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

4. กลุ่มอาการเสมหะปิดกั้น
อาการ : ปวดข้อบวมอย่างเห็นได้ชัด ผิดรูปมาก ยากที่จะงอและหมุน เมื่อเคลื่อนไหวจะปวดอย่างรุนแรง ร่างกายอ่อนเพลีย มือทั้งสองข้างสั่น แขนขามักจะกระตุก ลิ้นสีม่วงเข้ม ฝ้าหนาสีขาวเหนียว ชีพจรลึกเล็ก
หลักการรักษา : บำรุงชี่และเลือด เพื่อลดเสมหะ

การนวดทุยหนา
หลักการรักษา : คลายเส้นเอ็นทะลวงเส้นลมปราณ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่ง (舒筋通络、活血化瘀)
หัตถการการรักษา : แพทย์ผู้ทำหัตถการนวดคลึงเบาๆ(揉法) บริเวณที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพ โดยใช้น้ำมันนวด ประมาณ 5-10 นาที เพื่อระบายความร้อนออกจากข้อกระดูกและคลายกล้ามเนื้อ ทำให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น 
หัตถการเคลื่อนไหวข้อต่อ : แพทย์ผู้ทำหัตถการยืนอยู่ข้างที่มีพยาธิสภาพ ใช้ท่าหมุนข้อต่อเบาๆ (เหยาฝ่า摇法) บริเวณที่มีพยาธิสภาพ เพื่อขยับข้อต่อ 10 รอบ ใช้ท่าบิดหมุนคล้ายปั่น (เนียฝ่า捻法) บริเวณข้อนิ้วทุกนิ้ว

การฝังเข็ม
ฝังเข็มบริเวณที่มีพยาธิสภาพของโรค และจุดกดเจ็บ โดยคาเข็มไว้ประมาณ 15 นาที

ยาจีน
ตำรับยาทงปี้ทัง(通痹汤): หวงฉี(黄芪)ตังกุย(当归)、กุยปั่น(龟板)、ฉินเจียว(秦艽)、ซังจี้เซิง (桑寄生)、โก่วฉีจื่อ(枸杞)、เช่อเสา(赤芍)、ฝางจี่(防己)、เชียงหัว(羌活)、ชวนซยง(川芎)、เซิงตี้(生地)、กุ้ยจือ(桂枝)、ตู๋หัว(独活)、หงฮวา (红花)、มู่กวา(木瓜)、 อูเซาเฉอ(乌梢蛇)、ซานชี(三七)、จื้อชวนอู (制川乌)、ซี่ซิน(细辛)、จื้อเฉ่าอู(制草乌)、อู่กง(蜈蚣)
หลักการรักษา : บำรุงชี่และเลือด บำรุงตับและไต ขับลมทะลวงเส้นลมปราณ กระจายความเย็นระงับปวด(益气养血,补益肝肾,祛风通络,散寒止痛)
เหมาะสำหรับ : กลุ่มอาการปวดตามข้อ ข้อบวม เคลื่อนไหวติดขัดเป็นต้น

พอกยา
- ตำรับยาเซียวจ๋งส่าน(消肿散) 、หวงเหลียน(黄连)、หวงฉิน(黄芩)、หวงป๋อ(黄柏)、ต้าหวง(大黄)、ปิงเพี่ยน(冰片)、จางเหน่า(樟脑)
หลักการรักษา : ระบายความร้อนระงับปวด(请热止痛)
เหมาะสำหรับ : ข้อต่ออักเสบในระยะเฉียบพลัน ปวด บวม แดง ร้อน
วิธีใช้ : บดเป็นผง ผสมกับน้ำใช้พอกบริเวณที่มีอาการปวดบวม วันละ 1 ครั้ง 4-6 ชั่วโมง
ข้อควรระวัง : หากมีอาการแพ้ คัน ผื่นแดง ควรรีบหยุดใช้และปรึกษาแพทย์

- ตำรับยาหัวเซว่ส่าน (活血散) : หงฮวา(红花)、ตังกุย(当归)、เซวี่ยเจี๋ย(血竭)、ซานชี(三七)、กู่สุ้ยปู่(骨碎补)、ซวี่ต้วน(续断)、หรูเซียง(乳香)、,ม่อเหย้า(没药)、เอ๋อฉา(儿茶)、ต้าหวง(大黄)、ปิงเพี่ยน(冰片)、ถู่เปียฉง(土鳖虫)
หลักการรักษา : คลายเส้นเอ็นกระตุ้นการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่งระงับปวด(舒筋活血,散瘀止痛)
เหมาะสำหรับ : ปวดตึงข้อต่อกล้ามเนื้อ
วิธีใช้ : บดเป็นผง ผสมกับน้ำอุ่นใช้พอกบริเวณที่มีอาการปวด วันละ 1 ครั้ง 4-6 ชั่วโมง
ข้อควรระวัง : หากมีอาการแพ้ คัน ผื่นแดง ควรรีบหยุดใช้และปรึกษาแพทย์

อบยา
ตำรับยาไห่ถงผีทัง(海桐皮汤): ไห่ถงผี(海桐皮)、โถ้วกู่เฉ่า(透骨草)、หรูเซียง(乳香)、ม่อเหย้า(没药)、ตังกุย(当归)、ชวนเจียว(川椒)、ชวนซยง(川芎)、หงฮวา(红花)、เวยหลิงเซียน(威灵仙)、กานเฉ่า(甘草)、ฝางเฟิง(防风)、ไป๋จื่อ(白芷)
หลักการรักษา : กระตุ้นการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่ง ทะลวงเส้นลมปราณระงับปวด(活血散瘀,通络止痛)
เหมาะสำหรับ : คลายกล้ามเนื้อ ระงับปวด
วิธีใช้ : อบข้อศอกและแขนท่อนล่างประมาน 15-20 นาที วันละ 1 ครั้ง
ข้อควรระวัง : หากมีอาการแพ้ คัน ผื่นแดง ควรรีบหยุดใช้และปรึกษาแพทย์

การดูแลตนเองเมื่อเป็นข้อกระดูกเสื่อม
โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมสามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมขึ้นได้ เช่น การปรับเตียงให้สูงขึ้น เปลี่ยนจากส้วมซึมชนิดนั่งยอง ๆเป็นชักโครกแทน หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง การวิ่ง การปีนเขา การขึ้นลงบันไดสูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการทำให้ข้อบาดเจ็บซ้ำๆหรือการกระทบกระแทกต่อข้อ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีส่วนช่วยทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรงขึ้น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีรูปร่างอ้วนการลดน้ำหนักลงจะช่วยลดอาการปวดและชะลอการทำลายข้อลงได้

การกายบริหาร
ออกกําลังกายด้วยท่ากายบริหารคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น อี้จินจิง (意筋经) ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและเส้นเอ็น สร้างกําลังภายใน บำบัดและป้องกันโรค

- ท่าฟ่งหวางจ่านชื่อ (凤凰展翅) เป็นท่าพื้นฐานของคัมภีร์กําลังภายในเส้าหลิน ที่เน้นการบริหารหัวไหล่ แขน ข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือ โดยเฉพาะข้อมือและนิ้ว เมื่อฝึกฝนเป็นเวลานาน สามารถช่วยปรับสมดุลของอวัยวะภายใน ขยายทรวงอก บํารุงชี่ควบคุมชี่ สงบตับ และเพิ่มความแข็งแรงปอด

1. ท่าเตรียม ยืนตรง กางขาออกเท่ากับระยะห่างของไหล่ทั้งสองข้าง
2. งอข้อศอกทั้งสองข้าง ค่อยๆยกมือทั้งสองข้างขึ้นประสานกันเป็นรูปกากบาท สูงระดับเดียวกับหน้าอก
3. เปล่งเสียง พร้อมกับกระดกหัวแม่มือขึ้น สี่นิ้วที่เหลือชิดกัน ค่อยๆออกแรงผลักออกไปด้านข้าง ให้อยู่ในลักษณะคล้ายนกกางปีก แขนสูงระดับเดียวกับหัวไหล่ หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างมีสมาธิ
4. เปล่งเสียง พร้อมกับค่อยๆดึงแขนกลับเข้าด้านใน พร้อมกับให้มือสองข้างประสานกันเป็นรูปกากบาท สูงระดับเดียวกับหน้าอก
5. กดฝ่ามือลง แล้วผายมือลงไปตามแนวด้านข้างลำตัว เหยียดแขนตรง ดันฝ่ามือออกไปทางด้านหลังลำตัว

- ท่าติ่งเทียนเป้าตี้ (顶天抱地) เป็นท่าพื้นฐานของ คัมภีร์กําลังภายในเส้าหลิน เน้นการฝึกกล้ามเนื้อแขนท่อนบน และกล้ามเนื้อเอว ช่วยเพิ่มทักษะของท่านวดทุยหนา เช่น ท่าคลึง ท่าเขย่า เป็นต้น และช่วยควบคุมการทำงานของชี่ ปรับสมดุลเส้นลมปราณตูและเส้นลมปราณเริ่น และช่วยบริหารของกล้ามเนื้อ biceps femoris, calf triceps, psoas major, rectus abdominis, erector spinae เป็นต้น

1. ท่าเตรียม ยืนตรง กางขาออกเท่ากับระยะห่างของไหล่ทั้งสองข้าง วางมือไว้ที่เอว กระดกนิ้วโปูงชี้ขึ้นบน นิ้วที่เหลือชิดเข้าหากัน
2. เปล่งเสียง ออกแรง ดันฝ่ามือทั้งสองข้างขึ้น ปลายนิ้วหันเข้าหากัน เปิดง่ามนิ้วโปูงและนิ้วชี้ออก สี่นิ้วที่เหลือชิดติดกัน ยกฝ่ามือผ่านหน้าอก จากนั้นหมุนแขนไปด้านนอก ดันขึ้นเหนือศีรษะ โดยที่ฝ่ามือหงายขึ้นบน เหยียดข้อศอกตรง หายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติ อย่างมีสมาธิ
3. เปล่งเสียง ออกแรง กางแขนทั้งสองข้างไปด้านข้าง จนอยู่ในระดับเดียวกับหัวไหล่ พร้อมกับก้มเอวโค้งไปข้างหน้า หลังจากนั้นพายมือลงพื้น ให้นิ้วชี้สองข้างซ้อนทับกัน ค่อยๆยกเอวขึ้น มือทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะคล้ายกับกําลังอุ้มยกของหนัก เมื่อเงยขึ้นมาแล้วให้นํามือทั้งสองข้างมาเท้าเอวเหยียดข้อศอกให้ตรง หักข้อมือออก ดันออกไปทางด้านหลังลำตัว จากนั้นกลับเข้าสู่ท่าเตรียม

งานวิจัย

วัตถุประสงค์ การสังเกตกิจกรรมการยืดเหยียดของข้อต่อร่วมกับนวดทุยหนา ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมของประสิทธิภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานและสำรวจวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการพยากรณ์โรค 

วิธีการ เลือกผู้ป่วย 94 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในแผนกกระดูกและข้อของโรงพยาบาลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2019 ถึงตุลาคม 2020 แบ่งออกเป็นกลุ่ม A (47 ราย) และ B (47 ราย) ตามแผนการรักษาที่แตกต่างกัน กลุ่ม A ใช้การรักษาด้วยยืดเหยียดข้อต่อ กลุ่ม B ใช้การนวดทุยหนาด้วยการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เปรียบเทียบระดับและประสิทธิภาพโดยรวมของปัจจัยการอักเสบ (IL-6, TNF-alpha และ C-reactive protein) ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ผลลัพธ์ คะแนน VAS ของกลุ่ม B (1.21 ± 0.72) คะแนน ต่ำกว่ากลุ่ม A (2.19 ± 1.04) คะแนน KSS (80.02 ± 5.66) คะแนน สูงกว่ากลุ่ม A (73.17 ± 6.20) คะแนน ROM ที่ใช้งานอยู่และ Passive ROM สำหรับกลุ่ม B (121.68 °± 10.16 °และ 128.49 °± 12.35 °ตามลำดับ) สูงกว่ากลุ่ม A (102.34 °± 7.24 °และ 110.34 °± 7.83 °ตามลำดับ) นอกจากนี้ระดับ Interleukin-6, tumor necrosis factor alpha และ C reactive protein ในกลุ่ม B [ตามลำดับ (17.93 ± 3.01) ng / L, (11.02 ± 1.76) ng / L และ (20.25 ± 5.31) mg / L] ต่ำกว่ากลุ่ม A [ตามลำดับ: (22.61 ± 3.27) ng / L, (13.21 ± 2.05) ng / L และ (27.69 ± 7.14) mg / L] 

ประสิทธิภาพ โดยรวมของกลุ่ม B (95.74%) สูงกว่ากลุ่ม A (80.85%) โดยมีค่า P เฉลี่ย <0.05 

ข้อสรุป กิจกรรมร่วมกันกับการนวดทุยหนาเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมีประสิทธิภาพที่แน่นอนสามารถลดอาการปวดเข่าได้อย่างชัดเจน ช่วยเพิ่ม ROM ของข้อเข่าและลดปฏิกิริยาการอักเสบของของเหลวในข้อต่อเป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ในการสํารวจการประเมินผลทางคลินิกแพทย์แผนจีนและการรักษาด้วยการนวดทุยหนาใน 96 กรณีของโรคข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง 

วิธีการ เลือกผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง 192 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกระดูกและข้อในเขต Liwan เมืองกวางโจวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ถึงตุลาคม 2560 รวมอยู่ในผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมที่แนะนำโดยสมาคมโรคไขข้ออเมริกันในปี 2538 ไม่รวมหัวใจที่รุนแรงหลอดเลือดสมองระบบทางเดินอาหารระบบต่อมไร้ท่อและผู้ป่วยอื่น ๆ ที่เป็นโรคหลักพร้อมกับความผิดปกติทางจิต มีความผิดปกติแต่กำเนิด บาดเจ็บรุนแรง เป็นต้น โดยสุ่มตัวเลขแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มควบคุม (96 ราย) และกลุ่มสังเกต (96 ราย) กลุ่มควบคุมให้ยาต้านการอักเสบ nonsteroidal ในช่องปาก selecib แคปซูลบำบัดผู้ป่วยในกลุ่มสังเกตดำเนินการรักษาโรคกระดูกประเภท Westguan Zheng การแพทย์แผนจีนและการรักษาด้วยการนวดทุยหนา สังเกตผลการรักษาทางคลินิกของผู้ป่วยสองกลุ่มใช้การเปรียบเทียบการทดสอบ cafon ผู้ป่วยสองกลุ่มก่อนและหลังการรักษาการให้คะแนนการจำลองภาพความเจ็บปวด (VAS) การเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิต (GQOL-74) การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการออกแบบปัจจัยสองปัจจัย ปรากฏว่ากลุ่มสังเกตการณ์มีประสิทธิภาพเสมอ93. 75% ซึ่งสูงกว่า 81 ของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ 25% ทั้งคะแนน VAS ของกลุ่มสังเกตหลังการรักษาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (t = 3. 064,P <0. 01) 。 หลังจาก 6 สัปดาห์ของการรักษาทั้งสองกลุ่ม, ฟังก์ชั่นทางสังคมของกลุ่มสังเกต, ฟังก์ชั่นทางสรีรวิทยา, ฟังก์ชั่นทางจิต, คะแนนชีวิตทางวัตถุจะดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่าง (t = 3. 657、3. 587、3. 789、3. 658,P < 0. 05) และข้อมูลการติดตามผล 1 ปียังแสดงให้เห็นว่าค่าทุกมิติของคุณภาพชีวิตในกลุ่มสังเกตยังดีกว่ากลุ่มควบคุมความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4. 826、4. 536、4. 955、4. 789,P < 0. 05) 

สรุป สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น หลักการรักษาที่นำมาใช้ คือ การตรวจพบโรคตั้งแต่เริ่มต้นและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สำนักวิชาการกระดูกซีกวนเจิ้ง การใช้วิธีการรักษาในระยะแรกของโรคนั้นมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงความเจ็บปวดของผู้ป่วยควบคุมความล่าช้าของโรคและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ควรค่าแก่การประยุกต์ใช้ทางคลินิก

เอกสารอ้างอิง

1. กิ่งแก้ว ปาจรีย์.  ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ การบำบัดรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู .  กรุงเทพมหานคร : ภาคเวช
ศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563.

2. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.  การฝังเข็ม รมยา เล่ม 
1.  กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2551.

3. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.  การฝังเข็ม รมยา เล่ม 3.นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2554.

4. 肖林榕,郑红.明清医家论治骨痹(骨关节炎)临床理论的发展.《中医文献杂志》,2004.

5. https://thairheumatology.org/index.php/learning-center/for-people/for-people-3?view=article&id=17:1-5&catid=12 

6.https://movingwithease.com.au/conditionssymtoms/spinal/osteoarthritis/


7.https://www.sapnamed.com/blog/rheumatoid-arthritis-and-osteoarthritis-what-are-the-main-differences/


8. https://cannondisability.com/blog/osteoarthritis-and-ssd-benefits/


9. 李悦,吕存贤,杨胜武.膝关节骨关节炎应用关节松动术联合推拿治疗的效果及功能恢复观察.中华全科医学,2021年4月 第19 卷第4期.653.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้