Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 4038 จำนวนผู้เข้าชม |
ในยุคปัจจุบันที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลายหรือมีการใช้งานข้อมือในลักษณะเดิมซ้ำๆ เช่น กวาดถูบ้าน ทำอาหาร ตลอดจนกีฬาในบางประเภทเช่น แบดมินตัน กอล์ฟ เทนนิส สามารถทำให้พังผืดบริเวณข้อมือมีขนาดใหญ่และหนาตัวขึ้น เกิดการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือเรียกว่า กลุ่มอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome : CTS) ส่งผลให้เกิดอาการปวดหรือชาตามนิ้วโป้ง ชี้ กลางและนิ้วนาง โดย หากยังไม่มีการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะนำไปสู่อาการนิ้วโป้งอ่อนแรง กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของหลุดมือได้
สำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือมีการใช้งานข้อมือในลักษณะซ้ำๆเป็นระยะเวลานาน สามารถบริหารข้อมือเพื่อเป็นการบรรเทาและป้องกันอาการชามือจากกลุ่มอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome : CTS) ได้ดังนี้
1. ข้อมืออยู่ในแนวตรง กำมือตามรูป ค้างไว้ 5 วินาที ทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 5 รอบต่อวัน
Credit : https://www.schreibermd.com/carpal-tunnel-excercises
2. ข้อมืออยู่ในแนวตรง เหยียดนิ้วตามรูป ค้างไว้ 5 วินาที ทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 5 รอบต่อวัน
Credit : https://www.schreibermd.com/carpal-tunnel-excercises
3. ข้อมือเหยียดไปด้านหลัง นิ้วโป้งอยู่ในแนวตรง เหยียดนิ้วที่เหลือตามรูป ค้างไว้ 5 วินาที ทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 5 รอบต่อวัน
Credit : https://www.schreibermd.com/carpal-tunnel-excercises
4. ข้อมือเหยียดไปด้านหลัง นิ้วโป้งเหยียดไปด้านหลัง เหยียดนิ้วที่เหลือตามรูป ค้างไว้ 5 วินาที ทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 5 รอบต่อวัน
Credit : https://www.schreibermd.com/carpal-tunnel-excercises
5. หงายมือจนสุด ข้อมือ นิ้วโป้งและนิ้วที่เหลือเหยียดไปด้านหลังตามรูป ค้างไว้ 5 วินาที ทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 5 รอบต่อวัน
Credit : https://www.schreibermd.com/carpal-tunnel-excercises
6. หงายมือจนสุด ข้อมือ นิ้วโป้งและนิ้วที่เหลือเหยียดไปด้านหลังตามรูป ใช้มืออีกด้านนึงดึงนิ้วโป้งเหยียดออก ค้างไว้ 5 วินาที ทำ 10 ครั้ง ทำซ้ำ 5 รอบต่อวัน
Credit : https://www.schreibermd.com/carpal-tunnel-excercises
หากทำตามท่าบริหารแล้วอาการชามือไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัย ประเมินอาการและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากหากเส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานานจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อนิ้วโป้งลีบและอ่อนแรงได้
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน ฉันทัช เฉิน (หมอจีน เฉิน ไท่ เริ่น)
陈泰任 中医师
TCM. Dr. Chantouch Chen (Chen Tai Ren)
แผนกกระดูกและทุยหนา