Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 980 จำนวนผู้เข้าชม |
ในสมัยปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน คนทำงาน หรือผู้สูงวัย ที่ชอบอยู่ท่าเดิมนาน ๆ ไม่ยอมเปลี่ยนอิริยาบถ มักพบปัญหาที่แก้ไม่ตก และชอบกวนใจเป็นประจำอย่าง เช่น อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือที่หลาย ๆ คนคุ้นชื่อว่า office syndrome
ผู้เขียนขอเสนอ 6 ท่าบริหารร่างกายดี ๆ เคล็ดที่ไม่ลับจากคัมภีร์เคลื่อนย้ายเส้นเอ็น หรือ อี้จินจิง (易筋经) วิชาที่ไม่เพียงแค่ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ยังเป็นการทำกายบริหารจากภายใน เริ่มตั้งแต่ควบคุมลมหายใจทุกขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว มีจุดประสงค์เพื่อบำบัดโรคและส่งเสริมให้ร่างกาย แข็งแรง หลังการฝึกจะช่วยให้เลือดและชี่ภายในไหลเวียนได้สะดวก เป็นปกติไม่ติดขัด
กระบวนท่าที่ 1 พระโพธิสัตว์เหวยถัวมอบกระบอง(韦驮献杵第一势)
วิธีทำ
1. ฝ่ามือทั้งสองประกบกันที่หน้าทรวงอก หยุดนิ่งไว้
2. ผ่อนคลายหัวไหล่และรักแร้
3. สายตามองต่ำ
ประโยชน์ของท่านี้
1. การประกบมือไหว้ สายตามองต่ำ จิตใจนอบน้อม ทำให้เข้าถึงสภาวะ “สงบ เสิน หวนคืนที่”
2. สองมือประกบกันเป็นการปรับสมดุลร่างกายซ้าย-ขวา ปรับการทำงานของลำคอ และหัวไหล่ ซึ่งมีผลช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ปรับปรุงระบบประสาท ขจัดความ เหนื่อยล้าของร่างกาย
กระบวนท่าที่ 2 พระโพธิสัตว์เหวยถัวมอบกระบอง(韦驮献杵第二势)
วิธีทำ
1. เหยียดแขนข้าง ตั้งฝ่ามือขึ้น นิ้วเท้าจิกพื้น
2. ผลักนั้นมือออกเต็มที่
3. สายตามองต่ำ
ประโยชน์ของท่านี้
1. การเหยียดแขน ผลักส้นมือ ช่วยเพิ่มพูนความแข็งแรงของหัวไหล่และกล้ามเนื้อ แขน ปรับสมดุลสมรรถนะการทำงานของข้อไหล่
2. ปรับสมดุลการทำงานของเส้นลมปราณที่มือทั้งหกเส้น บริหารเส้นลมปราณของหัวใจ และปอด ช่วยให้กลไกการหายใจ การไหลเวียนเลือดและชี่ดีขึ้น
3. ทั้งสองข้อนี้ คือการบรรลุถึงผลแห่ง “การเหยียดเส้นเอ็น ยืดกระดูก”
กระบวนท่าที่ 3 พระโพธิสัตว์เหวยถัวมอบกระบอง(韦驮献杵第三势)
วิธีทำ
1. ยกส้นเท้า เหยียดแขนขึ้น ลำตัวตั้งตรง
2. สายตามองต่ำ จิตเพ่งสองมือ นิ่งไว้ชั่วครู่
ประโยชน์ของท่านี้
1. ตลอดทั้งร่างยืดขึ้นบน ช่วยขับเคลื่อน “ซานเจียว” ตลอดจนชี่ของเส้นอินทั้ง สาม (ตับ ม้าม ไต) อวัยวะตันทั้งห้า (หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ไต) อวัยวะกลวงทั้งหก (ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว) เส้นลมปราณหลัก (จิง) เส้นลมปราณรอง (ลั่ว)
2. ช่วยการทำงานของข้อไหล่ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย
กระบวนท่าที่ 4 เก็บดารา แลกหมู่ดาว (摘星换斗势)
วิธีทำ
1. ลดตัวผ่อนคลาย
2. หมุนซ้ายวาดแขนขวาขึ้น มองตามมือขวา หลังมือซ้ายแตะหลัง จิตเพ่งจุด มิ่งเหมินผ่อนคลาย
3. หมุนขวา วาดแขนซ้ายขึ้น มองตามมือซ้าย หลังมือขวาแตะหลัง จิตเพ่งจุด มิ่งเหมิน
ประโยชน์ของท่านี้
1. การหันฝ่ามือลง มองกลางฝ่ามือ เพ่งจิตที่จุดมิ่งเหมิน จะขับเคลื่อนเจิ้งชี่ เข้าสู่จุดมิ่งเหมิน และไตทั้งสองที่บริเวณเอว ช่วยให้ไตแข็งแรง ชะลอความชราได้
2. ช่วยบริหารกระดูกต้นคอในแต่ละข้อ
กระบวนท่าที่ 5 ผลักกรงเล็บสยายปีก (出爪亮翅势)
วิธีทำ
1. โอบแขน
2. รั้งฝ่ามือรูปใบหลิวเปิดทรวงอก ตามองต่ำ
3. ผลักฝ่ามือรูปใบบัวออกข้างหน้า ถลึงตามองตรง
4. รั้งแขน คลายฝ่ามือ ลากกลับมาเก็บเป็นฝ่ามือรูปใบหลิวเปิดทรวงอก ตามองต่ำ
ประโยชน์ของท่านี้
1. ปรับสมดุลการไหวเวียนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด สร้างความแข็งแกร่ง ของกล้ามเนื้อแขน ช่วยบริหารกล้ามเนื้อเส้นเอ็นของผู้มีอาการที่บ่า-คอ
กระบวนท่าที่ 6 เก้าปีศาจชักดาบโค้ง (倒拽九牛尾势)
วิธีทำ
1. หมุนตัวขวา สอดแขนขวาหงายฝ่ามืออ้อมหลัง
2. หมุนตัวกลับซ้าย วาดสองแขน มือซ้ายแตะหลัง มือขวาโอบรอบหูซ้าย ตามอง ทางซ้าย
3. หมุนตัวกลับขวา อ้าแขนขยายอก ตามองทางขวา
4. งอเข่าหมุนตัวลงซ้าย หุบแขนเก็บอก ตามองส้นเท้าขวา มือซ้ายเคลื่อนขึ้นตาม แนวกระดูก
5. ยืดเข่าหมุนตัวกลับ คลายมือยืดตัวกางแขน
6. หมุนตัวไปขวาวาดสองแขน มือขวาแตะหลัง มือซ้ายโอบรอบหู ตามองทางขวา
7. หมุนตัวกลับซ้าย อ้าแขนขยายอก ตามองทางซ้าย
8. งอเข่าหมุนตัวลงขวา หุบแขนเก็บอก ตามองส้นเท้าซ้าย มือขวาเคลื่อนขึ้นตาม แนวกระดูก
9. ยืดเข่าหมุนตัวกลับ คลายมือยืดตัวกางแขนคว่ำาฝ่ามือ
ประโยชน์ของท่านี้
1. ส่งเสริมการทำงานของข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อของคอและ ไหล่ เอวมีความแข็งแรงมากขึ้น
2. การที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวแบบหมุนเข้า-ออก ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวที่คล่องตัวมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาข้อต่อที่ติดขัด
เหมาะสำหรับ
เป็นท่าบริหารที่มีการเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล มีการยืดเหยียดข้อต่อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ ง่ายต่อการฝึกฝน จึงเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน กรกฎ คุณโฑ (โจว เฉิง)
周承 中医师
TCM. Dr. Koraghod Khuntho (Zhou Cheng)
แผนกกระดูกและทุยหนา
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567