Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1099 จำนวนผู้เข้าชม |
กล้ามเนื้อฉีกขาดคืออาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูก หรือที่เรียกว่าเส้นเอ็น สาเหตุมักจากยืดเหยียดมากจนเกินไป กล้ามเนื้อฉีกขาดที่เล็กน้อยมักจะดีขึ้นได้โดยการรักษาตัวพักฟื้นที่บ้าน กล้ามเนื้อฉีกขาดที่รุนแรงต้องอาศัยการรักษาทางการแพทย์
สาเหตุ
- เกิดอุบัติเหตุ เช่น ถูกชน ถูกกระแทกอย่างแรง หรือสะดุด ลื่นล้ม
- ใช้งานหนักและซ้ำบริเวณเดิม เช่น ยกของหนัก โดยใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆ
- ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างหนัก โดยไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อ
อาการ
- อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อรุนแรงลักษณะเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือขยับไม่ได้
- บวม
- กล้ามเนื้อเกร็ง
- รอยแดงหรือช้ำ
วิธีการรักษา
- ฝังเข็ม
- รมยา
- พอกสมุนไพรจีน
ตัวอย่างกรณีการรักษาที่เข้ารับการและได้ผลดี
รหัสผู้ป่วย:HN0171XX
ชื่อ : นาย นวคล
เพศ : ชาย
อายุ : 28
เข้ามารักษาเมื่อ : 27/08/2023
อาการสำคัญ : ปวดบวมเข่าซ้ายและไม่มีแรง 2 สัปดาห์
อาการปัจจุปัน : คนไข้เป็นคนเล่นกีฬาอย่างหนัก สองสัปดาห์ก่อน เตะฟุตบอลแล้วมีการชนกระแทก หลังจากนั้นมีอาการปวดบวมด้านบนเข่าซ้าย มีอาการร้อนบริเวณปวด และเข่าซ้ายมีไม่แรงร่วมด้วย หลังขาซ้ายตึง นอนหลับ ขับถ่ายปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยอดีต : ภูมิแพ้
การตรวจร่างกาย :
-ลิ้นแดงซีดฝ้าขาวบาง ชีพจร เสียนม่าย
วิธีการรักษา : ฝังเข็ม และรมยา
ผลการรักษา :
จำนวนการรักษาทั้งหมด 5 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
หลังจากรักษาครั้งที่ 1 อาการบวมบรรเทาลง แต่ยังปวดเข่าขวาและไม่มีแรง
หลังจากรักษาครั้งที่ 2 อาการปวดดีขึ้น บวมน้อยลง ขายังไม่มีแรง
หลังจากรักษาครั้งที่ 3 อาการปวดบวมน้อยลงไป 80 % ขาเริ่มมีแรง หลังขาตึงดีขึ้น
หลังจากรักษาครั้งที่ 4 อาการปวดบวมหายไป มีกล้ามเนื้อขาตึงบ้าง เดินได้เกือบปกติ
หลังจากรักษาครั้งที่ 5 อาการต่างๆหายจนเป็นปกติ
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน วทัญญู วิจิตรธงชัย(หมอจีน เฮย เจ๋อ วัง)
黑泽汪 中医师
TCM. Dr. Watanyu Wijitthongchai
อ้างอิง
1.运动医学 全国体育学院教材委员会运动医学教材小组 运动 人民体育出版社 พ.ศ. 2533
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567