เสมหะ ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือ

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  824 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เสมหะ ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือ

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คืออาการที่พบได้บ่อยในเพศชายวัยเจริญพันธุ์ อาการแสดงหลักคือการที่องคชาตไม่แข็งตัวอย่างเต็มที่ หรือแข็งตัวได้แต่ไม่นาน ส่งผลต่อคุณภาพและความประทับใจจากการมีเพศสัมพันธ์ ในทางการแพทย์แผนจีน “เสมหะ” จัดเป็นหนึ่งตัวก่อโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่สำคัญมาก โดยการเกิดขึ้นของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมีความเกี่ยวข้องกับภาวะไตพร่อง ภาวะชี่เลือดไม่เพียงพอ ภาวะอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น ซึ่งภาวะเหล่านี้มีหนึ่งตัวการก่อให้เกิดความผิดปกติคือ “เสมหะและความชื้น” โดยสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลไกทำให้เกิดความผิดปกติ คือ 1. กลไกเสมหะและความชื้นอุดกั้นชี่ตับ (痰湿阻滞肝气) 2. กลไกเสมหะและความชื้นเคลื่อนลงไต (痰湿下注肾脏) 3. กลไกเสมหะและความชื้นขึ้นบนกระทบหัวใจและเสิน (痰湿上扰心神) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. กลไกเสมหะและความชื้นอุดกั้นชี่ตับ (痰湿阻滞肝气)
    ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ตับมีหน้าที่กำกับการไหลเวียนของชี่ตับ ถ้าชี่ตับติดขัดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้ชี่และเลือดไม่สามารถไหลเข้าไปในองคชาตได้อย่างเต็มที่ เกิดเป็นองคชาตแข็งตัวได้ไม่เต็มที่หรือไม่สามารถแข็งตัวได้ ซึ่งสามารถแสดงออกเป็นภาวะชี่เลือดไม่เพียงพอ ภาวะอารมณ์ติดขัดแปรปรวน เมื่อนานวันเข้าสามารถดำเนินไปสู่ภาวะไตพร่อง ตามคัมภีร์ซู่เวิ่นบทอินหยางอิ้งเซี้ยงต้าลุ่น《素问·阴阳应象大论》กล่าวว่า “ตับ อวัยวะควบคุมอารมณ์ แสดงออกที่เล็บ เปิดทวารที่ดวงตา เมื่อพบแสงเห็นภาพชัดเจน”

    โดยอาการของผู้ที่มี “เสมหะและความชื้นอุดกั้นชี่ตับ” ที่พบได้บ่อยคือ มีเสมหะติดอยู่ในคอ และองคชาตเริ่มมีการแข็งตัวไม่เต็มที่หรือแข็งตัวไม่ได้ (รุนแรง) องคชาตอ่อนตัวเร็ว อารมณ์ทางเพศลดลง อารมณ์แปรปรวนง่าย ขี้โมโห เครียด วิตกกังวล คิดเยอะ ใช้สมองมาก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปวดเมื่อยตามร่างกายรู้สึกว่าตัวหนัก เคลื่อนไหวไม่สะดวก สายตาพร่ามัว ชีพจรหลัก ตึงลื่น (弦滑) ฝ่าบนลิ้นหนา (舌苔厚) เป็นต้น

  2. กลไกเสมหะและความชื้นเคลื่อนลงไต (痰湿下注肾脏)
    ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ไตมีหน้าที่เก็บกักสารจิง สารจิงเปลี่ยนเป็นชี่ ชี่กำเนิดเลือด เลือดหล่อเลี้ยงองคชาต เมื่อเสมหะและความชื้นเคลื่อนลงไต ทำให้สารจิงของไตถูกทำลาย ส่งผลให้สารจิงและชี่ไม่เพียงพอ ทำให้องคชาตขาดการหล่อเลี้ยงจากสารจิงและชี่ ซึ่งแสดงออกเป็นภาวะไตพร่อง ชี่และเลือดไม่เพียงพอ ตามคัมภีร์หลิงซู บทเปิ่นเสิน《灵枢·本神》กล่าวว่า “ไตควบคุมการไหลเวียนของน้ำ แสดงของที่เส้นผม แสดงถึงความสมบูรณ์ที่กระดูก”

    โดยอาการของผู้ที่มี “เสมหะและความชื้นเคลื่อนลงไต” ที่พบได้บ่อยคือ ในคอมีเสมหะเหนี่ยวข้นสีคล้ำ ร่วมกับองคชาตอ่อนนุ่ม แข็งตัวมีปัญหารุนแรง เส้นผมขาว ปวดเอวเมื่อยหลังเข่าไม่มีแรง ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีฟองมาก ปัสสาวะขัดเรื้อรัง ถุงอัณฑะชื้นคัน ชีพจรลื่น ฝ่าหนา

  3. กลไกเสมหะและความชื้นขึ้นบนกระทบหัวใจและเสิน (痰湿上扰心神)
    ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน หัวใจมีหน้าที่กำกับหลอดเลือดและเลือด เมื่อหัวใจและเสินถูกรบกวน หลอดเลือดและเลือดก็จะไหลเวียนผิดปกติ ทำให้องคชาตแข็งตัวผิดปกติ ซึ่งแสดงออกเป็นภาวะชี่และเลือดไหลเวียนติดขัด ภาวะหัวใจและม้ามพร่อง ตามคัมภีร์ซู่เวิ่น หลิงหลานมี่เตี่ยนลุ่น 《素问·灵兰秘典论》กล่าวว่า “หัวใจ คือราชาของอวัยวะทั้งหลาย แสดงถึงความสมบูรณ์ผ่านทางเสิน (ภาพการรับรู้ตัว)”

    โดยอาการของผู้ที่มี “เสมหะและความชื้นขึ้นบนกระทบหัวใจและเสิน” ที่พบได้บ่อยคือ มีเสมหะในคอ ร่วมกับองคชาตแข็งตัวผิดปกติ ร่วมกับนอนไม่หลับ ตื่นง่าย ฝันเยอะ หลับไม่ลึก ขี้หลงขี้ลืม ตกใจง่าย ใจสั่น แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ไม่มีเรียวแรง เบื่ออาหาร ท้องอืด แน่นท้อง เป็นต้น

น่าจะขยายนิยาม “เสมหะ” ว่าคืออะไร มีรูปร่างกับไม่มีรูปร่างแล้วทราบได้ไงว่ามี พอจะเทียบกับไขมันในเลือดสูง

สรุปได้ว่า “เสมหะและความชื้นส่งผลให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้จริง” จัดเป็นกลุ่มอาการตามการวินิจฉัยว่า “เสมหะชื้นในร่างกาย” ซึ่งทำลายการทำงานของตับ ไต หัวใจ ดังนั้นวิธีการรักษาคือการใช้ยาสมุนไพรเข้าไป สลายเสมหะ ขับความชื้น ปรับการไหลเวียนของชี่และเลือด บำรุงม้ามเสริมสร้างไต ปรับการไหลเวียนของตับ สงบเสิน เป็นแนวทางในการรักษาพื้นฐาน ตามคัมภีร์เจิ้งจื้อหุ้ยปู่ บทเสมหะ《证治汇补·痰论》กล่าวว่า “แหล่งสร้างเสมหะมาจากม้าม (脾为生痰之源) รากเหง้าเสมหะเกิดจากไต (肾为生痰之本) เสมหะเก็บกักที่ปอด (肺为贮痰之器)” ดังนั้นในการรักษาเสมหะต่าง ๆ ยังต้องคำนึงถึงความสมบูรณ์ในการทำงานของปอด ม้าม และไตอีกด้วย

การรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย องคชาตแข็งตัวมีปัญหา เป็นโรคที่มีความซับซ้อนของความผิดปกติในหลายอวัยวะ การวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการมีซับซ้อนเป็นอย่างมาก ก่อนจะหาซื้อยามารับประทานเองควรพบแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อผลในการรักษาได้ดียิ่งขึ้น

------------------------

บทความโดย
แพทย์จีน จิตติกร พิมลเศรษฐพันธ์ (หมอจีน พาน จ้าย ติง)
潘在丁  中医师   
TCM. Dr. Jittikorn  Pimolsettapun (Pan  Zai  Ding)
แผนกอายุรกรรมบุรุษเวช

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้