Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1889 จำนวนผู้เข้าชม |
沐浴 (มู่อวี้) คำโบราณที่มีความหมายว่าการใช้น้ำชำระร่างกายโดย 沐 (มู่) จะหมายถึงการสระผม และ 浴 (อวี้) จะหมายถึงการถูฟอกตัว เมื่อเรียกรวมกันจะหมายถึงการแช่น้ำหรืออาบน้ำ ในทางแพทย์แผนจีนนั้นมู่อวี้หย่างเชิง 沐浴养生 ไม่ใช่แต่การแช่เพียงน้ำอย่างเดียว แต่สามารถแช่ได้ทั้ง โคลน ทราย แสงแดด อากาศบริสุทธิ์ หรือยาสมุนไพรจีน เป็นต้น โดยมีแนวคิดที่ว่า ธาตุหรือสสารทางธรรมชาติเหล่านี้ มีสรรพคุณทำให้ร่างกายแข็งแรง บำรุงกำลัง ลดการปวดเมื่อย และทำให้อายุยืนยาว(发汗解表、祛风除湿、行气活血、舒筋 活络、宁心安神、调和阴阳等作用)
โดยทั่วไปแล้วถ้าพูดถึงหมอจีนทุกคนก็จะรู้จักการแช่มือแช่เท้าด้วยน้ำร้อนหรือยาสมุนไพรจีนอยู่แล้ว ซึ่งมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลร่างกาย ระบบไหลเวียนเลือด ลดอาการปวด ทำให้นอนหลับดี
และในวันนี้จะขอนำเสนอการแช่ด้วยอย่างอื่นที่นอกเหนือจากน้ำร้อนและยาจีน มีหลากหลายชนิด ดังนี้
1. การแช่โคลน 泥浴 (หนีอวี้)
วิธีแช่ :มักใช้ โคลนทะเล โคลนทะเลสาบ โคลนแร่ธาตุภูเขาไฟ ทาตัวหรือลงแช่ทั้งตัว
ระยะเวลา:เหมาะแก่การแช่ในฤดูร้อน ประมาณ 20-30 นาที
สรรพคุณ:ลดอาการปวดจากข้อต่ออักเสบ แก้ปวดเอวปวดเข่า บำรุงร่างกาย
ข้อควรระวัง :มีประจำเดือน ผิวบาง มีปากแผล ควรเลี่ยงการแช่โคลน
2. การแช่ทราย 沙浴 (ซาอวี้)
วิธีแช่ :ฝังตัวลงในทรายยกเว้นบริเวณส่วนศีรษะ
ระยะเวลา :หากทรายอยู่ในที่ร่มแช่ประมาณ 20 นาที ทรายที่อยู่บริเวณชายหาด หากมีร่มกางบังแดดเหนือศีรษะสามารถ แช่ได้ 30-60 นาที
สรรพคุณ :ลดอาการปวดตามข้อ รูมาตอยด์ ระบบย่อยอาหารไม่ดี ลดน้ำหนัก
ข้อควรระวัง :มีประจำเดือน ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ควรเลี่ยงการแช่ทราย
3. การอาบแดด 日光浴 (ยรื่อกวางอวี้)
วิธีการ :นอนอาบแดดทั้งตัวหรือเฉพาะส่วนที่ต้องการ
ระยะเวลา :กางร่มบังบริเวณศีรษะ นอนอาบแดดประมาณ 15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง 8.00-10.00 น. เหมาะสำหรับฤดูร้อน 11.00-13.00 น. เหมาะสำหรับฤดูหนาว
สรรพคุณ :ปรับสมดุลการไหลเวียนเลือด เบาหวาน ลดน้ำหนัก โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ เหมาะสำรับการอาบแดด
ข้อควรระวัง :ภาวะนอนหลับยาก คิดมาก วิตกกังวล ฝันเยอะ ปวดสีข้าง ควรเลี่ยงการอาบแดด
4. การตากอากาศ 空气浴 (คงชี่อวี้)
วิธีแช่ :ตากอากาศพร้อมชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ป่า น้ำตก ภูเขา ทะเล
ระยะเวลา :ช่วงเวลา 7.00-9.00 น. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง อุณหภูมิประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส
สรรพคุณ :ลดอาการจิตเวช ภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ วิตกกังวล กระตุ้นกลไกการสร้างเม็ดเลือด บำรุงปอดให้แข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
ข้อควรระวัง :หลีกเลี่ยงการตากอากาศเมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนอง หรือ อากาศหนาวจัด
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีนกฤษฎากรณ์ ศรีสาคร (หลี่ หยุน เฟิง)
แผนกกระดูกและทุยหนา
อ้างอิง