Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1921 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคหมอนรองกระดูกระดับเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกเอว เนื้อเยื่อด้านนอก (Annulus fibrosus) เกิดการฉีกขาดบางส่วนหรือทั้งหมด ทำให้เจลด้านใน (Nucleus pulposus) ปลิ้นออกมาทำให้ระคายเคืองหรือกดทับรากประสาท เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยทางคลินิก
พบได้บ่อยในวัย 20-50 ปี เกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (4-6:1) ผู้ป่วยมักมีประวัติก้มทำงานหรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน ครั้งแรกที่เจ็บป่วยมักเกิดขึ้นหลังจากก้มหลังเพื่อยกของหนักหรือบิดเอวกระทันหัน โดยพบว่า 95% เกิดขึ้นที่กระดูกเอวข้อที่ 4-5 (L4-5) หรือกระดูกเอวข้อที่ 5 กระเบ็นเหน็บที่ 1 (L5-S1) [1]
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวหรือกระเบ็นเหน็บ ร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย มักปวดมากเวลาก้มหรือนั่ง หรือเวลาไอ จาม เบ่งถ่าย หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา ขาลีบตามมาได้
ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนโรคหมอนรองกระดูกเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาทจัดอยู่ในกลุ่มของโรคปวดเอว (腰痛)
สาเหตุและกลไกการเกิดโรคในทางแพทย์จีน
มักสัมพันธ์กับปัจจัยก่อโรคภายนอก มีประวัติได้รับบาดเจ็บ ความเสื่อมตามวัย หรือมีเพศสัมพันธ์มากเกินไป
“เอวเป็นที่อยู่ของไต” เส้นลมปราณไตพาดผ่านกระดูกสันหลัง สังกัดไต เส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะขนาบกระดูกสันหลังเชื่อมกับไต เส้นลมปราณตูอยู่แนวกลางกระดูกสันหลัง ดังนั้นโรคนี้สัมพันธ์กับไตและเส้นลมปราณเท้าไท่หยางกระเพาะปัสสาวะ เส้นลมปราณตูอย่างใกล้ชิด
กลไกการเกิดโรคพื้นฐาน คือ เส้นลมปราณชี่และเลือดอุดกั้น หรือสารจิงและเลือดพร่อง เส้นลมปราณขาดความอบอุ่นหรือการหล่อเลี้ยง
การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ แบ่งการวินิจฉัยตามกลุ่มอาการ 4 ประเภท
ตัวอย่างกรณีการรักษาเคสหมอนรองกระดูกเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
ข้อมูลผู้ป่วย
รหัสผู้ป่วย : HN 377XXX
ชื่อ : คุณ ฐิติXXX
วันที่เข้ารับการรักษา : 19 กุมภาพันธ์ 2566
เพศ : หญิง
อายุ : 61 ปี
อุณหภูมิ : 36.6 องศาเซลเซียส
ชีพจร : 82 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต : 151/80 mmHg
น้ำหนัก : 58.8 กิโลกรัม
อาการสำคัญ (Chief complaint)
ปวดเอวฝั่งซ้าย 1 สัปดาห์ เนื่องจากอุบัติเหตุ
อาการปัจจุบัน (Present illness)
ปวดเอวฝั่งซ้าย ร่วมกับมีอาการปวดร้าวชาลงขา เท้าชา ยืนนานหรือเดินนาน อาการปวดเพิ่มขึ้น นั่งนานอาการปวดไม่ได้เพิ่มขึ้น รับประทานยาแก้ปวดไม่ค่อยได้ผล มีอาการปวดช่วงกลางคืน รบกวนการนอน นอนหลับไม่สนิท รับประทานอาหารได้ปกติ ขับถ่ายปกติ ชีพจรตึงเล็กละเอียด Straight leg raising test ให้ผลเป็นบวก ผล MRI ระบุว่า หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 4-5 เคลื่อน
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past history)
ปฏิเสธประวัติโรคหัวใจและเบาหวาน
ปฏิเสธประวัติการแพ้ยาและอาหาร
การวินิจฉัยโรค (Diagnosis)
วินิจฉัยตามหลักการแพทย์จีน : ปวดเอว (กลุ่มอาการเลือดคั่ง)
วินิจฉัยตามหลักการแพทย์ปัจจุบัน : หมอนรองกระดูกเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
วิธีการรักษา (Treatment)
รักษาด้วยการฝังเข็ม
ใช้หลักการรักษา เพิ่มการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่ง ผ่อนคลายเส้นเอ็น ทะลวงเส้นลมปราณ ระงับอาการปวด
ผลการรักษา (progression note)
ผู้ป่วยเข้าการรักษา ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 – วันที่ 9 เมษายน 2566
รักษาครั้งที่ 2 วันที่ 23/2/2566
อาการปวดเอวฝั่งซ้ายลดลง อาการปวดร้าวชาลงขาดีขึ้น ต้นขาไม่มีอาการชาแล้ว หน้าแข้งยังมีอาการชา แต่เท้าซ้ายไม่มีอาการชาแล้ว
รักษาครั้งที่ 3 วันที่ 26/2/2566
อาการปวดเอวฝั่งซ้ายดีขึ้นอย่างชัดเจน อาการปวดและชาขาซ้ายลดลงจากเดิม เท้าซ้ายไม่มีอาการชาแล้ว
รักษาครั้งที่ 4 วันที่ 2/3/2566
ไม่ปวดเอวฝั่งซ้ายแล้ว ต้นขาไม่ปวดและชาแล้ว หน้าแข้งยังมีอาการชาเป็นบางครั้ง เท้าซ้ายไม่มีอาการชาแล้ว
รักษาครั้งที่ 5 วันที่ 8/3/2566
ไม่มีอาการปวดเอวแล้ว อาการปวดชาบริเวณต้นขาหายไป เท้าไม่ชา แต่ยังมีอาการชาบริเวณหน้าแข้งอยู่บ้าง แต่ไม่มาก
รักษาครั้งที่ 6 วันที่ 19/3/2566
หลังจากนั่งรถทางไกลเริ่มมีอาการปวดเอวและสะโพกบ้าง ขาซ้ายเริ่มปวดและชา
รักษาครั้งที่ 7 วันที่ 26/3/2566
หลังจากฝังเข็มไปครั้งก่อน อากาปวดเอวและสะโพกหายไป เท้าไม่ชาแล้ว แต่ยังมีอาการปวดบริเวณหน้าแข้งเป็นบางครั้ง ปวดไม่มาก
รักษาครั้งที่ 8 วันที่ 9/4/2566
นั่งรถทางไกลไปเชงเม้ง อาการปวดเอวไม่กำเริบ ขาซ้ายไม่มีอาการปวดและชา เท้าไม่ชา ไม่มีอาการปวดช่วงกลางคืน พลิกตัวไม่เจ็บ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
สรุปผลการรักษา : การฝังเข็มในเคสหมอนรองกระดูกเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาทสามารถลดอาการปวดได้ดี ช่วยฟื้นฟูอาการชาหรือขาอ่อนแรง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัดหรืออาการยังไม่รุนแรงยังสามารถรักษาแบบประคับประคองได้ ทั้งนี้ผลการรักษาขึ้นอยู่กับบุคคล ปัจจัยกระตุ้น และการดูแลตัวเองของคนไข้ด้วย
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน ปิยะมาศ เมืองใชย (หมอจีน ปี้ หย่า หม่า)
毕雅玛 中医师
TCM. Dr. Piyamas muangchai (Bi Ya Ma)
แผนกฝังเข็ม
อ้างอิง
https://www.baidu.com/bh/dict/ydxx_8256563643003224723
11 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
11 พ.ย. 2567