โรคหลอดเลือดส่วนปลายกับการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  1927 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคหลอดเลือดส่วนปลายกับการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน

กลุ่มโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ อันมีสาเหตุมาจากการตีบ ตัน บาดเจ็บ การเปลี่ยนรูปของหลอดเลือด หรือแม้แต่การมีลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคต่างๆ เช่น ความดันสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ฯลฯ

อาการของโรคหลอดเลือดส่วนปลาย

เนื่องจากหลอดเลือดส่วนปลายกินบริเวณทั่วร่างกาย นอกจากหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจแล้ว หลอดเลือดที่ส่วนอื่นๆของร่างกายทั้งหมดถือเป็นหลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้อาการของโรคหลอดเลือดส่วนปลายมีความแตกต่างกันไปตามบริเวณหรืออวัยวะที่หลอดเลือดนั้นๆไปหล่อเลี้ยง โดยอาการที่เราจะพูดถึงในครั้งนี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยของโรคหลอดเลือดส่วนปลายที่บริเวณขา

1.      อาการปวดที่ขาหรือน่อง อาจมีได้ทั้งแบบปวดๆหายๆ โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหวหรือ ปวดตลอดเวลาโดยเฉพาะตอนกลางคืน

2.      อุณหภูมิที่ผิวหนังมีความผิดปกติเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของร่างกาย เช่น สัมผัสแล้วร้อน/เย็น โดยผู้ป่วยบางรายก็สามารถรู้สึกได้เอง 

3.      สีผิวมีความผิดปกติ เช่น มีสีผิวซีดขาว หรือมีสีผิวคล้ำ

4.      ความรู้สึกผิดปกติ นอกจากผู้ป่วยจะมีอาการปวด รู้สึกร้อนหรือเย็นแล้วยังมีอาการอื่นๆได้อีก เช่น ขาชา หนักขา เจ็บแบบเข็มทิ่ม หรือรู้สึกเหมือนมีแมลงไต่

5.      ภาวะขาบวมหรือลีบ

6.      ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการหล่อเลี้ยง เช่น การมีแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อลีบ ผิวหย่อนคล้อย ผิวบาง เล็บงอกช้าผิดปกติ

อาการต่างๆที่กล่าวถึงเหล่านี้จะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละโรค เช่น หากมีปัญหาที่หลอดเลือดดำมักมีสีผิวคล้ำ สัมผัสแล้วรู้สึกร้อน หากมีปัญหาที่หลอดเลือดแดงมักมีสีผิวซีด สัมผัสแล้วรู้สึกเย็น และอาจมีอาการอื่นๆเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามชนิดของหลอดเลือด ความตื้นลึก ความหนักเบาและระยะเวลาของอาการ

การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน

1.     การใช้ยา (ยาชนิดรับประทาน และยาใช้ภายนอก)

2.     การฝังเข็ม

3.     การทำหัตถการอื่นๆ

วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้น

1.     ป้องกัน ลดอาการของโรคหรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น  หยุดสูบบุหรี่ ควบคุมระดับไขมัน น้ำตาลในเลือด ความดัน

2.     เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์

3.     ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4.     ไม่ควรยืนหรือเดินนานๆ

5.     หากมีภาวะบวมควรนอนราบยกขาให้สูงขึ้นกว่าระดับหัวใจเล็กน้อยวันละ 20-30นาที

------------------------

บทความโดย

แพทย์จีนณัฐฐิมา เตชะพิพัฒน์ชัย (พจ. เจิง ฉ่าย อิง)
曾彩瑛 中医师
TCM. Dr. Nattima Techapipatchai (Zeng Cai Ying)
แผนกอายุรกรรมภายนอก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้