Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 17167 จำนวนผู้เข้าชม |
กล้ามเนื้อตามีหน้าที่ช่วยในการกลอกตา มีทั้งหมด 6 มัด เป็นกล้ามเนื้อ Rectus muscles 4 มัด ได้แก่ Superior rectus, Inferior rectus, Medial rectus และ Lateral rectusกล้ามเนื้อทั้ง4มัดจะเกาะที่บริเวณด้านหน้าของลูกตา ส่วน oblique muscles อยู่บริเวณด้านหลังของลูกตา มีหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตาและช่วยในการกลอกตาขึ้น-ลง กล้ามเนื้อทั้ง 6 มัดได้รับสัญญาณประสาทจากเส้นประสาทสมองสามเส้น ได้แก่ เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 (Oculomotor nerve), คู่ที่ 4 (Trochlear nerve) และคู่ที่ 6 (Abducens nerve)
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 6 หรือ Abducens nerve มีหน้าที่ส่งสัญญาณสู่กล้ามเนื้อ lateral rectus ซึ่งมีหน้าที่กลอกตาออกด้านนอก หากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 6 มีความผิดปกติ จะทําให้ผู้ป่วยไม่สามารถกลอกตาออกด้านนอกได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อนในแนวนอน และภาพซ้อนจะแย่ลงเมื่อมองไปทางทิศของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ
สาเหตุและกลไกในทางแพทย์จีน
การเห็นภาพซ้อนทางการแพทย์แผนจีนเกิดจากต้นทุนก่อนกำเนิดไม่พอ ,ได้รับอุบัติเหตุ หรือถูกคุมคามจากเสียชี่(ปัจจัยก่อโรค)ชนิดลม ตำแหน่งของโรคอยู่บริเวณดวงตา มีความสัมพันธ์กับอวัยวะตับและไต
- ชี่ม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง เส้นลมปราณอ่อนแอ เสียชี่ชนิดลมมากระทบ ทำให้กล้ามเนื้อตาหดเกร็ง
- อินไตพร่อง ลมตับกำเริบภายใน
- อุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากภายนอก เกิดชี่และเลือดคั่ง เส้นเอ็นหดเกร็ง
การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ
1. กลุ่มอาการลมกระทบภายนอก มีอาการเฉียบพลัน ปวดศีรษะและดวงตา เวียนศีรษะ หนังตาตก ตัวร้อน กลัวหนาว ลิ้นแดงฝ้าบาง ชีพจรฝู(浮)
2. กลุ่มอาการลมตับกำเริบภายใน มีอาการเวียนศีรษะตาลาย หูอื้อ หน้าแดง หงุดหงิด แขนขาสั่น ลิ้นแดงฝ้าเหลือง ชีพจรเสียน(弦)
3. กลุ่มอาการเลือดคั่งอุดกั้นเส้นลมปราณ มักพบในผู้ป่วยมีประวัติอุบัติเหตุ หนังตาบวม มีเลือดคั่งในตาขาว ปวดศีรษะ ปวดตึงเบ้าตา คลื่นไส้อาเจียน ลิ้นม่วงคล้ำฝ้าบาง ชีพจรเซ่อ(涩)
วิธีการรักษา สงบลมตับ สลายคั่ง ทะลวงเส้นลมปราณ
ตัวอย่างกรณีการรักษาอาการมองเห็นภาพซ้อนจากเส้นประสาทสมองคู่ที่6ทำงานผิดปกติ
ข้อมูลผู้ป่วย
รหัสผู้ป่วย : HN 0000000
ชื่อ : คุณ ดลXXX
วันที่เข้ารับการรักษา : 12 มีนาคม พ.ศ. 2565
เพศ : หญิง อายุ : 55 ปี
อุณหภูมิ 36.2 องศาเซลเซียส ชีพจร : 70 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต : 126/85 mmHg น้ำหนัก : 75.4 กิโลกรัม
อาการสำคัญ (Chief complaint) มองเห็นภาพซ้อน 1 เดือน
อาการปัจจุบัน (Present illness) มองเห็นภาพซ้อน ลูกตาดำฝั่งซ้ายเอียงเข้ามาทางหัวตาด้านใน ไม่สามารถกรอกลูกตาดำฝั่งซ้ายออกด้านนอกได้ ตาพร่ามัว เวียนศีรษะ ไม่มีอาเจียน ไม่ปวดศีรษะ แขนขามีแรงปกติ การทรงตัวปกติ นอนหลับปกติ การกินปกติ การขับถ่ายปกติ ลิ้นแดงฝ้าเหลือง ชีพจรเสียนซู่(弦数)
ตรวจMRI ไม่พบความผิดปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต( Past history) มีประวัติเคยเป็น Bell’s palsy ,เบาหวาน
การวินิจฉัยโรค(Diagnosis)
วินิจฉัยตามหลักแพทย์จีน
复视เห็นภาพซ้อน (กลุ่มอาการลมตับกำเริบภายใน)
วินิจฉัยตามหลักแพทย์ปัจจุบัน
เส้นประสาทสมองคู่ที่6ทำงานผิดปกติ (CN6 Palsy)
วิธีการรักษา(Treatment)
รักษาด้วยการฝังเข็มเป็นหลัก ใช้หลักการรักษา สงบลมตับ ทะลวงเส้นลมปราณ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
ผลการรักษา (progression note)
ผู้ป่วยเข้าการรักษา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2565 - วันที่ 7 เมษายน 2565
รักษาครั้งที่ 2 วันที่ 16 /3/2565
หลังจากฝังเข็มไปครั้งแรก ลูกตาดำฝั่งซ้ายสามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
เมื่อมองตรงลูกตาดำทั้ง2ฝั่งไม่เท่ากัน ยังคงมองเห็นภาพซ้อน เมื่อมองไปทิศทางขวามองเห็นภาพซ้อนเล็กน้อย เมื่อมองไปทิศทางซ้ายยังมีภาพซ้อนเยอะ
อาการตาพร่ามัวและเวียนศีรษะดีขึ้น
รักษาครั้งที่ 5 วันที่ 23/3/2565
เมื่อมองตรงลูกตาดำทั้ง2ฝั่งเริ่มเท่ากัน ลูกตาดำฝั่งซ้ายสามารถเคลื่อนไหวมองไปด้านนอกได้มากขึ้น รัศมีในการมองเห็นภาพซ้อนแคบลง เมื่อมองไปทิศทางขวามีภาพซ้อนบางช่วง เมื่อมองไปทิศทางซ้ายภาพซ้อนน้อยลง
รักษาครั้งที่ 7 วันที่ 21/3/2565
เมื่อมองตรงลูกตาดำทั้ง2ฝั่งเท่ากัน ลูกตาดำฝั่งซ้ายสามารถเคลื่อนไหวมองไปด้านนอกได้จนสุดหางตา เมื่อมองไปทิศทางขวาภาพซ้อนหายไป เมื่อมองไปทิศทางซ้ายภาพซ้อนยังมีอยุ่ในบางมุม
รักษาครั้งที่ 10 วันที่ 7/4/2565
การมองเห็นกลับมาเป็นปกติ ไม่มีภาพซ้อน สามารถหยุดการรักษาได้ แต่ผู้ป่วยต้องการปรับสมดุลร่างกาย จึงทำการรักษาต่อเนื่องถึงวันที่ 28/4/2565
สรุปผลการรักษา
การฝังเข็มสามารถรักษาอาการมองเห็นภาพซ้อนจากเส้นประสาทสมองคู่ที่6ทำงานผิดปกติได้ผลดี คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นชัดเจน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าโรคนี้อาการสามารถดีขึ้นได้เองภายใน 6 เดือน แต่การฝังเข็มสามารถช่วยกระตุ้นเส้นประสาทให้กลับมาทำงานได้ปกติเร็วขึ้น ย่นระยะเวลาการฟื้นตัวของเส้นประสาท ทั้งนี้ผลการรักษาขึ้นอยู่กับบุคคล สาเหตุการเกิดโรค ระยะเวลาในการเข้ารับรักษา ปัจจัยกระตุ้น และการดูแลตัวเองของคนไข้ร่วมด้วย