โรคมือแม่บ้าน ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ นวดทุยหนารักษาได้

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  5095 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคมือแม่บ้าน ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ นวดทุยหนารักษาได้

งานบ้านเป็นสิ่งที่หลายคนต้องจัดการในแต่ละวัน หรือบางครั้งอาจจะนานๆทำครั้ง แต่โหมทำอย่างหนักหน่วง ยิ่งช่วงนี้บางคนได้ Work from home อาจหลงรักการทำงานบ้านไม่รู้ตัว โดยไม่รู้ว่าความขยันของตนเองเริ่มส่งผลให้ข้อมือเกิดการอักเสบ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เริ่มมีอาการเจ็บค่อนข้างมากแล้ว

อาการปวดข้อมือยอดฮิตหนึ่งในนั้นคือ ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ หรือ เดอกาแวง (de Quervain' tenosynovitis) ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดตึงบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือ หากต้องเขียนหนังสือ ขับรถ เปิดขวดน้ำ ปลอกเปลือกผลไม้ จะรู้สึกเจ็บมาจนมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

การรักษาด้วยแพทย์แผนจีนโดยเฉพาะวิธีการทุยหนาได้ผลค่อนข้างดี โดยแพทย์จีนจะทำการกดคลึงในจุดดังนี้

1. จุดเหอกู่ HeGu (合谷 LI4)
2. จุด LieQue (列缺 LU7)
3. จุด WaiGuan (外关 TE5)
4. จุด ShouSanLi (手三里 LI10)

1. จุดเหอกู่ HeGu (合谷 LI4)

Credit Photo : www.healthcmi.com

2. จุด LieQue (列缺 LU7)

Credit Photo : www.wiki8.cn


3. จุด WaiGuan (外关 TE5)


Credit Photo : www.100md.com

4. จุด ShouSanLi (手三里 LI10)

Credit Photo : healthcmi.com

ขั้นตอนการรักษาโดยแพย์จีน อาจมีการใช้การรมยา แช่ยา พอกยา และ การฝังเข็มในจุดกดเจ็บร่วมด้วย เมื่อรักษาต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกันประมาณ 5 ครั้ง ได้ผลค่อนข้างดี แต่จะดีกว่าหากเริ่มรู้ตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ

เมื่อใช้งานข้อมือค่อนข้างหนักให้สังเกตดูว่าเราใช้ข้อมือ หรือ นิ้วหัวแม่มือในอิริยาบถเดิมๆ หรือไม่ เช่น หลายๆคนมักนำกระเป๋าหนักๆมาคล้องไว้ที่แขนท่อนล่าง  งานที่ทำอยู่เป็นประจำต้องใช้นิ้วหัวแม่มือในท่ากางนิ้วออกทางด้านข้าง หรือ กระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นหรือไม่

หากเป็นเช่นนั้นควรลดการใช้งานในท่าดังกล่าวลงบ้าง หรือ บางวันอาจแช่มือในน้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาที หากอาการปวดไม่ดีขึ้นการรีบพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ปลอกหุ้มเอ็นไม่อักเสบรุนแรง ใช้เวลารักษาไม่นาน หรือ เพื่อตรวจสอบให้ชัดเจนว่าต้นเหตุของโรคที่แท้จริง


ข้อมูลโดย
แพทย์จีน ธนภรณ์ ธนศรีวนิชชัย   刘财蓬 中医师
TCM. Dr. Tanaporn  Tanasrivanichchai (Liu Cai Peng)
เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ พจ.993 
นวดทุยหนารักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม ปวดศีรษะ อัมพาตใบหน้า ใบหน้ากระตุก ไหล่ติด ปวดข้อศอก ข้อเข่าเสื่อม รองช้ำ โรคกระดูกต้นคอและเอว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้