Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 20601 จำนวนผู้เข้าชม |
การนวดกดจุดฝังเข็มบนใบหู
เป็นเสมือนจุดสะท้อนการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย มีสรรพคุณในการผ่อนคลาย ลดความเครียด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น
การเตรียมตัวก่อนนวดใบหูนั้น
1. ควรล้างมือให้สะอาด
2. ตัดเล็บให้สั้นไม่คม เพื่อป้องกันเล็บข่วนใบหูเป็นแผล
3. ก่อนโดยนวดนั้น ควรประกบมือทั้ง2ข้าง และถูให้ฝ่ามือรู้สึกร้อน เพื่อให้เวลานวดรู้สึกผ่อนคลายและให้ประสิทธิภาพ ในการนวดดีขึ้น
โดยจะนวดแบ่งตามแอ่งของบริเวณใบหู 3 ตำแหน่งหลัก ได้แก่
ตำแหน่งที่ 1 : มังกรเวียนสมุทร 蛟龙捣海 (นวดแอ่งหูล่าง)
ใช้นิ้วชี้ทั้งสองข้างกดไปยังแอ่งหู เมื่อหายใจเข้าให้คลึงหมุนตามเข็มนาฬิกา เมื่อหายใจออกให้คลึงหมุนทวนเข็มนาฬิกา ทำอย่างละ 8 ครั้ง
ตำแหน่งที่ 2 : พายเรือเลียบสระสรวง 天池荡舟 (แอ่งหูบน)
ใช้นิ้วชี้นวดจากแอ่งหูบนด้านในลากออกมาถึงปลายของแอ่งหูบน เมื่อหายใจเข้าลายจากด้านในออกมาด้านนอก เมื่อหายใจออกลากจากด้านนอกเข้าด้านใน ทำอย่างละ 8 ครั้ง
ตำแหน่งที่ 3 : กางเขนผงกศีรษะ 喜鹊点头 (นวดบริเวณหู)
3.1 หากมีความเครียด กังวล ขี้หงุดหงิด สามารถใช้ 3 จุดนี้ได้
- จุด Shenmen 神门 อยู่บริเวณในแอ่งสามเหลี่ยมของใบหู ใช้นิ้วชี้นวดกดจุดเสินเหมิน 8 ครั้ง
- จุด Pizhixia 皮质下 อยู่บริเวณในเว้าสันหู
- จุด Zhen 枕 อยู่บริเวณติ่งสันหู ช่วยในเรื่องการนอนหลับ สามารถนวดทั้ง2 จุดพร้อมกันได้ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งบีบคลึงบริเวณสันหู
- หากทานอาหารไม่ได้ ไม่อยากอาหารหรือท้องอืดบ่อยใช้ จุด Wei 胃 อยู่บริเวณแอ่งหู (ขอบสุดของขั้วขอบหู) ใช้นิ้วชี้กดคลึง ทั้งสองข้าง ครั้งละ1นาที วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวันและเย็น ควรทำต่อเนื่องเป็นประจำ
แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาจีนโดยทีมแพทย์จีนแผนกฝังเข็ม คลินิกแพทย์แผนจีนหัวเฉียว
1. แพทย์จีน ปณิตา กาสมสัน
2. แพทย์จีน ปิยะมาศ เมืองไชย
3. แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์
4. แพทย์จีน กนิษฐา ใจเย็น
5. แพทย์จีน พิมพิชญ์ มุจลินทโมลี