Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 47409 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคประสาทฮิสทีเรียและบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรีย
ในทางแพทย์จีนเรียกชื่อว่า อี้เจิ้ง (癔症)
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากร่างกายได้รับปัจจัยทางจิตวิทยาอย่างชัดเจน เช่น ปัญหาชีวิต สภาวะทางจิตใจที่ได้รับการกระทบกระเทือนหรือการแสดงออกทางอารมณ์ที่รุนแรง ภายใต้การถูกกระทบด้านจิตใจจากผู้อื่น สภาวะแวดล้อมรอบตัว และสภาวะภายใจจิตใจของตัวเอง มักเกิดในคนที่อ่อนไหวได้ง่าย
ระบาดวิทยา
รายงานอัตราผู้ป่วยโรคฮิสทีเรียแตกต่างกันออกไป ในกลุ่มคนทั่วไปร้อยละ 3.55 (ปีค.ศ.1982) จากข้อมูลต่างประเทศเพศหญิงร้อยละ 3-6 เพศชายพบได้น้อย ช่วงไม่กี่ปีนี้มีแนวโน้มลดลง สาเหตุไม่ชัดเจน
นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่าเขตที่มีการล้าหลังทางวัฒนธรรม อัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง อายุที่ป่วยครั้งแรกพบได้บ่อยที่สุดคือช่วงอายุ 20-30 ปี โดยทั่วไปพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ร้อยละ 60-80 ของผู้ป่วยอาการสามารถดีขึ้นเองภายใน 1 ปี
อาการแสดงหลักทางคลินิก
• dissociative disorder(Dissociative symptoms)
• conversion disorder(Conversion symptoms)
อาการไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากสภาวะทางกายเป็นพื้นฐาน
ลักษณะพิเศษของอาการ ได้แก่ มีการแสร้ง แสดงออกในลักษณะเกินจริง หรือการแสดงอารมณ์มากเกินไป เป็นต้น บางครั้งเกิดจากการถูกโน้มน้าว และมีแนวโน้มของการเกิดซ้ำ
สาเหตุโรคและกลไกการเกิดโรค
1. พันธุกรรม
ผลการวิจัยด้านพันธุศาสตร์จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
2. ปัจจัยทางจิตสังคม
โดยทั่วไปเชื่อว่าปัจจัยทางจิตสังคมเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคฮิสทีเรีย
กลไกการเกิดโรค
ยังไม่สมบูรณ์ชัดเจน
อาการแสดงทางคลินิก
มักได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยทางด้านจิตใจทำให้เกิดโรคอย่างเฉียบพลัน และพัฒนาการของโรครวดเร็วจนถึงขั้นรุนแรง
hysterical psychological disorders
เหตุการณ์ในอดีต กับการรู้ตัวและการรู้คิดบางส่วนหรือทั้งหมดของสภาพในปัจจุบันไม่สัมพันธ์กัน เป็นรูปแบบอาการที่พบได้ค่อยข้างบ่อยสำหรับฮิสทีเรีย
1. ความผิดปกติของความรู้ตัว อารมณ์รุนแรง
2. hysterical dementia
3. hysterical amnesia
4. hysterical psychosis
ความผิดปกติของความรู้สึกตัว
(Disturbances of Consciousness)
การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและความรู้สึกตัวผิดปกติ
การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมผิดปกติ
(ภาวะการรับรู้เปลี่ยนไป)
ขอบเขตของการรับรู้ลดน้อยลงเป็นหลัก โดยภาวะเหนือความจริง (Twilight state) และภาวะง่วงงุน (lethargy) พบได้บ่อย อาการรุนแรงอาจง่วงซึม (stupor) บางรายเสียความรู้สึกตัวไปแข็งทื่อชั่วขณะ หรือทำอะไรโดยไม่รู้ตัว (fugue)
ความรู้สึกตัวผิดปกติ
(Hysterical identity disorder)
รวมทั้งบุคลิกสลับกัน (alternating personality) สองบุคลิก หลายบุคลิก เป็นต้น
hysterical dementia
เป็นภาวะสมองเสื่อมเทียม (pseudodementia) ชนิดหนึ่ง
อาการแสดง ตอบคำถามง่ายๆได้แบบเฉียดฉิว Ganser's Syndrome
มีพฤติกรรมเด็กอย่างชัดเจน ภาวะสมองเสื่อมเหมือนกลับเป็นเด็ก (puerilism)
hysterical amnesia หลงลืมชั่วขณะ (circumscribed amnesia)
หลงลืมเป็นเรื่องๆ เลือกที่จะลืม (Selective amnesia) การหลงลืมมักสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงได้ อาการแสดง มักจะมีอาการลืมช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ใดที่มักมีเกี่ยวข้องกับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ
hysterical psychosis เป็นรูปแบบอาการที่รุนแรงที่สุด
การรับรู้มักเลอะเลือนหรือเสียความรู้สึกตัวไปชั่วขณะ (fugue) มีความผิดปกติทางพฤติกรรมและความคิดหรือเห็นภาพหลอนเป็นบางช่วงรวมทั้งบุคลิกวิปลาส อาการกำเริบยาวนานกว่าทุกรูปแบบที่กล่าวมา และโดยปกติไม่เกิน 3สัปดาห์ หลังจากอาการบรรเทาไม่มีอาการหลงเหลือ
Hysterical somatic disorders (Conversion disorder)
ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจทำให้เกิดปฎิกิริยาทางอารมณ์โดยแสดงออกมาทางรูปแบบของอาการทางร่างกาย ( somatic symptoms )
ลักษณะพิเศษ : การตรวจหลายอย่างล้วนไม่พบการได้รับบาดเจ็บทางร่างกายที่สัมพันธ์กับระบบประสาทและอวัยวะภายใน
การเคลื่อนไหวผิดปกติ
อาการที่พบบ่อย : ชัก กล้ามเนื้อบางส่วนกระตุกและหดตัว แขนขาเป็นอัมพาต เดินไม่ได้ เป็นต้น
อาการชัก คล้ายกับโรคลมชักเมื่อมีอาการกำเริบ แต่ไม่มีการบาดเจ็บเนื่องจากการกัดลิ้น ล้มลงหรืออุจจาระปัสสาวะราด ระยะอาการกำเริบค่อนข้างยาวนาน กระตุกแรงกว่า มักเกิดในสถานที่ๆมีผู้คนมาก ฝูงชน สถานที่คนเยอะๆ
ความผิดปกติในการรับความรู้สึก (sensory disturbance )
- ความรู้สึกไวเกิน
- ความรู้สึกหายไป
- ความรู้สึกผิดปกติ
- Hysterical Blindnessและมองเห็นแคบๆ hysterical deafness เป็นต้น
- บริเวณลำคอรู้สึกมีอะไรอุดกั้น มีสิ่งแปลกปลอม ก้อนที่เกิดจากอี้เจิ้ง (癔症球)
รูปแบบพิเศษของฮิสทีเรีย (epidemic hysteria , EH)
หรือเรียกว่าอุปทานหมู่ (mass hysteria)
มักเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตร่วมกัน ผ่านเหตุการณ์ร่วมกัน หรือมีพื้นฐานความคิดที่คล้ายกัน เริ่มต้นจากหนึ่งคนที่เป็นโรค คนรอบข้างก็จะถูกกระตุ้นไปด้วย ภายใต้การถูกจูงจิตโดยบุคคลอื่น (Suggestion) และจูงจิตด้วยตัวเอง (Auto Suggestion) ทำให้มีอาการคล้ายกัน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาสั้นๆ โดยทั่วไปเป็นไม่นาน พบมากในเพศหญิง
ในกรณี Compensation neurosis, occupational neurosis ก็จัดเป็นรูปแบบพิเศษของฮิสทีเรียเช่นกัน
การวินิจฉัย
Chinese Classification and Diagnosis of Mental Disorders version 3,CCMD-3
เกณฑ์อาการมาตรฐาน
1. มีสิ่งเร้าจากปัจจัยทางจิตสังคม และมีอย่างน้อย 1 ข้อของกลุ่มอาการต่อไปนี้ :
hysterical amnesia, hysterical fugue, hysterical double personality hysterical multiple personality , hysterical psychosis ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวและการรับความรู้สึก และฮิสทีเรียรูปแบบอื่นๆ
2. อาการของโรค somatoform ที่กล่าวมาข้างบนไม่สามารถ อธิบายได้
อาการรุนแรง หน้าที่ทางสังคมด้อยลง
3.เกณฑ์การดำเนินโรค การเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดอย่างชัดเจน การดำเนินโรคมักกลับมาเป็นซ้ำและยาวนาน
4. เกณฑ์การคัดกรองโรค มีหลักฐานอย่างพอเพียง แยกแยะจากพยาธิสภาพ ทางกายและโรคจิตอื่นๆ การแกล้งทำ
การวินิจฉัยแยกแยะ
1.โรคลมชักแบบเต็มรูปแบบ (grand mal seizures)
ไม่รับรู้เรื่องราวใดๆ รูม่านตาขยาย ปฏิกิริยาต่อแสงหายไป แขนขาชักกระตุก กัดลิ้นปากจนได้รับบาดเจ็บ ล้มลง ปัสสาวะอุจจาระราด หลังจากอาการกำเริบไม่สามารถหวนระลึกได้ คลื่นสมองมีการเปลี่ยนแปลง โรคลมชักพบร่วมกับฮิสทีเรีย ควรวินิจฉัยเป็น 2 โรค
2. Psychogenic mental disorders
การเกิดพัฒนาการของอาการเกี่ยวข้องกับปัจจัยการได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างใกล้ชิด ไม่มีลักษณะพิเศษของบุคลิกโรคฮิสทีเรีย ไม่มีการแสดงอารมณ์ที่มากเป็นพิเศษของโรคฮิสทีเรีย ไม่มีการเสแสร้งและทำให้ใหญ่เกินเหตุ ขาดการคล้อยตาม (Suggestibility) ไม่มีประวัติการเกิดซ้ำ มีอาการติดต่อกันเวลานาน
3.การแสร้งทำ (Malingering)
มักมีจุดประสงค์ที่แน่นอน อาการเกิดจากการจงใจ แตกต่างกันไปตามบุคคล เวลา สถานที่ การแสดงตัวในที่สาธารณะมักแสร้งทำ ไม่มีกฏเกณฑ์และการดำเนินโรคที่แน่นอน
4. โรคอื่นๆ โรคจิตที่เกิดจากสภาวะทางร่างกายที่มีอาการสัมพันธ์กัน
การตรวจรักษาโรคฮิสทีเรียด้วยแพทย์แผนจีน
อ้างอิงจากความหลากหลายของอาการทางคลินิกของโรคฮิสทีเรีย โรคฮิสทีเรียในคัมภีร์โบราณของศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีชื่อโรคหลายชื่อ
ลมของตับ (肝风) ลูกท้อติดคอ (梅核气) จ้างเจ้า (脏燥) เป็นต้น
สาเหตุโรค
สาเหตุที่ทำให้เป็นฮิสทีเรียเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านอารมณ์ พบได้บ่อยสำหรับอารมณ์โกรธ
กลไกการเกิดโรค
ในร่างกายอินหยางขาดสมดุล การทำงานของชี่แปรปรวน อารมณ์ทั้งห้ามากเกินไป อัดอั้นกลายเป็นไฟ หรืออัดอั้นเกิดเป็นเสมหะ
หลักการรักษา
ปรับสมดุลอินหยาง ปรับการทำงานของชี่ การเกิดโรคฮิสทีเรียมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านอารมณ์อย่างใกล้ชิดหนึ่งในนั้น “โกรธเป็นอารมณ์ของตับ” ดังนั้น ในการรักษาฮิสทีเรียแพทย์จีนจะให้ความสำคัญในการปรับสมดุล การรักษาจะเน้นการปรับสมดุลตับ หล่อเลี้ยงเลือดตับ ปรับกระจายชี่ตับ ในขณะเดียวกันร่วมกับการหล่อเลี้ยงเสินหัวใจ ปรับสมดุลม้ามกระเพาะอาหาร บำรุงไตอิน เพื่อปรับสมดุลการทำงานของชี่ในร่างกาย ทำให้อินหยางสมดุล
การรักษาทางคลินิก
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในการรักษาอีสทีเรียในทางคลินิก
กานม่ายต้าเจ่าทัง : เหมาะสำหรับกลุ่มอาการชี่ตับติดขัดกลายเป็นไฟ
กานเฉ่า ฝูเสี่ยวม่าย พุทราจีน
หยางเสวี่ยซีเฟิงทัง : เหมาะสำหรับกลุ่มอาการชี่ตับติดขัดเลือดพร่อง ลมตับเคลื่อนไหวภายใน
ไป่เสา เซิงตี้หวง สือเจวี๋ยหมิง ซือจี๋หลี ตังกุย โกวเถิง
ปู่ซินตัน : เหมาะสำหรับกลุ่มอาการเลือดพร่องชี่ตับติดขัด หัวใจเสินขาดการหล่อเลี้ยง
ไป๋เสา ซวนเจ่าเหริน สือชังผุ ยวีจิน หยวนจื้อ เหอฮวนผี
หยางเสวี่ยหรงจินทัง : เหมาะสำหรับกลุ่มอาการเลือดพร่องชีตับติดขัด เลือดไม่หล่อเลี้ยงเส้นเอ็น ลั่วม่ายขาดสมดุล ฉายหู ไป๋เสา มู่กวา ซังจือ ซือกวาลั่ว เฉาไป๋จู๋ ฝูหลิง
ตำรับฝังเข็มรักษาฮิสทีเรียในทางคลินิก
1. กลุ่มอาการชี่ตับติดขัดกลายเป็นไฟ
ไป่หุ้ย ซื่อเสินชง เสินถิง สุ่ยโกว เฉิงเจียง เหอกู่ เน่ยกวน หยวนหลิงเฉวียน ไท่ชง สิงเจียน ซานอินเจียว (เหอกู่ ไท่ชงใช้วิธีระบาย)
2. กลุ่มอาการชี่ตับติดขัดเลือดพร่อง
ไป่หุ้ย ซื่อเสินชง เสินถิง เน่ยกวน เสินเหมิน ชี่ไห่ กวนหยวน เสวี่ยไห่ จู๋ซานหลี่ อินหลิงเฉวียน ไทซี ไท่ชง จุดทั้งหมดใช้วิธีบำรุงเป็นหลัก
ข้อมูลโดย : ศาสตราจารย์แพทย์จีน หวังเว่ย
แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน
แปลโดย : แพทย์จีนปิยะมาศ เมืองใชย
สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
LINE@ : @huachiewtcm
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567