โรคซึมเศร้า รักษาด้วยวิธีแพทย์แผนจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  33883 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคซึมเศร้า รักษาด้วยวิธีแพทย์แผนจีน

ระบาดวิทยาของภาวะซึมเศร้าจากทั่วโลก
ในปี ค.ศ.2002 มีผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าจากทั่วโลกถึง 340,000,000 ราย โดยมีผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง 89,000,000 ราย ในประชากรผู้ใหญ่อายุ20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีอัตราการป่วยเป็นภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นในแต่ละปีอย่างรวดเร็วถึง 11.3%     

ตามสถิติขององค์การอนามัยโลก ภาวะซึมเศร้าได้กลายเป็นโรคที่เกิดขึ้นมากที่สุดอันดับที่ 4 ของโลก และคาดว่าในปี ค.ศ.2020 จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นมากที่สุดอันดับที่ 2 รองจากโรคหลอดเลือดหัวใจเท่านั้น

บุคคลของโลกที่มีชื่อเสียงในสมัยก่อนและในปัจจุบัน
มีการฆ่าตัวตายจำนวนมาก เนื่องจากภาวะซึมเศร้า

เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ นักเขียนชาวอเมริกัน หลังจากต้องต่อสู้กับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่น ๆ  ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.1961 เฮมิงเวย์ได้จบชีวิตด้วยปืนลูกซองของเขาเอง


อริสโตเติล นักปรัชญากรีก   ในปี 322 ปีก่อนคริสตกาล อริสโตเติลได้กระโดดลงทะเลเพื่อฆ่าตัวตาย ณ ช่องแคบ EliPa  ในขณะที่เขาอายุ 62 ปี ได้มีการบันทึกคำพูดในขณะที่จะฆ่าตัวตายว่า  “สายน้ำแห่ง EliPa ได้โปรดกลืนกินผมเถอะ เพราะผมไม่สามารถที่จะเข้าใจมันได้ ”

Kawabata Yasunari  นักเขียนชาวญี่ปุ่น ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เขาได้ฆ่าตัวตายในช่วงกลางดึกของวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1972

ฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์  (Vincent van Gogh) จิตรกรที่มีชื่อเสียงในด้านศิลปะแบบอิมเพรสเช่นนิสท์ ใช้ชีวิตด้วยความยากจนแร้นแค้นมาตลอด สุดท้ายจึงจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตายโดยยิงเข้าที่ท้องของตนเอง

แล้วภาวะซึมเศร้าคืออะไร ?
ภาวะซึมเศร้า เป็นความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย เพราะอารมณ์ เป็นพื้นฐานของมนุษย์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ คือ มีอารมณ์ซึมเศร้าหดหู่อย่างชัดเจนสะสมมาเป็นระยะเป็นเวลาที่นาน มักมีการรับรู้และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปร่วมด้วย

ในกรณีที่รุนแรงอาจมีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำได้อีก เมื่อมีอาการเกิดขึ้นในแต่ละครั้งส่วนใหญ่สามารถดีขึ้นได้ บางรายอาจมีอาการของโรคที่หลงเหลือหรือกลายเป็นแบบเรื้อรังได้

การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้า
1. เกณฑ์ทางอาการ






2. เกณฑ์มาตรฐานในการเกิดโรค
สอดคล้องกับการวินิจฉัยอาการและการวินิจฉัยอาการขั้นรุนแรงโดยมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์

3. เกณฑ์อาการขั้นรุนแรง หน้าที่ทางสังคม (การทำงาน การเรียน การทำงานบ้าน และทักษะทางสังคม  เป็นต้น) ได้รับผลกระทบ ทำให้รู้สึกทรมาน หรือ มีผลเสียต่อผู้ป่วย

4. เกณฑ์การคัดกรอง  ยกเว้นความผิดปกติทางจิตจากตัวอวัยวะ หรือการได้รับสารออกฤทธิ์ที่มีผลทางจิตและสารที่ไม่เสพติด ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า

แพทย์แผนจีนกับภาวะซึมเศร้า
ขอบเขต
ภาวะซึมเศร้า จากอาการทางคลินิก การเกิดโรคและแนวโน้ม เป็นต้น ในทางแพทย์แผนจีนจะถูกจัดอยู่ในขอบเขต “กลุ่มอาการเตียน”

นิยามของกลุ่มอาการเตียน
โรคเตียนจัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตประสาท เนื่องจากมีเสมหะอุดกั้นทวารของหัวใจ ทำให้การทำงานของเสินแปรปรวน ลักษณะพิเศษของโรค คือ จิตใจซึมเศร้า อารมณ์เฉื่อยชา เงียบขรึม ทักษะการพูดเริ่มผิดปกติ พูดจาสับสน นิ่งสงบ หรือมีการเคลื่อนไหวน้อย



ทฤษฎีการมองโรค ภาวะอาการ ในสมัยก่อนของแต่ละสำนัก
• คัมภีร์ซู่เวิ่น บทเสวียนหมิงอู่ชี่เพียน《素问·宣明五气篇
เสียชี่เข้าสู่หยางทำให้เกิดเป็นขวง เสียชี่เข้าสู่อินทำให้เกิดเป็นเตียน เสียชี่รุกรานหยางทำให้เกิดเป็นโรคของศีรษะ

• คัมภีร์ซู่เวิ่น บทม่ายเจว๋《素问·脉解》
หยางอยู่ด้านบนสุด อินอยู่ด้านล่าง ล่างพร่องบนแกร่ง  เกิดเป็นเตียนขวง (Schizophrenia)

• คัมภีร์น่านจิง บทเอ้อสือน่าน《难经·二十难》
อินเยอะทำให้เกิดเป็นเตียน

• คัมภีร์ตันซีซินฝ่า บทเตียนขวง《丹溪心法·癫狂》
ไฟจากอารมณ์ทั้งห้า  เกิดจากอารมณ์ทั้งเจ็ด อัดอั้นกลายเป็นเสมหะ จึงกลายเป็นอาการของโรคจิตเภทอาละวาด ควรรักษาที่ตัวบุคคล  ไม่ใช่จะรักษาได้ด้วยยา ควรตรวจวินิจฉัยและสังเกตสาเหตุเพื่อปรับให้สมดุล โกรธทำลายตับทำให้เกิดเป็นวิกลจริต ให้ใช้อารมณ์กังวลเพื่อเอาชนะ ใช้อารมณ์หวาดกลัวเพื่อบรรเทาอาการ

• คัมภีร์ซู่เวิ่น บทเสวียนจีหยวนปิ้งซื่อ《素问·玄机原病式》
ไต (น้ำ)ควบคุมปณิธาน ซึ่งน้ำกับไฟเป็นปฏิปักษ์ ไฟ (หัวใจ) แกร่งกล้าทำให้ไต (น้ำ)อ่อนแอ ทำให้ขาดสติเป็นอาละวาด

• คัมภีร์อีเสว่เจิ้งจ้วน《医学正传》
“เตียนเกิดจากเลือดหัวใจไม่เพียงพอ มักพบในผู้ที่คาดหวังเอาไว้สูงแต่ไม่ได้ดั่งที่นึกคิด”

• คัมภีร์ตันซีซินฝ่า บท เตียนขวง《丹溪心法·癫狂》
เตียนจัดเป็นอิน ขวงจัดเป็นหยาง ส่วนใหญ่มักเกิดจากมีเสมหะติดขัดอยู่ที่หัวใจและกลางอก

• คัมภีร์เจิ้งจื้อเหย้าเจว๋ บทเตียนขวง《证治要诀·癫狂》
โรคจิตเภท (เตียนขวง) เกิดจากอารมณ์ทั้งเจ็ดติดขัด เกิดเป็นเสมหะ อุดกั้นทวารหัวใจ

• คัมภีร์อีหลินก่ายชั่ว บทเตียนขวงเมิ่งสิ่งทัง《医林改错·癫狂梦醒汤》
โรคจิตเภท (เตียนขวง) เกิดจากชี่และเลือดติดขัดชี่สมอง ไม่สามารถเชื่อมกับชี่ของอวัยวะภายในอื่นๆได้  ประดุจดั่งฝันไป

• คัมภีร์จิ่งเยว่เฉวียนซู《景岳全书》
รักษาโรคเตียน ต้องสังเกตตรวจเสมหะและชี่  เนื่องจากมีความสำคัญต่อโรคควรรักษาก่อน

• คัมภีร์อีเสว๋เจิ้งจ้วน《医学正传》
เตียนเกิดจากเลือดหัวใจไม่เพียงพอ ควรสงบเสินหล่อเลี้ยงเลือด พร้อมกับลดไฟและเสมหะ



สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
- ได้รับบาดเจ็บจากอารมณ์ทั้งเจ็ดเป็นหลัก
- ครุ่นคิด คิดมาก คิดซ้ำๆวนไปมา
- ความผิดหวัง
- ความเสียใจ ดีใจ  ความสับสน
- โกรธ ตกใจ หวาดกลัว
- เสมหะ ชี่ติดขัด
- พันธุกรรม

หลักการรักษาโดยรวม
ปรับสมดุลชี่ สลายติดขัด ทำให้หน้าที่ของชี่ทำงานได้ดีขึ้น
จิตบำบัดสามารถป้องกันและรักษาโรค เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น

การวินิจฉัยและรักษาตามกลุ่มอาการ
1. ภาวะ / กลุ่มอาการชี่ตับติดขัด / ชี่ตับคั่งค้าง
- Pattern / syndrome of liver depression and qi stagnation  
肝鬱氣滯證  (肝郁气滞证)      Gān yù qì zhì zhèng
- Liver qi depression pattern / syndrome  
肝氣鬱結證  (肝气郁结证)  Gān qì yù jié zhèng;
肝鬱證  (肝郁证)  Gān yù zhèng
เป็นภาวะที่ตับไม่สามารถทำการขับระบายได้ตามปกติ  ทำให้การไหลเวียนของชี่ติดขัด  มีอารมณ์ซึมเศร้า  ตึงเจ็บที่ทรวงอกชายโครงหรือท้องน้อย  ชีพจรตึง ถอนหายใจบ่อยๆ  ตึงแน่นที่ใต้ชายโครง  หรือท้องส่วนล่าง  หรือมีอาการปวดท้องที่ย้ายไปมา  ชีพจรตึง  ในสตรีจะมีอาการเจ็บที่เต้านมและมีภาวะประจำเดือนผิดปกติ   

อาการหลัก
ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน เงียบไม่พูดจา โกรธง่าย ชอบร้องไห้ ถอนหายใจอยู่บ่อยๆ จุกแน่นบริเวณหน้าอกและชายโครง ลิ้นซีด ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรตึง

หลักการรักษา
ปรับกระจายชี่ตับ สลายติดขัด  เพิ่มการไหลเวียนชี่
- จุดหลักการฝังเข็ม  ไท่ชง  กานซู ชีเหมิน  ถานจง  เสินเหมิน
- จุดเสริม เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย เพิ่มจุดจู๋ซานหลี่
- วิธีเทคนิคเข็ม ฝังเข็มใช้วิธีระบาย
- การรักษาร่วมด้วยตำรับยาจีน ฉายหูซูกานส่าน เพิ่มลดตามความเหมาะสมของสภาวะผู้ป่วย

2. ภาวะ / กลุ่มอาการเลือดคั่งจากชี่ตับติดขัด
Pattern / syndrome of liver depression and blood stasis  
肝鬱血瘀證  (肝郁血瘀证)  Gān yù xiě yū zhèng;
肝血瘀滯證  (肝血瘀滞证)  Gān xuè yū zhì zhèng
เป็นภาวะที่ชี่ของตับติดขัดแล้วทำให้เกิดเลือดคั่งขึ้น   มีอารมณ์ซึมเศร้า  ตึงแน่นที่ใต้ชายโครงหรือเจ็บแปลบๆ  หรือมีก้อนที่บริเวณใต้ชายโครงหรือท้องน้อย   ลิ้นมีสีม่วงหรือมีจุดสีม่วงบนลิ้น  ชีพจรตึงและเต้นแบบติดขัด


3. ภาวะ / กลุ่มอาการชี่คั่งทำให้เกิดไฟกำเริบ 
Pattern / syndrome of depressed qi transforming into fire  
氣鬱化火證  (气郁化火证)   Qì yù huà huǒ zhèng
อาการแสดงได้แก่อารมณ์ซึมเศร้า  หงุดหงิดโมโหง่าย  ตึงแน่นและรู้สึกเจ็บร้อนในอก  ลิ้นมีสีแดงและมีฝ้าสีเหลือง

4. ภาวะ / กลุ่มอาการเสมหะติดค้างในลำคอจากชี่ติดขัด
Pattern / syndrome of qi stagnating and phlegm
congealing in the throat  
氣滯痰凝咽   (气滞痰凝咽)     Qì zhì tán níng yàn
喉證   (喉证)  Hóu zhèng
มีอาการซึมเศร้า  รู้สึกไม่สบายเหมือนมีของติดคออยู่เสมอแต่ขากไม่ออกกลืนไม่ลง  เยื่อบุลำคอบวม  ลิ้นมีฝ้าเหนียว  ชีพจรตึงและลื่น

5. ภาวะ / กลุ่มอาการเสมหะจับกับชี่  
Pattern / syndrome of binding of phlegm and qi  
痰氣互結證  (痰气互结证)   Tán qì hù jié zhèng
มีอาการซึมเศร้า  นอนไม่หลับ  ฝันมาก  มีความรู้สึกเหมือนมีของติดคอ  แน่นหน้าอก  ขากเสมหะมาก  ลิ้นมีฝ้าขาวเหนียว  ชีพจรตึงและลื่น

6. ภาวะ / กลุ่มอาการเสมหะครอบคลุมจิต 
Pattern / syndrome of phlegm clouding the heart spirit 
痰蒙心神證  (痰蒙心神证)  Tán méng xīn shén zhèng
มีอาการสติมึนงง  ซึมเศร้า  กระทั่งหมดสติ  ซึ่งจะมีเสียงเสมหะในลำคอด้วย
   
อาการหลัก

ซึมเศร้า การแสดงอารมณ์เฉยชา เงียบขรึม  พูดจาสับสน หรือ บ่นพึมพำกับตัวเอง  ดีใจเสียใจผิดปกติ แยกแยะความสกปรกกับสะอาดไม่ได้  เบื่ออาหาร ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นขาวเหนียว ชีพจรตึงลื่น

หลักการรักษา
ปรับลมปราณสลายติดขัด สลายเสมหะปลุกเสิน
- จุดหลักการฝังเข็ม ไท่ชง ถานจง  จงหว่าน  เฟิงหลง  อินหลิงเฉวียน  ไป่หุ้ย
- จุดเสริม  เสมหะขุ่นเปลี่ยนเป็นความร้อนเพิ่มจุดเน่ยถิง
- เสมหะเลือดคั่งอุดกั้นเพิ่มจุดเสว่ไห่ ซานอินเจียว
- วิธีการฝังเข็ม ฝังเข็มใช้วิธีระบาย
- การรักษาร่วมด้วยตำรับยาจีน ตำรับยาสุ่นชี่เต่าถานทัง เพิ่มลดตามความเหมาะสมของสภาวะผู้ป่วย


3. หัวใจและม้ามพร่องทั้งคู่
อาการหลัก
เหม่อลอย ใจสั่น ตกใจง่าย  เศร้าเสียใจ ชอบร้องไห้ แขนขาอ่อนแรง  เบื่ออาหาร ลิ้นซีด ฝ้าลิ้นเหนียว ชีพจรจมละเอียดไม่มีแรง
หลักการรักษา
เสริมม้ามบำรุงหัวใจ ปรับสมดุลชี่สงบเสิน
- จุดหลักการฝังเข็ม ซินซู  ผีซู  ซีเหมิน เก๋อซู   ซานอินเจียว
- จุดเสริม  แขนขาอ่อนเพิ่มจุดหยางหลิงเฉวียน
- วิธีการฝังเข็ม ฝังเข็มใช้วิธีบำรุง
- การรักษาร่วมด้วยตำรับยาจีน ตำรับยา เยว่จวีหวานกับหยังซินทัง เพิ่มลดตามความเหมาะสมของสภาวะผู้ป่วย

วิธีการฝังเข็มอื่นๆ
1. การฝังเข็มหู
ใช้จุดหัวใจ  subcortex ไต  ท้ายทอย  เสินเหมิน แต่ละครั้งเลือกใช้ 3-5 จุด ปักเข็มตื้น กระตุ้นเบาๆ คาเข็มทิ้งไว้ 30 นาที  ในบางกรณีแพทย์จีนจะแปะเมล็ดหวางปู้หลิวสิง

2. การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า  ใช้จุดไป่หุ้ย  อิ้นถาง  เน่ยกวน  หย่งเฉวียน   แต่ละครั้งเลือกใช้ 1 คู่ ใช้คลื่นความถี่ 180-240  Hz  ความแรงขึ้นอยู่กับผู้ป่วยสามารถทนรับได้ ทำวันละครั้งหรือวันเว้นวัน

3. การฝังเข็มศีรษะ แพทย์จีนเลือกใช้เส้นเฉียงกลางกระหม่อม-ขมับเส้นหน้า และเส้นหลัง เส้นข้างกลางกระหม่อมเส้นที่1  ใช้เข็ม 1.5 ชุ่น หมุนปั่นเข็มอย่างรวดเร็ว 3 นาที คาเข็มทิ้งไว้ 20-30 นาที

3. การฉีดยาเข้าจุดฝังเข็ม ใช้จุดอันเหมียน ซานอินเจียว  จู๋ซานหลี่  ใช้คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) 25 mg  ใส่ในน้ำ 2 mg  ผสมwater for injection 2 ml ฉีดเข้าไปในจุดนั้นๆ ทำวันละ 1 ครั้ง

ตัวอย่างกรณีศึกษา การวิเคราะห์เคสผู้ป่วย
คุณหลี่ เพศหญิง อายุ16 ปี  เป็นนักเรียน

มาพบแพทย์ เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ปี 1998

อาการสำคัญ
- อารมณ์แปรปรวน พูดจาสับสน 

- เป็นมาประมาณ 2 เดือนกว่า เมื่อครึ่งปีก่อนทะเลาะกับเพื่อนนักเรียนทำให้ รู้สึกอึดอัดใจ อัดอั้น ไม่มีความสุข ไม่อยากพูดคุยกับเพื่อน

- หลังจากนั้นถึงขั้นปิดประตูไม่ยอมออกจากห้อง พักการเรียน เบื่ออาหาร บ่นพึมพำกับตัวเอง มักมีเสียงแว่ว ได้ยินเพื่อนนักเรียนพูดคุยนินทาว่าร้ายตนเอง ผู้ปกครองพามารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตนเองป่วย 

- 2 เดือนก่อนมาพบแพทย์ มีอาการเดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้ พูดจาสับสน นอนหลับไม่สนิท ได้รับการวินิจฉัยจากโรงพยาบาลจิตเวชในท้องถิ่นว่าเป็น โรคจิตเภท

- ระหว่างพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ได้รับยา  diazepam,chlorpromazine และใช้อินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นเวลา 1 เดือน ผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงประสงค์เข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลด้วยการฝังเข็ม

- จากการตรวจพบว่าผู้ป่วยมีรูปร่างอ้วน อารมณ์เฉยชา ไม่กระตือรือร้นที่จะบอกเล่าอาการของเอง ไม่สามารถสื่อสารโต้ตอบได้  ทำอะไรเองไม่ได้  ประจำเดือนขาดเป็นเวลา 3 เดือน ฝ้าที่ลิ้นบางและเหนียว ชีพจรตึง 

การวินิจฉัย
โรคจิตเวชกลุ่มอาการเสมหะและชี่ติดขัด

แนวทางการรักษา
- จุดฝังเข็ม โถวหลินชี่  จิวเหว่ย ไท่ชง  ถานจง เฟิงหลง
- วิธีการฝังเข็ม ใช้เข็มเบอร์ 30 ขนาด 1.5 ชุ่น ใช้วิธีถีชาเหนียนจ่วงแบบบำรุงและระบาย คาเข็มทิ้งไว้ 30-60 นาที วันละ 1ครั้ง 10 ครั้งถือเป็น 1 คอร์สการรักษา
- ในระหว่างคอร์สการรักษาพัก 5 วัน  หลังจากรักษาเป็นเวลา 6 เดือน อาการของผู้ป่วยหายไป และมีความยินดีที่จะกลับไปเรียนต่อ  ติดตามผลการรักษา 1 ปีไม่ปรากฏอาการเดิมซ้ำ

ที่มา : เซี่ยเซียวเสีย งานวิจัยการรักษาโรคจิตเวชด้วยการฝังเข็ม 185 เคส
วารสารจงกั๋วเจินจิว  ฉบับที่6 ปักษ์ที่ 24 หน้าที่ 6


การดูแลหย่างเซิงสุขภาพเพิ่มเติมในแนวทางการแพทย์แผนจีน
1. ฟื้นฟูสภาวะทางอารมณ์และเสริมสร้างความบันเทิง

2. ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าที่มีอารมณ์หดหู่ ควรสรรหาวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีอะไรใหม่ๆ หรือเป้าหมายใหม่ๆ สร้างความเพลิดเพลิน  เพื่อให้รู้สึกมีชีวิตชีวา มีความสุข ร่าเริงขึ้น และช่วยรักษาอารมณ์ให้มั่นคง หลีกเลี่ยงอารมณ์ดีใจหรือตกใจมากเกินไป
3. การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา ช่วยทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย จิตใจเป็นสุข คนในครอบครัวและคนรอบข้างไม่ควรเลือกปฏิบัติ  เฉยชา เยาะเย้ย หรือเกลียดชังผู้ป่วย
4. ส่งเสริมการทำงานอดิเรกที่ผู้ป่วยสนใจ เพิ่มความกล้าหาญและความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วย

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย
- สามารถออกกำลังกาย  เล่นกีฬาประเภทลูกบอลต่างๆ  อู่ฉินซี่ (การเคลื่อนไหวที่เลียนแบบท่าทางของสัตว์ 5ชนิด คือ เสือ กวาง หมี ลิง และนก) เพื่อช่วยให้ชี่และเลือดไหลเวียนสะดวกมากขึ้น สภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น

เทคนิคเล็กๆน้อยแต่ได้ผลดี
- แสงไฟภายในห้องพักควรเป็นแสงอ่อนๆ สีอ่อนๆ ไม่ฉูดฉาด เพื่อเพิ่มความสงบ ตกแต่งเเบบเรียบง่ายและใช้งานสะดวก
- ควรรักษาสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกที่พักให้เงียบสงบและสะอาด
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นจิตประสาท ป้องกันไม่ให้อาการของโรคหนักมากขึ้น

ข้อมูลโดย ศาสตราจารย์ หวัง เว่ย (王卫教授)
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน
สาธารณรัฐประชาชนจีน

แปลภาษาไทย
แพทย์จีนปะการัง เขตคาม

เรียบเรียง
แพทย์จีนปิยะมาศ เมืองใชย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้