Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 16757 จำนวนผู้เข้าชม |
กลิ่นปาก หรือ ปากเหม็น เป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจและเสียบุคลิกภาพในการเข้าสังคมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นปัญหาในหลายๆคนและยังไม่ทราบถึงสาเหตุอีกทั้งแนวทางการรักษา เรื่องเล็กๆอย่างกลิ่นปากเป็นเรื่องใหญ่ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
ภาวะมีกลิ่นปาก หมายถึง ภาวะที่ในช่องปากรวมถึง โพรงไซนัส โพรงจมูก ช่องคอเป็นต้น มีกลิ่นเหม็น ภาวะมีกลิ่นปากไม่เพียงส่งผลต่อการเข้าสังคมเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของบุคลนั้นๆอีกด้วย
การมีกลิ่นปากเกิดได้กับหลายช่วงวัย สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีกลิ่นปากนั้นไม่บ่งชัดขึ้นอยู่กับลักษณะการดำรงค์ชีวิต อาหารที่รับประทาน อีกทั้งความสะอาด เป็นต้น
ประเภทของภาวะมีกลิ่นปาก
ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ภาวะมีกลิ่นปากจากช่องปาก เช่น ผู้ที่มีปัญหาเหงือกและฟัน ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือการแปรงฟันไม่สะอาด
2. ภาวะมีกลิ่นปากที่ไม่ได้มาจากช่องปาก เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ
3. ภาวะมีกลิ่นปากจากภาวะทางจิต โดยภาวะมีกลิ่นปากลักษณะนี้มีเพียงผู้ป่วยเองเท่านั้นที่รู้สึกได้ถึงกลิ่นปากของตน
กลไกการเกิดโรคทางการแพทย์แผนจีน
ภาวะมีกลิ่นปาก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นลักษณะการดำรงชีวิต อาหารที่รับประทาน ความเครียด อีกทั้งการดูแลรักษาความสะอาด ในทางการแพทย์แผนจีนนั้นมองว่า อาจเกิดได้จากการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ ทำให้เกิดการย่อยที่ไม่สมบูรณ์สะสมเป็นความร้อนเกิดขึ้น หรือเกิดการทำงานของอวัยวะต่างๆไม่สมดุลจนสะสมเกิดเป็นความร้อนและความชื้นในร่างกาย
การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์แผนจีน
ภาวะมีกลิ่นปากทางการพทย์แผนจีน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามสภาวะร่างกายและอาการแสดงต่างๆของผู้ป่วย ดังนี้
1. ม้ามและกระเพาะอาหารสะสมความร้อน
มักชอบรับประทานอาหารรสจัดอยู่เป็นประจำ อีกทั้งเป็นแผลร้อนในในช่องปากอยู่บ่อยๆ ลักษณะของกลิ่นปากจะเป็นกลิ่นเหม็นหมักหมมของอาหารไม่ย่อย อาจมีอาการตาบวมร่วมด้วย ลิ้นแดงฝ้าเหนียว
2. หัวใจและม้ามสะสมความร้อน
มักจะมีกลิ่นปากรุนแรง หน้าแดง ปากแดง อีกทั้งอาจมีภาวะจิตใจกระวนกระวายร่วมด้วย ปัสสาวะ เหลือง อุจาระค่อนข้างแข็งและแห้ง
3. ปอดสะสมความร้อน
มีกลิ่นปากร่วมกับความรู้สึกน้ำลายเหนียวในช่องปาก กระหายน้ำบ่อย รู้สึกลมหายใจร้อน อีกทั้งอาจมีภาวะปัสสาวะบ่อยร่วมด้วย
4. ไตร้อนพร่อง
มีกลิ่นปากร่วมกับภาวะอาการเหงือกบวมอักเสบเป็นหนองบ่อยครั้ง ฟันโยกง่ายไม่แข็งแรงอีกทั้งอาจมีอารการปวดเมื่อยเอว ขาไม่ค่อยมีแรงร่วมด้วย
5. ความเหนื่อยและเครียดสะสม
มีกลิ่นปากประเภทนี้มักเป็นผู้ที่คิดเยอะทำงานหนักมีความเหนื่อยสะสม อีกทั้งอาจมีภาวะเบื่ออาหาร เพลียง่าย ง่วงนอน ร่วมด้วย
การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภาวะมีกลิ่นปากนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในเบื้องต้นเราสามารถดูแลตัวเองโดยการเลือกรับประทานอาหารที่รสไม่จัด ย่อยง่าย ดื่มน้ำให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเคลียด นอนหลับให้เพียงพอไม่ควรนอนดึก และออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะทำให้ภาวะมีกลิ่นปากทุเลาเบาลงได้
ส่วนการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนจีนนั้น สามารถรับประทานยาจีนเพื่อปรับสมดุลของม้ามและกระเพาะอาหาร อีกทั้งอวัยวะอื่นๆตามการวินิจฉัยของแพทย์
บทความโดย แพทย์จีน ศิริขวัญ ก้าวสัมพันธ์
อ่านข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
1. หาหมอจีนทำไมต้องแมะ ?
2. การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
Hotline : 095-884-3518
LINE@ : @huachiewtcm
คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน
เปิดให้บริการการรักษาแก่ประชาชน 3 สาขาทั้งในกรุงเทพฯและภูมิภาค
1. กรุงเทพฯ โทร. 02-223-1111 ต่อ 102
2. โคราช โทร. 044-258-555 , 085-325-1555
3. ศรีราชา โทร.038-199-000 , 098-163-9898
11 พ.ย. 2567
25 ต.ค. 2567
11 พ.ย. 2567