Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 46245 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังระดับเอวเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือข้อต่อปล้องกระดูกสันหลังชิ้นล่างที่อยู่ติดกัน ทำให้โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบลง เกิดการกดเบียดรากประสาท สาเหตุของการเลื่อนของกระดูกสันหลัง ที่พบได้บ่อย คือการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง และ การแตกร้าวของส่วนที่เรียกว่า pars interarticularis
สาเหตุและพยาธิสภาพ
Wiltse และคณะได้แบ่ง Spondylolisthesis ออกเป็น 6 ชนิด ตามสาเหตุและพยาธิสภาพของโรคดังนี้
1. Congenital Spondylolisthesis
เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นแต่กำเนิดของการสร้างกระดูกสันหลัง (Neural Arch) และส่วนบนของกระดูกกระเบนเหน็บ ทำให้กระดูกเอวเคลื่อนไปทางด้านหน้า และอาจไปทับเส้นประสาทได้หากมีการเคลื่อนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
2. Isthmic Spondylolisthesis
เป็นการเคลื่อนของกระดูกสันหลังจากรอยแตกของกระดูก Pars Interarticularis ทำให้กระดูกเอวมีความมั่นคงน้อยลงและกระดูกเคลื่อนไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับบาดเจ็บซ้ำ ๆ ที่มักเกิดขึ้นในกลุ่มนักกีฬาที่แอ่นตัวมากเกินไป โดยเฉพาะนักยิมนาสติก และมักเกิดขึ้นกับเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 2 เท่า
3. Degenerative Spondylolisthesis
เป็นผลมาจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนหรือหมอนรองกระดูกที่เป็นไปตามกาลเวลา จึงไม่สามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังได้ และส่งผลให้กระดูกสันหลังเคลื่อน มักเกิดขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
4. Traumatic Spondylolisthesis
เป็นการเคลื่อนของกระดูกสันหลังส่วนเอวที่เกิดจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่กระดูกสันหลังโดยตรง
5. Pathological Spondylolisthesis
เป็นผลมาจากโรคบางชนิดที่ส่งผลให้กระดูกสูญเสียความแข็งแรง และทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน เช่น โรคกระดูกพรุน การลุกลามของมะเร็ง การติดเชื้อ หรือเนื้องอก เป็นต้น
6. Post-Surgical Spondylolisthesis
เป็นผลมาจากการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับของรากประสาทกระดูกสันหลัง เกิดขึ้นเมื่อแพทย์ตัดกระดูก Pars Interarticularis ออกมากเกินไป และผู้ป่วยมักมีอาการแย่ลงหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
อาการและอาการแสดง
1. ผู้ป่วยมีอาการปวดเอวร้าวลงสะโพก ปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างอาการปวดร้าวลงขา
2. อาการจากการถูกกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง เช่น อาการชาและอ่อนแรงกล้ามเนื้อ หรือ อาการชารอบทวารหนัก กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่
3. การเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมี limit extension เมื่อให้ผู้ป่วยแอ่นเอว อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น
การตรวจวินิจฉัยตามการแพทย์แผนปัจจุบัน
1.การตรวจร่างกาย
อาจพบจุดกดเจ็บ ถ้าให้ผู้ป่วยยืนในท่าก้มตัวไปข้างหน้าอาจมองเห็นหรือคลำได้ Stepping ซึ่งมักพบรอยปุ่มที่หลังในบริเวณ spinous process ระดับที่เกิด spondylolisthesis
การทำ straight leg raising test (SLRT) เพื่อตรวจหาการตึงตัวของเส้นประสาท sciatic ถ้ามีอาการปวดร้าวที่ขาและปลายเท้า สามารถช่วยบอกได้ว่า มีการรบกวนรากประสาท L5 หรือ S1
2. การตรวจทางภาพรังสี
โดยการ Plain X-rays of lumbosacral spine ท่า AP, lateral view พบความผิดปกติ เช่นปล้องกระดูกสันหลังปล้องหนึ่งเลื่อนไปเมื่อเทียบกับอีกปล้องหนึ่ง
การส่งตรวจท่า oblique view อาจพบ“ broken collar " sign ของ pars interarticularis ซึ่งหมายถึง Spondylolysis
การส่งตรวจ lateral flexion-extension view จะช่วยประเมินภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง (segmental spinal instability) ซึ่งเกิดจากการเลื่อน และการเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลัง
3. จัดแบ่งระดับความรุนแรงของการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง เป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 กระดูกสันหลังเคลื่อนไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์
ระดับที่ 2 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 26-50 เปอร์เซ็นต์
ระดับที่ 3 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 51-75 เปอร์เซ็นต์
ระดับที่ 4 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 76-100 เปอร์เซ็นต์
การวินิจฉัยตามหลักการรักษาโดยวิธีแพทย์แผนจีน
โรคข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน จัดอยู่ในกลุ่มอาการ "เยาท้ง 腰痛" มีสาเหตุจาก ความเย็นชื้น ความร้อนชื้น ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง ไตพร่อง
1. จากความเย็นชื้น
ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเอวหนัก ๆ กล้ามเนื้อเกร็งแข็งเหมือนไม้กระดาน และเป็นมานานไม่หาย อาการปวดหนักไม่รุนแรง แต่รู้สึกหนักมากกว่า บิดเอวลำบาก อาจมีปวดขา อาการหนักมากขึ้นในวันที่มีฝนตกและอากาศเย็น ลิ้นฝ้าขาวเหนียว ชีพจรจม-ช้า
2. จากความร้อนชื้น
ผู้ป่วยมีอาการปวดเอว รู้สึกอุ่นบริเวณที่ปวด อาการหนักมากขึ้นในหน้าร้อนหรือมีฝนตก อาการจะทุเลาถ้ามีการเคลื่อนไหวบั้นเอว ลิ้นมีฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรลื่น-เร็ว
3. จากชี่ติดขัดและเลือดคั่ง
ปวดเอวเวลาบิดเอวไปมา ก้มหรือเงยหลังจะรู้สึกตึงหลัง ถ้าอาการรุนแรง จะบิดเอวซ้าย-ขวาลำบาก บางครั้งจามหรือไอจะปวดมากขึ้นได้ อาจมีอาการปวดอยู่กับที่เหมือนเข็มทิ่มแทง ลิ้นคล้ำออกม่วง ชีพจร ตึง-ฝืด
4. ไตพร่อง
ปวดเมื่อยล้าบริเวณเอวไม่ปวดมาก ขาอ่อนแรงร่วมด้วยเสมอ ถ้าทำงานมาก พักผ่อนไม่พอจะปวดหลังมากขึ้น การอยู่ในอิริยาบถนั่ง เดิน ยืน นอน ในท่าใดท่าหนึ่งนานหรือมากเกินไป จะปวดหลังมากขึ้นได้
ตรวจร่างกาย : คลำพบจุดกดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังข้อที่4 และมีลักษณะเป็นขั้นบันได (Stepping)
X -ray: grade II anterolisthesis of L3 overL4
grade I anterolisthesis of L5overS1
Special tests: straight leg raising test (+)
Pain scale : ระดับ 6
X -ray: grade II anterolisthesis of L3 overL4
กรณีตัวอย่างผู้ป่วย (Case Study)
ข้อมูลทั่วไป | นาง สุทิน xxx |
อายุ | 53 ปี |
อาชีพ | ค้าขาย |
รหัสประจำตัวผู้ป่วย | 298XXX |
อาการสำคัญ | ปวดเอวด้านซ้าย ร้าวลงขา ระยะเวลา 2เดือน |
ประวัติปัจจุบัน |
|
การเจ็บป่วยในอดีต | (ไม่มี) |
วินิจฉัยโรคทางการแพทย์แผนจีน | ปวดเอว 腰痛 |
วินิจฉัยโรคแผนปัจจุบัน | โรคข้อต่อกระดูก สันหลังส่วนเอวเคลื่อน |
หลักการรักษา โดยแนวคิดแพทย์แผนจีน | กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทะลวงเส้นลมปราณ จัดกระดูกให้เข้าที่ |
วีธีการรักษา
1. ฝังเข็ม
2. นวดทุยหนา (Tuina) จัดกระดูก
3. ท่ากายบริหาร เพื่อส่งเสริมการจัดกระดูกให้เข้าที่
ผลการรักษา
ผู้ป่วยเข้ามาทำการรักษาตั้งแต่มกราคม 2562 ในการรักษาครั้งที่ 4 อาการปวดเอวด้านซ้ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่ออยู่ในอิริยาบถท่ายืน หรือเดินนานๆ อาการปวดชาร้าวลงขาลดลง ทำการรักษาไปทั้งหมด 10 ครั้ง ในระยะเวลา 1เดือน อาการดีขึ้นต่อเนื่อง
บทความโดย แพทย์จีน กรกฎ คุณโฑ
แผนกกระดูกและทุยหนา
ข้อมูลประกอบการรักษาเพิ่มเติม
1. การรักษาโรคด้วยวิธีทุยหนา (Tuina) รักษาโรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อได้อย่างไร
2. โรคและกลุ่มอาการที่รักษาด้วยวิธีฝังเข็มแล้วได้ผลค่อนข้างดี
เอกสารอ้างอิง
1. Wang zhi hong, 推拿学, Beijing,中国中医药出版社,2012
2. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข , การฝังเข็มรมยา เล่ม 3 การรักษาฝังเข็มรักษาอาการปวด,กรุงเทพ, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย , 2554
11 พ.ย. 2567
11 พ.ย. 2567
25 ต.ค. 2567