Success case การรักษาผู้ป่วยมีบุตรยากในสตรีโดยวิธีการแพทย์แผนจีน

Last updated: 24 ม.ค. 2568  |  57 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Success case การรักษาผู้ป่วยมีบุตรยากในสตรีโดยวิธีการแพทย์แผนจีน

Success case การรักษาผู้ป่วยมีบุตรยากในสตรีโดยวิธีการแพทย์แผนจีน

สิตา สร้อยอัมพรกุล

ภาวะมีบุตรยากคือการที่สตรีมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติโดยไม่ป้องกันอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 1 ปี แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยฝ่ายชายมีอสุจิที่แข็งแรง  จัดเป็นภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ หากเคยมีลูกมาก่อนแล้วมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติโดยไม่ป้องกันเป็นเวลา 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์  เรียกว่า ภาวะมีบุตรยยากแบบทุติยภูมิ 

ตัวอย่างกรณีการรักษาผู้ป่วยมีบุตรยาก

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ-นามสกุล น.ส ซุXXX XXX 

เพศ หญิง อายุ 30 ปี

เลขประจำตัวผู้ป่วย 382XXX

วันที่เข้ารับการรักษา 9 กันยายน 2567

อาการสำคัญ แต่งงานนาน 4 ปี มีเพศสัมพันธ์ตามปกติแต่ไม่ตั้งครรภ์

ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

คนไข้แต่งงานนาน 4 ปี แต่ไม่ตั้งครรภ์   
ทำ ICSI 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ปัจจุบันมีตัวอ่อนอีก 3 ตัว
คนไข้ต้องการเตรียมมดลูกเพื่อเตรียมตัวย้ายตัวอ่อน
ขี้หนาว เท้าเย็น เหนื่อยง่าย ปากแห้งคอแห้ง ท้องอืด นอนหลับดี ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย 
ปวดท้องประจำเดือน
ประวัติประจำเดือน รอบประจำเดือย 28-30 วัน มาครั้งละ 3-4 วัน ประจำเดือนมาล่าสุด(LMP) 22 สิงหาคม 2567 

ประวัติตั้งครรภ์ 0-0-0-0

ประวัติเจ็บป่วยในอดีต ไม่มี

-ปฏิเสธประวัติการแพ้ยา

-ปฏิเสธประวัติการอาหาร

-ปฏิเสธประวัติผ่าตัด

การตรวจร่างกาย

-ลิ้นแดง ฝ้าขาวบาง

การวินิจฉัย

-แพทย์แผนจีนวินิจฉัยว่าเป็น ภาวะมีบุตรยาก

-แพทย์แผนปัจจุบันวินิจฉัยว่าเป็น ภาวะมีบุตรยาก

กลไกการเกิดโรค

เนื่องจากม้ามในการแพทย์แผนจีนมีหน้าที่ควบคุมการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการสร้างเลือดในร่างกาย ถ้าม้ามอ่อนแอ การดูดซึมสารอาหารจะลดลง ส่งผลให้การสร้างเลือดลดลง เมื่อม้ามพร่อง ทำให้เลือดและชี่น้อย จึงเกิดภาวะมีบุตรยาก

วิธีการรักษา

-เน้นบำรุงม้ามและกระเพาะอาหารให้กลับมาดูดซึมและผลิดเลือดได้ดีขึ้น บำรุงเลือดและชี่ เพิ่มการไหลเวียนเลือดให้ไปเลี้ยงรังไข่ไข่จึงมีคุณภาพ 

วัดอุณหภูมิร่างกายเพิ่มเติมเพื่อหาวันตกไข่

ประเมินผลหลังการรักษา (วันที่ 8 กันยายน 2567)

- อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้น แสดงว่าไข่ตก

-อาการของคนไข้โดยรวมดีขึ้น ขี้หนาวน้อยลง ขับถ่ายเป็นเป็นปกติ แต่ยังมีอาการท้องอืดอยู่

ประเมินผลหลังการรักษา (วันที่ 29 กันยายน 2567)

- คนไข้ประจำเดือนไม่มา ตรวจพบว่าตั้งครรภ์

- เปลี่ยนตำรับยาเป็นยาบำรุงครรภ์

สรุปผลการรักษา

จากกรณีตัวอย่างจะเห็นได้ว่ายาจีนสามารถเพิ่มคุณภาพไข่ บำรุงเลือดและชี่ให้ร่างกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ช่วยให้คนไข้ที่มีภาวะมีบุตรยากตั้งครรภ์ได้สำเร็จ

---------------------------

บทความโดย
แพทย์จีน สิตา สร้อยอัมพรกุล (หมอจีน หลิน อิ่ง เหวิน)
林影雯 中医师
TCM. Dr. Sita Soiampornkul (Lin Ying Wen)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้