มะเร็งปอด ดูแลได้ด้วยแพทย์จีน

Last updated: 24 ม.ค. 2568  |  60 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะเร็งปอด ดูแลได้ด้วยแพทย์จีน

มะเร็งปอด คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อปอดโดยตรง มีแหล่งกำเนิดอยู่ในปอด

เป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรทั่วโลก เป็นมะเร็งที่พบอันดับ 1 ในผู้ชายและเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง

มะเร็งปอดส่วนใหญ่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ เป็นต้น

 




มะเร็งปอดกับแพทย์แผนจีน

ตามลักษณะทางคลินิก และในคัมภีร์แพทย์จีนโบราณ “โรคมะเร็งปอด”จัดอยู่ในกลุ่มของอาการไอ“肺积”

โรคมะเร็งปอดเกิดจากสาเหตุและกลไกการเกิดโรคที่สำคัญ ได้แก่ พลังชี่และเลือดพร่องลง พลังชี่และเลือดติดขัด เสมหะอุดกั้นในปอด พิษจากเสียชี่เข้ามากระทบ เส้นลมปราณปอดถูกทำลาย เป็นต้น

 

การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการและการรักษา

มะเร็งปอดระยะเริ่มต้น (เสียชี่แกร่งเป็นหลัก) รักษาโดยการกระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่ง สลายเสมหะที่คั่งค้าง ขับพิษและความร้อน บำรุงปอด ม้ามและขับความชื้น

            โรคมะเร็งปอดในระยะลุกลาม หรือระยะสุดท้าย (เจิ้งชี่พร่องเป็นหลัก) รักษาโดยการบำรุงชี่ เสริมอิน ขับพิษและความร้อน บำรุงม้ามและขับความชื้น

1.     กลุ่มอาการม้ามพร่องร่วมกับเสมหะและความชื้น(脾虚痰湿证)

            อาการ : ไอ มีเสมหะมากลักษณะขาวและเหนียว หายใจสั้น แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ถ่ายเหลว ลิ้นสีซีด ฝ้าลิ้นขาวและเหนียว(舌淡苔白腻)  ชีพจรเล็กหรือลื่น(脉细或滑)

            วิธีรักษา : บำรุงม้าม สลายเสมหะ ปรับการไหลเวี่ยนของชี่(健脾化湿、理气化痰)

 

2.     กลุ่มอาการอินพร่องร่วมกับพิษร้อน(阴虚内热证)

            อาการ : ไอ แต่ไม่มีเสมหะหรือเสมหะมีปริมาณน้อยและเหนียว หรือมีเลือดปน หรือไอเป็นเลือดออกมาในปริมาณมาก ไอไม่หยุด ร่วมกับมีอาการเจ็บที่หน้าอก หายใจสั้น เร็ว รู้สึกกระวนกระวาย นอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบและมักจะมีเหงื่อออกในตอนกลางคืน หรือมีไข้สูง ไข้ไม่ลด ปากคอแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะมีสีเหลืองและเข้ม อุจจาระแข็ง ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นเหลืองและแห้งหรือไม่มีฝ้า(舌红苔黄少津或无苔) ชีพจรเล็กเร็วหรือใหญ่เร็ว(脉细数或洪数)

            วิธีรักษา : เสริมอินระบายความร้อน ชุ่มชื้นปอด สลายเสมหะ(养阴清热,润肺化痰)

 

3.     กลุ่มอาการชี่และอินพร่อง(气阴两虚证)

            อาการ : ไอ เสมหะน้อย หรือเสมหะเหนียว ไอเสียงเล็ก หายใจสั้นหอบ อ่อนเพลีย รู้สึกเจ็บแบบหน่วงๆ บริเวณหน้าอกและหลัง เหงื่อออกง่ายหรือเหงื่อออกตอนกลางคืน ปากแห้งคอแห้ง ลิ้นแดง มีเสมหะน้อย(舌红少苔)  ชีพจรเล็กไม่มีแรง(脉细无力)

            วิธีรักษา : บำรุงชี่และอิน  ระบายสลายเสมหะร้อน(益气养阴、清化痰热)

 

4.     กลุ่มอาการไตหยางพร่อง(肾阳亏虚证)

            อาการ : ไอหายใจเร็ว  หอบเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ปวดหลัง หูอื้อ หนาวสั่นหรือหนาวบริเวณแขนขา หรือหงุดหงิดเหงื่อออกตอนกลางคืน ปัสสาวะกลางคืนบ่อย ลิ้นสีแดงอ่อนหรือสีแดงเข้ม ฝ้าขาวบาง(舌淡红或深红苔薄白) ชีพจรจมเล็ก(脉沉细)

วิธีรักษา : เสริมอินอุ่นหยาง ลดบวมสลายก้อน(滋阴温阳、消肿散结)

 

5.     กลุ่มอาการเลือดคั่งและชี่ติดขัด(气滞血瘀证)

            อาการ : ไอ เจ็บหน้าอกเหมือนมีเข็มมาแทง เจ็บเป็นบริเวณที่แน่นอน แน่นหน้าอก หรือเสมหะมีเลือดสีคล้ำ ท้องผูก คอแห้ง ริมฝีปากม่วงคล้ำ ลิ้นแดงคล้ำ มีจุดคล้ำ ฝ้าลิ้นบาง(舌暗红边有瘀点苔薄)  ชีพจรเล็กฝืดหรือเล็กตึง(脉细涩或细紧)

            วิธีรักษา : ระบายไฟหัวใจ สงบเสินคุมจิต(理气消肿、活血化療)

 
--------------------------------------------------

บทความโดย
แพทย์จีน ศศินิภา กายเจริญ (หมอจีน เฝิง เจี๋ย อวี่)
冯解语 中医师
TCM. Dr. Sasinipa Kaicharoen (Feng Jie Yu)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้