ไตพร่อง คุณมีกี่อาการ

Last updated: 2 ม.ค. 2568  |  66 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไตพร่อง คุณมีกี่อาการ

ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งของร่างกาย น้ำในร่างกายต้องเข้าสู่กรองที่ไตทั้งหมด ร่างกายจึงจะแข็งแรง และไตถึงจะแข็งแรงตามไปด้วย คนจีนสมัยโบราณการที่อายุยืนยาว หรือ ใบหน้า ที่แลดูอ่อนกว่าวัยนั้นล้วนแต่ มาจากบำรุงไตทั้งสิ้น  เพราะการที่ใบหน้าแลอ่อนกว่าวัยนั้นต้องมีผิวพรรณที่มีน้ำมีนวล ถ้าหากน้ำในไตดี ผิวพรรณก็จะดูเปล่งปลั่งด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราสามารถเช็คอาการไตพร่อง ง่าย ๆ ด้วยแพทย์แผนจีน ทั้ง 8 อาการ ดังนี้


8 อาการ ไตเริ่มอ่อนแอ 

1. แก่ก่อนวัย เช่น ปวดเอว ขาไม่มีแรง  ฟันหลุดง่าย ผมร่วง ผมขาวก่อนวัย  ใบหน้ามีกระขึ้นก่อนวัยอันควร ความรู้สึกทางเพศลดลง ความจำเริ่มถดถอย เป็นต้น

2.ทำให้มีบุตรยาก  สำหรับเพศชาย ความรู้สึกทางเพศลดลง หลั่งเร็ว นกเขาไม่ขัน อสุจิน้อย เป็นต้น  สำหรับเพศหญิง มักมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ มาบ้างไม่มาบ้าง ไข่ไม่ตก แท้งง่าย เป็นต้น

3ทำให้แพ้ง่าย เช่น ไตในแพทย์แผนจีนคือทุนก่อนกำเนิด หากไม่ได้รับพลังชี่ที่ดีตั้งแต่ในครรภ์ เมื่อเกิดออกมาแล้วอาจจะทำให้เกิดภูมิแพ้ต่าง ๆ  หอบหืดแต่ยังเป็นเด็ก ไอบ่อย ๆ ไม่มีสาเหตุ หายใจไม่สุดได้ เป็นต้น

4ระบบไหลเวียนของน้ำบกพร่องมาจากไตไม่ส่งน้ำ ในแพทย์แผนจีนไตมีหน้าที่กำกับน้ำทั้งร่างกายหากพลังไตไม่แข็งแรงอาจจะทำให้  เท้าบวมน้ำ อ้วนลดไม่ลง ผิวแห้งกร้าน เวียนหัว ปวดหัวบ่อยได้ เป็นต้น

5.หู เนื่องด้วยหูในแพทย์แผนจีนเปิดทวารที่ไต การที่ไตไม่มีกำลัง อ่อนแอ  ไม่มีแรงส่งผลให้ให้ผู้ป่วย มีเสียงในหู หูอื้อ หูดับ เป็นต้น

6)ผม เมื่อไตไม่แข็งแรงสามารถพบผมขาวก่อนวัยที่เหมาะสมเสมอ หรือผมร่วงง่าย เพราะเส้นผมจะสวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับพลังชี่ของไต ถ้าหากไตพร่อง จะทำให้ผมขาวและหลุดร่วงได้ง่าย เป็นต้น

7. สีผิวที่เปลี่ยนไป  ผู้ที่ไตพร่องสามารถพบสีผิวที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก เช่น สีผิวเริ่มดำค้ำแห้งกร้าน ผิวแห้งมาก ขึ้นกระ หรือปานที่หน้าโดยไมทราบสาเหตุ  เนื่องจากคนที่มีปัญหาไตไม่แข็งแรงมักจะมีอาการหน้าคล้ำ ผิวแห้งเป็นฝ้า เป็นกระ เพราะสารจิงในไตลดลง นั่นเอง

8.ปัสสาวะ  ผู้ที่ไตพร่องบางท่านพบปัญหาปัสสาวะปริมาณค่อนข้างมาก ปัสสาวะกลางคืนบ่อย ปวดเอวง่าย ในทฤษฎีแพทย์แผนจีนกล่าวว่าไตมีหน้าที่กำกับปัสสาวะและอุจจาระ หากปัสสาวะกลางคืนเป็นประจำมาจากไตหยางพร่อง ส่วนขับถ่ายไม่คล่อง อุจจาระแข็งมาจากไตอินพร่อง ขาดน้ำ ให้ท้องผูกเป็นนประจำ เป็นต้น

กล่าวได้ว่าไตอ่อนแอ หรือไตพร่องในการแพทย์แผนจีน ไม่ใช่โรคไตในการแพทย์ตะวันตก คนที่มีปัญหาไตไม่แข็งแรง อาจจะมีอาการเหล่านี้ได้ สามารถรักษาได้ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน เพื่อเน้นเรื่องการดูแลและบำรุงไต ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดอาการจากไตพร่องได้


------------------------

บทความโดย

ดร.พจ.อาวุโส เยาวเกียรติ เยาวพันธุ์กุล (หมอจีน ชิว ลี่ ฟู่)
丘立富 中医师
TCM. Dr. Yaowakiat  Yaowapankul (Qiu Li Fu)
แผนกอายุรกรรมไต 肾科 (Internal TCM of Nephrology)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้