1. ซุปข้าวโอ๊ตใส่เก๋ากี้ 枸杞麦片粥 |
สรรพคุณ
- บำรุงอิน เพิ่มความชุ่มชื้น ลดแห้ง
- ลดไขมันในหลอดเลือด
เหมาะสำหรับ
ใช้เป็นอาหารมื้อเช้าสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ผู้มีความดันโลหิตสูง ผู้มีไขมันในเลือดสูง ผู้มีภาวะอ้วน
ส่วนประกอบ
- ข้าวโอ๊ต 250 กรัม
- นมพร่องมันเนย 250 กรัม
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- เก๋ากี้ 15-20 เม็ด
วิธีทำ
- นำข้าวโอ๊ตมาใส่หม้อต้ม เติมน้ำพอประมาณคนให้หนืดเข้ากัน
- จากนั้นเทนมพร่องมันเนยลงไป คนผสมให้เข้ากัน
- นำไปต้มจนเดือด เมื่อเดือดแล้วปรับไฟลง ต้มต่อไปด้วยไฟอ่อน ราว 10 นาที
- นำไข่ไก่ที่ตีจนเข้ากันดีแล้วเติมลงไป คนผสมกันให้หนืดพอประมาณตามชอบ
วิธีรับประทาน
ใช้รับประทานเป็นอาหารมื้อเช้า วันละ 1-2 ชาม
รส หวาน
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ตับ ม้าม กระเพาะอาหาร
สรรพคุณ
- บำรุงร่างกาย
- บำรุงตับ ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร
- บำรุงผิวพรรณ ทำให้ใบหน้าผ่องใส
- สมานแผล ห้ามเลือด
- ทำให้เปี่ยว (ภูมิคุ้มบริเวณผิวหนังส่วนนอก การเปิดปิดรูขุมขน) แข็งแรง ระงับเหงื่อ
- ใช้รักษาอาการเลือดออก อาเจียนเป็นเลือด ประเดือนมามากเกิน ระดูขาวมากเกิน ถ่ายเป็นเลือด เหงื่อออกมากผิดปกติ เหงื่อออกเวล
- นอนหลับ เพิ่มภูมิต้านทาน
- งานวิจัยพบว่า สามารถลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยให้ขับถ่ายคล่อง ป้องกันโลหิตจาง ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น
กลุ่มคนที่ไม่หมาะกับการรับประทานข้าวโอ๊ต
ไม่มี
กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานข้าวโอ๊ต
- คนปกติทั่วไป
- สตรีมีครรภ์
- เด็กเล็ก
- ผู้สูงวัย
- พนักงานบนเครื่องบิน ลูกเรือเดินสมุทร
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- ผู้มีไขมันเกาะตับ
- ผู้ป่วยเบาหวาน
- ผู้มีความดันโลหิตสูง
- ผู้มีไขมันในเลือดสูง
- ผู้มีภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (Arteriosclerosis)
- ผู้มีภาวะบวมน้ำ
- ผู้มีอาการท้องผูกเรื้อรัง
- ผู้มีเหงื่อออกมากผิดปกติ เหงื่อออกง่าย เหงื่อออกเวลาหลับ
รส หวาน
ฤทธิ์ กลาง เย็นเล็กน้อย
เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ ปอด กระเพาะอาหาร
สรรพคุณ
- ทำให้ผ่อนคลาย สงบจิตใจ
- บำรุงร่างกาย
- บำรุงผิวพรรณทำให้ผิวหน้าผิวกายผุดผ่อง
กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานนมสด
- ผู้ที่มีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงพอ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรดื่มนมขณะท้องว่าง เนื่องจากในคนเอเชียวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เมื่อพ้นวัยเด็ก น้ำย่อยชื่อ “แลคเตส” ที่ใช้ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมจะลดน้อยลงหรือหมดไป ทำให้เมื่อดื่มนมเข้าไปขณะท้องว่าง น้ำตาลแลคโตสที่ไม่ถูกย่อยจะผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่และถูกหมักโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ เกิดเป็นกรดและแก๊ส มีการดึงน้ำเข้ามาในลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเสียได้ในคนที่มีอาการรุนแรง ผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวจึงควรดื่มนมหลังมื้ออาหาร หรือ หาอะไรกินขณะดื่มนม ดื่มนมโดยเริ่มจากปริมาณทีละน้อย เพื่อลดความรุนแรงของอาหาร เพิ่มความสามารถในการย่อยน้ำตาลแลคโตสได้มากขึ้น
- ผู้ที่แพ้น้ำตาลแลกโตส
กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานนมสด
คนปกติทั่วไป
รส หวาน
ฤทธิ์ กลาง ไม่ร้อนไม่เย็น
เข้าเส้นลมปราณ ตับ ไต ปอด
สรรพคุณ
- บำรุงตับและไต
- บำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง มองเห็นชัดเจน
- ให้ความชุ่มชื้นกับปอด
- ใช้รักษาอาการวิงเวียน ตามัว น้ำกามเคลื่อน เบาหวาน อาการไอเรื้อรังจากอินพร่อง อาการไอจากวัณโรค
กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานเก๋ากี้
- ผู้ที่เป็นไข้ตัวร้อนแบบร้อนแกร่ง (ไข้จากหวัด ไข้จากการติดเชื้อ) ห้ามรับประทาน
- ผู้มีกลุ่มอาการม้ามพร่องทำให้มีความชื้นจากภายในห้ามรับประทาน
- ผู้มีกลุ่มอาการท้องเสียถ่ายท้องห้ามรับประทาน
2. ชาเมล็ดลูกพีชเจวี๋ยหมิงจื่อใส่น้ำผึ้ง 桃仁决明蜜茶 |
สรรพคุณ
- เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
- ดับไฟร้อนที่ตับ
- บำรุงไต
- ลดความดันโลหิต
เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจากสมองเลือด ผู้มีความดันโลหิตสูง ผู้มีไขมันในเลือดสูง ร่วมกับมีกลุ่มอาการร้อน ได้แก่ หน้าแดง ปากแห้ง คอแห้ง มีรสขมในปาก มีกลิ่นปาก ท้องผูก ฯลฯ
ส่วนประกอบ
- เมล็ดลูกพีช 桃仁 (ทุบละเอียด) 10 กรัม
- เจวี๋ยหมิงจื่อ决明子 12 กรัม
- น้ำบริสุทธิ์ 2 ถ้วย (400 ml)
- น้ำผึ้งปริมาณพอเหมาะ
วิธีทำ
- นำเมล็ดลูกพีช และเจวี๋ยหมิงจื่อ แช่ลงในน้ำบริสุทธิ์ปริมาณ 2 ถ้วย แช่ทิ้งไว้นาน 30 นาที
- นำไปต้มจนเหลือน้ำ 1 ถ้วย
- เติมน้ำผึ้งในปริมาณเหมาะสมตามชอบ
วิธีรับประทาน
แบ่งชงดื่ม 2 ครั้ง เช้า-เย็น
รส ขม หวาน
ฤทธิ์ กลาง ไม่ร้อนไม่เย็น
เข้าเส้นลมปราณ ปอด ตับ ลำไส้ใหญ่
สรรพคุณ
- เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ขจัดเลือดคั่ง
- เพิ่มความชุ่มชื้นในลำไส้ ทำให้ถ่ายคล่อง
- ใช้รักษาอาการประจำเดือนไม่มา ปวดประจำเดือน เนื้องอก บาดเจ็บพกช้ำ ท้องผูกจากลำไส้แห้งขาดความชุ่มชื้น
กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานเมล็ดลูกพีช
สตรีมีครรภ์ ควรรับประทานอย่างระมัดระวัง
กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานเมล็ดลูกพีช
- ผู้มีกลุ่มอาการ ไตพร่อง ปอดพร่อง เลือดและพลังลมปราณ (ชี่) พร่อง
- ผู้มีอาการประสาทอ่อนเปลี้ย
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- เหมาะสำหรับผู้ทำงานที่ต้องใช้สมองและความคิดมาก
- เหมาะกับคนวัยหนุ่มสาว
รส ขม หวาน เค็ม
ฤทธิ์ กลาง ไม่ร้อนไม่เย็น
เข้าเส้นลมปราณ ลำไส้ใหญ่ ตับ ไต
สรรพคุณ
- ดับไฟร้อนที่ตับ
- ทำให้ตามองเห็นชัด
- เพิ่มความชุ่มชื้นในลำไส้ ทำให้ถ่ายคล่อง
- ลดความดันโลหิต
- ลดไขมัน
- ใช้รักษาอาการตาแดง แห้งแสบ ตาแฉะ ขี้ตาเยอะ ปวดศีรษะ วิงเวียน ตามัวมองไม่ชัด ท้องผูกจากลำไส้แห้งขาดความชุ่มชื้น เจ็บคอ คอบวมแดงมีแผล ใช้ลดความอ้วน
กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานเจวี๋ยหมิงจื่อ
กลุ่มอาการม้ามพร่องถ่ายเหลว ควรรับประทานอย่างระมัดระวัง
รส หวาน
ฤทธิ์ กลาง ไม่ร้อนไม่เย็น
เข้าเส้นลมปราณ ปอด ม้าม ลำไส้ใหญ่
สรรพคุณ
- บำรุงม้ามกระเพาะอาหาร
- เพิ่มความชุ่มชื้น ขจัดความแห้ง
- ระงับปวด
- แก้พิษร้อน
- หล่อลื่นลำไส้ ทำให้ขับถ่ายคล่อง
- เพิ่มความชุ่มชื้นปอด ระงับไอ
กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานน้ำผึ้ง
- ผู้ที่มักถ่ายอุจจาระเป็นเส้นบาง ถ่ายเหลวห้ามรับประทาน
- ผู้ป่วยกลุ่มอาการมีเสมหะความชื้นสะสมภายใน มีอาการท้องอืดแน่นห้ามรับประทาน
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานห้ามรับประทาน
- ผู้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนห้ามรับประทาน
- ผู้มีผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบชนิดเรื้อรังห้ามรับประทาน
สรรพคุณ
- ลดไขมัน
- ลดความดัน
- บำรุงม้าม
- ดับไฟร้อนในหัวใจ
เหมาะสำหรับ
- ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง
- ป้องกันภาวะอ้วน ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ฯลฯ
ส่วนประกอบ
- ซานจา山楂 20 กรัม
- ใบบัว荷叶 10 กรัม
**ข้อควรระวัง** ซานจา หากรับประทานมากไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้ ควรเติมพุทราจีน 大枣 5 ลูก ลงไปด้วยเพื่อปรับสมดุล ทั้งยังทำให้รสชาติดีขึ้นอีกด้วย
วิธีทำ
- นำซานจากับใบบัวที่ล้างทำความสะอาดดีแล้ว มาใส่หม้อต้ม
- เติมน้ำสะอาด 2 ถ้วย ต้มจนเหลือน้ำ 1 ถ้วย
- ยกลง กรองกากออก เหลือแต่น้ำ ใช้ดื่ม
วิธีรับประทาน
รับประทานวันละ 1 ถ้วย (1ตำรับ) ต่อเนื่องกัน 5-7 วัน ถือเป็น 1 คอร์สการรักษา
รส เปรี้ยว หวาน
ฤทธิ์ ค่อนข้างอุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ม้าม กระเพาะอาหาร ตับ
สรรพคุณ
- ช่วยย่อย เพิ่มการทำงานกระเพาะอาหาร
- เพิ่มการไหลเวียนขจัดเลือดคั่ง
- ใช้เป็นยาช่วยย่อยรักษาอาหารท้องอืดแน่นเฟ้อจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์
- รักษาอาการท้องเสีย ปวดท้อง
- รักษาอาการมีเลือดคั่งค้างหลังคลอดบุตร
- รักษาอาการปวดจากไส้เลื่อน
- รักษาภาวะไขมันในเลือดสูง
กลุ่มคนที่ไม่เหมาะกับการรับประทานซานจา
- ผู้ป่วยกลุ่มอาการกระเพาะอาหารอ่อนแอควรรับประทานแต่น้อย หรือรับประทานอย่างระมัดระวัง
- สตรีมีครรภ์ควรรับประทานแต่น้อย หรือรับประทานอย่างระมัดระวัง
- ไม่ควรรับประทานร่วมกับ อาหารทะเล โสม นม มะนาว
รส ขม
ฤทธิ์ ปานกลาง ไม่ร้อนไม่เย็น
เข้าเส้นลมปราณ ตับ ม้าม กระเพาะอาหาร
สรรพคุณ
- ดับร้อน แก้พิษร้อนจากความร้อนอบอ้าว
- ทำให้หยางบริสุทธิ์ไหลขึ้นสูงเบื้องบน
- ห้ามเลือด ลดความร้อนในเลือด
- ดับกระหายจากพิษร้อนอบอ้าว
- รักษาอาการท้องเสียจากพิษร้อนอบอ้าว ชื้น ม้ามอ่อนแอ
- รักษาอาการเลือดออกที่เกิดจากมีความร้อนในเลือด เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ประจำเดือนมากผิดปกติ
กลุ่มคนที่ไม่เหมาะกับการรับประทานใบบัว
ผู้มีร่างกายผอม ผู้ที่เลือดและชี่ (พลัง) พร่องอ่อนแอควรรับประทานแต่น้อย หรือรับประทานอย่างระมัดระวัง
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน ปณิตา กาสมสัน (หมอจีน หลู เหมียว ซิน)
卢苗心 中医师
TCM. Dr. Panita Kasomson (Lu Miao Xin)
คลินิกฟื้นฟูอัมพฤกษ์อัมพาตและโรคทางระบบประสาท
อ้างอิง
- 黄燕 陈达灿 杨志敏 等. 中风中西医结合慢性病防治指导与自我管理丛书[M]北京:人民卫生出版社 2013.11
- 孟诜 张鼎. 中华养生经典.食疗本草[M]:中华书局2011.11.1
- 食材大全. 苹果绿养生网https://www.pingguolv.com/