Last updated: 27 ส.ค. 2567 | 1328 จำนวนผู้เข้าชม |
ในทางการแพทย์แผนจีนหัวใจสร้างเลือด เหงื่อสร้างจากของเหลวในเลือด หัวใจเกี่ยวข้องกับการขับเหงื่อออกจากร่างกายทางรูขุมขน เหงื่อจึงเป็นของเหลวจากหัวใจ หัวใจสร้างของเหลว 2 ชนิด คือ เลือดในร่างกายและเหงื่อที่หลั่งออกมาภายนอก เลือดกับเหงื่อจึงมีความเกี่ยวข้องกัน อาจกล่าวได้ว่าโรคของหัวใจมีความเกี่ยวข้องกับเหงื่อ
จากสภาวการณ์ทั้งความเครียดและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ร่างการทำงานผิดปกติ ทำงานหนัก อ่อนเพลีย หรือออกกำลังกายหนัก เสียเหงื่อมากจะทำให้สูญเสียของเหลว คือ เลือดและชี่ที่ใช้เผาผลาญไปด้วย ถ้าเลือดและชี่พร่องก็ทำให้มีอาการเหงื่อออกผิดปกติ เช่น ถ้าลมปราณหัวใจพร่อง ทำให้เว่ยชี่ (พลังชี่ซึ่งห่อหุ้มด้านนอก) อ่อนแอ จึงมีเหงื่อออกมากตอนกลางวัน ถ้าอินหัวใจพร่องทำให้มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน ซึ่งทำให้บางคนเกิดอาการเหงื่อออกมือออกเท้าได้บ่อย ๆ บางคนอาจไม่ได้สังเกต หรือสังเกตแต่ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่ทางการแพทย์แผนจีนตระหนักถึงความสำคัญของเลือดและชี่ อินและหยางเป็นสำคัญ เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งพร่องหรือเกินไปทำให้ส่งผลต่อร่างการและการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ อาการเพียงเล็กน้อยอาจก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา
จากอาการเหงื่อออกง่ายหรือออกตามมือเท้าสามารถแก้ไขและรักษาได้โดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ไม่ว่าจะเป็นการทานยาจีนหรือฝังเข็มรมยา และคนไข้ยังสามารถปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมสำหรับการดูแลตนเองในเบื้องต้นได้ด้วย เช่น การกดจุดตามเส้นลมปราณ ปรับการทานอาหารหรือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอื่น ๆ
ตัวอย่างการนวดกดจุดด้วยต้นเอง
百会 ไป่หุ้ย (Baihui, GV20) ตำแหน่งอยู่จุดกึ่งกลางศีรษะ สามารถหาได้จากเส้นกลางจมูกลากขึ้นมา และยอดปลายหูลากมาบรรจบที่จุดกึ่งกลางศีรษะ
神门 เสินเหมิน (Shenmem, HT8) ตำแหน่งอยู่ที่ข้อมือด้านใน ที่เส้นข้อมือด้านใน
内关 เน่ยกวน (Neiguan, PC6) ตำแหน่งอยู่กึ่งกลางข้อมือด้านในขึ้นมา 2 ชุ่น
复溜 ฟูลิว (Fuliu, KI7) ฟู้ลิว ตำแหน่งอยู่ที่ขาด้านในเหนือตาตุ่มด้านใน 2 ชุ่น
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน ศศิพัชญ์ อิทธิชัยโฆษิตกุล (หมอจีน สุ่ย จิง ซิน)
许精鑫 中医师
TCM.Dr.Sasiphat Aitthichaikhositkun
แผนกกระดูกและทุยหนา
14 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567