ตัวอย่างกรณีการรักษาผู้ป่วยงูสวัด

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  5985 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตัวอย่างกรณีการรักษาผู้ป่วยงูสวัด

ตัวอย่างกรณีการรักษาผู้ป่วยงูสวัด

ที่แผนกอายุรกรรมภายนอก คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน

 

  ข้อมูลทั่วไป

ผู้ป่วยหญิง     อายุ  36 ปี

เลขประจำตัวผู้ป่วย  342XXX

วันที่รับการรักษาครั้งแรก  14 พฤษภาคม 2564

  อาการสำคัญ

บริเวณศีรษะและคอด้านขวามีตุ่มน้ำและปวดแสบปวดร้อนมา 11 วัน



  ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน

11 วันก่อนผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดศีรษะและคอด้านขวา 2 วันถัดมามีตุ่มน้ำขึ้นบริเวณที่ปวด ได้รับการวินิจฉัย

 ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งว่าเป็นงูสวัด วันที่มารักษา ผู้ป่วยรู้สึกปวดแสบร้อนศีรษะและคอด้านขวา ผู้ป่วยให้คะแนนความเจ็บปวด 7/10

  ผู้ป่วยรักษาโดย

- ทานยา Acyclovir และ Pregabalin

  อาการและประวัติอื่นๆ :  นอนหลับ ขับถ่ายปกติ

  ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต  

ไม่มี

  การตรวจร่างกาย

คอด้านขวามีสะเก็ดสีคล้ำจำนวนมาก

ลิ้นมีสีชมพู ฝ้าขาว ตัวลิ้นใหญ่  ชีพจรเล็ก 

  การวินิจฉัย

จากการซักประวัติ เริ่มแรกมีอาการปวดแสบปวดร้อน และมีกลุ่มของตุ่มน้ำขึ้นบริเวณซีกเดียวของร่างกาย วินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคงูสวัด  วันแรกที่มารักษาตุ่มน้ำอยู่ในช่วงเริ่มตกสะเก็ด บริเวณศีรษะและคอด้านขวามีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก อยู่ในกลุ่มอาการตับและถุงน้ำดีร้อนชื้น (肝胆湿热证)

  วิเคราะห์กลุ่มอาการของผู้ป่วย

ผู้ป่วยมีอาการงูสวัดมา 11 วัน พร้อมทั้งเริ่มตกสะเก็ด มีอาการปวดแสบปวดร้อนชัดเจน จัดอยู่ในกลุ่มอาการแกร่ง และมีอาการร้อนชื้น บริเวณที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนคือศีรษะและคอด้านขวา ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นลมปราณของถุงน้ำดีพาดผ่าน ซึ่งโดยปกติแล้วตับและถุงน้ำดีจะทำงานคู่กัน จึงสรุปได้ว่าอยู่ในกลุ่มอาการตับและถุงน้ำดีร้อนชื้น


เส้นสีเขียวขี้ม้าแสดงถึงเส้นลมปราณของถุงน้ำดี ซึ่งพาดผ่านบริเวณใบหน้า ศีรษะ และลำคอ ใกล้เคียงกับบริเวณรอยโรคของผู้ป่วย

ที่มาของรูป: http://www.xuezhenjiu.cc/10631.html

  หลักการรักษา

การรักษาโรคงูสวัดนั้น ในระยะแรกเน้นการขับพิษ ส่วนในระยะท้ายใช้วิธีการขับพิษควบคู่กับการบำรุงด้วย หลักการรักษาในผู้ป่วยรายนี้ คือ ขับพิษ ระบายความร้อนตับและถุงน้ำดี กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมเพื่อลดอาการปวด

  การรักษา

1. จ่ายยาจีน 5 วัน  ใช้บริการต้มที่คลินิก ทานยา เช้า 1ถุง เย็น 1 ถุง หลังอาหาร30นาที

2. ฝังเข็ม (โดยแพทย์จีนเวินเจินฮุ่ย)


  คำแนะนำแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยส่งเสริมการรักษา

1. ควรหลีกเลี่ยงการแกะเกาบริเวณที่เป็นสะเก็ด

2. รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นสะเก็ด ไม่ควรให้เหงื่อออก และไม่ควรโดนน้ำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

3. พักผ่อนให้เพียงพอ

4. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของหมักดอง อาหารทะเล

  การติดตามอาการครั้งที่ 1 (21 พฤษภาคม 2564)

อาการปวดดีขึ้น ผู้ป่วยให้คะแนนความเจ็บปวด 4/10 มีอาการคันบริเวณคอด้านขวา ส่งผลต่อการนอนหลับ ขับถ่ายปกติ

  การตรวจร่างกาย

ลิ้นมีสีชมพู ฝ้าขาว ชีพจรเล็ก 

  การรักษา

1. ปรับยาให้เข้ากับอาการปัจจุบัน จ่ายยาจีน  5 วัน ใช้บริการต้มที่คลินิก ทานยา เช้า 1ถุง เย็น 1 ถุง หลังอาหาร30นาที

2. ฝังเข็ม (โดยแพทย์จีนเวินเจินฮุ่ย)

  การติดตามอาการครั้งที่ 2 (26 พฤษภาคม 2564)

อาการปวดดีขึ้น ผู้ป่วยให้คะแนนความเจ็บปวด 2/10 มีอาการแสบคันบริเวณคอด้านขวา ส่งผลต่อการนอนหลับ

  การตรวจร่างกาย

ลิ้นมีสีชมพู ฝ้าขาว ชีพจรเล็ก 

  การรักษา

1. ปรับยาให้เข้ากับอาการปัจจุบัน จ่ายยาจีน 7 วัน ใช้บริการต้มที่คลินิก ทานยา เช้า 1ถุง เย็น 1 ถุง หลังอาหาร30นาที

2. ฝังเข็ม (โดยแพทย์จีนเวินเจินฮุ่ย)

  การติดตามอาการครั้งที่ 3 (4 มิถุนายน 2564)

อาการปวดและแสบคันบริเวณคอด้านขวาดีขึ้น ลูบที่ผิวหนังไม่รู้สึกแสบร้อนมากขึ้น อาการมักจะเป็นช่วงกลางคืน

  การตรวจร่างกาย

ลิ้นมีสีชมพู ฝ้าขาว ชีพจรเล็ก 

  การรักษา

1. ปรับยาให้เข้ากับอาการปัจจุบัน จ่ายยาจีน 6 วัน ใช้บริการต้มที่คลินิก ทานยา เช้า 1ถุง เย็น 1 ถุง หลังอาหาร30นาที

2. ฝังเข็ม (โดยแพทย์จีนเวินเจินฮุ่ย)

  การติดตามอาการครั้งที่ 4 (10 มิถุนายน 2564)

ไม่มีอาการปวดหรือแสบร้อนแล้ว บริเวณคอด้านขวามีอาการคันปานกลาง นอนหลับได้ปกติ

  การตรวจร่างกาย

ลิ้นมีสีชมพู ฝ้าขาว ชีพจรเล็ก 

  การรักษา

1. จ่ายยาแคปซูล 1 กระปุก

2. ฝังเข็ม (โดยแพทย์จีนเวินเจินฮุ่ย)

  การติดตามอาการครั้งที่ 5 (16 มิถุนายน 2564)

ไม่มีอาการปวดหรือแสบร้อน มีอาการคันบริเวณคอด้านขวาดีขึ้น50%จากครั้งก่อน นอนหลับได้ปกติ

  การตรวจร่างกาย

ลิ้นมีสีชมพู ฝ้าขาว ชีพจรเล็ก 

  การรักษา

1. จ่ายยาแคปซูล 1 กระปุก

2. ฝังเข็ม (โดยแพทย์จีนเวินเจินฮุ่ย)

  การติดตามอาการครั้งที่ 5 (24 มิถุนายน 2564 สิ้นสุดการรักษา)

ไม่มีอาการปวดหรือแสบร้อน มีอาการคันเล็กน้อย นอนหลับได้ปกติ

  การตรวจร่างกาย

ลิ้นมีสีชมพู ฝ้าขาว ชีพจรเล็ก 

  การรักษา

1. ปรับยาให้เข้ากับอาการปัจจุบัน จ่ายยาจีน 6 วัน ใช้บริการต้มที่คลินิก ทานยา เช้า 1ถุง เย็น 1 ถุง หลังอาหาร30นาที

2. ฝังเข็ม (โดยแพทย์จีนเวินเจินฮุ่ย)

  สรุปผลการรักษา

ผู้ป่วยท่านนี้เป็นงูสวัดมา11วัน  รักษาโดยการทานยาแผนปัจจุบันมาก่อน แต่ยังมีอาการปวดแสบปวดร้อน ผู้ป่วยให้คะแนนความเจ็บปวด 7/10 มีผลทำให้นอนไม่หลับ เมื่อรักษาด้วยยาจีนและฝังเข็ม อาการปวดดีขึ้นชัดเจนตามลำดับ จนสุดท้ายไม่มีอาการปวดแสบปวดร้อน ความรู้สึกที่ผิวหนังเมื่อสัมผัสกลับมาเป็นปกติ และกลับมานอนได้ รวมเวลารักษาทั้งสิ้น 1 เดือน 10 วัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้