Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 3876 จำนวนผู้เข้าชม |
การพัฒนาสมองของเด็กในช่วงหลังคลอดถึง 1 ปีแรกจะมีการพัฒนาที่เร็วที่สุด เมื่ออายุครบ 3 ขวบเซลล์เยื่อหุ้มสมองได้รับการพัฒนาและแยกอย่างเสร็จสมบูรณ์ หากเปรียบเทียบระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กอายุ 8 ขวบจะไม่ค่อยมีความแตกต่างด้านการพัฒนาและการทำงานอย่างซับซ้อนของเซลล์ กระบวนการพัฒนาของสมองไม่เพียงแต่มีการชะลอหรือหยุดการพัฒนา แต่ยังสามารถเร่งการพัฒนาได้อีกด้วย ดังนั้น ในประเทศจีนจึงให้ความสำคัญในการเร่งการเจริญเติบโตของสมองด้านสติปัญญาเป็นอย่างมาก ช่วงเวลาที่ดีในการเร่งการพัฒนามักอยู่ในช่วงก่อนอายุ 3 ขวบ ยิ่งมีการกระตุ้นเร็วยิ่งเห็นผลอย่างชัดเจน
ทางแพทย์แผนจีนเชื่อว่าระดับสติปัญญาของเด็กขึ้นอยู่กับ "สารจำเป็นที่มีแต่กำเนิด" เช่น เด็กที่มีสติปัญญาที่ไม่สมบูรณ์ แสดงถึงชี่ในครรภ์ก่อนคลอดไม่เพียงพอ ชี่ไตอ่อนแอหรือเป็นโรคที่เกิดจากไตพร่อง ซึ่งสามารถเห็นได้ว่าไม่ว่าปัจจัยก่อนกำเนิดหรือหลังกำเนิดก็คือไตที่เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสติปัญญาของเด็ก ดังนั้นเพื่อกระตุ้นสติปัญญาของเด็กนั่นต้องบำรุงสารจิงของไตและเสริมสร้างสมองและปัญญา
"ไต" เป็นรากฐานของอวัยวะภายใน และ อิน-หยาง ไตเป็นรากฐานของชีวิตหลังคลอด ไตเป็นธาตุน้ำ มีโครงสร้างเชื่อมโยงกับกระดูก ไขกระดูก สมอง เส้นผม หู อวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก
ไตมีหน้าที่กักเก็บจิง 精 เพื่อไม่ให้จิงชี่ถูกใช้ไปโดยไม่จำเป็น คัมภีร์ซู่เวิน ลิวเจี๋ยจั้งเซี่ยงลุ่น 《素问。六节藏象论》กล่าวว่า "ไตมีหน้าที่เกี่ยวกับการจำศีล เก็บซ่อนเป็นทุน เป็นที่อยู่ของชี่" ไตดูแลน้ำ รับสารจิงจากอวัยวะภายในทั้ง5 และภายนอกทั้ง 6 มากักเก็บไว้ ซึ่งไตจะสะสมให้จิงมีเพียงพออยู่ตลอดเวลา หากหน้าที่ของไตพร่องจะกระทบต่อการเจริญเติบโต ความพิการทางเพศและสมรรถภาพทางเพศ
วิธีการ : กดคลึงจุดเอ้อหม่า 揉二马
กดประมาณ 10 นาที ถึง 30 นาที
ตำแหน่ง หลังมือระหว่างกระดูก Metacarpals ของนิ้วนางและนิ้วก้อย
สรรพคุณ : จุดเอ้อหม่า 二马
สามารถบำรุงสารจิงของไต เสริมสร้างสมองและปัญญา สามารถนวดจุดเดียวเป็นระยะเวลานานได้ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างน้ำและไฟในไตแข็งแรง กระตุ้นชี่ต้นทุนแต่กำเนิดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ไขกระดูก เอวและเข่าแข็งแรง
ขอบเขตโรคในการบำรุง
สารจำเป็นที่มีมาแต่กำเนิดไม่เพียงพอ พัฒนาการช้าในเด็กมี 5 อย่าง คือ ยืนช้า เดินช้า ฟันขึ้นช้า ผมงอกช้า พูดช้า และมีอาการอ่อน 5 อย่าง คือ คออ่อน ปากอ่อน มืออ่อน ขาอ่อน กล้ามเนื้ออ่อน สมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โรคสมองได้รับการกระทบกระเทือนหรือ โรคลมชัก เป็นต้น
บทความโดย
แพทย์จีน กัญธิมา วุฒิ (กาน ตี๋ หม่า)
เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ พจ.1113
นวดทุยหนารักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ไหล่ติด นิ้วล็อค ข้อเข่าอักเสบ คอตกหมอน รองช้ำ อัมพาตใบหน้า นวดทุยหนาในเด็ก เช่น ไข้หวัด ไอ น้ำลายไหล ท้องผูก ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปัสสาวะรดที่นอน โรคเยื่อบุจมูกอักเสบ อาการคอเอียง สายตาสั้น เพิ่มความสูง กระดูกสันหลังคดในเด็ก
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567