Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 15496 จำนวนผู้เข้าชม |
ข้อมือแพลง (Wrist Sprain)
ข้อมืออักเสบแพลงหรือเรียกอีกอย่างว่า ข้อมืออักเสบ หรือเอ็นข้อมือบาดเจ็บ มีสาเหตุหลักมาจากแรงกระทำภายนอก หรือเกิดการบาดเจ็บล้าเป็นเวลานาน ซึ่งมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นที่เส้นเอ็นบริเวณข้อมือ กล้ามเนื้อ ปลอกเอ็นหุ้ม ได้รับแรงมากเกินไปทำให้เกิดการอักเสบ ในทางคลินิกจะมีอาการ บวมบริเวณข้อมือ ปวดข้อมือ การขยับข้อมือติดขัด เป็นอาการหลัก มักจะเกิดได้ในทุกช่วงอายุ และกลุ่มอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น กีฬามวยไทย เป็นต้น
การบาดเจ็บจากกีฬามวยไทย (THAI BOXING INJURIES)
มวยไทย (Thai Boxing) คือ ศิลปะการต่อสู้ (Martial Art) รูปแบบหนึ่งที่ใช้ส่วนต่างๆของร่ายกาย เช่น หมัด เข่า ศอก ขา มาเป็นอาวุธเข้าปะทะกับร่ายกายคู่ต่อสู้ เพื่อสร้างความบาดเจ็บและเอาชนะคู่ต่อสู่ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากการฝึกฝนของชายไทยสำหรับใช้ในการป้องกันตัวและในทำการรบในสงครามในสมัยโบราณ ซึ่งมวยไทยได้มีพัฒนาการของการออกแบบท่าทาง กลยุทธ์ต่างๆมาอย่างยาวนาน ทำให้กลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีการเคลื่อนไหวที่สวยงามในขณะเดียวกันก็มีความรวดเร็ว และดุดัน จนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ได้รับความนิยมกว้างขวางในระดับสากล
เนื่องจากการฝึกมวยได้ มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ เช่น การช่วยเผาผลาญพลังงาน การสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ การฝึกความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การฝึกสติ และสมาธิ ดังนั้นวงการกีฬาและการออกกำลังกายในปัจจุบัน จึงได้มีการนำกีฬามวยไทยมาประยุกต์ เป็นกิจกรรมออกกำลังกายทางเลือก โดยลดความรุนแรงของการปะทะลงเพื่อให้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ดังจะเห็นได้จากการเปิดคอร์สมวยไทยเพื่อสุขภาพตามสถานออกกำลังายต่างๆ ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
การบาดเจ็บจากกีฬามวยไทย
แม้ว่ากิจกรรมมวยไทยเพื่อการออกกำลังกายจะมีการลดทอนความรุนแรงในการปะทะรวมถึงใช้องค์ความรู้ในการออกกำลังสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ในการจัดกิจกรรมเพื่อลดอาการบาดเจ็บของผู้ออกกำลังกาย แต่เนื่องจากมวยไทยเป็นการเคลื่อนไหวที่ยังคงมีลักษณะของการปะทะระหว่างร่างกาย มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อและกล้ามเนื้อ อย่างรวดเร็วและหลายทิศทาง ทำให้บางครั้งผู้ออกกำลังกายด้วยกีฬามวยไทยเกิดอาการบาดเจ็บได้ การบาดเจ็บส่วนใหญ่พบบ่อยจากการเล่นกีฬามวยไทยคือ “ข้อมือแพลง” และ “เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าอักเสบ”
กายวิภาคศาสตร์ของข้อมือ ( Anatomy of the Wrist Joint )
ข้อมือประกอบด้วยข้อต่อหลายข้อต่อ ข้อต่อแรกเป็นข้อต่อระหว่างปลายล่างของกระดูกปลายแขนอันนอก (Radius) กับกระดูกข้อมือ (Carpal Bone) (radiocarpal joint) มีรูปร่างโดยปลายของกระดูกปลายแขนอันนอก และกระดูกข้อมือแถวแรก (proximal rows) 3 ชิ้น (scaphoid, lunate, และ triquetrum) ขณะที่ด้านปลายล่างของกระดูกปลายแขนอันในจะมีหมอนรอง (articular disc) ชนิด fibrocartilage มารองรับกระดูกข้อมือ triquetrum เพื่อให้ผิวข้อครบรูป
ข้อต่อสองเป็นข้อต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Intercarpal joint) ซึ่งจะเคลื่อนที่แบบลื่นไถลระหว่างกระดูก และยอมให้มีการงอ (flexion) ได้บ้าง และเหยียด (extension) ได้เล็กน้อย ข้อต่อสามเป็นข้อต่อระหว่างกระดูกนิ้วหัวแม่มือ (thumb) กับกระดูกข้อมือ (carpo-metacarpal joint)
การเคลื่อนไหวพื้นฐานของข้อมือ ( Basic Movement of the Wrist Joint )
ข้อมือสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง ประกอบด้วยการหุบ (adduction) หรือการงอเข้าหากระดูกปลายแขนอันใน (ulnar flexion) การเคลื่อนไหวนี้กระดูกนิ้วก้อยจะเคลื่อนเข้าใกล้ร่างกายทิศทางตรงข้ามของการหุบ จะเป็นการกาง (abduction) หรือการงอเข้าหากระดูกปลายแขนอันนอก (radial flexion) การเคลื่อนไหวนี้นิ้วหัวแม่มือจะเคลื่อนไกลออกจากร่างกาย เมื่อแขนอยู่ในท่ากายวิภาคศาสตร์
radial flexion และ ulnar flextion
จาก https://www.experttabletennis.com/improve-forehand-loop-wrist/
นอกจากนี้ข้อมือยังสามารถงอ (flexion) การเคลื่อนไหวนี้ ฝ่ามือจะเคลื่อนเข้าหาปลายแขนด้านหน้า การเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามจะเป็นการเหยียด-เหยียดเกิน (extension-hyperextension) การเคลื่อนไหวนี้หลังมือจะเคลื่อนเข้าหาปลายแขนด้านหลัง การผสมผสานการเคลื่อนไหวทั้งสี่ทิศทางดังกล่าวมาข้างต้น จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ circumduction การเคลื่อนไหวนี้มือจะมีการเคลื่อนไปรอบๆ นิ้วจะวาดรูปเป็นรูปวงกลม และมือวาดเป็นรูปกรวย
กล้ามเนื้อหลักของข้อมือ ( Major Muscles of the Wrist Joint )
กล้ามเนื้อสำคัญ 6 มัดที่ทำหน้าที่ที่ข้อมือ คือ
1. Flexor carpi radialis ทำหน้าที่งอข้อมือ (flexion) และกางข้อมือ (abduction) หรือ radial flexion
2. Palamaris longus ทำหน้าที่งอข้อมือ (flexion)
3. Flexor carpi ulnalis ทำหน้าที่งอข้อมือ (flexion) และหุบข้อมือ (adduction) หรือ ulnar flexion
4. Extensor carpi radialis longus ทำหน้าที่เหยียดข้อมือ (extension) และกางข้อมือ (abduction) หรือ radial flexion
5. Extensor carpi radialis brevis ทำหน้าที่เหยียดข้อมือ (extension) และกางข้อมือ (abduction) หรือ radial flexion
6. Extensor carpi ulnaris ทำหน้าที่เหยียดข้อมือ (extension)และหุบข้อมือ (adduction) หรือ ulnar flexion
กล้ามเนื้อ flexor carpi radialis และ flexor carpi ulnaris เป็นกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ทางด้านใน ของปลายแขน ด้านหน้า โดยกล้ามเนื้อทั้ง 2 มัด มีจุดเกาะต้นตำแหน่งเดียวกันคือรวมกันเป็นเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) ไปเกาะที่ปุ่มด้านในของกระดูกต้นแขนส่วนปลาย (medial epicondyle of humerus) แต่มีจุดเกาะปลายแยกกันคือ กล้ามเนื้อ radialis มีจุดเกาะ ปลายที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ 3 (second and third metacarpal) และกล้ามเนื้อ ulnaris ไปเกาะกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 (fifth metacarpal) (รูป 3) กล้ามเนื้อทั้งสองมัดเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หลักในการงอข้อมือ และเป็นกล้ามเนื้อยืด (stabilizers) ข้อศอกให้มั่นคง และกล้ามเนื้อ flexor carpi radialis จะทำหน้าที่ช่วยคว่ำฝ่ามือด้วย
ตัวอย่างกล้ามเนื้อกลุ่มงอข้อมือ
จาก https://www.howtorelief.com/pronator-teres-origin-insertion-nerve-supply-action/
กล้ามเนื้อ palams longus เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กยาวเรียวที่วางอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อ flexor carpi radialis และ flexor carpi ulnaris มีจุดเกาะต้นอยู่ที่ปุ่มด้านใน (medial epicondyle) ของกระดูกต้นแขนส่วนปลาย และมีจุดเกาะปลายอยู่ในฝ่ามือ ทำหน้าที่งอข้อมือ และงอข้อศอกได้เล็กน้อย และช่วยในการคว่ำฝ่ามือ
กลุ่มกล้ามเนื้อ extensor จะมีตำแหน่งอยู่ทางด้านหลังและขอบด้านข้างของปลายแขน กล้ามเนื้อ extensor carpi radialis longus เกาะอยู่ที่ปุ่มด้านนอก (lateral condyle) ของกระดูกต้นแขนส่วนปลาย กล้ามเนื้อ extensor carpi radialis brevis เกาะอยู่ที่ด้านข้าง (lateral supracondyle ridge) ของกระดูกต้นแขนส่วนปลาย โดยกล้ามเนื้อ longus มีจุดเกาะปลาย ที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และกล้ามเนื้อ brevis มีจุดเกาะปลายอยู่ที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 (รูป 4) กล้ามเนื้อทั้ง 2 มัดทำหน้าที่เหยียดข้อมือและปลายแขน
ตัวอย่างกล้ามเนื้อกลุ่มเหยียดข้อมือ
จาก https://www.getbodysmart.com/arm-muscles/extensor-carpi-ulnaris-muscle
กล้ามเนื้อ extensor carpi ulnaris มีจุดเกาะต้นอยู่ที่ปุ่มด้านนอกของกระดูกต้นแขนส่วนปลาย และมีจุดเกาะปลายอยู่ที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 ทำหน้าที่ในการเหยียดข้อมือ ยึดข้อมือให้มั่นคงและอาจช่วยเหยียดข้อศอกได้เล็กน้อย
กลไกและสาเหตุการเกิดโรค
ข้อมือ มีโครงสร้างที่ซับซ้อน มีเนื้อเยื่อต่างๆ จำนวนมาก และถูกใช้งานบ่อย จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้นได้ง่าย การบาดเจ็บข้อมือที่พบมาก ได้แก่
1) การบาดเจ็บจากการล้าของข้อมือ มักพบในคนที่ใช้งานข้อมือบ่อย หรือ ใช้งานบริเวณมือในการทำท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ซึ่งทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเกิดการตึงเครียดเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการบาดเจ็บ
2) การบาดเจ็บอย่างฉับพลันมักเกิดจากการใช้งานหนักๆ การออกกำลังกายผิดท่าทาง เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุหรือการต่อสู้
การใช้มือช่วยจับระหว่างหกล้มเป็นสาเหตุการบาดเจ็บของข้อมือที่พบได้บ่อยเป็นปฏิกริยาตอบสนองของร่างกายอย่างรวดเร็วในการพยายามพนยุงตัวไม่ให้ล้มทำให้ข้อมือได้รับแรงกระแทกฉับพลัน ซึ่งข้อมือจะอยู่ในท่างอขึ้น งอข้อมือ หรือบิดข้อมือ ทำให้บริเวณข้อมือได้รับแรงที่มากกว่าการเคลื่อนไหวปกติ หรือเมื่อจับของและมีการบิดหรืองอข้อมือฉับพลัน หรือถูกแรงกระแทกเข้าโดยตรง จนทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ ปลอกหุ้มข้อได้รับบาดเจ็บ
ในกรณีที่อาการบาดเจ็บไม่รุนแรง จะทำให้เกิดเลือดออก บริเวณข้อมือมีการฉีกของเส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้อบางส่วนฉีกขาด กรณีที่อาการบาดเจ็บรุนแรง กล้ามเนื้อเส้นเอ็นจะอยู่ผิดตำแหน่ง หรือมีการฉีกขาดโดยสมบูรณ์ของเส้นเอ็น รวมถึงหากได้รับแรงกระแทกมากๆอาจทำให้เกิดการร้าว หัก ของกระดูก รวมถึงการกระดูกเคลื่นอผิดตำแหน่งได้
อาการข้อมือแพลง โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น
1.การบาดเจ็บเฉียบพลัน จากการใช้งานจากการเล่นกีฬา การใช้ชีวิตประจำวัน อุบัติเหตุหกล้ม บิด ยืด หรืองอข้อมืออย่างกระทันหัน จนทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อมือ อักเสบหรือฉีดขาด ข้อต่อกระดูกหัก หรือข้อกระดูกเลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม
2.การบาดเจ็บเรื้อรัง จากการใช้งานบริเวณข้อมือมากเกินไป การออกแรงในท่าหรือตำแหน่งเดิมซ้ำๆ จนทำให้เกิดการตึงเครียด หดเกร็งเกิดขึ้นเป็นเวลา เมื่อได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเส้นเอ็นฉีกขาด เกิดเลือดออกภายในหรือมีการติดขัดของเลือดภายใน ในระยะยาวจะทำให้เส้นเอ็นกล้ามเนื้อผิดตำแหน่ง
ระดับความรุนแรงของโรคข้อมือแพลง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ
ระดับความรุนแรงของโรคข้อมือแพลง
Credit: https://www.drugs.com/health-guide/wrist-sprain.html
อาการของโรคข้อมือแพลง
- ข้อมือมีประวัติการได้รับการทบกระเทือน ทั้งกรณีฉับพลันหรือเป็นเวลานาน
- ข้อมืออักเสบฉับพลัน จะมีอาการ คือ ปวดชัดเจน การเคลื่อนไหวปกติ แต่เมื่อเคลื่อนไหวบางท่าทำให้อาการเจ็บมากขึ้น
- ข้อมืออักเสบเรื้อรัง จะมีอาการ คือ อาการเจ็บปวดไม่ชัดเจน หรือมีการเจ็บเล็กน้อยเมื่อขยับ ข้อมืออ่อนแรง องศาการขยับลดลง
- การบวมของข้อมือ ในกรณีข้อมืออักเสบฉับพลันอาการบวมจะชัดเจน และมีรอยฟกช้ำบริเวณข้อมือ ขนาดของการบวมอักเสบสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ ในระยะแรกหลังได้รับบาดเจ็บสีการฟกช้ำจะเป็นสีเขียวม่วง ระยะหลังจะออกเป็นสีม่วงเหลือง ในกรณีข้อมืออักเสบเรื้อรัง การบวมหรือฟกช้ำจะไม่ชัดเจน
การตรวจร่างกาย
1.ตำแหน่งกดเจ็บ ตำแหน่งบริเวณที่บาดเจ็บเมื่อกดเส้นเอ็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจะรู้สึกเจ็บชัดเจน ซึ่งตำแหน่งการกดเจ็บต่างกันแสดงถึงการบาดเจ็บของเส้นเอ็นที่ต่างกัน
ตำแหน่งต่างๆของเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ
Credit : https://clinicalgate.com/wrist-and-hand-3/
1.1 การบาดเจ็บบริเวณ Dorsal Carpometacapal ligament ตำแหน่งกดเจ็บอยู่บริเวณ桡背侧韧带หลังมือข้อมือฝั่งนิ้วโป้งเมื่อชูนิ้วโป้งตำแหน่งนี้จะอยู่บริเวณรอยับข้อมือด้าน radialบริเวณรอบบุ๋มระหว่างเอ็นของกล้ามเนื้อ extensor pollicis longus กับ Extensor pollicis brevis (บริเวณ 阳溪)
1.2 การบาดเจ็บบริเวณPalmar Carpometocarpal ligament ตำแหน่งกดเจ็บอยู่บริเวณ 桡掌侧韧带 ฝ่ามือด้านนอกของรอยข้อพับข้อมือ บริเวณด้าน radial ของเส้นเลือดแดง radial (บริเวณ太渊)
1.3 การบาดเจ็บบริเวณ Radial Carpal Collateral Ligament ตำแหน่งกดเจ็บมักอยุ่บริเวณ桡骨茎突ด้านข้างข้อมือฝั่งนิ้วโป้งบริเวณปุ่มมกระดูกนูนของกระดูกradius (บริเวณ列缺)
1.4 การบาดเจ็บบริเวณ Ulnar Carpal Collateral Ligament ตำแหน่งกดเจ็บมักอยู่บริเวณ 尺骨小头คว่ำฝ่ามือลง เอานิ้วมืออีกข้างคลำ Styloid Process พลิกฝ่ามือเข้าหาตัวจะคลำได้รอยบุ๋ม (บริเวณ 养老)
2.การเคลื่อนไหว โดยปกติหลังจากได้รับบาดเจ็บการเคลื่อนไหวข้อมือจะติดขัดอย่างชัดเจน ตามตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ
2.1 Dorsal Radiocarpal Ligament และ Extensor tendon มีการบาดเจ็บ เมื่อขยับข้อมืองอฝ่ามือเข้าหาแขน รู้สึกเจ็บ และองศาการงอลดลง
2.2 Palmar Carpometocarpal ligament และ เมื่อขยับข้อมือกระดกข้อมือ จะรู้สึกเจ็บ และองศาการงอลดลง
2.3 Radial Carpal Collateral Ligament เมื่อขยับข้อมือเฉียงไปทางนิ้วก้อย จะรู้สึกเจ็บ ละองศาการขยับลดลง
2.4 Ulnar Carpal Collateral Ligament เมื่อขยับข้อมือเฉียงไปทางนิ้วโป้ง จะรู้สึกเจ็บ ละองศาการขยับลดลง
2.5 มีการบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นอื่นๆร่วมด้วย การขยับข้อมือไปทิศทางนั้นจะมีอาการเจ็บ และองศาการเคลื่อนไหวลดลง
ตำแหน่งการเคลื่อนไหวมือ
Credit: https://fx-education.com/baseball/not-lose-impact
3. ตรวจโดยรังสีวิทยาการตรวจ X-Ray จะไม่พบความผิดปกติ เว้นแต่กรณีที่มีกระดูกหักหรือผิดตำแหน่งร่วมด้วย
กลไกของการเกิดโรคข้อมือแพลงตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
แพทย์แผนจีนได้อธิบายโรคข้อมือแพลง ว่าเป็น “การได้รับการบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็น ทำให้เลือดและพลังลมปราณติดขัด” (筋脉受损,气血凝滞) ในทางแพทย์จีน 骨错缝 筋出槽 . บริเวณข้อมือมีพลังลมปราณมาก เลือดน้อย มีเส้นอินที่มือ 3 เส้น เส้นหยางที่มือ3เส้นจิงจิน经筋ไหลผ่าน เมื่อบาดเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรัง กระทบเส้นเอ็น กระทบข้อต่อ เส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บ พลังลมปราณและเลือดติดขัด ทำให้เกิดอาการบวมและเจ็บ แบ่งเป็นบาดเจ็บเส้นเอ็น บาดเจ็บข้อต่อ และบาดเจ็บ窍 เป็น 3 ส่วน/《诸病源候论》 เขียนไว้ว่า ทุกๆการบาดเจ็บเฉียบพลัน ทำให้พลังลมปราณและเลือดไม่เชื่อมต่อกัน ไม่สามารถบำรุงได้ทั่ว การนวดทำให้เลือดและพลังลมปราณกลับมารวมกันได้
การรักษาโรคข้อมือแพลงตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
หลักการรักษา : กระตุ้นการไหลเวียนเลือดระงับปวด คลายเส้นเอ็นทะลวงเส้นลั่ว (活血止痛,舒筋通络)
การทุยหนา : ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อได้มากขึ้น คลายความอ่อนล้า คลายความหนาแน่นของพังผืด ช่วยให้ข้อต่อยืดหยุ่น ลดโอกาสเสี่ยงของอาการปวดเกร็งหรือเป็นตะคริว
หัตถการที่ใช้ : 一指禅推法, 按法,揉法,拿法,弹拨法,摇法,拔伸法,擦法
จุดฝังเข็มที่ใช้ :เน่ยกวน内关,ไว่กวน外关,เสินเหมิน神门,หยางกู่阳谷,หยางซี阳溪,หยางชื่อ阳池,ต้าหลิง大陵,ไทเยวียน太渊,ว่านกู่腕骨โดยเป็นจุดรอบๆข้อมือ
วิธีการนวด : ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง ในการรักษา ระยะเวลาในการป่วยแตกต่างกัน ตำแหน่งการบาดเจ็บแตกต่างกัน หัตถการที่ใช้ในการรักษาก็จะแตกต่างกัน
1. ตำแหน่งที่บาดเจ็บอยู่บริเวณใดก็จะเลือกใช้เส้นลมปราณและตำแหน่งจุดฝังเข็มบริเวณนั้น เช่น บริเวณข้อมือฝ่ามือ ฝั่งulnar จะเลือกใช้เส้นลมปราณมือซ่าวหยินหัวและจุด เซินเหมิน (神门) บริเวณข้อมือหลังมือฝั่งRadial จะเลือกใช้เส้นลมปราณมือหยางหมิงลำไส้ใหญ่และจุด เหอกู่ (合谷) หยางซี (阳溪) บริเวณข้อมือฝ่ามือ ฝั่งRadial จะเลือกใช้เส้นลมปราณมืไท่หยินปอด จุดฝังเข็มเลี่ยเชีย (列缺) ละจุดไท่เยวียน (太渊) บริเวณอื่นๆใช้หลักการเดียวกันกับข้างต้นในการเลือกเส้นลมปราณละจุดฝังเข็ม โดยจะใช้ท่า กด บริเวณจุดฝังเข็มดังกล่าวให้ เต๋อชี่ โดยกดจุดละ 1 นาที
2.บริเวณรอบๆตำแหน่งที่บาดเจ็บ ใช้การ กด คลึง หรือ จื่อฉานทุย ละใช้ร่วมกับหัตถการ ยก และคลึงตามลายกล้ามเนื้อ ใช้เวลาประมาณ 3 – 5 นาที
3.ใช้มือหนึ่งจับแขน อีกมือหนึ่งจับบริเวณกระดูกข้อมือ ทำการหมุนขยับข้อมือ และงอข้อมือไปทิศทางต่างๆ เพื่อให้ข้อมือสามารถขยับหมุนได้องศาตามปกติ
4.บริเวณด้านข้างของข้อมือที่บาดเจ็บใช้หัตถการ คลึง 揉จนเกิดความร้อน หรืออาจะใช้ยาหม่องช่วยทาบริเวณข้อมือที่บาดเจ็บก่อนทำการ คลึง
ข้อควรระวังในการทำหัตถการ
1. ไม่ทำการทุยหาหากมีการกระดูกหัก เคลื่อนผิดตำแหน่ง กล้ามเนื้อเส้นเอ็นฉีกขาดโดยสมบูรณทำให้การขยับมีปัญหา
2. ได้การบาดเจ็บเฉียบพลัน มีอาการบวมตึง ใต้ผิวหนังมีเลือดคั่งอยู่มาก จะต้องใช้ประคบเย็นและออกแรงกด ห้ามเลือดไม่ให้ไหลออกมามาก การนวดทุยหนาจะทำได้หลังจากการบาดเจ็บไปแล้ว 24 – 48ชั่วโมง
3. ในการรักษาการบาดเจ็บเฉียบพลัน จะต้องใช้แรงในการทำหัตถการต่างๆไม่มาก เลี่ยงการกดที่แรงเกินไป ในการรักษาการบาดเจ็บที่เรื้อรัง จำเป็นต้องใช้การกดที่ลึก
4. ช่วงการรักษาจำเป็นจะต้องรักษาความอบอุ่น เลี่ยงความเย็น และใช้สายรัดข้อมือช่วยพยุง
5. ในกรณีที่มีการกระดูกเคลื่อนผิดตำแหน่ง กระดูกหักเลื่อนผิดตำแหน่ง ควรจัดกระดูกให้กลับสู่ตำแหน่งปกติ และดามหรือเข้าเฝือกไว้ 6-8สัปดาห์ หลังจากที่กระดูกไม่หลุดจากตำแหน่งเดิมแล้วจึงทำการนวดทุยหนารักษาได้
การฝังเข็ม : จุดฝังเข็มที่เลือกใช้
ยาจีน
ยาพอกที่ใช้ในการรักษา
การออกกายบริหาร
หลังจากที่อาการเจ็บปวดลดลงแล้วควรจะทำกายบริหารเพิ่มเติม สามารถใช้วิธีบริหารต่อไปนี้ได้
1.จัวคงเจิงลี่ชื่อ 抓空增力势
วิธีทำ เคลื่อนไหวนิ้วมือ ให้แบมือเหยี่ยดปลายนิ้วให้กางสุดและใช้แรงค่อยๆกำมือ ทำ 12 – 36 ครั้ง
สรรพคุณ ช่วยในการฟื้นฟูการขยับนิ้วกำแบมือ
2.หนิงฉวนฟ่านจ่าง 拧拳反掌
วิธีทำ แขนสองข้างอยู่ข้างหน้าแบบมือหงายฝ่ามือขึ้น ค่อยๆหมุนข้อมือเข้าข้างใน พร้อมกับกำมือจนคว่ำมือลงจะกำมือพอดี และบิดข้อมือหงายขึ้นพร้อมกับแบมือ กลับมาอยู่ตำแหน่งเริ่ม เป็น 1 ครั้งทำ 12 -36 ครั้ง
สรรพคุณ ช่วยออกกำลัง การบิดของแขนสองข้าง
เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีปัญหาในการบิดข้อมือ
3.ช่างเฉี่ยวเซี่ยโกว 上翘下钩
วิธีทำ ตั้งแขนตรงไปข้างหน้ากระดกข้อมือขึ้น นิ้วมือชี้ขึ้นด้านบน มือเหยียดกางออก และกระดกข้อมือลง นิ้วมือชี้ลงพื้นและงุ้มนิ้วมือเข้าหาตัวเหมือนตะขอ ทำซ้ำโดยจะต้องเคลื่อนไหวข้อมือช้าๆ ทำ 12-36 ครั้ง
สรรพคุณ ช่วยบริหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบบริเวณข้อมือ และให้สามารถขยับข้อมือขึ้นลงตามปกติ
เหมาะสำหรับ กลุ่มที่มีปัญหาข้อมือ โดยเฉพาะการกระดกข้อมือขึ้นลง
4.คลึงลูกวอลนัท เป็นการละเล่นหนึ่งของคนจีนที่นิยมกันแพร่หลาย
วิธีบริหาร นำลูกวอลนัทหรือลูกเหล็ก 2-3 ลูกมากลิ้งและคลึงบนฝ่ามือ ประมาณ 5-15นาที
สรรพคุณ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือดบนมือ เสริมสร้างกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง เพิ่มแรงบีบมือและนิ้ว เพิ่มพิกัดการเคลื่อนไหวของข้อมือ และความสามารถในการหยิบจับ
เหมาะสำหรับ การบริหารข้อมือหลังจากที่หายจากอาการบาดเจ็บแล้ว กลุ่มที่มีปัญหาข้อมือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง เป็นต้น
บทความโดย
แพทย์จีน ธิติ นิลรุ่งรัตนา
เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ พจ.1355
คลินิกทุยหนาและกระดูก
-----------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
1. ลือชา วนรัตน์,ทัศนีย์ ฮาซาไนน์, เย็นจิตร เตชะดำรงสิน (บรรณาธิการ) การฝังเข็ม - รมยา เล่ม 1 ,กรุงเทพมหานคร, สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ 2551,300หน้า, ISBN 978-974-16-0789-1
2. สนธยา สีละมาด, การฝึกด้วยน้ำหนัก การประยุกต์กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาสู่เทคนิคการปฏิบัติ, กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์บริษัท วี พริ้นท์ 1991จำกัด, 2551 ,460หน้า, ISBN 978-974-03-2256-6
3. xujun. tuinagongfaxue. shanghai : shanghai Science&Technology Publishing House, 2011. https://www.siamsporttalk.com/th/entertainment/sport/81-thai-boxing/rules-sports-thaiboxing/682-scoring-boxing-boxer-rules.html
4. https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=35&chap=3&page=t35-3-infodetail01.html
5. https://www.siamsporttalk.com/th/entertainment/sport/81-thai-boxing/rules-sports-thaiboxing/682-scoring-boxing-boxer-rules.html
6. http://www.zysj.com.cn/lilunshuji/zhongyishangkeanmoxue/1035-17-2.html
7. http://www.twsdna.com/9n9/34534.html
8. https://baike.so.com/doc/5343811-5579254.html
9. https://patentimages.storage.googleapis.com/53/89/41/e370afe7d15924/CN107308411A.pdf
10. https://clinicalgate.com/wrist-and-hand-3/
11. https://www.drugs.com/health-guide/wrist-sprain.html
12. https://www.getbodysmart.com/arm-muscles/extensor-carpi-ulnaris-muscle
13. https://www.howtorelief.com/pronator-teres-origin-insertion-nerve-supply-action/
14. https://www.experttabletennis.com/improve-forehand-loop-wrist/
15. https://www.drugs.com/health-guide/wrist-sprain.html
16. https://fx-education.com/baseball/not-lose-impact
--------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลการดูแลรักษาสุขภาพ
โดยหลักการและวิธีทางตามธรรมชาติ ใช้อินเพื่อเสริมหยาง ใช้หยางเพื่อเสริมอิน ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนแบบผสมผสาน
LINE OA : @HuachiewTCM
คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน สังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
สถานพยาบาลการแพทย์แผนจีนต้นแบบ และเป็นศูนย์กลางการแพทย์แผนจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในประเทศไทย
11 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
11 พ.ย. 2567