"ลิ้น" ดัชนีชี้วัดสุขภาพและแนวทางการบำรุงด้วยวิธีหย่างเซิง

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  31821 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"ลิ้น" ดัชนีชี้วัดสุขภาพและแนวทางการบำรุงด้วยวิธีหย่างเซิง

การดูลิ้นนั้นถือเป็นการวินิจฉัยที่สำคัญของศาสตร์การแพทย์แผนจีน  เพื่อบอกถึงพยาธิสภาพในร่างกาย  การวินิจฉัยจากลิ้น ทางแพทย์จีนจะดูหลักๆได้แก่  สีของตัวลิ้น เช่น สีซีด สีชมพู สีแดงหรือสีอมม่วง,ลักษณะของลิ้น เช่น ลิ้นเล็ก ลิ้นบวมโต ผิวลิ้นหยาบหรืออ่อนนุ่ม ,ลักษณะการเคลื่อนไหว เช่น ลิ้นแข็งทื่อ ลิ้นอ่อนแรง ลิ้นสั่น, ความมีชีวิตชีวา เช่น ลิ้นมีประกาย หรือลิ้นเหี่ยวแห้ง  นอกจากนั้นยังต้องดูฝ้าที่เคลือบบนลิ้น เพื่อดูทั้งตำแหน่งของฝ้า , สีของฝ้า เช่น สีขาว สีเหลือง สีเทาดำ  และดูลักษณะฝ้า เช่น ฝ้าหนาบาง ฝ้าชุ่มชื้น-แห้ง ฝ้าเหนียว เป็นต้น

โดยวันนี้เราจะมาจำแนกวิธีการดูลิ้นที่คนทั่วไปสามารถดูได้ด้วยตนเอง รวมถึงการนวดกดจุดและโภชนบำบัดตามสีของลิ้นและฝ้า เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพ

สีของตัวลิ้น 
แบ่งเป็น 5 สี ได้แก่ สีแดงอมชมพู สีขาวซีด สีแดง สีแดงเข้ม และสีคล้ำอมม่วง


ตัวลิ้นสีแดงอมชมพู





ตัวลิ้นสีขาวซีด

การกดจุดบำรุงชี่และเลือด 
เหมาะสำหรับผู้ที่มีลิ้นสีขาวซีดและผู้ที่มีสีลิ้นปกติ เพื่อเป็นการบำรุงร่างกาย



จุดชี่ไห่  (气海 Qi Hai)         
气  ชี่ แปลว่า "พลังลมปราณในร่างกาย"
ไห่  แปลว่า "ทะเล" จุดนี้ถือเป็นทะเลแห่งชี่
(เป็นจุดบำรุงชี่ภายในร่างกาย ถือเป็นจุดสำคัญในการดูแลสุขภาพ)
ตำแหน่ง : อยู่บริเวณกึ่งกลางหน้าท้อง  ใต้สะดือลงมา 1.5 ชุ่น




จุดจู๋ซานหลี่ (足三里  Zu San Li)
足 แปลว่า "ขา"
三 แปลว่า "สาม"
里 แปลว่า "ใน" (แต่ในสมัยก่อน คำนี้เป็นหน่วยที่ใช้เรียกระยะทางสมัยโบราณ)

ตำแหน่ง : อยู่บริเวณหน้าแข้งด้านนอก  ใต้ใต้เข่าลงมา 3 ชุ่




จุดซานอินเจียว (三阴交 San Yin Jiao)
三 แปลว่า "สาม"
阴 แปลว่า "เส้นลมปราณอิน"
交 แปลว่า "ตัดกัน" (เป็นจุดที่เส้นลมปราณอินทั้ง3เส้นมาตัดกัน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดี)

ตำแหน่ง : อยู่บริเวณขาด้านใน  เหนือยอดตาตุ่มด้านในขึ้นมา 3 ชุ่น

 ตัวลิ้นสีแดง


กดจุดระบายบำรุงอิน  เหมาะสำหรับคนที่มีลิ้นสีแดง ต้องการบำรุงอิน

จุดเสิ่นซู (肾俞 Shen Shu)
肾 แปลว่า "ไต"
俞 แปลว่า "จุด"
(เป็นจุดที่ชี่ของไตไหลเวียนมาที่หลัง,ถือเป็นจุดสะท้อนของอวัยวะไต)
ตำแหน่ง  อยู่บริเวณหลัง กึ่งกลางระดับกระดูกเอวที่ 2 ออกมา 1.5 ชุ่น



จุดไท่ซี (太溪 Tai Xi)
太 แปลว่า "ยิ่งใหญ่"
溪 แปลว่า "ลำธาร"
(เป็นจุดที่ให้ในการบำรุงอิน เพิ่มสารน้ำในร่างกาย)
ตำแหน่ง  อยู่ด้านในข้อเท้า รอยบุ๋มระหว่างของหลังของตาตุ่มในกับของหน้าเอ็นร้อยหวาย



จุดหย่งเฉวียน (涌泉 Yong Quan)
涌 แปลว่า "ไหลหรือพุ่ง"
泉 แปลว่า "น้ำพุ"
ตำแหน่ง รอยบุ๋มกลางฝ่าเท้า


ตัวลิ้นสีแดงเข้ม


กดจุดระบายความร้อน  เหมาะสำหรับผู้ที่มีลิ้นสีแดงเข้มและมีภาวะร้อนใน

จุดเน่ยกวน (内关 Nei Guan)
内 แปลว่า "ด้านใน" 
关 แปลว่า "ด่าน" (เป็นจุดหรือด่านที่สำคัญของแขนด้านใน)

ตำแหน่ง อยู่บริเวณแขนด้านใน  เหนือรอยเส้นข้อมือ 2 ชุ่น
(สามนิ้วทาบดังรูป) ระหว่างเส้นเอ็น



จุดชวีฉือ (曲池 Qu Chi)
曲 แปลว่า "โค้งงอ"
池 แปลว่า "บึง" (เป็นจุดระบายความร้อน)
ตำแหน่ง เมื่องอข้อศอก จุดนี้อยู่บริเวณรอยบุ๋มข้อศอกด้านนอก



จุดสิงเจียน (行间 Xing Jian)
行 แปลว่า "เดิน"
间 แปลว่า "ช่องตรงกลาง"
ตำแหน่ง อยู่หลังเท้า ระหว่างง่ามนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ห่างจากขอบง่ามเท้า 0.5 ชุ่น




ตัวลิ้นสีอมม่วง


กดจุดกระตุ้นการไหลเวียนเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่มีลิ้นสีเข้มอมม่วง หรือมีจุดคล้ำที่ลิ้น

จุดเชวี่ยไห่ (血海 Xue Hai)
血 แปลว่า "เลือด"
海 แปลว่า "ทะเล"
(จุดนี้รักษาความผิดปกติของเลือด ให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น)
ตำแหน่ง เหนือมุมกระดูกสะบ้าเข่าด้านในเฉียง 45 องศา 2 ชุ่น


จุดเหอกู่ (合谷 He Gu)
合 แปลว่า "บรรจบ ,  รวม"
谷 แปลว่า "หุบเขา"
ตำแหน่ง อยู่หลังมือ ร่องตรงกลางระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้




จุดไท่ชง (太冲 Tai Chong)
太 แปลว่า "ยิ่งใหญ่"
冲 แปลว่า "ด่านสำคัญ" (อยู่ตรงตำแหน่งที่มีชี่ไหลเวียนมาก)
ตำแหน่ง  อยู่หลังเท้า ร่องตรงกลางระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้



สีของฝ้าลิ้น หลักๆแบ่งเป็น 3 สี  ได้แก่ สีขาว สีเหลือง สีเทาดำ ในทางคลินิกนั้นสามารถพบสีของฝ้าลิ้นแบบเดียวหรือการเปลี่ยนแปลงสีของฝ้าลิ้นและลักษณะฝ้าลิ้นร่วมกันได้โดยขึ้นของสภาพโรคและร่างกาย

ฝ้าลิ้นสีขาว



การกดจุดขับความชื้น  เหมาะสำหรับผู้ที่มีฝ้าลิ้นสีขาวหนาเหนียว
จุดเฟิงหลง (丰隆 Feng Long)
丰 แปลว่า "มากมาย อุดมสมบูรณ์"
隆 แปลว่า "เจริญ ยิ่งใหญ่"

ตำแหน่ง  อยู่หน้าแข้ง เหนือตาตุ่มด้านนอก 8 ชุ่น ห่างจากขอบกระดูกหน้าแข้ง 2 ชุ่น



จุดอินหลิงเฉวียน (阴陵泉 Yin Ling Quan)
 阴 แปลว่า "อิน ของอิน-หยาง"
陵 แปลว่า "เนินเขา"
泉 แปลว่า "น้ำพุ"
(อินในที่นี้หมายถึง ด้านใน เปรียบเสมือนน้ำพุที่อยู่ด้านในใต้เนินเขา)
ตำแหน่ง ใต้ปุ่มกระดูกของกระดูกหน้าแข้ง  แนวโค้งชิดขอบหลังกระดูกหน้าแข้งด้านใน  



จุดจงหว่าน (中脘 Zhong Wan)
中 แปลว่า "กลาง"
脘 แปลว่า "กระเพาะอาหาร" (อยู่ตรงกลางของกระเพาะอาหาร)
ตำแหน่ง อยู่กึ่งกลางหน้าท้อง เหนือสะดือ 4 ชุ่น



ฝ้าลิ้นสีเหลือง




วิธีกดจุดขับร้อนชื้น  เหมาะสำหรับผู้ที่มีฝ้าสีเหลืองหนาเหนียว

จุดชวีเจ๋อ (曲泽 Qu Ze)
曲 แปลว่า "โค้ง"
泽 แปลว่า "บึง"
ตำแหน่ง อยู่บริเวณข้อศอกด้านใน


จุดเฟิงหลง (丰隆 Feng Long)
丰 แปลว่า "มากมาย อุดมสมบูรณ์"  
隆 แปลว่า "เจริญ ยิ่งใหญ่"
ตำแหน่ง อยู่หน้าแข้ง เหนือตาตุ่มด้านนอก 8 ชุ่น ห่างจากขอบกระดูกหน้าแข้ง 2 ชุ่น



จุดไว่กวน (外关 Wai Guan)
外 แปลว่า "ด้านนอก"
关 แปลว่า "ด่าน" (เป็นจุดหรือด่านสำคัญของแขนด้านนอก)
ตำแหน่ง อยู่บริเวณตรงกลางแขนด้านนอก  เหนือรอยข้อมือ 2 ชุ่นระหว่างกระดูก



ฝ้าลิ้นสีเทาดำ


คำแนะนำ
- การดูลิ้นนั้น ควรดูหลังจากเพิ่งตื่นนอน ยังไม่ทานน้ำหรืออาหาร
- ขณะดูลิ้นควรอยู่บริเวณที่เป็นแสงจากธรรมชาติ และสว่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการดูสีที่คลาดเคลื่อน
- เนื้อหาที่นำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยในการดูลิ้นเพื่อประกอบการวินิจฉัยในรักษา

ภาพลิ้นจาก
Chromatic illustrated atlas of tongue diagnosis in Chinese Medicine

บทความโดย
แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์ (เวิน เจิน ฮุ่ย)
เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ พจ.460
คลินิกฝังเข็ม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้