Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 18510 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคกระดูกต้นคอเป็นกลุ่มอาการที่พบมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในโรคข้อกระดูกอักเสบ โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมสภาพ รวมถึงกระดูกต้นคอมีกระดูกงอกขึ้นมา แล้วไปกระตุ้นหรือกดทับบริเวณใกล้ไขสันหลัง (Spinal Cord) รากประสาท (Nerve root) หลอดเลือด (Blood vessel) รวมทั้งเส้นประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nerve) และยังส่งผลทำให้เกิดอาการที่บริเวณคอ ไหล่ แขน สามารถเรียกได้ว่าเป็น โรคข้อกระดูกต้นคออักเสบ (Cervical Spine Osteoarthritis) หรือเรียกสั้นๆว่า "โรคกระดูกต้นคอ"
อาการของโรคที่เกิดขึ้นบริเวณไขสันหลัง รากประสาทและระบบไหลเวียนเลือดที่ระดับคอ เนื่องจากการงอกของกระดูกคอ หมอนรองกระดูกกดทับ หรือการหนาตัวของแผ่นเส้นเอ็น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดบริเวณศีรษะ คอ หัวไหล่ แขน หรือหน้าอกได้ โดยโรคที่เกิดจากกระดูกคอ คือ บริเวณกระดูกคอ ข้อต่อหมอนรองกระดูก และบริเวณเนื้อเยื่อบาดเจ็บเสื่อมสภาพ
สาเหตุการเกิดโรค
เกิดจากการเสื่อมตัวไปตามอายุที่สูงขึ้นและการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันหรือ บาดเจ็บสะสมเรื้อรังจากการทำงาน แล้วค่อยๆ ทำให้ของเหลวในหมอนรองกระดูก (Nucleus pulposus) ไหลออกมาเสื่อมสภาพ พังผืดหุ้มหมอนรองกระดูก (Annulus fibrosus) ฉีกขาดปลิ้นออกมา ช่องว่างระหว่างกระดูกต้นคอแคบลง เอ็นที่ยึดกระดูกต้นคอเกิดความ เสียหาย หย่อนยาน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่มั่นคงของตัวกระดูกสันหลัง เมื่อเยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) ถูกดึงยืดออกและกดทับ ก็จะทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยในบริเวณนั้นแตกและมีเลือดออก ห้อเลือด และเกิดการสะสมตัวในบริเวณที่ห้อเลือด เกิดการสึกหรอ และมีหินปูนมาพอกตัวหนาขึ้น
จนในที่สุดก็กลายเป็น Osteophyte (ปุ่มกระดูกงอก หรือ กระดูกงอก) หมอนรองกระดูกที่ยื่นออกมาและกระดูกงอกจะไปกระตุ้นหรือไปกดทับ บริเวณรากประสาทไขสันหลัง (Nerve root) หลอดเลือดแดง (Vertebral artery) หรือไขสันหลัง (Spinal cord) ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ การอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เกิดปฏิกิริยาการซ่อมแซมตัวเอง เป็นต้น และเป็นผลทำให้เกิดอาการของโรคกระดูกต้นคอตามมาได้
นอกจากนี้แล้วการที่มีโพรงกระดูกต้นคอตีบแคบหรือมีรูปร่างผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด ในคนสูงอายุที่หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ มีการสึกหรอจากการทำงานหนัก หรือการได้รับอุบัติเหตุ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น
สรุปแบบย่อ ถึงสาเหตุการเกิดโรค
ข้อต่อกระดูกของกระดูกคอเคลื่อน
บริเวณหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
เส้นเอ็นมีหินปูนเกาะหรือกระดูกงอก
เนื้อเยื่อบริเวณข้างกระดูกบวมอักเสบ
กล้ามเนื้อเกร็งหรือเป็นพังผืด
ประเภทและอาการทางคลินิก
ในทางคลินิกแบ่งโรคกระดูกต้นคอ ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทปวดต้นคอ ( 颈 型 - Cervical Type)
ประเภทนี้พบได้บ่อยที่สุดในทางคลินิก มีสาเหตุเนื่องจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูก เป็นผลให้มีอาการปวดที่กระดูกต้นคอบริเวณนั้น หรือมีการปวดร้าวไปที่บริเวณศีรษะ คอ และไหล่ได้
อาการ
พบได้มากในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาวทำงาน มีอาการปวดเมื่อย ตึงๆหนักๆรู้สึกไม่ค่อยสบายที่ บริเวณต้นคอ บางครั้งจะปวดร้าวไปถึงบริเวณท้ายทอยไหล่และหลัง การเคลื่อนไหวของคอติดขัดถ้าอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันนี้มักจะถูกเรียกว่า “อาการตกหมอน” สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดมักจะเกิดจากท่านอนหนุนหมอนที่ไม่เหมาะสม ได้รับความเย็น และมีอาการต้นคอเคล็ดเฉียบพลัน เป็นต้น
ลักษณะทางกายภาพ
กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอจะตึง แข็ง การเคลื่อนไหวติดขัดที่บริเวณข้างกระดูกต้นคอหรือกล้ามเนื้อข้างคอ (Sternocleidomastoid), กล้ามเนื้อสามเหลี่ยมหลังคอ (Trapezius) มีจุดกดเจ็บ ภาพถ่าย Plain Film X-Rays พบว่าแนวโค้งของกระดูกต้นคอเป็นแนวตรงโดยมีระดับการเสื่อมสภาพของกระดูกคอ อยู่ใน ระดับเบาและระดับกลาง
2. ประเภทรากประสาทถูกกดทับ (神经根型- Nerve Root Type)
ประเภทนี้พบได้ค่อนข้างบ่อยในทางคลินิก เนื่องจากของเหลวในหมอนรองกระดูก (Nucleus pulposus) ยื่นออกมาข้างนอกทางด้านหลัง หรือมีกระดูกงอกยื่นเข้าไปในโพรงกระดูก บริเวณข้อต่อ Uncovertebral Joint (Luschka’s joint) ทำให้ไปกระตุ้นหรือกดทับรากประสาท อาการเด่นทางคลินิกคือ มีอาการปวดตามรากประสาท และพลังหรือกำลังของกล้ามเนื้อ (Muscle power) ผิดปกติ เนื่องจากรากประสาทถูกกดทับ
อาการ
คอ ไหล่ แขนข้างหนึ่ง จะมีอาการปวด ชา เป็นๆหายๆบ่อยครั้ง อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อเงยหน้า หรือไอ มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือ การเคลื่อนไหวไม่คล่อ งการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine movement) ค่อนข้างลำบาก ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด มักเกิดจากการทำงานหนัก เหน็ดเหนื่อย ถูกอากาศหนาวเย็น การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือท่านอนไม่เหมาะสม
ลักษณะทางกายภาพ
กล้ามเนื้อคอตึง การเคลื่อนไหวติดขัด พบว่า Interspinous space และด้านข้างของกระดูกสันหลังถูกกดทับ จะมีอาการปวดร้าวไปที่แขน เมื่อทำการทดสอบด้วยวิธีการดึงรั้งแขนพร้อมกับผลักศีรษะออก (Distraction test) และทดสอบดวยการกดศีรษะ (Pressure head test) พบว่าใหผลตรวจเป็น positive คือจะมีอาการปวดหรือชาร่วมด้วย) ภาพถ่าย Plain Film X-Rays พบว่าแนวโค้งของกระดูก ต้นคอผิดไปจากปกติ โพรงกระดูกสันหลังแคบลง ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังแคบลง ตัวกระดูกสันหลังมีกระดูกงอก มักพบมากที่กระดูกต้นคอข้อที่ 5 ถึง 7
3 .ประเภทไขสันหลังถูกกดทับ (脊髓型 - Myeloid Type)
ประเภทนี้ในทาง แพทย์จีนจัดอยู่ในขอบเขตของ “กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง” ประเภทนี้ทางคลินิกค่อนข้างพบได้น้อย แต่อาการค่อนข้างหนัก พยาธิสภาพจะพบว่าหมอนรองกระดูกเคลื่อน ตัวออกมา หรือมีกระดูกงอกยื่นไปกดทับหรือไปกระตุ้นไขสันหลัง หรือหลอดเลือดที่ไป เลี้ยงบริเวณไขสันหลังนั้นถูกกดทับ ก็จะทำให้ไขสันหลังขาดเลือดไปเลี้ยง
สาเหตุ : โดยมากมักจะมีโพรงกระดูกต้นคอแคบที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital Stenosis of the Cervical Spinal Canal) เป็นพื้นฐาน หมอนรองกระดูกส่วนต้นคอยื่น ออกไปแนวกลางด้านหลัง หรือตัวกระดูกสันหลังส่วนคอด้านหลังมีปุ่มกระดูกงอกขึ้นมา ซึ่งจะส่งผลให้การรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวทำงานผิดปกติ
อาการ : จะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ชา โดยค่อยๆ เริ่มเป็นจากปลายมือปลายเท้าขึ้นมา ขาทั้งสองข้างจะรู้สึกตึง หนักๆ ท่าทางการเดินงุ่มง่ามผิดปกติ เดินขากะเผลก รู้สึกแน่นหน้าอก โดยปกติจะพบว่าจะเริ่มเป็นจากส่วนขาลามไปส่วนแขนสามารถแบ่งได้เป็น ชนิดกดทับแนวกลาง (Central type - ชนิดมีอาการเริ่มเป็นจากส่วนแขน), ชนิดกดทับโดยรอบ (Peripheral type - ชนิดมีอาการเริ่มเป็นจากส่วนขา) ชนิดกดทับเส้นเลือด
แนวกลาง (Central vessel type - ชนิดมีอาการทั้งส่วนแขนและขา)อาการในระยะทาย จะพบว่าจะมีความผิดปกติในการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ลักษณะทางกายภาพ : ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tension) เพิ่มมากขึ้น พบ Hyperreflexia ของรีเฟล็กซ์ของเอ็น หรือรีเฟล็กซ์เอ็นลึก (Deep tendon reflexes) รีเฟล็กซ์พยาธิสภาพ (Pathologic reflexes) ให้ผลเป็น positive การทดสอบ รีเฟล็กซ์ที่ข้อเท้าและสะบ้า (Patellar and Ankleclonus reflex) ให้ผลเป็น positive การทดสอบให้งอพับต้นคอ (Linder’s Sign) ให้ผลเป็น positiveภาพถ่าย Plain Film X-Rays พบว่ากระดูกสันหลังแนวด้านหน้าและหลังมีปุ่มกระดูกงอกขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ช่องว่างหมอนรองกระดูกแคบลง แนวโค้งของกระดูกสันหลังเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ภาพถ่าย CT หรือ MRI พบว่าโพรงกระดูกส่วนคอมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง, มักมีขนาด เล็กกว่า 14-12 มม.
4. ประเภทเสนเลือดแดงที่มาเลี้ยงไขสันหลังถูกกดทับ
(椎动脉型– Vertebral artery Type)
ประเภทนี้ในทางแพทย์จีนจัดอยู่ในขอบเขตของ “จ้งเฟิง” “อาการวิงเวียน ศีรษะ” “มีเสียงในหู” เป็นต้น บริเวณกระดูกข้อต่อ Uncovertebral Joint (Luschka’s joint) มีกระดูกงอก และการที่ตัวกระดูกต้นคอไม่มนคงส่งผลให้ข้อต่อกระดูกหลวม ทำให้ช่องของTransverse foramen มีการเคลื่อนตัวและไปกระตุ้นหรือกดทับถูกเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงไขสันหลัง บริเวณนั้น เป็นผลให้เกิดการบีบตัว ตีบแคบ หรือบิดเบี้ยวไป
อาการ : เมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะ ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณไขสันหลังไม่เพียงพอ ทำให้พบอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ มีเสียงในหู หูหนวก เป็นต้น อาการปวดศีรษะมักจะปวดตุ๊บๆหรือปวดแบบเข็มทิ่มเพียงข้างเดียว หรือเรียก อีกอย่างว่า อาการปวดศีรษะจากกระดูกต้นคอ (Cervicogenic headache) เมื่อมีการ เคลื่อนไหวศีรษะอย่างฉับพลัน อาจจะทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะหรือจะเป็นลมได้ และ เมื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบทอาการต่างๆข้างต้นก็จะสามารถหายได้เอง
ลักษณะทางกายภาพ : อาจจะมีจุดกดเจ็บบริเวณเส้นเลือดที่มาเลี้ยงไขสันหลัง ภาพถ่าย Plain Film X-Raysพบว่า ข้อต่อกระดูกส่วนคอ Luschka’s joint มีกระดูกงอก โพรงกระดูกต้นคอ Intervertebral foramen แคบลง (Oblique Film) ภาพถ่ายเส้นเลือด ที่ไปเลี้ยงไขสันหลัง (Spinal arteriography) พบว่า เส้นเลือดแคบลงและมีการบิดเบี้ยว ภาพ อัลตร้าซาวน์เส้นเลือดในสมอง (Transcranial Doppler Ultrasounds, TCD) พบว่า เส้นเลือดส่งเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่วนภาพถ่าย MRI สามารถพบตำแหน่งของเส้นเลือดที่มีพยาธิสภาพของโรคได้
5. ประเภทเส้นประสาทซิมพาเทติคถูกกดทับ ( 交 感 型 - Sympathetic Type)
เนื่องจากกระดูกต้นคอมีปุ่มกระดูกยื่นออกมากดทับหรือกระตุ้นเส้นประสาท Sympathetic ที่อยู่ด้านข้างกระดูกต้นคอ แล้วส่งผลให้เกิดอาการต่างๆเนื่องจากมีความผิดปกติของการ ทำงานของระบบประสาทAutonomic
อาการ : จะรู้สึกปวดตื้อๆบริเวณคอไหล่ระดับลึก ในขณะเดียวกันก็มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ แขนเย็น ผิวเขียวคล้ำ บวมน้ำ ผิวหนังบางลงการกระจายตัวของต่อมเหงื่อผิดปกติ อาการจะค่อยๆสะสมไปตามบริเวณศีรษะ คอ ไหล่ แขน หน้าอก หลัง (หรือบริเวณต่างๆที่มีเส้นประสาท Sympathetic กระจายอยู่) ในบางทีอาจจะมีอาการหัวใจเต้นไมเปนจังหวะ เจ็บหน้าอกบริเวณหัวใจรวมด้วย ถึงแม้จะกินนยากลุ่ม Nitroglycerin ก็ไม่สามารถช่วยให้ดีขึ้นได้ ผลการตรวจคลื่นหัวใจ EKG พบว่าไม่มีการขาดเลือด เรียกอีก อย่างหนึ่งว่า อาการเจ็บหน้าอกจากกระดูกต้นคอ (Cervical angina) อาจจะมีลักษณะ ทางกายภาพของโรคกระดูกต้นคอประเภทอื่นๆร่วมด้วย
ลักษณะทางกายภาพ : กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณคอและไหล่เมื่อกดลงไปจะปวดเป็นบริเวณกว้าง กล้ามเนื้อตึง บริเวณที่ปวดอาจจะเป็นบริเวณที่มี Peripheral nerve trunk วิ่งผ่าน ภาพถ่าย Plain Film X-Rays พบว่ากระดูกต้นคอ หรือบริเวณกระดูกสันหลัง ช่วงอกส่วนบนมีการเสื่อมสภาพ ผิวบริเวณที่มีอาการจะเย็นลงอย่างชัดเจน
หลักการวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยกลางคนขึ้นไป หรือกลุ่มคนที่ทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวผ่อนคลายส่วนคอและไหล่ จะมีอาการแสดงที่ค่อนข้างเด่นชัดคือ ปวด หรือ รู้สึกไม่ค่อยสบายบริเวณคอ ไหล่ แขน ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น ประกอบกับ ภาพถ่าย X-ray ที่มีลักษะเปลี่ยนแปลงไป ในผู้ป่วยโรคกระดูกต้นคอบางรายภาพถ่าย CT หรือ MRIจะสามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง
หลักการรักษา : อุ่นหยาง ทะลวงเส้นลมปราณ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ระงับปวด
วิธีการรักษาอื่นๆ
วิธีการครอบแก้ว ใช้วิธีส่านหั่ว (闪火) แล้วครอบแก้วค้างไว้ 5-10 นาที นอกจากนี้ใช้วิธีทุยก้วน(推罐) โดยครอบแก้วแล้วเคลื่อนไปตามแนวเส้นลมปราณตูม่าย เส้นลมปราณเท้าไท่หยางกระเพาะปัสสาวะ โดยเคลื่อนแก้วจากคอ ไปตามแนวหลังทงแนวที่ 1 กับ 2 ของเส้นลมปราณเท้าไท่หยางกระเพาะปัสสาวะ และเส้นลมปราณมือไท่หยาง ลำไส้เล็ก โดยเคลื่อนแก้วไปตามแนวไหล่ด้านหลัง
พยากรณ์โรค : ทำการรักษาวันละ 1 ครั้ง 10 ครั้ง เป็น 1 คอร์สการรักษา โรคกระดูกคอ
ประเภทปวดต้นคอ ใช้เวลาในการรักษา 1 คอร์ส สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ประเภทรากประสาทถูกกดทับ ในทางคลินิกพบว่าต้องใช้เวลาในการรักษา 2-3 คอร์ส สามารถรักษาให้หายได้ สำหรับโรคกระดูกต้นคอประเภทที่มีหลายอาการผสม (ตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป) ในทางคลินิกพบว่าต้องใช้เวลาในการรักษา 2-3 คอร์ส หรือนานกว่านั้นถึงจะสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้
อาการแสดงออกของโรคกระดูกคอเสื่อม
อาการที่แสดงออกของโรคกระดูกคอเสื่อมมักค่อนข้างจะซับซ้อน แต่อาการที่เห็นได้อย่างเด่นชัดที่สุด ก็คือ อาการปวดต้นคอ หลัง และแขนไม่มีแรง นิ้วมือชา ขาอ่อนแรง เดินลำบาก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แม้กระทั่งการมองเห็น จะเป็นภาพมัว ๆ หัวใจเต้นเร็วไปจนถึงกลืนอาหารลำบากเลยก็มี
โรคกระดูกคอเสื่อมชนิดกดทับรากประสาท
อาการที่รากประสาทจะแสดงออกค่อนข้างจะชัดเจน คือ มีอาการชาและปวด โดยขอบเขตและบริเวณของเส้นประสาทต้นคอที่แสดงอาการมักจะสอดคล้องกันอย่างเห็นได้ชัด Indenter test(+), Eaton test (+)
จากภาพประกอบบทความด้านบน ได้แสดงอาการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
จุดกดเจ็บไม่ชัดเจน ยกเว้น โรคที่นอกเหนือจากกระดูกต้นคอ เช่น กลุ่มอาการกดรัดหลอดเลือดและเส้นประสาทบริเวณทางออกที่ทรวงอก (TOS) กลุ่มของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (CTS) กลุ่มอาการปวดชาบริเวณข้อศอก นิ้วนาง นิ้วก้อย โรคไหล่ติด ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวที่แขน
โรคกระดูกคอเสื่อม ชนิดกดทับไขสันหลัง
อาการที่แสดงออกทางเส้นประสาทไขสันหลังต้นคอถูกทำลาย
เอกซเรย์พบตัวกระดูกต้นคอด้านหลังมีกระดูกงอก กระดูกต้นคอตีบ แคบ ซึ่งจากภาพประกอบบทความด้านบนนั้น จะพบว่ามีการกดทับที่ไขสันหลังด้วย
ยกเว้น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS เนื้องอกที่ไขสันหลัง ไขสันหลังบาดเจ็บ ปลายประสาทอักเสบ โรคกระดูกคอเสื่อม ชนิดกดทับหลอดเลือดแดง
หมดสติแบบฉับพลัน ร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะจากกระดูกต้นคอ
Revolve cervix test (+) เอกซเรย์พบปล้องกระดูกไม่มั่นคงหรือข้อต่อของกระดูก C2 มีกระดูกงอก มักพบอาการของโรคประสาทร่วมด้วย
ยกเว้น โรคตา โรคเวียนศีรษะจากหู ยกเว้นหลอดเลือดแดงส่วนที่ 1 (ส่วนของหลอดเลือดแดงก่อนที่จะเข้าใน transverse foramen ของ C6) และหลอดเลือดแดงส่วนที่ 3 (ส่วนของหลอดเลือดแดงที่ออกจากกระดูกต้นคอก่อนจะเข้าภายในศีรษะ) ได้รับแรงกดเป็นผลให้การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงไม่ดี ก่อนการผ่าตัด ต้องถ่ายภาพเพื่อดูหลอดเลือดในร่างกาย (DSA) โรคกระดูกคอเสื่อม ชนิดกดทับประสาทซิมพาเธติก
อาการที่แสดงออก ได้แก่ เวียนศีรษะ ตามัว มีเสียงในหู มือชา หัวใจเต้นเร็ว ปวดร้าวบริเวณหัวใจ ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นอาการเบื้องต้นของโรคกระดูกคอเสื่อม ชนิดกดทับประสาทซิมพาเธติก และผลเอกซเรย์ของกระดูกต้นคอไม่มั่นคงหรือเสื่อมสภาพ แต่ภาพถ่ายด้วยรังสีของหลอดเลือดแดงเป็นปกติ
โรคกระดูกคอเสื่อม ชนิดหลอดอาหารกดเบียด
ตัวกระดูกต้นคอด้านหน้ามีกระดูกที่มีลักษณะเหมือนปากของนก งอกออกมากดทับลอดอาหาร ทำให้กลืนอาหารลำบาก
โรคกระดูกคอเสื่อม ชนิดกล้ามเนื้อตึงตัว
โรคกระดูกคอเสื่อม ชนิดกล้ามเนื้อตึงตัว เรียกอีกอย่างว่า โรคกระดูกคอเสื่อม ชนิดเฉพาะที่ ซึ่งจะมีอาการปวดศีรษะ บ่า ไหล่ ต้นคอ แขน รวมไปถึงมีจุดกดเจ็บด้วย และผลเอกซเรย์ไม่พบกระดูกสันหลังตีบ แคบ แต่พบความโค้งทางสรีรวิทยาของกระดูกต้นคออาจเปลี่ยนไป และตัวกระดูกสันหลังไม่มั่นคงหรือเริ่มมีกระดูกงอก
อาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับคอ เอว และกระดูกสันหลัง
ปวดคอ ปวดหัวไหล่ ปวดข้อศอก ปวดข้อมือ ปวดแขน ปวดหัวเข่า ปวดเอว ปวดขาด้านนอก ปวดขาด้านหลัง (พักแล้วปวดมากขึ้น แต่หากเคลื่อนไหวแล้วอาการจะดีขึ้น คือ ปัญหาจากหมอนรองกระดูก พักแล้วอาการดีขึ้น แต่หากเคลื่อนไหวแล้วปวดมากขึ้น คือ ปัญหาจากโพรงกระดูกสันหลังตีบ) เวียนศีรษะ ปวดด้านหลังศีรษะ ความสามารถของการมองเห็นลดลง หรือเห็นเป็นภาพซ้อน ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ อัมพฤกษ์ใบหน้า ไมเกรน หูอื้อ แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ (เต้นเร็วหรือช้าเกินไป) การขับปัสสาวะผิดปกติ รู้สึกเหมือนมีเสมหะติดอยู่ที่บริเวณลำคอ ปวดฟัน ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) สะอึก ปวดเส้นประสาทไตรเจอมินัล (Trigeminal nerve) ปวดต้นแขน อัมพาตขา ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (เร็วหรือช้าเกินไป) ชาบริเวณต้นแขนด้านนอก (radial) ชาต้นแขนด้านใน (ulnar) ปวดต้นแขนด้านหลัง ปวดบริเวณกระดูกสะบัก
ปวดหน้าอกด้านซ้ายบน แน่นหน้าอก ปวดหน้าอก หอบ ไอ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ปวดต้นแขนด้านหลัง ปวดกระดูกสะบัก เจ็บหน้าอก ปวดเต้านม ปวดชายโครง ปวดนิ่วในถุงน้ำดี (Cholelithiasis) การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะผิดปกติ ความผิดปกติของสะโพก ปวดขาด้านใน ความยาวของขาไม่เท่ากัน เดินช้าปวกเปียก ปวดชาต้นขาด้านนอก ปวดต้นขาด้านหน้า ปวดท้องบริ เวณกระเพาะอาหาร ปวดแน่นท้องส่วนบน ปวดท้องประจำเดือน ท้องอืด ท้องผูก อุจจาระร่วง ปวดเอวเนื่องจากมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากอักเสบ อาการฝันเปียก เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกคอเสื่อม
1. หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเกิดภาวะเสื่อม
ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานนิวเคลียสพัลโพสุส (Nucleus pulposus) เกิดการเสื่อมสภาพ โดยปริมาณน้ำภายในจะค่อย ๆ ลดลง และเนื่องจากการสูญเสียน้ำ จึงทำให้ความยืดหยุ่นลดลง เกิดความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของการเกิดโรควงแหวนพังผืด (annulus fibrosus) เกิดการเสื่อมสภาพ และระดับความแข็งแรงของพังผืดลดลง
2. ได้รับบาดเจ็บ
การที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแต่สะสมเป็นระยะเวลานาน ก็ทำให้เกิดการเพิ่มระดับของอาการเสื่อมสภาพหนักมากขึ้น
3. ปัจจัยทางกายวิภาคของหมอนรองกระดูกที่ถือเป็นจุดอ่อน
หมอนรองกระดูกเข้าสู่ช่วงที่การไหลเวียนของเลือดค่อย ๆเสื่อมสภาพลง ความสามารถใน
การซ่อมแซมลดลง โดยในบางคนอาจก่อให้เกิดแรงกดทับที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันเกินกว่าที่หมอนรองกระดูกจะทนรับไหว จนเกิดเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้ความยืดหยุ่นของนิวเคลียสพัลโพสุสลดลง วงแหวนพังผืดไม่ค่อยแข็งแรง จึงเป็นสาเหตุทำให้นิวเคลียสพัลโพสุสไหลออกมาด้านนอก
4. ปัจจัยทางพันธุกรรม
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวกดทับเส้นประสาท มีรายงานว่ามีการเกิดมาจากโรคภายในทางพันธุกรรม
5. ความผิดปกติแต่กำเนิดของกระดูกสันหลังบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (lumbosacral)
ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar sacral) กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral vertebrae) กระดูกสันหลังครึ่งหนึ่งเกิดความผิดปกติ ข้อต่อขนาดเล็กเกิดความพิการและข้อต่อที่ยื่นออกมาเกิดความไม่สมดุล ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงกดทับของกระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งทำให้หมอนรองกระดูกที่อยู่ภายในเกิดแรงกดทับเพิ่มมากขึ้น ทาให้ง่ายต่อการเกิดการเสื่อมสภาพและการได้รับบาดเจ็บ
6. ปัจจัยเสี่ยง
บนพื้นฐานของการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง บางคนอาจจะมีปัจจัยมาจากการเกิดแรงกดทับที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้นิวเคลียสพัลโพสุสไหลออกมาด้านนอก ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อย คือ การเพิ่มขึ้นของความดันในช่องท้อง การเคลื่อนไหวเอวในท่าที่ไม่ถูกต้อง น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน การตั้งครรภ์ การได้รับความเย็นและความชื้น
สาเหตุและกลไกการเกิดโรคกระดูกคออเสื่อม
วิเคราะห์ตามแนวทางการแพทย์แผนจีน
เกิดจากการแทรกซึมของลม ความเย็น และความชื้น จึงทำให้เกิดอาการอุดตันในเส้นจิงลั่ว ทั้งชี่และเลือด หรือเกิดจากความเสื่อมของตับและไต รวมกับการขาดชี่และเลือดจากอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้เส้นเอ็นขาดสารอาหารหรือเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและเส้นเลือด
การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการโรค
1. การกระทบจากลม และความเย็นจากภายนอก
ทำให้เกิดอาการข้อฝืด หรือปวดของคอ ไหล่ หรือแขน โดยแขนและมืออาจรู้สึกเย็น ชา หรือหนัก โดยเฉพาะเมื่ออาการเย็น หรือลมพัด จะทำให้อาการปวดรุนแรงยิ่งขึ้น
ลิ้น พบบางและขาว
ชีพจร ลอยและตึง (Fu Jin Mai 浮紧脉)
2. การอุดตันของชี่และเลือด
เกิดอาการปวดตึงหรือแปล๊บ ๆ บริเวณคอ ไหล่หรือแขน รวมทั้งอาจมีปวดบวมร้าวไปแขน ร่วมกับมึนงง ปวดศีรษะ จิตใจหดหู่ และอาจมีอาการปวดหน้าอก
ลิ้น บางและขาว ลิ้นหนา
ชีพจร ไม่สม่ำเสมอ ลึก บาง (Chen Jie Dai Mai 沉结代脉 )
3. ความเสื่อมของตับและไต
เกิดอาการชา และปวดบริเวณคอ ไหล่ และแผ่นหลังอย่างช้า ๆ ร่วมกับอาการมึนงง ตาพร่า เสียงดังในหู หูอื้อ ปวดหรืออ่อนแรงของเข่า ขา อาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อทำงานตรากตรำ
ลิ้น บาง ปวดบริเวณลิ้น
ชีพจร ลึก บาง และอ่อน (Chen Ruo Mai 沉弱脉)
แนวทางการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อม
การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ หรือใช้รมยาร่วมกับการครอบกระปุก
การฝังเข็มหู
การนวดทุยหนา
การรักษาโดยใช้ยาจีนร่วม
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567