Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 10896 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD
เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวบ่อย ไม่อยู่นิ่ง สติ สมาธิสั้น หากต้องทำงานหรืออ่านหนังสืออยู่เป็นระยะเวลานานจะวอกแวกได้ง่าย จิตใจไม่นิ่ง ยากที่จะบังคับจิตใจให้จดจ่อ หรือสนใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยและรุนแรง ชอบทำอะไรเร็วๆไม่เรียบร้อย เป็นต้นอาการในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะพบในวัยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
สาเหตุการเกิดโรค
1. สมองส่วน Frontal lobe มีปัญหาในการส่งสารประสาท Dopamine และ Norepinephrine เพื่อความคุมการเคลื่อนไหวและพฤติกรรม อาจเกิดจากการที่สมองได้รับอุบัติเหตุ กระทบกระเทือน หรือการติดเชื้อหลังคลอด รวมทั้งการได้รับสารเคมี เป็นต้น
2. ขาดการบำรุงร่างกายและสมอง หรือขาดสารอาหาร
3. ประวัติทางกรรมพันธุ์ของครอบครัว
4. ในมุมมองของโรคนี้ ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน มีแนวความคิดว่า เกิดจากอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้องมีความผิดปกติ ทำให้ส่งผลต่อสมอง เช่น
- หัวใจ 心主神明 หัวใจทำหน้าที่ควบคุมสติ อารมณ์ และความคิด
- ม้าม 脾主四肢 ม้ามเสริมสร้างแขนและขา รวมทั้งการเคลื่อนไหว
- ตับ 肝主疏泄 ตับควบคุมอารมณ์และการตัดสินใจ
- ไต 肾主骨生髓养脑 ไตเสริมสร้างกระดูกและสร้างสารจิง(精)ส่งสารจิงขึ้นไปบำรุงหล่อเลี้ยงสมอง
การวิเคราะห์วินิจฉัยโรคตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
1. กลุ่มหัวใจและม้ามพร่อง 心脾不足证
อาการที่พบ ความจำสั้น มีปัญหาในการเรียน ในระหว่างเรียนสมาธิไม่นิ่งและวอกแวกง่าย เคลื่อนไหวบ่อยไม่อยู่นิ่ง นั่งไม่ติดกับที่ นอนฝันบ่อย ใจสั่น หายใจเร็ว ลิ้นซีดฝ้าขาวบาง ชีพจรเล็กจม
2. กลุ่มอินตับและอินไตพร่อง 肝肾阴亏证
อาการที่พบ เคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติ อารมณ์รุนแรง ชอบทำอะไรเร็วๆ หลงลืม เวียนศีรษะ ปากแห้งกระหายน้ำบ่อย ท้องผูก ปวดเอว ลิ้นแดงฝ้าน้อย ชีพจรเล็กและเร็ว
แนวทางวิธีการรักษาโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
1. บำรุงหัวใจและม้าม 养心益脾
ตำรับยา 补中益气汤、 归脾丸 、 柏子养心丸
จุดฝังเข็ม 百会 四神聪 神门 内关 合谷 中脘 足三里 三阴交
2. เพิ่มสารอินของตับและไต 滋水涵木
ตำรับยา 杞菊地黄丸、 左归丸
จุดฝังเข็ม 百会 四神聪 神门 内关 合谷 肾俞 三阴交 太溪 太冲
3. การนวดแผ่นหลัง 膀胱经按摩
* ข้อแนะนำ
ในการทานยาทุกชนิด ทุกประเภท ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่ได้มาตรฐานและตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานยาจีนนั้น การตรวจวินิจฉัยร่างกาย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อที่แพทย์จีนจะวิเคราะห์หาสาเหตุ และประเมินผู้ป่วยในการจัดตำรับยาที่ตรงกับพยาธิสภาพของผู้ป่วย เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการรักษา
วิธีการ หลักการดูแลตนเอง
โรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ อย่างไรก็ตาม เราสามารถดูแลตนเองโดยวิธีที่ไม่ยาก เช่น
1.ฝึกการหายใจ กำหนดจังหวะการหายใจ เข้า-ออก เช่น การหายใจเข้าให้ลึกๆแล้วปล่อยลมหายใจออกอย่างช้าๆ
2. คุณภาพของการนอนหลับพักผ่อน ควรนอนหลับให้เพียงพอ
แนะนำให้นอนก่อนเวลา 4 ทุ่ม และดำเนินกิจกรรมตามเวลาธรรมชาติ
3. คุณภาพของการรับประทานอาหาร ควรทานอาหารหลากหลาย กินอย่างสมดุลครบทั้ง 5 หมู่ และครบทุก 3 มื้อ เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะกับสภาพร่างกายของตนเอง สภาพอากาศ
4. การกดบำรุง
4.1 จุดเน่ยกวน 内关 เป็นจุดที่ช่วยให้ผ่อนคลายและบำรุงหัวใจ
วิธีการหาจุดตำแหน่งของจุดเน่ยกวน 内关
Credit Photo : motion-sickness-guru.com
ตัวอย่างการนวดกดจุดเน่ยกวน
Credit Photo : straitstimes.com
4.2 จุดจู๋ซานหลี่ 足三里
วิธีการหาจุดตำแหน่งของการกดจุดจู๋ซานหลี่ 足三里
ตำแหน่งการนวดกดจุดจู๋ซานหลี่ 足三里
Cr.Photo : straitstimes.com
5. แนะนำการนำสมุนไพรจีน มาประกอบอาหารหรือทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น เก๋ากี๊ พุทราจีน โสม เป็นต้น
ตัวอย่างกรณีศึกษาการรักษาผู้ป่วย (Success Case)
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 9 ปี
เริ่มรับการรักษาที่คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน (สาขาโคราช)
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2561
HN****51
อาการเบื้องต้นของผู้ป่วย
- หน้ากระตุก ขยี้ตาบ่อย วอกแวกอยู่ไม่นิ่ง เป็นมาประมาณ 1 ปี
- หลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการนี้เป็นระยะเวลา 1ปี คุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ระยะหลังอาการเริ่มเป็นบ่อยขึ้นจึงได้ตัดสินใจให้ผู้ป่วย มารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินวิธีการรักษาโดยแพทย์แผนจีน
การตรวจวินิจฉัย
- ผู้ป่วยขยี้ตาบ่อย วอกแวกพูดคุยเก่งอยู่ไม่นิ่ง วิ่งซุกซน ตกใจง่าย หายใจเร็วและถี่ มักจะเอียงคอไปมา มือเท้าเคลื่อนไหวตลอด มักพูดแทรก เมื่อเห็นคนอื่นคุยกัน ต้องมีข้อตกลงถึงจะทำตาม
- กลางคืนนอนดึก ตื่นง่ายเมื่อได้ยินเสียง ฝันบ่อย ไม่ค่อยทานอาหาร สีหน้าซีด ร่างกายผอม ลิ้นซีดฝ้าบาง ชีพจรเล็ก
ขั้นตอนการรักษา
1. การใช้อายุรกรรม ตำรับยาจีน 补中益气丸、朱珀胶囊 ซึ่งเป็นยาบำรุงร่างกายเน้นบำรุงม้ามและหัวใจ
2. การฝังเข็ม จุดที่ใช้ 百会 四神聪 内关 曲池 太冲 合谷 中脘 足三里 三阴交
การติดตามผลการรักษา
- วันที่ 22 เมษายน 2561 ผู้ป่วยมาตรวจติดตามผลตามนัด อาการขยี้ตาลดลง การนอนหลับ การทานอาหาร ดีขึ้น
- วันที่ 26 เมษายน 2561 เพิ่มจุดฝังเข็ม 风池 ช่วยเรื่องเอียงคอ ยส่วนตำรับยายังใช้ยาตำรับเดิมจากครั้งแรก
- วันที่ 3 พฤษภาคม 2561 ผู้ป่วยมาตรวจซ้ำ อาการดีขึ้นตามลำดับ
- วันที่ 20 พฤษภาคม 2561 อาการทั้งหมดดีขึ้นอย่างชัดเจน อาการที่ยังหลงเหลืออยู่ คือขยี้ตาจะเป็นแค่บางวันเท่านั้น ขยี้ตาน้อยลง สมาธิดีขึ้น อยู่นิ่งขึ้น รับประทานอาหารดีขึ้นและน้ำหนักก็เพิ่มจาก 27กิโลกรัม เป็น 28.9 กิโลกรัม คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น
การวิเคราะห์การรักษาจากกรณีศึกษาผู้ป่วยรายนี้
การตรวจวินิจฉัยร่างกายโดยรวมของผู้ป่วยสมาธิสั้นกรณีนี้ เกิดจากภาวะกลุ่มหัวใจและม้ามพร่อง 心脾不足证 เนื่องจากการบำรุงม้ามและหัวใจที่ไม่เพียงพอ จึงส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้เกิดอาการสมาธิสั้น หลังจากที่ได้รับยาบำรุงม้ามและหัวใจร่วมกับการฝังเข็มตามจุดบำรุง ทำให้คนไข้อาการดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับครั้งแรกที่มา ปัจจุบันคนไข้ใช้ชีวิตได้ตามปกติ
บทความโดย แพทย์จีนจรัญ จันทะเพชร (จ้านหลาน)
คลินิกอายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด
สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
LINE@ : @huachiewtcm
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567