รักษาภาวะสมองเสื่อมด้วยการฝังเข็ม How to Treat Alzheimer's Disease With Acupuncture and TCM

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  21322 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รักษาภาวะสมองเสื่อมด้วยการฝังเข็ม How to Treat Alzheimer's Disease With Acupuncture and TCM

ภาวะสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากโครงสร้างสมองถูกทำลายแบบเรื้อรังหรือแบบต่อเนื่องทำให้หน้าที่การทำงานของสมองระดับสูงผิดปกติไป

ในขณะที่ผู้ป่วยมีสติอยู่นั้นพบว่าสติปัญญาถอดถอยทุกด้านแบบถาวร ทั้งความทรงจำ การคำนวณ การตัดสินใจ ความสนใจ ความสามารถของความคิดเชิงนามธรรม ความสามารถทางภาษาลดลง มีความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม  ดำรงชิวิตแบบอิสระและความสามารถในการทำงานหายไป

ขอบเขตของโรค
- ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Alzheimer dementia)
- สมองเสื่อมเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia)
- ภาวะสมองเสื่อมแบบผสม (Mixed dementia)
- กลีบสมองฝ่อ
- ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ (Normal pressure hydrocephalus)
- หลอดเลือดสมองมีสารอมัยลอยด์สะสม (Cerebral amyloid angiopathy ,CAA)
- โรคสมองพิการเมตะบอลิซึม (Metabolic encephalopathy)
- โรคสมองพิการจากสารพิษ (Toxic encephalopathy) žเป็นต้น
ž* * * ภาวะสมองเสื่อมแต่กำเนิดไม่รวมอยู่ในนี้

สัญญาณภาวะสมองเสื่อม - ความจำ
หลงลืม - ความบกพร่องในการจดจำความรู้ใหม่ๆ (การเรียนรู้)
ขี้ลืม - เกิดความบกพร่องในหน่วยความจำระยะสั้นและระยะยาว

ความบกพร่องในการจดจำเรื่องต่างๆ
สัญญาณภาวะสมองเสื่อม - ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ (Aphasia)
- ขาดความคล่องแคล่วในการสื่อความ
- ไม่สามารถบอกชื่อสิ่งของได้
- การเลียนแบบภาษา พูดเลียนแบบเหมือนนกแก้ว

สัญญาณภาวะสมองเสื่อม - ภาวะเสียการระลึกรู้ (Agnosia)
- การระลึกรู้ การจดจำใบหน้า
- ภาวะเสียการระลึกรู้ทางการมองเห็น (visual agnosia)

สัญญาณภาวะสมองเสื่อม - ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ (apraxia)
-  มีปัญหาการกำหนดทิศทาง
- การสูญเสียทักษะในการจัดวางโครงสร้าง การหยิบจับ การเรียงลำดับ
- การสูญเสียทักษะในการเคลื่อนไหวง่ายๆ (Ideomotor apraxia)

สัญญาณภาวะสมองเสื่อม – การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพและอารมณ์
- ดื้อรั้น ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
- อารมณ์หยาบคาย โมโหง่าย ขี้หงุดหงิด
- อารมณ์ดีผิดปกติ
- หยาบคาย โมโหง่าย

ความสามารถในการใช้ชีวิตทางสังคมลดลง
- การรับประทานอาหาร
- การแต่งกาย
- การขับถ่าย

สาเหตุของการก่ออาการ การก่อโรค
คัมภีร์หลิงซู บทเจว่ชี่《灵枢·决气》กล่าวว่า 
“ ไขสมองลดลง ”--ไตพร่อง

คัมภีร์จูปิ้งเยวียนโฮ่วลู่น《诸病源候论》กล่าวว่า
“ ชอบหลงลืม เกิดจากหัวใจพร่อง ”。--หัวใจพร่อง

คัมภีร์เน่ยจิง《内经》กล่าวว่า
“ ไท่หยางควบคุมสภาพอากาศ อากาศหนาวเย็นคล้อยลงต่ำ ชี่ของหัวใจได้รับผลกระทบ ความร้อนวิ่งพลุกพล่าน ทำให้ขี้หลงลืม ” --หัวใจและไตทำงานไม่ประสานกัน

คัมภีร์จี้เซิงฟาง《济生方》กล่าวว่า
“ ม้ามกำกับความคิดและการครุ่นคิด หัวใจก็กำกับการครุ่นคิดเช่นกัน ครุ่นคิดมากเกินไป 意舍不精,神官
不职 ทำให้หลงลืม ” --หัวใจและม้ามพร่องทั้งคู่


คัมภีร์อีหลินเซิ่งม่อ《医林绳墨》กล่าวว่า
“ ถามแบบไม่ดูกาลเทสะ ทำงานสะเพร่า ไม่จดจำ เป็นเพราะว่าเสมหะปิดกั้นทวารหัวใจ” หวังชิงเหริ่นให้ความสำคัญเรื่องการหลงลืมมีความสัมพันธ์กับเลือดคั่งปิดกั้งทวาร
--เสมหะ เลือดคั่ง


สาเหตุโรค
คัมภีร์จิ่งเยว่เฉวียนซู《景岳全书》
กลุ่มอาการสมองทึบ ภาวะปกติไม่มีเสมหะ  แต่มักมาจากอารมณ์ติดขัด ไม่ได้ดั่งใจคิด การครุ่นคิดหรือตกใจหวาดกลัว ค่อยๆพัฒนาเป็นสมองทึบ

คัมภีร์เปิ่นเฉ่าเป้ยเหย้า《本草备要》
ความจำของมนุษย์ล้วนอยู่ที่สมอง เด็กที่ชอบหลงลืมเนื่องจากสมองยังไม่เต็ม ส่วนผู้สูงอายุที่หลงลืมเกิดจากสมองค่อยๆว่างเปล่า

คัมภีร์เปี้ยนเจิ้งลู่《辨证录》
ลมปราณตับติดขัดทำให้ไม้ข่มดิน เสมหะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ กระเพาะอาหารล้มเหลวทำให้ดินไม่สามารถควบคุมน้ำ เสมหะไม่สามารถสลายไปได้ ดังนั้นเสมหะจึงสะสมอยู่ที่กลางอกข้างนอกหัวใจ ทำให้ความนึกคิดและสติไม่ปลอดโปร่งกลายเป็นโรคสมองเสื่อม

อาการของโรค
คัมภีร์หลิงซู《灵枢》กล่าวว่า 
ทะเลไขสมองพร่องทำให้เวียนศีรษะ มีเสียงในหู เมื่อยแข้ง ตาลาย มองไม่เห็น เพลีย ไม่มีแรง อยากนอนพักผ่อน

การรักษา
คัมภีร์สือซื่อมี่ลู่《石室秘录》
รักษาโรคความจำเสื่อม ไม่มีวิธีรักษาที่แปลกเป็นพิเศษ รักษาเสมหะก็คือการรักษาโรคปัญหาางสมอง  เฉินซื่อตั๋ว คลายเครียดขับเสมหะ เสริมม้ามทะลวงลมปราณ สี่ซินทัง (洗心汤) จ้วนตายตัน (转呆丹) หวนเสินจื้อเซิ่งทัง (还神至圣汤) เป็นต้น

ž

ตำแหน่งของโรค อยู่ที่สมองเป็นหลัก
และมีความสัมพันธ์กับหัวใจ ตับ ไต ม้ามอย่างใกล้ชิด

ลักษณะทางพยาธิวิทยา 
อาการพื้นฐานพร่องอาการแสดงภายนอกแกร่ง อาการพื้นฐานพร่องคือ อิน สารจิง ชี่และเลือดพร่อง  อาการแสดงภายนอกแกร่ง คือ ชี่ ไฟ เสมหะ เลือดคั่ง อุดกั้นอยู่ในสมอง  

หลักสำคัญในการตรวจ พื้นฐานการวินิจฉัย
- มีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ ?
- ภาวะสมองเสื่อมประเภทใด ?
- ประวัติการเกิดโรค
- อาการหลักทางคลินิก
- การตรวจทางจิตประสาทวิทยา
- การตรวจทางรังสีวิทยา ฯลฯ

หลักการวินิจฉัยโรคภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
(Alzheimer dementia)
1. ความผิดปกติของหน่วยความจำระยะสั้นและหน่วยความจำในระยะยาว
2. มีความผิดปกติอย่างน้อย 1 อาการใน 4 อาการต่อไปนี้ 
- มีปัญหาด้านความคิดเชิงนามธรรม
- มีปัญหาในด้านการตัดสินใจ ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ 
- มีปัญหาการจัดวางโครงสร้าง
- มีความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและอารมณ์
3. มีความบกพร่องทางสติปัญญาอย่างชัดเจน ส่งผลกระทบต่อการทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน กิจกรรมทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
4. สติการรับรู้ปกติ
5. จากประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกายและการตรวจในห้องปฏิบัติการ มีหลักฐานบงชี้ถึงความผิดปกติทางโครงสร้าง หรือถึงแม้ไม่มีหลักฐานบงชี้ถึงความผิดปกติทางโครงสร้าง แต่ความบกพร่องทางสติปัญญาไม่ได้เกิดจากทางผิดปกติทางจิตที่ไม่ใช่สาเหตุจากโครงสร้าง
6. อาการโรค สัญญาณ (sign) ประวัติการเกิดโรคตลอดถึงการตรวจแสกนสมอง CT เป็นต้น เพื่อคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง

หลักการวินิจฉัยสมองเสื่อมเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง
(Vascular dementia)

1. การตรวจสอบทางจิตประสาทวิทยาบงชี้ว่ามีปัญหาด้านความจำ การคำนวณ สมาธิ การกำหนดทิศทาง ความคิดเชิงนามธรรม ความสามารถในการเลือกใช้ภาษา
2. ภาวะสมองเสื่อมมีอาการหนักขึ้นแบบขั้นบันได
3. อาการและสัญญาณ (sign) ของระบบประสาทแบบเฉียบพลันหรือกึ่งเฉียบพลัน เช่น ความผิดปกติของการเดิน  พูดไม่เป็นความ pseudo bulbar palsy ควบคุมอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ muscle powerลดลง tendon reflex ผิดปกติ pathological reflex ผิดปกติ เป็นต้น
4. มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
5. มักมีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง และ cerebral atherosclerosis ร่วมด้วย
6. CT, MRI แสดงให้เห็นว่ามีรอยโรคเนื้อสมองตายจากการขาดเลือด cerebromalacia สมองมีเลือดออก สมองฝ่อ และการขยายตัวของโพรงสมอง เป็นต้น
7. คัดกรองภาวะสมองเสื่อมอันเนื่องมาจากความผิดปกติทางโครงสร้างอื่นๆ




อาการหลักของโรค
- หลงลืม
- สมาธิสั้น คิดช้า
- บุคลิกและอารมณ์เปลี่ยนแปลง

อาการเบา
- อารมณ์เฉยชา พูดน้อย การตอบสนองช้า ขี้ลืม เป็นต้น

อาการหนัก
ไม่พูดตลอดทั้งวัน  ขังตัวเองอยู่ในห้องคนเดียว  บ่นพึมพำ พูดจาสะเปะสะปะ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ เดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้  ไม่อยากอาหาร  ไม่หิวเป็นเวลาหลายวัน เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค
- โรคซึมเศร้า (อารมณ์แปรปรวนในวัยหมดประจำเดือน)
- โรคลมชัก
- อาการหลงลืม

การตรวจที่เกี่ยวข้อง
ส่วนใหญ่ใช้สำหรับเป็นหลักฐานในการวินิจฉัยจำแนกประเภทของภาวะสมองเสื่อม (CT MRI MRS ฯลฯ ) หรือใช้สำหรับการวินิจฉัยแยกโรค

หลักการพื้นฐานในการวินิจฉัยและการรักษาโรค : หลักสำคัญในการวินิจฉัย
- อ้างอิงตามอาการร่วม ลักษณะลิ้นและชีพจรเป็นหลัก
- อาการพื้นฐานพร่องอาการแสดงภายนอกแกร่ง
- อาการพร่อง : ทะเลไขกระดูกไม่เพียงพอ ตับและไตพร่อง ม้ามและไตพร่องทั้งคู่
อาการแกร่ง
เสมหะขุ่นข้น เลือดคั่ง ลมและไฟ ตับหยางแกร่ง เป็นต้น

อาการพร่องและแกร่งปะปนกันพบได้บ่อย พยาธิสภาพของอวัยวะภายในหลายอวัยวะ
หลักการพื้นฐานในการวินิจฉัยและการรักษาโรค : หลักการรักษา
รักษาอาการพื้นฐาน (บำรุงอาการพร่อง  --- บำรุงพร่อง พยุงเจิ้งชี่ เพิ่มไขกระดูก บำรุงสมอง 

บำรุงทุนหลังกำเนิด งดการบริโภคอาหารมันหรือทอดมากเกินไป  ควรใส่ใจดูแลม้ามและกระเพาะอาหารเป็นพิเศษ

รักษาอาการแสดงภายนอก (ระบายอาการแกร่ง) --- คลายเครียดขับเสมหะ เพิ่มการไหลเวียนเลือดทะลวงทวาร สงบตับระบายไฟ

เปลี่ยนแปลงอารมณ์และบุคลิก ฝึกฝนสติปัญญาและหน้าที่ฟื้นฟูการรู้คิดทุกชนิด การใช้ภาษา เป็นต้น ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมของคนในครอบครัว  กิจกรรมทางสังคม เป็นต้น    

เจิ้งชี้ถูกทำลายสะสม ทะเลไขกระดูกไม่เพียงพอ
ลักษณะพิเศษของกลุ่มอาการ : วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ขี้เกียจ อยากนอน สติปัญญาลดลง ปัญญาทึบ ความจำลดลง การตัดสินใจลดน้อยลง สับสนเรื่องทิศทาง อัมพาตครึ่งซีก แขนขาขยับไม่ได้ เดินลำบาก พูดลำบาก  ฟันและผมแห้งลีบ กระดูกอ่อนแอ ลิ้นผอมเล็กสีแดงซีด ชีพจรจมเล็กอ่อนแรง ชีพจรตำแหน่งฉื่ออ่อนแรง
วิธีการรักษา
เสริมสารจิงบำรุงไขกระดูก เปิดทวารปลุกเสิน
ตำรับยาที่ใช้ : ชีฝูอิ่น 七福饮
ž
ลมปราณตับติดขัดกลายเป็นไฟ ขึ้นไปรบกวนทวารเบื้องบน
ลักษณะพิเศษของกลุ่มอาการ : หลงลืม หงุดหงิด โมโหง่าย ปากขม ตาแห้ง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เอ็นกล้ามเนื้อสั่นกระตุก ปากแห้งคอแห้ง มีแผลในปาก มีกลิ่นปาก ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระแข็งหรือใบหน้ามีสีแดงค่อยข้างเข้ม ลมหายใจเหม็น ปากเหนียวน้ำลายข้น หงุดหงิด กระสับกระส่ายอาจถึงขั้นคุ้มคลั่ง ลิ้นมีสีแดงคล้ำ ฝ้าที่ลิ้นเหลืองหรือเหลืองเหนียว ชีพจรตึงลื่นหรือตึงเล็กและเร็ว
วิธีการรักษา : ขับความร้อนระบายไฟ กดประสาทสงบจิต
ตำรับยาที่ใช้ :  เทียนหมาโกเถิงอิ่น 天麻钩藤饮
ž
เสมหะความชื้นอุดกั้น ขึ้นไปปิดกั้นทวารเบื้องบน
ลักษณะพิเศษของกลุ่มอาการ : การแสดงออกเชื่องช้า สติปํญญาลดลง หัวเราะและร้องไห้ไม่ปกติ ชอบบ่นพึมพำกับตัวเอง หรือไม่พูดจาทั้งวัน เหม่อลอย อ่อนเพลียชอบนอน ร่วมกับเบื่ออาหาร ปวดแน่นท้อง ท้องอืดไม่สบาย น้ำลายเป็นฟองเยอะ หนักศีรษะเหมือนถูกคลุมด้วยถุง ลิ้นซีด ฝ้าขาวหนาและเหนียว ชีพจรนุ่มลื่น
วิธีการรักษา : กำจัดเสมหะเปิดทวาร บำรุงม้ามสลายเสมหะข้น
ตำรับยาที่ใช้ : ตี๋ถานทาง 涤痰汤

เลือดคั่งอุดกั้นเส้นลมปราณสมอง ทวารเบื้องบนทำงานล้มเหลว
ลักษณะพิเศษของกลุ่มอาการ : อารมณ์เชื่องช้า สติปัญญาลดลง พูดจาสะเปะสะปะ ขี้หลงขี้ลืม ตกใจง่าย ความคิดผิดปกติ มีพฤติกรรมประหลาด ปากแห้งแต่ไม่กระหายน้ำ หรือแขนขาชาขยับไม่สะดวก ผิวหนังแห้งเหมือนเกล็ดปลา ตาทั้งสองคล้ำหมอง ลิ้นคล้ำหรือมีจ้ำเลือดที่ลิ้น ชีพจรเล็กฝืด
วิธีการรักษา : กระตุ้นการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่ง เปิดทวารปลุกสมอง
ตำรับยาที่ใช้ : ทงเชี่ยวหัวเส่วทาง 通窍活血汤
ž
เสมหะพิษเกิดขึ้นภายใน พิษทำร้ายเส้นลมปราณสมอง
ลักษณะพิเศษของกลุ่มอาการ : อารมณ์เฉื่อยชา ดวงตาไม่มีชีวิตชีวา ไม่รับรู้สิ่งต่างๆ ใบหน้าหมองคล้ำ เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก หรือใบหน้าแดงคล้ำเล็กน้อย ปากมีกลิ่นเหม็น น้ำลายเหนียวขุ่น ปัสสาวะสีเข้มอุจจาระแห้งหรือไม่สามารถควบคุมได้ แขนขาสั่น ลิ้นแข็งพูดไม่ชัดหรือพูดจาสะเปะสะปะ บ้าคลั่งไม่สงบ ลิ้นแดงเข้มฝ้าน้อย หรือลิ้นคล้ำ หรือมีจ้ำเลือดที่ลิ้น ฝ้าหนาและเหนียวสกปรก ชีพจรตึงเร็ว หรือลื่นเร็ว
วิธีการรักษา : ขับร้อนถอนพิษ ทะลวงเส้นลมปราณขับเสีย
ตำรับยาที่ใช้ : หวงเหลียนเจี่ยตู๋ทาง 黄连解毒汤

ตัวอย่างการรักษา Case ที่ 1
นายหยาง เพศชาย อายุ 68 ปี  เข้ารับการตรวจครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1995 อาการเริ่มต้นคือเวียนศีรษะ ขี้หลงขี้ลืม ตามมาด้วยอาการอารมณ์เฉื่อยชา การตอบสนองช้า พฤติกรรมผิดปกติ 1 ปี หลังจากนั้นอาการโรคค่อยๆแย่ลง สูญเสียการระลึกรู้ ขาดทักษะการคำนวณ การเคลื่อนไหวและการพูดจาผิดปกติ หรือเงียบขรึมไม่ยอมพูด หรือพูดจาไม่มีความต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกกลางวันและกลางคืนได้

อาการที่พบ รูปร่างผอมบาง ดวงตาทั้งสองไม่มีชีวิตชีวา  ลักษณะท่าทางเฉื่อยชา ไม่ดื่มหรือรับประทานอาหาร ใบหน้ามีจ้ำเลือด ลิ้นม่วงซีด ฝ้าบางเหนียว ชีพจรเล็กอ่อนแรง การตรวจ CT สมองแสดงให้เห็นว่าสมองฝ่อ
การจัดกลุ่มอาการ : ผู้สูงอายุชี่และเลือดพร่อง เลือดคั่งอุดกั้นเส้นลมปราณสมอง
การรักษา : บำรุงชี่และเลือด เพิ่มการไหลเวียนเลือดเปิดทวาร
รักษา 1 เดือน จิตสติค่อยๆดีขึ้น แต่ขี้กลัวและตกใจง่าย นอนหลับยาก จากตำรับยา รับประทานยาต่อเนื่องอีก 2 เดือน ผู้ป่วยร่าเริง สติสัมปชัญญะดีขึ้น พูดจาชัดเจนขึ้น ความจำดีขึ้น  สามารถมีส่วนร่วมในการทำงานบ้านอย่างง่ายได้ สามารถดูแลตัวเองได้

ตัวอย่างการรักษา Case ที่ 2
นายหลู่ เพศชาย อายุ 72 ปี  เข้ารับการตรวจครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กันยายน 1999 สุขภาพแข็งแรงมาตลอด ครึ่งปีที่ผ่านมานี้มีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ พฤติกรรมการเคลื่อนไหวผิดปกติ หลงลืม เดินเซ ออกนอกบ้านต้องมีคนในครอบครัวไปด้วย มิฉะนั้นอาจกลับบ้านไม่ถูก อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย บางครั้งชอบด่าว่าผู้คน บางครั้งมีสติบางครั้งไม่มี ใช้คำพูดผิด กลางคืนนอนไม่หลับ บางครั้งชอบส่งเสียงดัง ปัสสาวะบ่อย อารมณ์เฉื่อยชา ทื่อๆ ลิ้นแดง ฝ้าน้อย ชีพจรตึงลื่น

หลังจากตรวจ CT ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งปรากฏว่าสมองน้อยฝ่อ บางส่วนอุดตันเคยรักษาทางแพทย์ตะวันตกและแพทย์จีนมาหลายครั้งแต่ไม่ได้ผล ก่อนที่จะมารับการรักษาที่นี่

บันทึกประวัติการรักษา โดยแพทย์จีน จางฉี
23 กันยายน มารับการตรวจอีกครั้ง :
รับประทานยาตำรับเดิม 15ห่อ ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมดีขึ้นอย่างชัดเจน นอนหลับดีขึ้น ไม่ส่งเสียงดังรบกวนในเวลากลางคืนและด่าว่าผู้คนแล้ว การเดินดีขึ้น บางครั้งมีสติชัดเจน การสนทนาเหมือนคนปกติทั่วไป มีบางครั้งสติยังไม่ชัดเจน เช่นเรียกลูกสาวเป็นพี่สาวคนโต เป็นต้น ก่อนและหลังการใช้ยาสภาพจิตดีขึ้น ลิ้นมีฝ้าบาง ชีพจรยังตึง จากตำรับยาข้างต้นเพิ่ม สุ่ยจื้อ 水蛭15g,ยวี่จิน 郁金 15 g

23 พฤศจิกายน การตรวจครั้งที่3 : หลังจากรับประทานยาตำรับเดิมไป 21 ห่อ สามารถนอนหลับได้ 5-6 ชั่วโมง สติดีขึ้นและนานกว่าช่วงก่อนอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะการเดินดีขึ้นอย่างชัดเจน สามารถเดินขึ้นตึกสามชั้นได้ แต่ยังคงเดินเร็วและเซ ใช้คำพูดผิดยังพอมีบ้าง แต่ระดับความรุนแรงลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผมจากสีขาวด่างเปลี่ยนเป็นสีดำ ยังคงปัสสาวะบ่อย อุจจาระเหลวเล็กน้อย จากตำรับยาข้างต้นเพิ่มลดโดยการตัดยาตามความเหมาะสมกับสภาวะผู้ป่วย ได้แก่ ชื่อสาว 赤芍、หมู่ตันผี 牡丹皮、ตานหนานซิง胆南星、ยวี่จิน 郁金,แล้วเพิ่ม ตันเซิน 丹参 20 g,ซังเพียวเซียว 桑螵蛸 15 g,กานเฉ่า 甘草 15 g。

25 ธันวาคม การตรวจครั้งที่ 4 : ทานยาไป 20 ห่อ อาการต่างๆดีขึ้นอีกขั้น นอนหลับดีขึ้น ไม่พบอาการหงุดหงิด สติโดยทั่วไปชัดเจนดี การแสดงอารมณ์ของใบหน้าไม่แข็งทื่อแล้ว อาการปัสสาวะบ่อยลดลงอย่างเห็นได้ชัด เส้นผมมากขึ้น ผมดำเหมือนคนหนุ่มสาว แต่บางครั้งยังมีการใช้คำพูดผิด ลิ้นมีฝ้าบาง ชีพจรช้า ให้รับประทานยาตำรับเดิมต่อไป

15 กุมภาพันธ์ 2000 การตรวจครั้งที่5 : รับประทานยาตำรับเดิมไป 60 ห่อ สติได้กลับสู่ภาวะปกติ นอนหลับได้ดี  มีความสุข ใบหน้ามีรอยยิ้ม การสนทนาเหมือนคนปกติ  ขาทั้งสองข้างเดินได้ดีขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่มั่นคง มีแค่ออกนอกบ้านที่คนในครอบครัวจำเป็นต้องดูแล โดยทั่วไปชีวิตประจำวันทั่วไปสามารถดูแลตัวเองได้
อ้างอิงข้อมูล : (จางฉี.นิตยสารแพทย์แผนจีน, 2001.42 (6) : 336 ~ 337)

ปรับสมดุลการใช้ชีวิตประจำวัน
ป้องกันและรักษาโรคต่างๆที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่สมองให้ทันท่วงที   หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นอันตรายผู้สูงอายุควรป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและโรคอื่นๆ ป้องกันการหกล้มและการชนที่ส่งผลกระทบต่อศีรษะ หรือได้รับความเสียหายจากยา ก๊าซพิษที่เป็นอันตราย เป็นต้น

สมาชิกในครอบครัว พยาบาลผู้ดูแลควรใช้ความอดทน ต้องมีทัศนคติที่ดีในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีความภาคภูมิใจในตนเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ขอความร่วมมือกับผู้ป่วย สนับสนุนให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในบางกิจกรรมของครอบครัวและกิจกรรมทางสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกถูกทอดทิ้งจากคนในครอบครัวและสังคม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรักษา

ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง
- อดทนและพิถีพิถันในการฝึกอบรมและให้ความรู้ บริหารจัดการการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม กระตุ้นให้ผู้ป่วยพยายามช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด
- จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและกีฬาต่างๆ เพิ่มความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันและทักษะการทำงานให้แก่ผู้ป่วย ช่วยการพัฒนาสติปัญญาให้ดีขึ้น
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงโดยทั่วไปจะสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องดูแลเอาใจใส่การใช้ชีวิตประจำวัน
 - ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรือแผลกดทับ เนื่องจากควบคุมอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ตลอดจนถึงการนอนบนเตียงเป็นเวลานาน
 - ต้องป้องกันไม่ให้หกล้มและเกิดกระดูกหัก ; อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยออกไปข้างนอกคนเดียว ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการตื่นเต้นกระวนกระวายตลอดจนถึงการมีพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่นจนเกิดการทำร้ายผู้คน หรือเกิดการทำลายทรัพย์สินและทำให้ตัวเองบาดเจ็บ เป็นต้น
- จัดห้องพักเดี่ยวให้อยู่ และมีคนดูแลโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บ

พยากรณ์โรค
ระยะเวลาของโรคภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมักจะเป็นติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป
อาการของผู้ป่วยค่อยๆแย่ลง ความจำลดลงอย่างรุนแรง ค่อยๆพัฒนาจนทำให้สูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิต ในที่สุดมักจะเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อที่ปอด แผลกดทับ เป็นต้น

ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ - เน้นการป้องกัน
หลักการพื้นฐานของการป้องกันและการรักษาภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
การวินิจฉัยและการให้การช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม อาศัยการตรวจสอบทางจิตประสาทวิทยาเป็นหลัก สเกลการตรวจคัดกรอง

รู้จักและป้องกันภาวะการอ่อนด้อยทางปัญญา
Mile cognitive impairment , MCI 
ผู้สูงอายุโดยทั่วไป -- ความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมอง -- ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะต่อเนื่องที่มีผลต่อการรับรู้ในผู้สูงอายุ การป้องกัน การตรวจพบและการรักษา MCI  ในระยะแรก สามารถลดอุบัติการณ์ของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้

ข้อมูลโดย ศาสตราจารย์ แพทย์จีน ลั่วเสี่ยวตง
แห่งโรงพยาบาลแพทย์จีนประจำมณฑลกว่างตง สาธารณรัฐประชาชนจีน

แปลและเรียบเรียงโดย  
แพทย์จีน ปิยะมาศ เมืองใชย
แพทย์จีน ปะการัง เขตคาม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้