สาเหตุของอาการปวด มุมมองความปวดตามศาสตร์แพทย์จีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  27490 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สาเหตุของอาการปวด มุมมองความปวดตามศาสตร์แพทย์จีน

สาเหตุของอาการปวด เกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ในทางการแพทย์แผนจีน ได้จัดหมวดหมู่กลุ่มอาการปวด ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดคอ ปวดเอว ปวดข้อ และปวดกล้ามเนื้อ อยู่ในกลุ่มอาการ ปีเจิ้ง (Bi Zheng or Bi Syndrome) ซึ่งมีสาเหตุจาก ลม ความเย็น ความชื้น เลือดคั่ง ชี่และเลือดพร่อง มากระทำต่อเส้นลมปราณ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ช้าลง เกิดภาวะเลือดคั่งและชี่ติดขัด รบกวนการไหลเวียนของเลือดและชี่ 不通则痛 หรือไม่สามารถนำเลือดและชี่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณต่างๆของร่างกายได้ 不荣则痛 จนเกิดอาการปวด

จำแนกอาการปวดตามสาเหตุในหลักการของการแพทย์แผนจีน

 (风) เป็นอากาศที่เคลื่อนที่ โดยทั่วไปลมไม่เป็นเหตุให้เกิดอาการปวด แต่มักจะชักนำเสียชี่ (邪气) อื่น ๆ เช่น ลมเย็น ลมชื้น แล้วทำให้เกิดการติดขัด มีอาการปวดขึ้นมา


มักมีอาการปวดเฉพาะที่ อาการรุนแรง และเป็นมากในเวลากลางคืน เมื่อได้รับความอบอุ่น หรือประคบร้อนอาการจะดีขึ้น ตรงกันข้ามเมื่ออากาศเย็นจะทำให้อาการหนักขึ้น


จะปวดเฉพาะที่ รู้สึกตัวหนัก เมื่อยล้า แบ่งเป็นร้อนชื้นและเย็นชื้น โดยเฉพาะหลังฝนตก เมื่อมีความชื้นสูงในอากาศ จะมีอาการเมื่อย ขี้เกียจ อยากนอน ลักษณะปวดจะปวดอยู่กับที่และปวดหนัก ไม่สามารถขับความชื้นได้ทัน ทำให้มีบวมน้ำในตำแหน่งปวดได้ 


ลักษณะปวดจะปวดอยู่กับที่เหมือนเข็มแทง อาการหนักขึ้นในตอนกลางคืน
เลือดและชี่พร่อง (气血不足)มีอาการปวดเมื่อยไม่รุนแรง ลักษณะอาการปวดแบบรำคาญ ไม่ปวดมาก ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง


มีอาการปวดเมื่อยไม่รุนแรง ลักษณะอาการปวดแบบรำคาญ ไม่ปวดมาก ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง



อวัยวะตัน 脏 จ้าง
อวัยวะตันมี 5 ชนิด คือ ตับ หัวใจ ม้าม ปอด และไต นับเยื่อหุ้มหัวใจรวมอยู่กับหัวใจ ลักษณะทางสรีระวิทยาทั่วไปของอวัยวะตันทั้ง 5 คือ การสร้างและเก็บสะสมสารจำเป็น และชี่ 气 เป็นส่วนสำคัญของการดำรงชีวิตประจำวัน และเป็นแกนกลางในการทำงานของอวัยวะภายใน อวัยวะตันทั้ง 5 มีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกัน โดยมีหัวใจทำหน้าที่สำคัญหลักของอวัยวะกลุ่มนี้ ในคัมภีร์เน่ย์จิง 《内经》ได้กล่าวว่า “หัวใจเป็นจ้าวแห่งอวัยวะภายใน”

อวัยวะกลวง 腑 ฝู่
อวัยวะกลวงทั้ง 6 (六腑 ลิ่วฝู่) ประกอบด้วย ถุงน้ำดี ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ และซานเจียว หน้าที่พื้นฐานของอวัยวะกลวง คือ รับและช่วยย่อยอาหารและของเหลว ดูดซึมและส่งต่อสารอาหารที่ย่อยเสร็จเรียบร้อยแล้วไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนั้นยังมีหน้าที่เปลี่ยนกากอาหารและน้ำจากส่วนต่างๆ เป็นปัสสาวะและอุจจาระแล้วขับออกนอกร่างกาย


จำแนกอาการปวดตามทฤษฎีเส้นลมปราณ (Qi)
ทฤษฎีเส้นลมปราณ อธิบายถึงความสัมพันธ์การทำงานของอวัยวะตัน-กลวง ทั้งในภาวะปกติและในภาวะขาดสมดุล ซึ่งสามารถใช้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะตัน-กลวง เมื่อเกิดความผิดปกติ จะแสดงอาการปวดไปตามตำแหน่งต่างๆในร่างกายที่เส้นลมปราณไหลผ่าน


เช่น เส้นทางการไหลผ่านเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะในร่างกาย เริ่มจากส่วนตา ศีรษะ ลำตัวด้านหลัง ลงส่งปลายเท้า ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเอวร้าวลงขา ตามเส้นประสาทไซแอทติก จัดอยู่ในอาการปวดของเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ

จำแนกตามกลุ่มอาการแกร่ง - พร่อง
1. กลุ่มอาการแกร่ง มีสาเหตุมาจาก ลม ความเย็น ความชื้น ทำให้ชี่และเลือดติดขัด 不通则痛 ลักษณะอาการปวดจะรุนแรง กดเจ็บ เช่น อาการปวดเหมือนเข็มแทง ปวดแบบตึงแน่น ปวดแบบถูกบิด หรือ ปวดเฉพาะที่หนักเมื่อย 

2. กลุ่มอาการพร่อง มีสาเหตุมาจาก หยาง ชี่ เลือดหรือสารจำเป็น (จิง) พร่อง เส้นลมปราณและอวัยวะต่างๆได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ 不荣则痛 เป็นลักษณะการปวดที่ไม่รุนแรง แต่ปวดต่อเนื่องไปเรื่อยๆทำให้รู้สึกรำคาญ มักพบที่ตำแหน่ง ทรวงอก ท้อง และศีรษะ

สาเหตุอาการปวดทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
การแพทย์แผนปัจจุบัน มองว่าอาการปวดจากการใช้กล้ามเนื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อเกร็งตัวสะสม จนเกิดเป็นก้อนเนื้ออักเสบที่เรียกว่า “ทริกเกอร์ พอยท์ ” (Trigger Points) ซึ่งจะอยู่ลึกลงไปในกล้ามเนื้อชั้นใน เป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5 - 1 ซม. ก้อนแข็งๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนั้นไม่ได้ ทำให้ของเสียที่เกิดขึ้นภายในเซลล์กล้ามเนื้อไม่ได้ระบายออก กล้ามเนื้อส่วนนั้นจึงเกิดการอักเสบ เมื่ออักเสบก็จะเกิดอาการปวดลึกๆใต้กล้ามเนื้อ จนในที่สุดก็ปวดเรื้อรัง ซึ่งทำให้รักษาเป็นไปได้ยากขึ้น การที่จะบรรเทาอาการปวดนั้น จึงจะต้องสลายจุดกดเจ็บเสียก่อน







แนวทางการรักษาอาการปวด ด้วยหลักการของแพทย์แผนจีน

การรักษาอาการปวดด้วยการนวดทุยหนา เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถสลายจุดกดเจ็บได้ ซึ่งในคัมภีร์แพทย์แผนจีนโบราณ “ซุ่เวิน จู่ท้งลุ่น 素问•举痛论”  ได้กล่าวไว้ว่า ... 



“ เมื่อความเย็นจากภายนอกเข้ามากระทบเส้นลมปราณ เลือดและชี่ติดขัด มักทำให้เกิดอาการปวด เมื่อได้กดและคลึงบริเวณที่ปวดจนอุ่น อาการปวดจะเริ่มหายไป ”



หมายความว่า "การนวดทุยหนา" แพทย์จีนจะใช้วิธี การกด การคลึง การบีบ การดึง การดัน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแพทย์แผนจีน โดยนวดไปตามเส้นลมปราณและจุดฝังเข็ม หรือบริเวณที่เกิดโรคนั้นๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด



หลักการในการรักษาทุยหนาตามการแพทย์แผนจีน



1. นวดเพื่อทะลวงเส้นลมปราณ ระงับอาการปวดบริเวณต่างๆในร่างกาย สลายเลือดคั่ง ปรับการไหลเวียนของชี่และเลือดให้ไหลเวียนได้ดีมากขึ้น เมื่อเลือดลมไหลเวียนดี อาการปวดจะทุเลา หรือหายไป



2. นวดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ ในกรณีเส้นเอ็นกล้ามเนื้อหรือข้อต่อบาดเจ็บ จะส่งผลโดยตรงต่อเส้นลมปราณติดขัด ทำให้เลือดและชี่ไม่สามารถส่งไปบำรุง ซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บนั้น ซึ่งในการนวดทุยหนาจะนวดไปตามเส้นลมปราณ ทำให้เลือดกับชี่ไหลเวียนได้คล่อง เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกจึงได้รับการหล่อเลี้ยงได้มากขึ้น สามารถจัดเส้นเอ็นให้เข้าที่และหล่อลื่นข้อต่อ ให้แข็งแรงดังเดิม



3. นวดเพื่อปรับสมดุลอวัยวะภายใน  เมื่ออวัยวะภายในทำงานไม่สมดุลกัน จะทำให้เกิดการติดขัดของเลือดและชี่ ก่อให้เกิดอาการปวดขึ้นได้ การนวดทุยหนา ช่วยปรับสมดุลอวัยวะภายใน เสริมสมรรถนะของอวัยวะภายในของ ร่างกายให้กลับมาทำงานปกติ




ในการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนจีน หลักการรักษาจะเป็นการรักษาแบบผสมผสาน ทั้งการฝังเข็ม การนวดทุยหนา จัดกระดูก การใช้ความร้อนช่วยเพื่อคลายกล้ามเนื้อ เช่น การครอบแก้ว การรมยา การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมให้การรักษาอาการปวดเป็นไปในทางดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถรักษาร่วมกับวิธีทางกายภาพของการแพทย์แผนปัจจุบันได้



อ่านข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
การนวดรักษาโรคด้วยการทุยหนา (Tuina)
รายชื่อแพทย์จีนเฉพาะทางด้านกระดูกและทุยหนา
ข้อควรรู้หลังนวดทุยหนา
ต้นทางแห่งความปวด
รักษาอาการปวดจากพังผืดกล้ามเนื้อ

สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม 
Hotline : 095-884-3518
LINE@ : @huachiewtcm

คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน 
เปิดให้บริการการรักษาแก่ประชาชน 3 สาขาทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค
1. กรุงเทพฯ  02-223-1111 ต่อ 102 
2. โคราช   044-258-555 , 085-325-1555 
3. ศรีราชา 038-199-000 , 098-163-9898 
ดูแผนที่การเดินทางของทุกสาขา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้