Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 23162 จำนวนผู้เข้าชม |
ความดันโลหิตต่ำ หมายถึง ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 mmHg อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน (ผู้สูงอายุความดันโลหิตต่ำกว่า 100/70 mmHg) แพทย์แผนปัจจุบันแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่โดยพิจารณาจาก สภาพสุขภาพร่างกาย ลักษณะท่าทางและกรรมพันธุ์ ซึ่งความดันโลหิตต่ำที่เกิดที่มีสาเหตุจากสุขภาพร่างกายจะพบได้มากที่สุด และมักพบในร่างกายที่ผอมและอ่อนแอ อาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ร่วมด้วย
พบมากในเพศหญิงช่วงอายุ 20 – 50 ปี และผู้สูงวัยที่มีความเกี่ยวพันกับลักษณะท่าทางและมีอายุมาก จะพบขณะเปลี่ยนอิริยาบถจากนอนเป็นยืนหรือนั่ง เพราะร่างกายไม่สามารถปรับความดันโลหิตได้ทันท่วงที ทำให้ความดันโลหิตอาจลดลงได้มากกว่า 20 mmHg และหากมีความเจ็บป่วยร่วมด้วยอาการจะเป็นมากขึ้น สาเหตุที่สองความดันโลหิตต่ำอาจเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บหรือยาที่ใช้ทำให้เกิดอาการขึ้น จากท้องเสีย เลือดออกมาก โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน จากโรคอัมพาตที่มีผลต่อไขสันหลัง หรืออาจเกิดจากยาลดความดันโลหิตหรือยาต้านโรคซึมเศร้า หรือยาอื่น ๆ ที่มีผลลดความดันโลหิต เป็นต้น
ศาสตร์การแพทย์จีนจัดภาวะความดันโลหิตต่ำไว้ในกลุ่ม วิงเวียน Xuán Yūn อ่อนแอไร้กำลัง Xū Sǔn เนื่องจากภาวะชี่พร่องเป็นพื้นฐาน เกี่ยวพันถึง หัวใจ ปอด ม้าม ไต และอวัยวะภายในต่าง ๆ เส้นลมปราณที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ปอด มีภาวะชี่พร่องไม่สามารถผลักดันเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างพอเพียงรวมถึงชี่ม้ามอ่อนแอ ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชี่และเลือดได้ ชี่ไตพร่อง ชี่และเลือดไม่สามารถโคจรได้เป็นปกติเกิดพร่องในเส้นลมปราณและทำให้การหล่อเลี้ยงบำรุงทำได้ไม่ดี สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของโรคทั้งสิ้น
อาการและอาการแสดงออก
กลุ่มที่มีอาการเล็กน้อย จะมีอาการเพียงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ความอยากอาหารลดลง เหนื่อยอ่อนเพลีย สีหน้าซีด การย่อยอาหารไม่ดี เมารถ เมาเรือง่าย รวมทั้งควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดี ปฏิกิริยาเชื่องช้า จิตใจไม่กระปรี้กระเปร่า กลุ่มที่มีอาการมากจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ มักเวียนศีรษะในท่ายืน หายใจลำบาก เสียงค่อยคลุมเครือ ร่างกายขาดการบำรุง แขนขาทั้งสี่หนาวเย็นหรืออาจเป็นมากจนหมดสติได้
การวิเคราะห์แยกกลุ่มอาการโรค
1. หยางหัวใจอ่อนแอ มีอาการวิงเวียนศีรษะ ขี้ลืม จิตใจเศร้าซึมหดหู่ รู้สึกเพลีย ง่วงซึมเฉื่อยชา สีหน้าซีดขาว แขนขาทั้งสี่อ่อนเพลียไม่มีแรง มือเท้าเย็น
ลิ้น ซีดอ้วนนิ่ม
ชีพจร จม(เฉิน) เล็ก(ซี่) หรือ เชื่องช้า(ห่วน) และไม่มีแรง(อู๋ลี่)
2. จงชี่ไม่เดิน มีอาการเวียนศีรษะ หายใจลำบาก เหงื่อออกเอง แขนขาทั้งสี่ปวดเมื่อยไม่มีแรง ความอยากอาหารลดลง
ลิ้น ซีด ฝ้าขาว
ชีพจร เชื่องช้า(ห่วน) ไม่ม่แรง(อู๋ลี่)
3. หยางหัวใจและไตพร่อง มีอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น เมื่อยเอวเข่าอ่อน แขนขาเย็นมีเหงื่อออกง่าย มือเท้าเย็น ความต้องการทางเพศลดลง ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน
ลิ้น ซีด ฝ้าบางขาว
ชีพจร จม(เฉิน) เล็ก(ซี่)
4. หยางชี่อ่อนแอ มีอาการวิงเวียนศีรษะ สีหน้าซีดคล้ำ คลื่นไส้อาเจียน แขนขาเย็นมีเหงื่อออกง่าย ท่าทางการเดินไม่มั่นคง ยืนลำบาก สติสัมปชัญญะเคลิบเคลิ้ม ใจลอย เป็นมากก็อาจเป็นลมได้
ลิ้น ซีด
ชีพจร จม(เฉิน) เล็ก(ซี่) ไม่มีแรง(อู๋ลี่)
การรักษา
1. การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ
หลักการรักษา บำรุงหัวใจและม้าม ปรับสมดุลชี่และเลือด บำรุงไตเติมไขกระดูก อุ่นหยางปรับชี่ ใช้การฝังเข็มและรมยาไปในคราวเดียวกันได้ กระตุ้นแบบบำรุง
นอกจากนี้แพทย์จีนจะใช้วิธีการกระตุ้นเข็ม ฝังเข็มรมยาตามตำแหน่งที่กล่าวมาโดยกระตุ้นแบบเสริมบำรุง และการรมยาหลังฝังเข็ม
2. การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
(1) เข็มผิวหนัง
(2) เข็มหู หรือการใช้เม็ด WangBuLiuXing
[ หมายเหตุ ]
1. การฝังเข็มรมยามีบทบาทและได้ประโยชน์ต่อการรักษาโรคเป็นอย่างมาก แต่ภาวะความดัน
โลหิตต่ำมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องมากมายไม่ว่าจะเกิดจากความเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม ผู้ป่วยควรกระตือรือร้นเพื่อมารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุให้แน่ชัด หากเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำกะทันหันควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนถึงมือแพทย์
2. ผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ การเคลื่อนไหวในเวลาปกติควรเป็นไปด้วยความ เชื่องช้าไม่ว่าจะลุก ยืน หรือเดินก็ตาม
3. ผู้ป่วยควรกระตือรือร้นและสนใจเข้าร่วมในเรื่องของการออกกำลังกายที่เหมาะสม ปรับปรุงเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ บำรุงร่างกายด้วยการดื่มน้ำให้มาก รับประทานอาหารประเภทน้ำแกงอุ่น ๆ บ่อย ๆ และรับประทานเกลือเท่าที่จำเป็นแต่น้อยเช่นคนทั่วไป
สอบถามข้อมูลหรือปรึกษาปัญหาสุขภาพ
ท่านสามารถแอดไลน์ เพื่อพูดคุย หรือสอบถามแนวทางการรักษาเบื้องต้น
LINE@ ได้ที่ : @huachiewtcm (พิมพ์ @ ด้วยนะคะ)
ตอบคำถาม 24 ชั่วโมง
HOTLINE : 095-884-3518
ข้อมูลประกอบบทความ : การฝังเข็มรมยา เล่ม 2
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567